ควาย..มาแล้ว(๘)


         เมื่อก่อนนั้น “หอบข้าว” มัดเป็นฟ่อนแล้ว ก็กองอยู่ที่ทุ่งนาแหละครับ ไม่ต้องมีใครไปนอนเฝ้า  ในทุ่งนาเต็มไปด้วยกองข้าว นาใครนามันกองไว้ไม่มีใครมาลักขโมย  เด็กเลี้ยงควายต้องดูแลดี ๆ ไม่งั้นควายจะไปกินข้าวที่กองไว้  ผมมักจะใช้เชือกล่ามมันไม่ให้มันเข้าไปใกล้กองข้าว...

         เกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว เราก็เตรียม“ลากข้าว”เข้าบ้าน   ลุงมาทำ “เลื่อน” เพื่อใช้บรรทุกฟ่อนข้าวให้ควายลาก    เลื่อนทำด้วยไม้ไผ่ทั้งหมดขนาดของตัวเลื่อนที่ใช้บรรทุกฟ่อนข้าวจะกว้างยาวประมาณ ๑.๒ ม. มีขาลากสองข้างควายจะเข้าไปอยู่ระหว่างขาเลื่อน ที่ปลายขาเลื่อนผูกแอกพาดไว้ที่คอควาย  โดยปกติจะบรรทุกข้าว  ๕  ฟ่อน  ควายหนึ่งตัวต่อเลื่อนหนึ่งหลังครับ  ช่วงลากข้าวนี่เราจะต้องตื่นประมาณตีสี่พอเริ่มมองเห็นทางก็เริ่มลากข้าวเข้าลาน  พอแสงแดดเริ่มร้อนก็หยุด   ปล่อยควายกินหญ้ากินน้ำให้ควายได้พัก  จะเริ่มลากข้าวอีกครั้งหนึ่งก็ตอนบ่ายแสงแดดเริ่มอ่อนลงไม่ร้อนมาก  บ้านเราค่อนข้างลำบากเพราะบ้านกับที่นาอยู่คนละฝั่งคลอง  ใช้ควายลากข้าวไปลงไว้ที่ลานชั่วคราวริมฝั่งคลอง  แล้วพวกเราก็หาบฟ่อนข้าวลงเรือ จากนั้นก็ไปขนจากเรือขึ้นลานนวดข้าวครับ....

(ภาพจากอินเตอร์เนต)

หมายเลขบันทึก: 448050เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2011 21:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การเขียนเรื่องของควายได้...ต้องยอมรับไนภูมิความรู้ที่มีนะครับ

คุณกร เนี่ย!!ไม่ธรรมดาจริง ๆ เลย นะครับ

ไม่รู้ว่า สังคมเรายุคใหม่ จะมีสักกี่คนที่มีความรู้สึก และจิตสำนึกแบบนี้

ชื่นชมคุณกร นะครับ

ขอบคุณครับ  คุณแสงแห่งความดี  Ico48 ห่างหายไม่ได้ทักทายกันนานมากเลยสบายดีนะครับ ความสุขเล็ก ๆ เวลานี้ก็เพียงความทรงจำเก่า ๆ ในอดีตมาเล่าสู่กันฟังครับ.......ท่านอาจารย์โสภณ Ico48  มาเยี่ยมเยียนให้กำลังใจอยู่เสมอ..ขอบพระคุณอีกครั้งครับ

 

ขอบคุณ คุณครูทิพย์ ที่มอบดอกไม้ให้กำลังใจ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท