ปัญหาเรื่อง ลูกน้อง-ลูกพี่และเพื่อนร่วมเกิดแก่เจ็บตาย


วันนี้ตั้งใจจะบันทึกเพียงเรื่องเดียว แต่เข้าไปอ่านข้อมูลบางประการไปสะดุดกับคำว่า "ลูกน้อง" คำนี้ คงไม่ได้หมายความว่า ลูกชายหรือลูกสาวของน้องเรา เช่น เราพูดว่า ลูกน้องของผมนิสัยดีมาก สิ่งที่ทำให้คิดคือ คำว่า "ลูกน้อง" ที่มีอยู่ซึ่งแตกต่างจากคำอื่นอาจจะเชิงตรงกันข้าม คำนั้นน่าจะเป็นคำว่า "ลูกพี่" หมายถึง ลูกน้องไม่ใช่ลูกพี่ และลูกพี่ไม่ใช่ลูกน้อง

เท่าที่ได้อ่านเอกสารก่อนนั้น ในประเทศอินเดียมีวรรณะอยู่ ๔ วรรณะคือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ และศูทร สี่วรรณะเหล่านี้แยกกันชัดเจน หลายคนพยายามที่จะทำลายระบบวรรณะ ซึ่งในบางประเทศก่อนนั้น มีการแบ่งแยกเป็นสีผิว หากต่างสีผิวก็จะเขม่นกัน จึงอาจมองว่า การแบ่งแบบนี้ไม่น่าจะนำความเจริญมาให้ และน่าจะเป็นที่มาของ "สิทธิมนุษยชน" ด้วย

กำลังคิดว่า คำว่า ลูกน้อง ที่พวงคำว่า ลูกพี่ เข้ามาด้วยนั้น อยู่ในกรอบของวรรณะหรือไม่ ศาสนาบางศาสนายอมรับสิ่งที่ดีที่พึงกระทำให้กันระหว่างกลุ่มหนึ่งกับกลุ่มหนึ่ง เช่น แนวคิดแบบขงจื้อ หรือแม้แต่พุทธศาสนาเอง ซึ่งน่าจะดูได้จากหลัก "ทิศ ๖" 

เมื่อเราสังเกตในบางส่วนของสังคม น่าจะเป็นไปได้ว่า "ลูกน้อง-ลูกพี่" อยู่ในกรอบของวรรณะ เพราะมีการแบ่งแยกชั้นอย่างชัดเจน บางครั้งเป็นการทำลายสิทธิความเป็นคนของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น การฆ่านายจ้าง เป็นต้น

ระหว่างที่คิดถึงคำว่า "ลูกน้อง" ที่พ่วงคำว่า "ลูกพี่" เข้ามาด้วยนั้น ก็ยังคิดถึง แนวคิดของพุทธทาส ภิกขุ ที่ท่านมักกล่าวถึง "เพื่อน ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น" คำกล่าวของท่าน น่าจะเป็นทางออกที่ดีระหว่าง "ลูกพี่-ลูกน้อง" หมายถึง แม้เราจะต่างวัย เชื้อชาติ ศาสนา แต่เราเป็นเพื่อนร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วย กันทั้งหมดทั้งสิ้น ตัวนี้กระมัง ที่เป็นการลด "อัตตา" ในความเป็น ลูกพี่-ลูกน้องได้ ท่านเรียกว่า "ตัวกู-ของกู" เมื่อไม่มีอัตตา จึงไม่มีลูกพี่-ลูกน้อง

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงการเดินทางของความคิดเท่านั้น 

ขอบคุณครับ

หมายเลขบันทึก: 446819เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2011 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 ตุลาคม 2015 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท