ชีวิตที่พอเพียง : ๑๒๗๕. ตรงต่อเวลา


          เมื่อเร็วๆ นี้ ผมไปงานประชุมวิชาการจัดโดยมหาวิทยาลัยต่างจังหวัดแห่งหนึ่งที่ผมคุ้นเคยดี   เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับความไม่ตรงต่อเวลา ทำให้ผมเขียนบันทึกนี้ 

 

          ผมแปลกใจมาก ที่โฆษกของงานทำหน้าที่ประกาศเรียกคนที่มาเข้าร่วมประชุมให้เข้าห้อง   เรียกแล้วเรียกอีก โดยที่เวลาตามกำหนดการล่วงไปแล้วกว่า ๑๐ นาที   ทำให้ผมคิดในใจว่าวัฒนธรรมของคนมหาวิทยาลัยนี้คือความไม่ตรงต่อเวลา   ไม่เคารพเวลานัดหมาย   คนจัดประชุมไม่ยึดตามเวลา   กลับรอคนที่ไม่ตรงต่อเวลา   ให้คนที่ตรงต่อเวลารอคนไม่ตรงเวลา   เป็นการลงโทษคนตรงต่อเวลาให้รอ   และให้ความเอื้อเฟื้อต่อคนไม่ตรงต่อเวลา

 

          ไม่ว่าผมไปทำงานที่ไหน   ผมจะบอกให้ตรงต่อเวลา   เริ่มประชุมตามเวลา   เพื่อสร้างวัฒนธรรมตรงต่อเวลา   คนไม่ตรงต่อเวลาเขาก็เดือดร้อนเอง จากพฤติกรรมไม่ตรงต่อเวลาของเขาเอง   ผมบอกว่าเราต้องไม่ลงโทษคนตรงต่อเวลาให้รอคนไม่ตรงเวลา  

 

          ความตรงต่อเวลาเป็นคุณสมบัติของสังคมสมัยใหม่   และเป็นการแสดงคุณสมบัติของบุคคล และขององค์กร   ผู้ใหญ่ที่น่าเคารพนับถือเป็นคนตรงต่อเวลาเสมอ   เพราะการตรงต่อเวลาเป็นการแสดงความเคารพผู้อื่น  

 

          ผมมีข้อสังเกตว่านักการเมืองไทยมักไม่ตรงต่อเวลานัดหมาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่เป็นรัฐมนตรี   ผมจึงพยายามหลีกเลี่ยงพิธีเปิดงานโดยรัฐมนตรี   โดยเฉพาะคนที่ผมเคยไปคอยในพิธีเปิดงานมาแล้ว   ผมรู้สึกว่าเขาไม่เคารพผู้อื่น   ผมจึงไม่อยากให้เกียรติไปในพิธีนั้น

 

          ตอนเด็กๆ ตอนที่ผมเรียนชั้น ม. ๒ หรือ ๓ ที่ รร. ชุมพร “ศรียาภัย” (ชื่อขณะนั้น)   มีพิธีใหญ่ของลูกเสือ   นัดลูกเสือทั้งอำเภอไปที่หน้าศาลากลางจังหวัด   เข้าใจว่าเวลา ๘ น. เพื่อให้ประธานคือผู้ว่าราชการจังหวัดมาทำพิธีเปิด  จำได้ว่าเราต้องมีไม้พลองด้วย   เราเข้าแถวรอแล้วรออีก  จนแตกแถว และต้องไปยืนรอใต้ต้นไม้เพราะแดดร้อน   เข้าใจว่าจนเกือบ ๑๑ น. ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงมา (ผมเดาว่าเพิ่งตื่น) ผมยังจำชื่อและนามสกุลผู้ว่าราชการจังหวัดคนนี้ได้ แต่ไม่อยากเอ่ยให้ลูกหลานอับอาย   ผมรู้สึกรังเกียจผู้ใหญ่ท่านนี้   และตั้งใจไว้ว่า หากตนเองเป็นผู้ใหญ่จะไม่ทำเช่นนั้น

 

          ตอนเป็น ผอ. สกว. ผมได้รับนัดไปประชุมเรื่องหนึ่งโดยหน่วยราชการแห่งหนึ่ง   ในตอนเย็น โดยเขาบอกว่าเลี้ยงอาหารเย็นด้วย   เรารอประธานซึ่งเป็นนักการเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรี   รอกว่าชั่วโมงก็ยังไม่มาจนทุกคนหิวข้าว   จึงพร้อมใจกันกินอาหารก่อน   เรารออยู่ประมาณ ๒ ชั่วโมง ประธานจึงมา และไม่กล่าวคำขอโทษเลย   หลังเขามาสัก ๕ – ๑๐ นาทีผมจึงลุกออกจากที่ประชุมกลับบ้าน   และตั้งใจว่าการประชุมไหนที่คนนี้เป็นประธานผมจะไม่ไป

 

          การตรงต่อเวลาเป็นการแสดงความเคารพผู้อื่น ผมถือหลักเช่นนี้   และผมพร่ำสอนตนเองให้เคารพผู้อื่นโดยไม่เลือกชั้นวรรณะ อย่างเท่าเทียมกัน ในทุกเรื่อง รวมทั้งเรื่องตรงต่อเวลา

 

          การประชุมใดที่ผมเป็นประธานและผมไปสายด้วยเหตุบังเอิญ   ผมจะขอโทษผู้เข้าร่วมประชุมเสมอ แม้จะสายเพียง ๕ นาที

 

 

 

วิจารณ์ พานิช
๒๖ พ.ค. ๕๔
                     

หมายเลขบันทึก: 445660เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2011 16:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

หลายแห่ง ได้ติดป้ายเรื่องวินัยการประชุม ซึ่งรวมถึงการตรงต่อเวลาไว้ด้วยค่ะ..แต่จิตสำนึกเป็นเรื่องสำคัญที่สุด..

Some people have no consideration for others' time --knowing full well that "time is precious" for "everyone"--.

In productivity term, 100 people wait 10 minutes for someone -- that's 1,000 minutes (over 16 hours or 2 days) of work lost! How much the meeting cost --in lost productivity--? Often, enough meetings are just used to "communicate" ideas, changes, or to "advertise". Other media can do that much effectively and without "losing work time" --email, memos, notice board, ... save time and other hassles ;-)

By the way, a cat in the picture is nice.

But it burdens the Internet traffic for no good reason --a form of wastes of time and other resources-- that we should consider.

อาจารย์ครับ...

ตอนนี้ผมก็ตั้งคำถามในการสอนลูกเหมือนกันครับ

เพราะรู้สึกว่า สอนลูกให้เขาเป็นคนดี...แล้วกลับทำให้เขา 'เจ็บ ' ครับ

เช่น

- สอนให้เขาเข้าคิวซื้อขนม แต่ผู้ใหญ่บางคนยุให้ลูกหลานแซงคิว

พอแซงคิวได้ ก็จะชมเชย หรือยกนิ้วว่าเจ๋งให้ครับ

- สอนให้เขามาตรงเวลาในการเข้าเรียนดนตรี

แต่ครูบอกว่า ให้รอเพื่อนก่อนให้มาให้ครบแล้วจึงเริ่มเรียน

ทำให้เลยเวลาเกือบชั่วโมง ทั้งที่สามารถใช้เวลาไปทำอย่างอื่นได้มากมาย

ผมก็เห็นเขาทุกข์นะครับ

แต่ก็คงต้องทำต่อไป เกิดเป็นคนต้องมีวินัยใช่ไหมครับ ?

อาจารย์ครับ...

ตอนนี้ผมก็ตั้งคำถามในการสอนลูกเหมือนกันครับ

เพราะรู้สึกว่า สอนลูกให้เขาเป็นคนดี...แล้วกลับทำให้เขา 'เจ็บ ' ครับ

เช่น

- สอนให้เขาเข้าคิวซื้อขนม แต่ผู้ใหญ่บางคนยุให้ลูกหลานแซงคิว

พอแซงคิวได้ ก็จะชมเชย หรือยกนิ้วว่าเจ๋งให้ครับ

- สอนให้เขามาตรงเวลาในการเข้าเรียนดนตรี

แต่ครูบอกว่า ให้รอเพื่อนก่อนให้มาให้ครบแล้วจึงเริ่มเรียน

ทำให้เลยเวลาเกือบชั่วโมง ทั้งที่สามารถใช้เวลาไปทำอย่างอื่นได้มากมาย

ผมก็เห็นเขาทุกข์นะครับ

แต่ก็คงต้องทำต่อไป เกิดเป็นคนต้องมีวินัยใช่ไหมครับ ?

อาจารย์ครับ ล่าสุด ผมได้รับเชิญ ให้ไปสัมมนาวิชาการ ร่วมกับครู

ที่โรงแรมหรู ที่กรุงเทพฯ จัดโดย สพฐ.ศธ.

ได้เวลาเปิดประชุมนานแล้ว ประธานมาแล้ว

แต่ครู จับกลุ่มคุย และ ซื้อสินค้า หน้าห้องประชุม

ผมอดสู กับภาพลักษณ์ ครู (รวม ศน.ด้วย )

ต้องเดินไปที่หน้าห้องประชุมแล้วบอกว่า

ได้เวลาเปิดประชุมแล้ว เข้าห้องก่อนครับ

ทั้งที่ผมเอง ไม่ได้อยู่ฝ่ายจัดการ แต่ (เสือก)ทนไม่ได้

ใจก็นึกอยากตะโกนว่า หนังสือ ซีดี หน้าห้องประชุมที่วางขาย ครูไม่เคยเห็นหรือ

ถ้าครูไทย ไม่รู้จัก สร้างวินัยเรื่องเวลา จะสอนเด็กได้อย่างไร

จึงอยากฝากให้ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่ผลิตครู เน้นเรื่องนี้มากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท