การออกแบบการวิจัยและการเขียนโครงการวิจัย


การออกแบบการวิจัย

 

 

     การออกแบบการวิจัย หมายถึง การจำกัดขอบเขตและ วางรูปแบบวิจัยให้ได้มาซึ่งคำตอบที่เหมาะสมกับ ปัญหาที่วิจัย 
     ผลจากการออกแบบการวิจัยจะได้ แบบการวิจัย
     แบบการวิจัย หมายถึง แผน โครงสร้าง และยุทธวิธี ในการศึกษา ค้นคว้า
     แผน (Plan) หมายถึง ขอบข่ายของโปรแกรม การดำเนินงานโดยรวม
     โครงสร้าง (Structure) หมายถึง เค้าโครงหรือ แบบจำลอง (Model) ของตัวแปรในการวิจัย
     ยุทธวิธี (Strategy) หมายถึง วิธีการจัดเก็บรวบรวม ข้อมูลและวิธีวิเคราะห์ข้อมูล
       วัตถุประสงค์ของการออกแบบวิจัย
     1. เพื่อให้ได้คำตอบถูกต้อง แม่นยำ เป็นปรนัย และประหยัด
     2. เพื่อควบคุมหรือขจัดอิทธิพลของตัวแปรเกิน หรือตัวแปรนอก อันจะทำให้สามารถสรุปได้ ว่า ตัวแปรตามนั้นเกิดจากตัวแปรต้น
       ประโยชน์ของการออกแบบการวิจัย
     1. ช่วยให้สามารถวางแผนควบคุมตัวแปรเกินหรือตัวแปรนอก
     2. ช่วยในการกำหนดและสร้างเครื่องมือเพื่อเก็บรวบรวบข้อมูล
     3. ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถเลือกวิธีทางสถิติที่เหมาะสมใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้
     4. ช่วยในการประเมินเกี่ยวกับงบประมาณ แรงงานและ ระยะเวลาในการทำวิจัย
     5. ช่วยในการประเมินผลวิจัยที่ได้ว่ามีความถูกต้องเชื่อถือได้ มากน้อยเพียงใด
      หลักสำคัญของการออกแบบการวิจัยยึ ดหลัก Max Min Con
     (1) ทำให้ความแปรปรวนในการทดลองมากที่สุด (Maximize The Experimental Variance) 
     (2) ลดความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด (Minimize The Error Variance) 
     (3) ควบคุมตัวแปรเกิน (Control Extraneous Variable) การทำให้ความแปรปรวนในการทดลองมากที่สุด (Maximize The Experimental Variance)
     เป็นการทำให้ตัวแปรตามมีความแตกต่างกันที่สุด โดยการจัดกระทำกับตัวแปรต้นให้ มีความแตกต่างกันมากที่สุดนั่นเอง 
      การลดความแปรปรวนที่เกิดจากความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด (Minimize The Error Variance)
     เป็นการลดความแปรปรวนอันเนื่องมาจาก ความคลาดเคลื่อนต่าง ๆ ให้น้อยที่สุด เช่น
      ความคลาดเคลื่อนจากความแตกต่างระหว่างบุคคล หรือความคลาดเคลื่อนจากการวัด 
       ความคลาดเคลื่อน
     ความคลาดเคลื่อนอย่างสุ่ม (Random Error) เป็นความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นไม่เท่าเทียมกัน อันเกิด จากตัวแปรเกิน มักจะเกิดภายในตัวกลุ่มตัวอย่าง เช่น เพศ อายุ เชื้อชาติ วุฒิภาวะ อารมณ์ ความสนใจ มักเกิดขึ้นขณะทดลอง สามารถกำจัดได้ด้วยวิธีการใช้กฎของการแจกแจงปกติ ความคลาดเคลื่อนอย่างมีระบบ (Systematic Error) เป็นความคลาดเคลื่อนที่มีผลต่อกลุ่มตัวอย่าง โดยเท่าเทียมกัน เช่น 
     ความคลาดเคลื่อน จากเครื่องมือ หรือการวัดแก้ตามกรณีที่เป็นสาเหตุของความคลาดเคลื่อน เช่น สร้างเครื่องมือ ให้มีความเที่ยงตรง เชื่อมั่น 
      วิธีการควบคุมตัวแปรเกิน (Control Extraneous Variable)
     1. การสุ่ม (Randomization)
     2. การกำจัดตัวแปรออก (Elimination)
     3. การเพิ่มตัวแปร (Built Into The Design)
     4. การจับคู่ (Maching)
     5. การใช้เทคนิคทางสถิติ (Statistical Control)
     6. การใช้เครื่องมือจักรกลหรือทางกายภาพ (Machanical or Physical Control)
     7. การออกแบบการวิจัย (Research Dsign)
       ความเที่ยงตรงของแบบการวิจัย
     ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)
     ความเที่ยงตรงภายนอก (Extranal Validity)
       ความเที่ยงตรงภายใน (Internal Validity)
     1. ประวัติของกลุ่มตัวอย่าง (History- H)
     2. วุฒิภาวะ (Maturation - Ma)
     3. ทักษะในการสอบวัด (Test Wise - T)
     4. เครื่องมือที่ใช้วัด (Instrumention - I)
     5. การถดถอยทางสถิติ (Statistical Regestion - R)
     6. การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง (Selection - S)
     7. การขาดหายไปของกลุ่มตัวอย่าง (Experimental Mortality - Mo)
     8. ผลของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ (Interaction Effect - Int)
       ความเที่ยงตรงภายนอก (Extranal Validity)
     1. ปฏิกริยาร่วมระหว่างการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างกับ ตัวแปรทดลอง (Interaction Effect of Selection Bias and Treatment - SX)
     2. ปฏิกริยาร่วมระหว่างการสอบครั้งแรก (Pretesting) กับตัวแปรทดลอง (Treatment - TX) 
     3. ปฏิกริยาเนื่องจากการจัดสภาพของการทดลอง (Reactive Arrengement - RA)
     4. ผลร่วมของการได้รับตัวแปรทดลองหลาย ๆ ตัวติดต่อกัน (Mltiple Treatment Interference or Carry Effect - XXX) 
      แบบการวิจัย
     กลุ่มที่ 1 แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยแบบทดลอง (Pre Experimental Design)
     กลุ่มที่ 2 แบบการวิจัยแบบทดลอง (True Experimental Design)
     กลุ่มที่ 3 แบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design)
       สัญลักษณ์ที่ใช้สื่อความหมายแบบการวิจัย
     X แทน การจัดกระทำหรือการให้ตัวแปรทดลอง
     ~X แทน ไม่มีการจัดกระทำหรือให้ตัวแปรทดลอง
     (X) แทน ตัวแปรทดลองเกิดขึ้นแล้ว
     E แทน กลุ่มทดลอง
     C แทน กลุ่มควบคุม
     Oi แทน การทดสอบครั้งที่ i 
     R แทน การกำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบสุ่ม
      กลุ่มที่ 1 แบบการวิจัยก่อนมีแบบการวิจัยแบบทดลอง (Pre Experimental Design)
แบบที่ 1 แบบ One shot case study
     a                  X       O2 
    (a)               (X)      O2
แบบที่ 2 แบบ One group pretest 
     a       O1       X       O2
    (a)      O1      (X)     O2
แบบที่ 3 แบบ The static-group comparison 
     a       E            X       O2 
              C          ~X       O2 
    (a)      E           (X)      O2
              C          ~X        O2 
กลุ่มที่ 2 แบบการวิจัยแบบทดลอง (True Experimental)
แบบที่ 4 Randomized control group posttest only 
(a)       R      E        X      O2 
           R      C      ~X      O2 
(b)       R      E      ( X)     O2 
           R      C      ~X      O2 
แบบที่ 5 Randomized control group pretest posttest 
(a)      R      E      O1       X      O2 
          R      C      01     ~X      O2 
(b)      R      E      O1     ( X)     O2 
          R      C      O1     ~X      O2 
แบบที่ 6 แบบ Solomon four group
     R       E1      O1          X      O2 
     R       C1      O1        ~X      O2 
     R       E2                   (X)     O2 
     R       C2                  ~X      O2 
กลุ่มที่ 3 แบบการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi Experimental)
แบบที่ 7 Non randomized control group pretest posttest
E1      O1       X      O2 
C1      O1     ~X      O2 
แบบที่ 8 One group time series 
O1O2O3O4 X O5O6O7O8
แบบที่ 9 Control group time series 
E O1O2O3O4       X O5O6O7O8
C O1O2O3O4     ~X O5O6O7O8
แบบที่ 10 Couterbalanced 
X1 O      X2 O      X3 O         X4 O
X2 O      X3 O       X4 O       X1 O
X3 O       X4 O       X1 O       X2 O
X4 O       X1 O       X2 O       X3 O
การเขียนโครงการวิจัย (Research Proposal) 
ส่วนประกอบ ของโครงการวิจัยของสภาวิจัยแห่งชาติ (แบบ ว.1)
     1. ชื่อโครงการ
     2. ประเภทของงานวิจัย
     3. สาขาวิจัยที่ทำการวิจัย
     4. คณะผู้ดำเนินงานวิจัย
     5. สถานที่ทำการทดลองและ/หรือเก็บข้อมูล
     6. ความสำคัญและที่มาของปัญหาที่ทำการวิจัย
     7. วัตถุประสงค์ของโครงการ
     8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
     9. ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     10. เอกสารอ้างอิง
     11. วิธีวิจัย
     12. ขอบเขตของการวิจัย
     13. ระยะเวลาทำการวิจัย ...ปี 
     14. แผนการดำเนินงานตลอดโครงการ
     15. อุปกรณ์ในการวิจัย
           ก.อุปกร์ที่จำเป็นในการวิจัย 
           ข. อุปกรณ์การวิจัยที่มีอยู่แล้ว
     16. งบประมาณที่ใช้ตลอดโครงการ (ค่าตอบแทน ค่าใช้สอย และวัสดุ)
     17. คำชี้แจงเพิ่มเติม (ถ้ามี) 
           ลงชื่อ..............................หัวหน้าโครงการ
2.1 การเขียนชื่อเรื่อง
     1. ต้องเขียนทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
     2.เขียนให้เข้าใจง่ายชัดเจน ไม่ใช้ภาษาพูด
     3.ใช้ประโยคสมบูรณ์
     4.จะสั้นหรือยาวก็ได้
2.2 การเขียนภูมิหลังหรือความเป็นมาของปัญหา
     -เป็นการเขียนให้ทราบว่าปัญหานั้นมีที่มาอย่างไร 
     - มีสภาพการณ์อย่างไร 
     - มีความสำคัญอย่างไร 
     - ด้วยเหตุผลใดจึงทำการวิจัย
สิ่งที่ควรกล่าวถึงในภูมิหลัง
     - แนะนำปัญหาที่กำลังศึกษา 
     - กล่าวถึงเรื่องที่เป็นสนใจของการศึกษา 
     - เขียนบรรยายถึงความจำเป็นต้องการ ของสังคมจะได้คำตอบอย่างไร 
     - กล่าวถึงความต้องการยืนยันหรือลบล้าง หรือผลพลอยได้ 
     - กล่าวถึงปรากฏการณ์ และอุดมการณ์ 
การเขียนภูมิหลัง
     - เขียนนำจากหลักทั่วไปแล้วเขียนไปสู่เรื่องเฉพาะ 
     - เขียนนำจากเรื่องเฉพาะแล้วดำเนินไปสู่เรื่องทั่วไป
2.3 การเขียนจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการวิจัย
     - ส่วนประกอบ 
           1. ลักษณะของการศึกษา 
           2. ตัวแปร 
           3. ประชากร
ตัวอย่าง จุดมุ่งหมายการวิจัย
     เพื่อเปรียบเทียบว่าคนไทยในเขตเมืองและชนบทในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีค่านิยมแบบ ประชาธิปไตยแตกต่างกันอย่างไร
ลักษณะของการวิจัย 
คือ .....................................................................................................................
ตัวแปรหรือพฤติกรรม 
คือ ................................................................................................................
ตัวบุคคลหรือประชากร 
คือ ..............................................................................................................
รูปแบบของจุดมุ่งหมาย
     1. เขียนในรูปของประโยคบอกเล่า 
     2. เขียนในรูปประโยคคำถาม 
     3. เขียนเป็นจุดมุ่งหมายใหญ่ ๆ แล้วมีจุดมุ่งหมายย่อย ๆ
หลักในการเขียนจุดมุ่งหมายของการวิจัย
     1. มีความสำคัญหรือคุณค่าเพียงพอ 
     2. สามารถหาข้อมูลได้หรือทดสอบได้ 
     3. จะต้องเป็นแนวทางในการตั้งสมมติฐาน
2.4 การเขียนขอบเขตของการวิจัย
ประโยชน์ของการเขียนขอบเขต 
     - ทำให้ปัญหาเด่นชัดเป็นแนวทางในการนำเข้า สู่ปัญหา 
     - ทำให้ผู้อ่านมีความคิดอยู่ในขอบเขตจำกัดไว้ 
     - เพ่งความสนใจ ไม่ให้เข้าใจเป็นอย่างอื่น 
     - ทำให้ตีความหมายและสรุปผลอยู่ในขอบเขต
ส่วนประกอบของขอบเขตการวิจัย
     1. ตัวแปร
           - ตัวแปรต้นหรืออิสระ 
           - ตัวแปรตามหรือเกณฑ์ 
     2. กลุ่มตัวอย่าง 
     3. เวลา 
     4. แง่มุมที่ศึกษาหรือสภาพแวดล้อม
วิธีเขียนขอบเขตของการวิจัย
     1. เขียนแยกเป็นหัวข้อ 
     2. เขียนเป็นข้อความรวม ๆ 
     3. เขียนเป็นประโยคย่อย ๆ
2.5 การเขียนข้อจำกัดของการวิจัย
     ข้อจำกัด หมายถึง บางสิ่งบางอย่างที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญโดยจงใจ โดยเหตุสุดวิสัยหรือสิ่งที่ปรากฏอยู่เดิมแล้วตามธรรมชาติ
ตัวอย่างข้อจำกัดของการวิจัย
     ระยะเวลาที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลมีจำกัด เพราะเป็น ระยะเวลาที่ใกล้กับการสอบไล่ของนักศึกษา อาจจะทำ ให้นักศึกษาไม่ตั้งใจตอบ แบบสำรวจ เท่าที่ควรการวิจัยเรื่องนี้มิได้ควบคุมระดับสติปัญญา และมิได้ ศึกษาถึงความแตกต่างระหว่างอายุ ฐานะ ทาง เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมทางบ้านที่ อาจจะมีผลต่อคะแนนผล สัมฤทธิ์ทางการเรียนของ นักศึกษาได้
2.6 การเขียนข้อตกลงเบื้องต้น
     ข้อตกลงเบื้องต้น คือ สิ่งที่ผู้วิจัยต้องการให้ผู้อ่านยอมรัยโดยไม่ต้อง มีการพิสูจน์
ประเภทของตกลงเบื้องต้น
     1. ตัวแปร 
     2. การจัดกระทำกับข้อมูล 
     3. วิธีการวิจัย 
     4. กลุ่มตัวอย่าง
2.7 การเขียนนิยามศัพท์เฉพาะ
     - คำนิยามทั่วไป 
     - คำนิยามปฏิบัติการ
ตัวอย่างนิยามศัพท์เฉพาะทั่วไป
     ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกหรือท่าที ของบุคคลที่ มีต่อสิ่งต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นได้ทั้งใน ทางบวกและทางลบ
ตัวอย่างนิยามศัพท์เฉพาะปฏิบัติการ
     ทัศนคติ (Attitude) หมายถึง ความรู้สึกเอนเอียงทางจิตใจ ของบุคคลที่มีต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แบ่งได้เป็นสองลักษณะ คือ 
     1. ทัศนคติทางบวก หมายถึง การแสดงออกในลักษณะ พึงพอใจ เห็นด้วยหรือชอบ ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการ หรือพอใจสิ่งนั้น 
     2. ทัศนคติทางลบ หมายถึง การแสดงออกในลักษณะ ไม่พึงพอใจไม่เห็นด้วยหรือไม่ชอบ ซึ่งจะทำให้ ไม่เกิดความต้องการหรือพอใจสิ่งนั้น
คำที่ควรให้นิยาม
     1. คำย่อยหรือคำสั้น ๆ ที่ใช้แทนข้อความยาว ๆ 
     2. คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง เป็นคำที่ใช้ เฉพาะการวิจัยนั้น 
     3. คำที่มีลักษณะนามธรรม
2.8 การเขียนประโยชน์หรือความสำคัญของการวิจัย
     1. บอกประโยชน์ของการวิจัยในแง่ของความรู้ ที่ได้รับ 
     2. บอกประโยชน์ของการนำผลการวิจัยไปใช
หลักในการเขียนประโยชน์ของการวิจัย
     1. อย่าเขียนเป็นประโยชน์เกินความเป็นจริง 
     2. สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการวิจัย 
     3. หลีกเลี่ยงข้อความซ้ำซ้อน 
     4. ใช้ภาษาสั้น ๆ กระทัดรัด และได้ใจความชัดเจน
2.9 การเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     - ทฤษฎี หลักการ 
     - ข้อเท็จจริงต่าง ๆ 
     - แนวคิดของผู้เชี่ยวชาญ 
     - ผลงานวิจัย
หลักการเขียนการค้นคว้า เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
     - เขียนเรียบเรียงให้มีความต่อเนื่องกัน 
     - สัมพันธ์กับปัญหาของผู้วิจัย 
     - ลำดับหัวข้อหรือเนื้อเรื่อง 
     - เขียนเรียงลำดับตามเวลา 
     - ต้องมีการสรุป
หมายเลขบันทึก: 446399เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท