การประเมินความเป็นไปได้


การประเมินความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการวิจัย

 

 

สามารถประเมิน จากลักษณะของโครงการวิจัย ภายใต้หลักการต่างๆ ดังนี้
1) ประมวลภาพรวมโครงการว่า มีความเป็นไปได้หรือไม่ โดยการวิเคราะห์ ในหลายระดับ ดังนี้
1.1 เป็นความต้องการ ของชาวบ้าน หรือคนกลุ่มหนึ่ง โดยอาจมีกลุ่มชาวบ้านกลุ่มหนึ่ง เป็นแกน ในการทดลองทำงาน ซึ่งอาจไม่ใช่ปัญหาหลักของชุมชน
1.2 เป็นปัญหา หรือปัญหาหลัก ที่มีคนนอกเข้ามาร่วมทำวิจัย อาจเป็นหัวหน้าโครงการวิจัย หรือทำหน้าที่บางอย่างในโครงการวิจัย
1.3 เป็นปัญหาของเครือข่าย ที่ยกระดับเหนือชุมชนใด ชุมชนหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบ ต่อชาวบ้าน โดยมีสมาชิก และแกนนำเครือข่าย ร่วมทีมวิจัย และมีชุมชนเป้าหมาย เป็นตัวชี้วัด ความสำเร็จของการวิจัย
1.4 เป็นปัญหาของสังคม หรือทางออกของสังคม ลักษณะเช่นนี้ อาจดูห่างไกล จากความเป็นชุมชนท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับประเด็นวิจัยว่า เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร แต่มีข้อแม้ว่า ชาวบ้านต้องร่วมทำวิจัยด้วย และเป็นแนวทาง ที่สอดคล้อง กับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยมีขอบเขตพื้นที่ทำงาน / กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน

2) หลักการสนับสนุนงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น ในการประเมิน ความเป็นไปได้ ในการทำโครงการวิจัยเพื่อท้องถิ่นนั้น นอกจากมองระดับ ของโครงการวิจัย เพื่อท้องถิ่นแล้ว ยังต้องยึดหลักการ สนับสนุนของ สกว.ภาค อีกด้วย โดยมีหลักการใหญ่ๆ คือ
2.1 การวิจัยเพื่อท้องถิ่น ต้องมาจากปัญหาของชาวบ้าน ชาวบ้านต้องการแก้ปัญหา หรือชาวบ้านอยากทำ นั่นคือการวิจัยเป็นเครื่องมือ ในการแก้ปัญหาของชาวบ้าน การวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นการสร้างความรู้เพื่อไปแก้ปัญหา และเป็นการสร้างความรู้ จากภูมิปัญญาท้องถิ่น
2.2 ต้องมีกิจกรรม การแก้ปัญหาร่วมกัน ของชาวบ้านด้วย หรือมีการทดลอ แก้ปัญหาร่วมกัน ด้วยกระบวนการ วิจัยเพื่อท้องถิ่น
2.3 การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน “การวิจัยเพื่อท้องถิ่น เป็นงานวิจัยของชาวบ้าน โดยชาวบ้าน เพื่อชาวบ้าน” การมีส่วนร่วมของชาวบ้านต้องเริ่มตั้งแต่ การวิเคราะห์ปัญหา การสร้างความรู้ การนำความรู้ไปแก้ปัญหา การถอดความรู้ และการประเมินผลการทำงาน การตีความ การจัดระบบข้อมูล และการสรุปผลความรู้ รวมถึงการพัฒนาสื่อ และการสื่อสารความรู้ ให้สาธารณะรับทราบ และผลักดันนโยบาย กล่าวโดยสรุปก็คือ ชาวบ้านเป็นผู้สร้าง และเป็นผู้ใช้ความรู้ หรือชาวบ้านเป็นทีมวิจัยนั่นเอง
2.4 การวิจัยเพื่อท้องถิ่น เน้นกระบวนการ หมายถึง กระบวนการ ที่เน้นการเรียนรู้ชาวบ้าน หรืออาจมีคนภายนอก เข้าไปร่วมดำเนินการวิจัย ในฐานะที่เป็นทีมวิจัยร่วม หรือเป็นพี่เลี้ยง หรือเป็นที่ปรึกษา โดยทำหน้าที่กระตุ้น ให้เกิดการเรียนรู้ของชาวบ้านตลอดโครงการวิจัย ซึ่งบทบาทคนนอกจึงเป็นเพียง “นักจัดกระบวนการ” ชวนคิด ชวนมอง ตั้งคำถาม และเชื่อมโยงคำตอบ ผ่านการตรวจเช็คข้อมูล ความถูกต้องของชาวชาวบ้าน

3) แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนด้านต่างๆ นอกจากนี้ ยังต้องมองทิศทาง การพัฒนาสังคม เพื่อช่วยให้การตัดสินใจ ประเมินความเป็นไปได้ ในการทำโครงการวิจัยง่ายขึ้น เช่น
3.1 การพัฒนา ตามแนวทางแห่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พ.ศ.2540 และแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับปัจจุบันและอนาคต ซึ่งต้องศึกษา ให้ละเอียด และเห็นแนวทางที่ชัดเจน
3.2 หลักว่าด้วยสิทธิชุมชน และคนด้อยโอกาส เช่น การกระจายอำนาจสู่ประชาชน และการลดทอน อำนาจจากศูนย์กลางการพัฒนา
3.3 หลักความเสมอภาค ความเป็นธรรม และความเท่าเทียมกันของคนในสังคม
3.4 แนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน เช่น การอนุรักษ์ การฟื้นฟู การสืบทอด ฯลฯ
3.5 การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนา หรือคนและชุมชนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา
3.6 แนวคิดการพัฒนาเชิงระบบ และการพัฒนาแบบองค์รวม เป็นต้น

4) การให้ความเห็น ต่อความเป็นไปได้ ในการดำเนินโครงการวิจัย เพื่อท้องถิ่น มี 3 ลักษณะ คือ
4.1 การพัฒนาโครงการวิจัย ให้มีความชัดเจนมากขึ้น ในแง่ขององค์ประกอบ ของโครงการ และเอกสาร โครงร่างงานวิจัย ภายใต้แนวคิดการวิจัยเพื่อท้องถิ่น และหลักการสนับสนุนของ สกว.ภาค ในกรณีที่เห็นว่าโครงการวิจัยมีประเด็นชัดเจนระดับหนึ่ง และเป็นปัญหา / ความต้องการ ของชุมชน และชุมชนมีส่วนร่วมจริง เพียงแต่ให้ทีม กลับไปพัฒนา ปรับปรุงบางประเด็น ตามข้อคิดเห็นร่วม เช่น การวางแผนงาน และงบประมาณใหม่
4.2 การปรับประเด็นวิจัยใหม่ให้เหมาะสม สอดคล้องกับศักยภาพ และสภาพ ความเป็นจริงในชุมชน ในกรณีที่เห็นว่า โครงการวิจัย ไม่สอดคล้อง กับสภาพความเป็นจริง ในชุมชน หรือความเป็นไปได้ ในการทำโครงการ ทีมวิจัย และชุมชน จะต้องกลับไปร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา และตั้งประเด็นการศึกษาใหม่อีกครั้ง
4.2 การเสนอแนวทางใหม่ ที่เหมาะสมกว่า ในการแก้ไขปัญหาชุมชน คือ สามารถแก้ไขปัญหา หรือดำเนินการอื่นๆ ได้โดยไม่ต้องทำวิจัย และมีหน่วยงานอื่น พร้อมที่จะให้การสนับสนุนอยู่แล้ว หรือชุมชน สามารถระดมทุนสนับสนุนกันเองได้
จะเห็นว่า การพัฒนาโครงการวิจัย ไม่มีความซับซ้อนมากนัก หากแต่เป็นเรื่องที่ Node/RC ต้องเตรียมความพร้อม เกี่ยวกับข้อมูลทีมวิจัย และชุมชนดังกล่าวก่อนการเปิดเวทีพูดคุย สิ่งสำคัญก็คือ กระบวนการตั้งคำถาม เพื่อดึงข้อมูลออกมาให้มากที่สุด จะทำให้สามารถ ตรวจสอบข้อเท็จจริงบางอย่างได้ นอกจากนี้ต้องมีการสรุป เชื่อมโยงข้อมูล ให้ทุกคนเห็นร่วม เข้าใจตรงกัน ตลอดจนศึกษา ค้นคว้า ประเด็นวิจัย ประเด็นศึกษา ทิศทางการพัฒนาท้องถิ่น และประเทศเพิ่มเติมตลอดเวลา ทั้งนี้ เพื่อสนับสนุน การพัฒนาโครงการวิจัย ให้มีความคมชัดมากขึ้น อีกทั้งจะเป็นการให้ข้อมูลบางอย่าง แก่ชุมชน ในการยกระดับการเรียนรู้ ของชุมชนอีกด้วย

หมายเลขบันทึก: 446532เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท