ทำไมพระพุทธองค์จึงยอมให้พระเทวทัตต์บวช


ทำไมพระพุทธองค์จึงยอมให้พระเทวทัตต์บวช

หลายท่านอาจจะมีข้อกังขาในเรื่องนี้บ้าง 

อาจเพราะได้เห็นภาพที่พระเทวทัตต์  ได้ประทุษร้ายต่อพระองค์ต่างๆ นานา  เพื่อสร้างอิทธิพลให้กับตนเอง  แต่การกระทำทุกอย่างหาสำเร็จสมหวังไม่  กลับเป็นร้ายต่อตัวเองทั้งสิ้น 

     การประทุษร้ายทุกกระท่าของพระเทวทัตต์  สร้างความไม่สบายใจให้กับใครต่อใครหลายคนที่ได้ศึกษาประวัติพระพุทธศาสนาแล้ว  เห็นความโจ่งแจ้งของความผิดที่ไม่น่าจะให้อภัยได้  แล้วก็ตั้งข้อสงสัยว่า  ทำไม พระพุทธองค์ ทั้งที่ทรงทราบว่า พระเทวทัตต์จะสร้างความแตกแยกแก่วงการสงฆ์  แล้วยังทรงอนุญาตให้บวชอีก ?

      ในเรื่องนี้  ผู้เขียนขอแสดงทัศนะตามนัยแห่งคัมภีร์อรรถกถาธรรมบท ภาค ๑  หน้า  ๑๓๗  ดังนี้

       โส  อนุกฺกเมน  ยาว  โคปฺผกา  ยาว  ชนฺนุกา  ยาว  กฏิโต  ยาว  ถนโต  ยาว  คีวโต  ปวิสิตฺวา  หนุกฏฺฐิกสฺส  ภูมิยํ  ปติฏฺฐิตกาเล  คาถมาห

                          อิเมหิ  อฏฺฐีหิ  ตมคฺคปุคฺคลํ

                          เทวาติเทวํ  นรทมฺมสารถึ

                          สมนฺตจกฺขุง  สตปุญฺญลกฺขณํ

                          ปาเณหิ  พุทฺธํ  สรณํ  คโตสฺมีติ  ฯ

          อิทํ  กิร  ฐานํ  ทิสฺวา  ตถาคโต  เทวทตฺตํ  ปพฺพาเชสิ  ฯ

       คำตอบที่ผู้เขียนคิดว่า  น่าจะอ้างอิงได้ว่า ทำไมให้จึงให้พระเทวทัตต์บวช ดังจะได้แปลถอดความต่อไป  ในขณะที่พระเทวทัตต์กำลังถูกแผ่นดินสูบ (ปวิสิตฺวา) ลงไปตามลำดับ  คือ  ยาว  โคปฺผกา  ถึงข้อเท้า  ยาว ชนฺนุกา  ถึงหัวเข่า  ยาว กฏิโต  ถึงเอว  ยาว  ถนโต  ถึงอก  แล้ว  หนุกฏฺฐิกสฺส  ภูมิยํ  ปติฏฺฐิตกาเล  ในขณะที่ปลายคางกระทบกับพื้นดินนั่นเอง  พระเทวทัตต์ได้รับสารภาพความผิดทั้งหมด  ทั้งที่การมาในครั้งนี้ของท่านก็เพื่อจะขอให้พระพุทธองค์ได้ยกโทษอโหสิกรรมให้ แต่ไปไม่ถึง ถูกแผ่นสูบเสียก่อน  ท่านก็ยังมีสติอยู่ก่อนจะสิ้นลม  คาถมาห  จึงได้กล่าวถ้อยคำที่เป็นร้อยกรองไว้ว่า  อิเมหิ  อฏฺฐีหิ ฯเปฯ สรณํ คโตสฺมิ  ข้าพระองค์ขอถึงพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น  ผู้เป็นบุคคลผู้เลิศ  เป็นเทพยิ่งกว่าเทพ  เป็นนายสารถีผู้ฝึกนรชน  มีพระจักษุรอบคอบ  มีพระลักษณะเกิดด้วยบุญตั้งร้อย  ว่าเป็นเป็นที่พึ่ง  ด้วยกระดูกเหล่านี้  พร้อมด้วยลมหายใจ

         จากข้อความที่ท่านเปล่งถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ  ในลมหายใจสุดท้ายนั่นเอง  ที่พระพุทธองค์ทรงอาศัยพระมหากรุณา  ดังคำบาลีที่เป็นประโยคสุดท้ายมาอ้างอิงต่อไปอีกว่า  อิทํ  กิร  ฐานํ  ทิสฺวา  ตถาคโต  เทวทตฺตํ  ปพฺพาเชสิ  พระตถาคตเจ้า  อิทํ กิร  ฐานํ  ทิสฺวา  ทรงเห็นฐานะนี้  คือ  ข้อที่พระเทวทัตต์กำลังถูกแผ่นดินสูบจวบจนใกล้ตายแล้ว เปล่งวาจาในลมหายใจสุดท้าย  เทวทตฺตํ  ปพฺพาเชสิ  จึงทรงอนุญาตให้พระเทวทัตต์ได้บวช 

          นั่นแสดงว่าพระพุทธองค์ทรงรับทราบก่อนล่วงหน้าแล้ว  แม้เหตุการณ์จะเลวร้ายสักปานใดก็ตาม  ทรงอาศัยพระมหากรุณาธิคุณ แล้วทรงอนุเคราะห์สัตว์โลกจนข้ามพ้นวัฏฏะสงสาร อันเป็นพุทธปณิธานสูงสุด.

หมายเลขบันทึก: 446288เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2011 08:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 12:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

นมัสการพระคุณเจ้า

ขนาดพระเทวทัตต์พระองค์ยังยอมให้บวชเลย อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้รู้สึกว่า " ไม่รู้จะโกรธไปทำไม "

นมัสการพระคุณเจ้า

ขนาดพระเทวทัตต์พระองค์ยังยอมให้บวชเลย อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้รู้สึกว่า " ไม่รู้จะโกรธไปทำไม "

เจริญพรคุณโยม Nopparat Pongsuk

ถูกต้องแล้วคุณโยม ไม่รู้จะโกรธไปทำไม

เพราะมีแต่จะทำลายตัวเอง หน้านิ่วคิ้วขมวบ หน้าต้าเหมือนยักษ์

หน้าเดือนก่ำ ใจสั่นเครือ มือเท้าสั่นทั้งตัว

อภัยทาน เป็นยอดของทานทั้งปวง

สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ

การให้ธรรมะเป็นทานย่อมชนะการให้ทั้งปวง

สาธุ อนุโมทนา ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท