ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา 

ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

นวัตกรรม เป็นศัพท์ที่ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ทรงบัญญัติ

ขึ้นตรงกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษที่ว่า Innovation เดิมก่อนที่จะมีการบัญญัติศัพท์ นวัตกรรมเป็น

ภาษาไทย มีศัพท์ว่า นวกรรม ใช้อยู่แล้ว “นวกรรม” เป็นคำสมาสจากคำว่า “นว” ซึ่งแปลว่า “ใหม่”

กับ “กรม. (กรรม)” ซึ่งแปลว่า “การกระทำ” ใช้ในความหมายว่าการกระทำใหม่ ๆ คำว่า “นวัตกรรม”

ก็เกิดจากคำว่า “นวตา” ซึ่งแปลว่า “ความใหม่” กับ “กรม. (กรรม)” ซึ่งแปลว่า การกระใหม่ ๆ

เหมือนกัน (คณะอนุกรรมการเผยแพร่ความรู้ภาษาไทยทางวิทยุและโทรทัศน์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

2538: 12)มีนักการศึกษาหลายท่านได้ให้ความหมายของนวัตกรรมไว้มากมายดังนี้คือ ไชยยศ เรือง

สุวรรณ (2541: 18) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การปฏิบัติหรือการนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้หรือ

เปลี่ยนแปลงแนวความคิดเพื่อปรับปรุงวิธีการที่ทำอยู่เดิม ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับ

ความคิด ของ จรูญ วงศ์สายัญห์ (2515: 59) ที่เห็นว่าความหมายของนวัตกรรมนั้นใช้แตกต่างกัน

เป็น 2 ระดับ ประการแรก คือ ความพยายามใด ๆ ก็ตาม ถ้าเป็นไปเพื่อนำเอาสิ่งใหม่เข้ามา

เปลี่ยนแปลงวิธีการ ที่ทำอยู่เดิมแล้ว ไม่ว่าจะเป็นผลสำเร็จหรือไม่และสำเร็จมากน้อยเพียงใดก็

เรียกว่า นวัตกรรม ประการที่สองในด้านพฤติกรรมศาสตร์นั้น นวัตกรรม มักจะหมายถึงสิ่งที่ได้นำ

ความเปลี่ยนแปลงใหม่เข้ามาใช้จนได้รับผลสำเร็จและแผ่กว้างออกไปจนกลายเป็นการปฏิบัติอย่าง

ธรรมดาสามัญบุญเกื้อ ควรหาเวช (2542: 1) และ ประหยัด จิรวรพงศ์ (2526: 5) มีความเห็นสอดคล้อง

กันว่า นวัตกรรมทางการศึกษา คือ ความคิดและการกระทำใหม่ ๆ ที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง

ทางการศึกษา เพื่อช่วยแก้ปัญหาและส่งเสริมให้ระบบการศึกษามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Moton, J.A. (อ้างใน ฉลองชัย สุรวัฒนบูรณ์, 2545: 33) กล่าวว่า นวัตกรรม หมายถึง การ

ทำให้ใหม่ การปรับปรุงของเก่าและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรหน่วยงานหรือองค์กร ไม่ใช่เป็น

การล้มล้าง หรือยกเลิกสิ่งเก่าหมดทุกอย่าง แต่เป็นการปรับปรุงและพัฒนาให้ระบบอยู่รอด

วีระ ไทยพาณิช (2528) กล่าวว่า การถือว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรม มีเกณฑ์ในการพิจารณา

ดังนี้ 1) จะต้องเป็นสิ่งใหม่ทั้งหมดหรือบางส่วน 2) มีการนำวิธีการวิเคราะห์ระบบ (systems analysis)

มาใช้พิจารณาองค์ประกอบทั้งส่วนข้อมูลที่ใส่เข้าไป กระบวนการและผลลัพธ์ให้เหมาะสมก่อนที่จะ

นำสิ่งใหม่นั้นไปทำการเปลี่ยนแปลงในระบบ 3) มีการพิสูจน์ด้วยการวิจัยหรือระหว่างดำเนินการ

วิจัยว่าจะช่วยให้การดำเนินงานบางอย่างมีประสิทธิภาพขึ้น 4) สิ่งนั้นจะต้องไม่เป็นส่วนหนึ่งของ

ระบบงานในปัจจุบัน เพราะสิ่งที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบงานที่ดำเนินการไม่ถือว่าเป็นนวัตกรรม

นิพนธ์ ศุขปรีดี (2519: 15-17) ได้ให้ความหมายของนวัตกรรมว่า หมายถึง ระบบการศึกษา

ที่พิสูจน์ได้ว่าดีที่สุดในกาลปัจจุบัน และอยู่ในระหว่างการเผยแพร่ให้เป็นเทคโนโลยีที่แพร่หลาย

เปรื่อง กุมุท (อ้างถึง บุญเกื้อ ควรหาเวช, 2542) ได้แบ่งลักษณะของนวัตกรรม

ออกเป็น 5 ลักษณะ คือ

1. ความคิดการกระทำที่เคยทำมาแล้วในที่อื่น หรือไม่แพร่หลายมาก่อนทั้งที่อยู่มาแต่เดิม

นานแล้ว แต่เพิ่งมาใช้ในสังคมใหม่

2. เป็นการคิดใหม่ เนื่องจากการดัดแปลง ปรับปรุง ความคิดเดิมมาปรับปรุงในปัจจุบัน

3. เป็นสิ่งที่ปฏิบัติมาแล้ว แต่ไม่เหมาะยุค จึงมีการฟื้นฟูใหม่

4. มีสถานการณ์ใหม่รวมกับระบบใหม่เกิดขึ้น

5. เป็นสิ่งใหม่จริง ๆ คือไม่มีมาก่อนเลย

จากคำกล่าวข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า นวัตกรรมเป็นสิ่งของหรือวิธีการปฏิบัติที่แปลกไป

จากเดิมโดยอาจจะได้มาจากการคิดค้นหรือการปรับปรุงเสริมแต่งของเก่า และสิ่งเหล่านี้ได้รับการ

ทดลองและพัฒนาจนเป็นที่เชื่อถือได้ เมื่อนำมาใช้ประโยชน์มีผลให้การดำเนินงานบรรลุ

จุดมุ่งหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

เมื่อมีการนำเอานวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาในวงการศึกษาจึงเรียกว่า นวัตกรรมและ

เทคโนโลยีการศึกษา ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า educational innovation and technology

ดังคำอธิบายของ ทิศนา แขมมณี (2546: 12) ที่ให้ความหมายนวัตกรรมทางการศึกษาว่า

“ปัจจุบันคำว่านวัตกรรมเป็นคำที่รู้จักและนิยมใช้กันโดยทั่วไปในวงการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจาก

การเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งนับวันจะทวีมากขึ้น

เป็นสำคัญ การเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวมีผลทำให้การจัดการศึกษาโดยใช้ระบบและ

วิธีการตามแบบเดิม ไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่แต่ละประเทศ จะต้องพยายาม

แสวงหาแนวคิดและแนวทางใหม่ ๆ มาใช้เพื่อช่วยแก้ไขปัญหา ปรับปรุงและส่งเสริมการจัด

การศึกษาให้สนองต่อความต้องการและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ แนวคิดและแนวทางใหม่ ๆ ทาง

การศึกษานี้ เริ่มเป็นที่รู้จักกันในนามของนวัตกรรมทางการศึกษา”

การที่จะพิจารณาว่าสิ่งใดเป็นนวัตกรรมทางการศึกษา หรือไม่นั้นมีสิ่งที่ควรพิจารณาหลาย ๆ

ด้าน ซึ่ง ไชยยศ เรืองสุวรรณ (2522: 18) ได้กล่าวว่าควรพิจารณา ดังนี้ 1) สิ่งนั้นควรเป็นสิ่งที่

ค้นพบหรือสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ (Creative) และเป็นความคิดที่สามารถทำได้หรือปฏิบัติได้ (feasible

ideas) หรืออาจเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้ใหม่เหมาะสมกับกาลสมัย นำมาใช้ในวงการศึกษา

เพื่อให้ระบบการศึกษาก้าวหน้าไปอย่างมีประสิทธิภาพ 2) ได้ผ่านการทดลองการปรับปรุง พัฒนา

(development) สามารถนำไปใช้ได้ผลอย่างจริงจัง (practical application) จนเป็นที่ยอมรับกัน

อย่างแพร่หลาย 3) มีการนำไปปฏิบัติจริงและเผยแพร่ไปสู่ชุมชนในสังคม (diffusion trough

society)

ความหมายของคำว่า เทคโนโลยีนั้นมีใช้ทั้งในภาษาละตินและภาษากรีก ในภาษาละติน

มีคำว่า Texere หมายถึง การสาน (to weave) หรือการสร้าง (to construct) ในภาษากรีกมีคำว่า

Technologia หมายถึง การกระทำอย่างมีระบบ (systermatic treatment) นอกจากนี้นักการศึกษา

ได้ให้ความหมายของคำว่าเทคโนโลยีไว้หลายท่าน

Brown (1993) กล่าวว่า เทคโนโลยี เป็นการนำวิทยาศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้บังเกิด

ผลประโยชน์

Dale (1987) ได้ให้ความหมายว่า เทคโนโลยี เป็นแผนการหรือวิธีการทำงานอย่างมีระบบ

เพื่อให้บรรลุผลเช่นเดียวกับ Webster’s New Collegiate Dictionary ของ Merriam ได้ให้

ความหมายว่า เทคโนโลยี เป็น 1. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ 2. วิธีการทางเทคนิค ที่มุ่งให้เกิดผล

สำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วน Dictionary of Education ของ Good ( )

ได้ให้ความหมายไว้ว่า เทคโนโลยีเป็นการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ในสาขาวิชาต่าง ๆ

เพื่อปรับปรุงระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น

สภาเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีการศึกษาว่า เป็น

การพัฒนาและประยุกต์ระบบเทคนิคและอุปกรณ์ให้สามารถนำมาใช้ในสถานการณ์ได้อย่าง

เหมาะสม เพื่อสร้างเสริมขบวนการเรียนรู้ของคนให้ดียิ่งขึ้น (อ้างถึง นิพนธ์ ศุขปรีดี, 2533: 11)

ส่วนคำว่า “เทคโนโลยีทางการศึกษา” นั้น ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2523, 16-18) กล่าวว่า คำว่า

เทคโนโลยีการศึกษา คนส่วนมากมักจะเข้าใจถึงเครื่องมืออุปกรณ์ราคาแพง เช่น คอมพิวเตอร์

โทรทัศน์ ฯลฯ ที่จริงแล้วเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ซึ่งเน้น

ระบบการนำวิธีการมาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้น เทคโนโลยีการศึกษาเป็น

การขยายแนวคิดที่เกี่ยวกับ “โสตทัศน-ศึกษา” ให้กว้างขวางขึ้น มโนทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี

ทางการศึกษามี 2 ประการคือ (1) มโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์กายภาพ หมายถึง การประยุกต์

ผลิตผลของวิทยาศาสตร์ทางวิศวกรรมมาใช้ในการเรียนการสอน เช่น ชอล์ก กระดาษ ปากกา

เครื่องฉายภาพยนตร์ วิดีโอเทป ซึ่งบทบาทของเทคโนโลยีต่อการศึกษาเน้นในเรื่องของวัสดุอุปกรณ์

(2)มโนทัศน์ทางพฤติกรรมศาสตร์เป็นการนำวิธีการทางจิตวิทยามานุษยวิทยา กระบวนการกลุ่ม

ภาษาและสันนิเวทนศาสตร์มาเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

ส่วนคณะกรรมการกำหนดศัพท์และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ของสหรัฐอเมริกา (1979: 12) ได้ให้คำจำกัดความของเทคโนโลยีการศึกษาดังนี้คือ

“…เทคโนโลยีการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีความซับซ้อน และมีการบูรณาการเกี่ยวข้องกับ

คน กระบวนการ แนวคิด เครื่องมือและการจัดระเบียบงานและองค์การเพื่อวิเคราะห์ปัญหาหรือ

คาดการณ์ การปรับใช้ การประเมินผลและการจัดบริการกับข้อแก้ไข ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้

ในด้านต่าง ๆ ข้อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นั้นจะเป็นในรูปแบบทรัพยากรการเรียน ซึ่งได้รับการออกแบบ

หรือเลือก หรือใช้เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ซึ่งได้แก่ ข่าวสาร ข้อมูลต่าง ๆ คน วัสดุ เครื่องมือ เทคนิค

และการจัดตั้งกระบวนการสำหรับการวิเคราะห์ปัญหาหรือคาดการณ์ การปรับใช้ การประเมินผล

ข้อแก้ไขปัญหาก็คืองานในหน้าที่พัฒนาการศึกษา การวิจัยการออกแบบ การผลิต การประเมินผล

การเลือกใช้ การควบคุม ประสานงาน อันได้แก่ งานในหน้าที่การจัดการการศึกษา การบริหาร

องค์การ หรือหน่วยงานและงานบริหารบุคคล…”

โดยสรุปความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การนำแนวคิดวิธีการ

ใหม่ ๆ และกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ตลอดทั้งผลิตผลของวิทยาศาสตร์มาใช้ในการศึกษา ทั้ง

ในด้านการจัดการ การพัฒนา องค์ประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรการเรียน เพื่อให้การเรียน

การสอนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ประเภทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

อุไร ถาวรงามยิ่งสกุล (2528: 8-9) ได้แบ่งนวัตกรรมทางการศึกษาออกเป็น 5 ประการ คือ

1. นวัตกรรมหลักสูตร (Curriculum Innovation) หมายถึง แนวความคิดหรือกระบวนการใหม่

ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการเปลี่ยนแปลงทางด้านหลักสูตร รวม 3 เรื่อง ได้แก่

หลักสูตรบูรณาการ (integrated curriculum) หลักสูตรเอกัตภาพ (individulized curriculum)

หลักสูตรกิจกรรมหรือประสบการณ์ (activity or experience curriculum)

2. นวัตกรรมการสอน (instructional innovation) หมายถึง แนวคิดหรือกระบวนการใหม่

ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในด้านการเรียนการสอนรวม 15 เรื่อง ได้แก่ การสอนโดยใช้

เพื่อนช่วยสอน (peer tutoring) การสอนเป็นรายบุคคล (individualized instruction) การใช้

บทบาทสมมติ (role play) การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ (group process) การสอนแบบรอบรู้

(mastery learning) การสอนซ่อมเสริม (remedial teaching) การสอนแบบศูนย์การเรียน (learning

center) การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง (simulation) การสอนแบบสืบสวนสอบสวน (inquiry

method) การสอนแบบโครงการส่งเสริมสมรรถภาพทางการสอน (reduced instruction time)

การสอนโดยใช้ชุดการสอน (instruction package) การสอนแบบโครงการ (project techniques)

การโต้วาทีธรรมะ

3. นวัตกรรมสื่อการศึกษา (educational media innovation) หมายถึง แนวคววามคิด

หรือกระบวนการใหม่ ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในด้านการสื่อการสอนรวม 3 เรื่อง

ได้แก่ โทรทัศน์เพื่อการศึกษา (educational television) วิทยุโรงเรียน (school broadcast)

บทเรียนสำเร็จรูป (programmed instruction)

4. นวัตกรรมการวัด (measurement innovation) หมายถึง แนวความคิดหรือกระบวนการ

ใหม่ ๆ ตลอดจนสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่นำมาใช้ในการวัดผลและประเมินผลการศึกษา รวม 7 เรื่อง

ได้แก่ การวัดผลแบบอิงกลุ่ม (norm referenced measurement) การวัดผลแบบอิงเกณฑ์ (criterion

referenced measurement) การประเมินผลก่อนเรียน (pretest) การประเมินผลเพื่อปรับปรุงการ

เรียนการสอน (formative evaluation) การเลื่อนชั้นโดยอัตโนมัติ (automatic promotion) การ

ประเมินผลรวม (summative evaluation) การประเมินผลเพื่อวินิจฉัยข้อบกพร่อง (diagnostic

evaluation)

5. นวัตกรรมการบริหาร (administration innovation) หมายถึง แนวความคิดหรือ

กระบวนการใหม่ ตลอดจนวิธีการใหม่ ๆ หรือสิ่งที่เคยใช้มาแล้วในอดีตแต่นำมาใช้ใหม่ เพื่อทำให้

เกิดการเปลี่ยนแปลงในการทำงานด้านบริหาร และการบริการทางการศึกษา รวม 9 เรื่อง ได้แก่

การจัดการโรงเรียนแบบไม่มีชั้น (non graded school) การจัดโรงเรียนภายในโรงเรียน (school

within school) การจัดการศึกษาร่วมกันระหว่าง 9 กลุ่มโรงเรียน การใช้จักรยานเพื่อขยายการศึกษา

ส่วนประมวล พุทธานนท์ (2528: 137-163) ได้แบ่งนวัตกรรมการสอนออกเป็น 17 ประเภท

ด้วยกัน คือ การสอนเป็นคณะ การสอนโดยใช้บทเรียนโปรแกรมการสอบแบบทักษสัมพันธ์ การสอน

แบบเก้านของกานเย่ การสอนเป็นรายบุคคล การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนโดยใช้บทเรียน

แบบโมดุล ระบบโรงเรียนไม่แบ่งชั้น การสอนแบบบูรณาการ การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง

การสอนแบบกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบรวบรวมรวมสอน การสอนโดยการให้นักเรียนที่เก่งช่วยสอน

นักเรียนที่เรียนช้า การแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามความถนัด การสอนแบบจุลภาค การจัดตารางสอน

แบบยืดหยุ่น โครงการส่งเสริมสมรรถภาพการสอน นวัตกรรมการสอนทั้ง 17 ประเภทของประมวล

นี้ก็คือนวัตกรรมการสอนชนิดที่ 2 ตามแนวคิดของ อุไร นั่นเอง

คณะกรรมการกำหนดศัพท์ และความหมายของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

ของสหรัฐอเมริกา (1979: 12-15) กำหนดองค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษา (domain of

educational technology) เป็นโมเดลที่แสดงองค์ประกอบที่สำคัญ 4 องค์ประกอบและแสดง

ความสัมพันธ์ภายในระหว่างองค์ประกอบของการจัดเทคโนโลยีการศึกษา ดังในภาพที่ 2

องค์ประกอบเกี่ยวกับ องค์ประกอบเกี่ยวกับ องค์ประกอบเกี่ยวกับ องค์ประกอบเกี่ยวกับ

การจัดการ - การพัฒนา ทรัพยากรการเรียน ผู้เรียน (learner)

(Management (Development (Learning

Functions) Functions) Resources)

- การจัดการองค์การ - การวิจัย (Research - ข้อมูลข่าวสาร - ภูมิหลัง

(Organization Theory) (Massage) (Background)

Management) - การออกแบบ (Design) - บุคลากร (People) - ประสบการณ์

- การจัดการด้าน - การผลิต - วัสดุ (Experience)

บุคคล (Personal (Production) (Materials) - ทัศนคติ

Management) - การประเมิน/การเลือก - เทคนิค (Attitude)

(evaluation (Technique) - ความพร้อม

selection) - อาคารสถานที่ (Readiness)

- การเก็บบำรุงรักษา (Setting)

การบริการ (Logistic)

- การใช้

(Utilization)

องค์ประกอบของการจัดการเทคโนโลยีการศึกษา คือ การจัด

ระเบียบ (organizing) และการบูรณาการ (integrating) องค์ประกอบต่าง ๆ ทั้ง 4 ด้าน จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลองค์ประกอบทั้ง 4 ด้านนั้นประกอบด้วย

1. องค์ประกอบเกี่ยวกับหน้าที่การจัดการ องค์ประกอบของการจัดเทคโนโลยีเกี่ยวกับหน้าที่

การจัดการ เป็นสว่ นที่เปน็ วิธีดำเนินงาน (process) มีจุดมุง่ หมายเพื่อวางแผนกำกับการดำเนินงาน

และประเมิน หน้าที่การจัดการแบ่งได้เป็น 2 ประการ คือ

1.1 การจัดการองค์การ ได้แก่ การกำหนดจุดมุ่งหมายและนโยบายการให้การ

สนับสนุนและจัดสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ตลอดจนการวางแผนปฏิบัติงานและการประเมิน

รวมถึงการประสานงานให้ฝ่ายต่าง ๆ ได้ปฏิบัติงานสำเร็จตามวัตถุประสงค์

1.2 การจัดการด้านบุคคล เป็นการจัดบุคลากรให้เหมาะตามหน้าที่และความสามารถ

เช่น การบรรจุคน การจ้างงาน การอบรมและพัฒนา การนิเทศงานการประเมินผลงานของบุคลากร

2. องค์ประกอบเกี่ยวกับหน้าที่การพัฒนา องค์ประกอบของการจัดเทคโนโลยี การศึกษาที่

เกี่ยวกับหน้าที่พัฒนา เป็นส่วนหนึ่งของวิธีดำเนินงาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ปัญหา การ

คาดการณ์ การปรับใช้ การประเมินผล โดยแบ่งได้เป็น 6 ประการ คือ การวิจัย การออกแบบ

การผลิต การประเมินผล การเก็บรักษาและบริการ การใช้ ทั้งหมดนี้ต่างก็มีวิธีดำเนินการที่มีส่วน

สัมพันธ์กับองค์ประกอบเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียนดังนี้คือ

2.1 การวิจัย เป็นการสำรวจศึกษาค้นคว้าและทดสอบความรู้ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ

การจัดการ และพัฒนาทรัพยากรการเรียน ซึ่งเป็นพื้นฐาน การตัดสินใจการดำเนินการในระบบ

เทคโนโลยีการศึกษา

2.2 การออกแบบ เป็นการแปลความหมายรู้ในหลักการ ทฤษฎีออกมาในรายละเอียด

เฉพาะสำหรับเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน ผลลัพธ์ของการออกแบบ

2.3 การผลิต เป็นการนำเอากำหนดรายละเอียดเฉพาะสำหรับทรัพยากรการเรียน

มาจัดทำให้เป็นผลผลิตที่จะปฏิบัติได้ ผลลัพธ์ที่ได้คือ ผลิตผลลักษณะเฉพาะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น

ข้อทดสอบ แบบจำลอง สื่อการสอน

2.4 การประเมินผล เป็นการติดตาม ศึกษา คุณภาพ และประสิทธิภาพของทรัพยากร

การเรียนว่าใช้ได้ บรรลุวัตถุประสงค์ตามกำหนดหรือไม่ มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือยอมรับได้ตามเกณฑ์

มาตรฐานเพียงใด

2.5 การเก็บบำรุงรักษาและให้บริการ เป็นการจัดการทรัพยากรการเรียนให้เอื้ออำนวย

ต่อองค์ประกอบหน้าที่อื่น ๆ เช่น การจัดการ การแยกประเภท จัดหมวดหมู่ การกำหนดตารางเรียน

การใช้เครื่องมือ การบำรุงรักษา ซ่อมแซม ทรัพยากรการเรียนนั่นเอง

2.6 การใช้ เป็นเรื่องของการนำทรัพยากรการเรียนไปใช้ประโยชน์เพื่อให้การจัด

การศึกษาและการเรียนการสอนมีประสิทธิผลตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้เรียนในกิจกรรมส่วนนี้

มีการเลือก เช่น เลือกทรัพยากรการเรียน กำหนดขนาดกลุ่มผู้เรียนเตรียมการนำเสนอและประเมินผล

การเรียน

3. องค์ประกอบเกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน องค์ประกอบของการจัดเทคโนโลยีการศึกษา

เกี่ยวกับทรัพยากรการเรียน เป็นส่วนที่เป็นปัจจัยเบื้องต้น (input) ซึ่งแบ่งได้เป็น 6 ประเภท คือ

3.1 ข้อสนเทศ/ข่าวสาร คือ ข้อสนเทศที่ถ่ายทอดโดยองค์ประกอบอื่น ๆ ในรูปแบบ

ของแนวคิด ความจริง ความหมาย ข้อมูล

3.2 บุคคล คือ ทรัพยากรบุคคลที่มีข้อสนเทศและข่าวสาร ซึ่งสามารถเก็บและถ่ายทอด

ข้อสนเทศและข่าวสารนั้นได้โดยตรง ได้แก่ ครู นักการศึกษา นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญ

3.3 วัสดุ คือ สิ่งของจัดเป็นสื่อเบา (software) โดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

วัสดุประเภทที่ต้องบรรจุหรือบันทึกข่าวสาร โดยอาศัยเครื่องมือ เช่น แผ่นเสียง ฟิลม์สตริป สไลด์

ภาพยนตร์ วีดีโอ ไมโครฟิลม์ ไมโครพิช แผ่นดิสก์ กับวัสดุประเภทที่สามารถส่งผ่านความรู้ด้วยตัว

ของมันเอง ไม่ต้องพึ่งเครื่องมือ และมีข่าวสารบันทึกไวเ้ รียบร้อยแล้ว เช่น แผนที่ ลูกโลก หนังสือ

ของจริง ของจำลอง

3.4 เครื่องมือ เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวถ่ายทอดข่าวสารที่บรรจุหรือบันทึกไว้ในวัสดุหรือ

ส่วนที่เป็นสื่อหนัก (Hardware) ส่วนมากเป็นเครื่องกลไก ไฟฟ้าอิเลคทรอนิค ได้แก่ เครื่อง

คอมพิวเตอร์ เครื่องฉายแอลซีดี เครื่องวิชชวลไลเซอร์ เครื่องฉายภาพยนตร์ เครื่องฉายสไลด์

เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพ เครื่องฉายภาพทึบแสง กล้องถ่ายรูป

กล้องถ่ายภาพยนตร์ กล้องถ่ายโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์และอ่านไมโครฟิช

3.5 เทคนิค เป็นกลไกในการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อสนเทศจากทรัพยากร การเรียนรู้

ให้แก่ผู้เรียน แบ่งเป็น 4 ประเภท ตามประเภทของทรัพยากรการเรียน คือ

ก. เทคนิคทั่วไป (general techniques) เป็นวิธีการถ่ายทอดข้อสนเทศข่าวสาร

ได้แก่ การสอนแบบต่าง ๆ เช่น การสาธิต การสังเกต การอภิปราย การแสดงนาฎการ การบรรยาย

การฝึกปฏิบัติ การเรียนแบบแก้ปัญหาหรือค้นพบแบบสอบสวนสืบสวน การเรียนการสอนแบบโครงการ

การสอนแบบโปรแกรม สถานการณ์จำลอง เกมส์ต่าง ๆ

ข. เทคนิคการใช้บุคคล (people-based techniques) ได้แก่ เทคนิคในการจัด

ทรัพยากรบุคลให้เหมาะกับผู้เรียน เช่น การสอนเป็นคณะ เทคนิคกลุ่มสัมพันธ์ การสอนแบบซ่อม

เสริม ตัวต่อตัว การสัมมนาแบบต่าง ๆ

ค. เทคนิคการใช้วัสดุและเครื่องมือ (material/devices-base techniques)

เป็นเทคนิคของการใช้วัสดุและเครื่องในการจัดการศึกษา และการเรียนการสอน เช่น ใช้โสตทัศนูปกรณ์

ในการเรียนการสอน ใช้บทเรียนโปรแกรม ใช้คอมพิวเตอร์ การสอนไกลโดยใช้สื่อประสม

ง. เทคนิคการใช้อาคารสถานที่ (setting) ได้แก่ การศึกษานอกสถานที่ การใช้

ทรัพยากรชุมชน การจัดห้องเรียน การจัดสภาพแวดล้อม

จ. อาคารสถานที่ เป็นทรัพยากรการเรียนในการจัดเทคโนโลยีการศึกษาอย่างหนึ่ง

ซึ่งผู้จัดควรจะอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เรียนเพื่อที่จะประกอบการศึกษา ค้นคว้า หรือการเรียนรู้

ในรูปแบบต่าง ๆ ลักษณะของอาคาร สถานที่ ควรมีความเหมาะสมมีขนาดบรรยากาศที่เหมาะสม

กับการเรียนรู้

4. องค์ประกอบเกี่ยวกับผู้เรียน องค์ประกอบที่สำคัญของการจัดเทคโนโลยีการศึกษา คือ

ผู้เรียนและความต้องการของผู้เรียน ดังนั้นผู้จัดเทคโนโลยีการศึกษาจำเป็นต้องเข้าใจลักษณะของ

ผู้เรียนซึ่งแตกต่างไปตามลักษณะ ความแตกต่างระหว่างบุคคล องค์ประกอบเกี่ยวกับผู้เรียน

แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ

4.1 ภูมิหลัง ได้แก่ อายุ เพศ ระดับไอคิว

4.2 ประสบการณ์ ได้แก่ ความรู้ ความสามารถของผู้เรียนที่มีมาก่อน

4.3 ทัศนคติ ได้แก่ ความรู้สึก ไม่ขอบ ความสนใจ ความตั้งใจในการเรียน

4.4 ความพร้อม ได้แก่ สุขภาพทางกาย จิต ทักษะ ของผู้เรียน

จากองค์ประกอบในการจัดเทคโนโลยีการศึกษาทั้ง 4 องค์ประกอบนี้ ไม่ว่าจะเป็น

องค์ประกอบที่เกี่ยวกับการจัดการ การพัฒนา ทรัพยากรการเรียน และองค์ประกอบเกี่ยวกับผู้เรียน ทุก

องค์ประกอบต่างก็มีความสำคัญเท่าเทียมกัน เพราะการจัดการด้านเทคโนโลยีการศึกษา ก็มี

เป้าหมายที่จะสนับสนุนและวางแผน เพื่อให้เกิดผลโดยตรงต่อผู้เรียนโดยใช้วิธีการพัฒนาในด้าน

การวิจัย การออกแบบ การผลิต การบริการ การประเมินเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการให้การ

เรียนรู้แก่ผู้เรียน โดยผ่านสื่อต่าง ๆ เช่น วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการหรือสื่อบุคคล

จากรายงานเอกสารเกี่ยวกับประเภทของนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา ผู้วิจัยสรุปว่า

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ (1) นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่

เกี่ยวข้องกับกระบวนการ วิธีการ การจัดการโดยอาศัยหลักการแนวคิด และทฤษฎีจากศาสตร์ต่าง ๆ

ได้แก่ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ วิธีระบบ วิธีการทางจิตวิทยา มานุษยวิทยา ภาษา

กระบวนการติดต่อสื่อสาร แนวคิดทางด้านการบริหารและการจัดการ วิธีการสอนแบบต่าง ๆ

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาประเภทนี้ ตรงกับมโนทัศน์ทางพฤติกรรมศาสตร์ของ ชัยยงค์

พรหมวงศ์ และสอดคล้องกับองค์ประกอบเกี่ยวกับการจัดการทั้งทางด้านองค์การ และการจัดการ

ด้านบุคคลและองค์ประกอบเกี่ยวกับการพัฒนา ซึ่งมีการวิจัย การออกแบบการผลิต การ

ประเมินผล การเก็บรักษา บริการ และการใช้ของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของ

สหรัฐอเมริกา แนวคิดที่เกี่ยวกับนวัตกรรมเกี่ยวกับหลักสูตร นวัตกรรมการสอน นวัตกรรมการวัด

และประเมินผล นวัตกรรมด้านการบริหารของ อุไร ถาวรงามยิ่งสกุล จัดเป็นนวัตกรรมและ

เทคโนโลยีทางการศึกษาประเภทแรกนี้ด้วย (2) นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับ

สื่อต่าง ๆ ได้แก่ สื่อประเภทวัสดุ (software) และสื่อประเภทอุปกรณ์ (hardware) ซึ่งตรงกันมโน

ทัศน์ทางวิทยาศาสตร์กายภาพของ ชัยยงค์ พรหมวงศ์ และสอดคล้องกับองค์ประกอบด้าน

ทรัพยากรการเรียนของสมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาของสหรัฐอเมริกาและตรงกับ

แนวคิดของ อุไร ถาวรงามยิ่งสกุล ที่เกี่ยวกับนวัตกรรมที่เกี่ยวกับสื่อการศึกษา

ตอนที่ 2 ทฤษฎีแนวคิดเกี่ยวกับการยอมรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา

ทฤษฎีการยอมรับนวัตกรรม

นักทฤษฎีและนักวิจัยได้พยายามค้นหาความจริงเกี่ยวกับกระบวนการยอมรับนวัตกรรมใน

หลาย ๆ สาขาวิชาด้วยกัน ทั้งในทางมนุษยวิทยา สังคมวิทยา การแพทย์ การสื่อสาร การตลาด

และการศึกษา ซึ่งผลการค้นคว้าจะออกมาในแนวทางเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ ตามทฤษฎีการยอมรับ

นวัตกรรม

Rogers and Shoemaker (1983: 172) ได้ให้คำนิยามไว้ว่า การยอมรับนวัตกรรม หมายถึง

การตัดสินใจที่จะนำนวัตกรรมนั้นไปใช้อย่างเต็มที่ เพราะนวัตกรรมนั้นเป็นวิถีทางที่ดีกว่า และมี

ประโยชน์กว่า การยอมรับนวัตกรรมของบุคคลเกิดขึ้นเป็นกระบวนการ เริ่มตั้งแต่ ได้สัมผัสนวัตกรรม

ถูกชักจูงใจให้ยอมรับนวัตกรรม ตัดสินใจยอมรับหรือปฏิเสธ ปฏิบัติตามการตัดสินใจ และยืนยัน

การปฏิบัตินั้น กระบวนการนี้อาจกินเวลาช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญคือ ตัวบุคคลและ

ลักษณะของนวัตกรรม

Rogers and Shoemaker (1983: 169) กล่าวว่า ลักษณะของบุคคลส่งผลต่อระยะเวลาใน

การยอมรับนวัตกรรมว่าช้าหรือเร็ว มี 3 ประการ คือ

1. สถานะทางเศรษฐกิจและสังคม ผู้มีการศึกษาในระบบสูง มีฐานะทางเศรษฐกิจดี มี

สถานะทางสังคมสูงหรือตั้งจุดหวังในชีวิต เพื่อเลื่อนฐานะทางสังคมให้สูงขึ้นและนวัตกรรมมีความ

สอดล้องกับชีวิตจะเกิดการยอมรับสูงกว่าและเร็วกว่าผู้ที่ได้รับการศึกษาน้อยด้อยฐานะทาง

เศรษฐกิจและสังคม

2. บุคลิกภาพ พวกที่ยอมรับนวัตกรรมได้เร็ว และรับได้มาก มักจะเป็นผู้ไม่ยึดมั่นถือมั่นกับ

สิ่งเดิม มีความสามารถเอาใจเขามาใส่ใจเรามากกว่า เป็นผู้มีเหตุผลดีและมีทัศนคติที่ดีต่อการศึกษา

สามารถคิดและเข้าใจนามธรรมได้ดีกว่า และเป็นผู้ชอบเสี่ยงภัย มีทัศนคติที่ดีต่อการเปลี่ยนแปลง

มากกว่า

3. พฤติกรรมในการสื่อสาร การยอมรับนวัตกรรมจะเกิดขึ้นมากกว่าและเร็วกว่า ถ้า

พฤติกรรมในการสื่อสารของบุคคลนั้นมีลักษณะดังนี้คือ บุคคลมีส่วนร่วมในสังคมและทำตัวเป็น

ส่วนหนึ่งของระบบสังคมได้ดี มีการเดินทางบ่อยครั้ง หรือเป็นคนไม่ติดถิ่นมีโอกาสติดต่อกับผู้นำใน

การเผยแพร่นวัตกรรม มีโอกาสเปิดรับสื่อมวลชน สื่อระหว่างบุคคลเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับ

นวัตกรรมมากเพราะมีโอกาสแสวงหาข่าวสารมาก และเป็นผู้ที่มีระบบของการเป็นผู้นำทาง

ความคิดสูง

Rogers and shoemaker (1981: 22-23) ได้สรุปลักษณะของนวัตกรรมที่มีผลต่อความไว้

และระดับการยอมรับนวัตกรรมไว้ 5 ประการ คือ

1. ความได้เปรียบเชิงเทียบ (relative advantage) หมายถึง การที่ผู้รับนวัตกรรมคิดว่า

นวัตกรรมดีกว่า มีประโยชน์มากกว่าสิ่งเก่า ๆ ที่ปฏิบัติกันมา ยิ่งมีความรู้สึกว่ามีประโยชน์มาก

โอกาสที่จะยอมรับก็มีมากขึ้น และความไว้ในในการยอมรับมีมากขึ้น

2. ความเข้ากันได้ (compatibility) หมายถึง การที่ผู้รับนวัตกรรมรู้สึกหรือคิดว่านวัตกรรม

นั้นไปด้วยกันได้ หรือเข้ากับค่านิยม ประสบการณ์ในอดีตตลอดจนความต้องการของตน นวัตกรรม

นั้นก็จะได้รับการยอมรับเร็วกว่า และมากกว่านวัตกรรมอื่น

3. ความสลับซับซ้อน (complexity) หมายถึง การที่ผู้รับนวัตกรรมเห็นว่านวัตกรรมนั้นยาก

ในการเข้าใจ และการใช้ต้องใช้เวลานานถึงจะยอมรับ แต่นวัตกรรมใดไม่ซับซ้อน ใช้ง่ายนำไปใช้

สะดวก ก็จะได้รับการยอมรับเร็วกว่า และสูงกว่านวัตกรรมอื่น ๆ

4. ความสามารถนำไปทดดลองใช้ได้ (trainability) นวัตกรรมที่สามารถนำไปทดลองใช้ได้

จะได้รับการยอมรับรวดเร็วกว่านวัตกรรมที่ไม่สามารถนำไปทดลองใช้ได้

5. ความสามารถสังเกตได้ (absorbability) ถ้าผู้รับมองเห็นผลของนวัตกรรมได้ง่าย เขาก็

จะยอมรับได้ง่าย และไว

สำหรับนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษานั้น Matthew Miles (1975: 15) อ้างถึงใน สุภรณ์

วัชรศิริธรรม (2526: 33) กล่าวว่า การเผยแพร่ความคิดใหม่ในระบบการศึกษามักจะช้ากว่าการเผยแพร่

ความคิดใหม่ในระบบการศึกษามักจะช้ากว่าการเผยแพร่ความคิดใหม่ในกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ทางด้าน

อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และแพทยศาสตร์ ทั้งนี้เพราะขาดผลการค้นคว้าในเชิงวิทยาศาสตร์ที่

เชื่อถือได้ ขาดเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่จะส่งเสริม เผยแพร่ความคิดใหม่ทางการศึกษาและขาดปัจจัยที่เป็น

รางวัลในเชิงเศรษฐกิจสำหรับผู้ที่ยอมรับปฏิบัติเพราะผลผลิตทางการศึกษาจะมีผลในระยะยาวแก่

บุคคลซึ่งวัดยาก ด้วยเหตุนี้การยอมรับนวัตกรรมทางการศึกษา จึงใช้เวลานานกว่าการยอมรับ

นวัตกรรมอื่น ๆ

Matthew Miles กล่าวถึง ลักษณะของนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่มีผลต่อการยอมรับว่ามี

ดังต่อไปนี้

1. นวัตกรรมที่มีค่าใช้จ่ายไม่แพงเกินไป เช่น ค่าจัดหา ค่าบำรุงรักษาหรือค่าใช้จ่ายอื่น ๆ

มาก ๆ จะได้รับการยอมรับมากกว่านวัตกรรมที่มีราคาถูกกว่า

2. นวัตกรรมนั้นมีความสะดวกในการใช้เพียงใด ถ้าหากว่าใช้อย่างไม่สะดวก นวัตกรรม

นั้นจะยากแก่การยอมรับ

3. นวัตกรรมที่สำเร็จรูป จะได้รับการยอมรับกว่านวัตกรรมที่แยกเป็นส่วน ๆ

4. นวัตกรรมที่ใช้ง่ายจะได้รับการยอมรับมาก

หมายเลขบันทึก: 446361เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 15:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท