เรียนรู้การทำ AAR ต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรก


ข้อตกลงของวิทยากรกระบวนการในงานนี้คือ เราจะเป็นผู้สังเกตุการณ์ที่จะมีส่วนร่วมเฉพาะเรื่องจำเป็น

             วันที่ 7-8 สิงหาคม ดิฉันมีโอกาสร่วมเป็นทีมวิทยากรกระบวนการ ในงานการพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ที่กองกิจการนิสิต ม. นเรศวรเป็นเจ้าภาพ ซึ่งจัดที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน ผู้เข้าร่วมงานส่วนใหญ่เป็นผู้บริหารระดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน ด้านการพัฒนาบัณฑิตมายาวนาน จากสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือหลากหลายสถาบัน ทุกท่านล้วนพกพา tacit knowledge มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างออกรสชาดซึ่งล้วนแต่กลั่นมาจากความภาคภูมิใจของคนที่มีอาชีพครูผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูทั้งสิ้น

              ในวันที่ 8 สิงหาคม วันที่ 2 ของงานขณะที่นั่งเพลิดเพลินกับการฟังวิทยากรบนเวที อ. หนึ่ง (ดร. รุจโรจน์) ก็มากระซิบว่าจะให้เป็นผู้ดำเนินรายการช่วง AAR ตอนแรกดิฉันไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำได้ และกล่าวปฏิเสธไป แต่ อ.หนึ่งยืนยันว่า ดิฉันทำได้ จึงตัดสินใจทำ  สิ่งแรกที่ทำคือเดินตรงไปที่โต๊ะลงทะเบียนเพื่อขอจำนวนสถาบันผู้เข้าร่วม สิ่งที่ดิฉันได้คือรายชื่อสถาบัน 23 สถาบัน แต่ละสถาบันมีตัวแทนตั้งแต่ 1 คน ถึง 34 คน และ อ. หนึ่งให้เงื่อนไขว่า ต้องให้คนที่ไม่มีโอกาสได้นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่ทำ AAR ทางเลือกในการจัดการเหลือน้อยลง เพราะว่าไม่สามารถเลือกตัวแทนจากทุกสถาบันได้ ประกอบในเวลาอันสั้นไม่สามารถจดจำทุกคนได้ และที่นั่งไม่ได้จัดแยกโต๊ะเป็นวงกลมให้เลือกตัวแทนได้

              ทางเลือกที่มีก็คือ การตัดสินใจเลือกจากหน้าตา(ผู้ที่ดิฉันยังไม่เห็นว่าเดินออกไปนำเสนอหน้าห้อง) และวัยวุฒิ (ตามหลักเด็กก่อนสลับกับผู้ใหญ่หลัง) บอกตามตรงดิฉันตื่นเต้นมากค่ะ

               โชคดีที่คณะผู้จัดงานแจกหัวข้อ AAR ให้กับสมาชิกในห้องก่อนที่ดิฉันจะขึ้นไปทำหน้าที่จึงเป็นอุปกรณ์ช่วยชีวิตของดิฉัน เพราะมีเวลาเตรียมการน้อยมาก แค่จัดการกับความตื่นเต้นของตนเองก็หมดเวลาไปโขแล้ว  (และโชคดีที่เคยเข้าร่วมงาน UKM 3 ครั้งหลังจึงพอจำบรรยากาศมาใช้ได้บ้าง) จึงเริ่มต้นจากกระดาษแผ่นนั้น ขอให้ทุกท่านในที่ประชุมบอกความรู้สึกว่า

1. คาดหวังอะไรจากการเข้าร่วมการสัมมนา

2. สิ่งที่ได้เกินความคาดหวัง

3. สิ่งที่ได้น้อยกว่าความคาดหวัง

4. ตั้งใจจะกลับไปทำอะไรบ้าง

            และระหว่างที่ฟังผู้ร่วมสัมมนาทำ AAR ดิฉันก็พยายามนึกถึงศัพท์ KM ที่จะสามารถนำมาใช้ได้ (ดิฉันตก Deep Listening ไปโดยปริยาย) เพื่อจะทำให้การดำเนินรายการไม่สะดุดหรือหกคะเมนตีลังกาไม่เป็นท่าไปซะก่อน

              และที่โชคดีอีกอย่างหนึ่งคือ มี อ. วิบูลย์ คอยช่วยประคองให้การทำ AAR สำเร็จผ่านไปอย่างที่ดิฉันต้องขอบคุณท่านมา ณ ที่นี้อย่างมาก เฮ้อ ผ่านไปจนได้ และได้ประสบการณ์เยอะทีเดียวค่ะ

หมายเลขบันทึก: 44539เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 11:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • โอกาสเป็นสิ่งที่ไม่ได้มาง่ายๆ
  • เมื่อได้โอกาสก็เป็นการฝึกวิทยายุทธ
  • จริงๆ ช่วงนี้ควรรู้ตัวล่วงหน้าสัก 1 วันก็ยังดี
  • สิ่งที่ผมสังเกต (ไม่มีสระอุ) คือ การที่ไม่ได้พูดเกี่ยวกับเรื่อง AAR สักเล็กน้อย ทำให้พลังมันลดน้อยถอยลงไป
  • หลายคน AAR ได้ดี แต่หลายๆ ท่านก็กลัวตัวเองจะไม่เด่นเลยพูดนานเกินไป
  • การจัดบรรยากาศของห้องก็ยังไม่ดี
  • สรุปสุดท้ายทำได้ขนาดนี้ โดยมีเวลาเตรียมตัวเพียงเล็กน้อยผมว่าเยี่ยมแล้วครับ
  • แนะนำให้มีวิทยากร 2 คน ช่วยกันทำ AAR ก็น่าจะไม่ผิดกติกาอันใดครับ
เคยเป็นวิทยากรนำทำ AAR หลายครั้งค่ะ ครั้งแรกก็รู้สึกเช่นเดียวกันกับคุณวันเพ็ญ ที่ต้องเน้นมากๆ ก็คือ "พูดนี้ไม่มีถูกมีผิด" "เสริมพลังการคิดต่าง"    ครั้งแรกที่เป็นคนนำทุกคนจะตื่นเต้นเป็นเรื่องปกติ และทำจะได้ดีในครั้งต่อ ต่อไปค่ะ  การไม่รู้จักใครในวงจะทำ AAR ได้ดี.
ตัวอักษรสีฟ้า อ่านยากจังค่ะ
ขอขอบคุณ อ.สมลักษณ์และคุณเมตตา ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนและแนะนำค่ะ จะเก็บไว้ใช้ในโอกาสต่อไปค่ะ
แก้ไขตัวหนังสือเป็นสีเข้มขึ้นแล้วค่ะ ^_^
  • ผมมองว่าการได้ฝึกในเวทีนี้ เป็นประสบการณ์ที่ดีสำหรับพี่วันเพ็ญครับ
  • เห็นด้วยกับพี่เมตตา ว่าทุกอย่างที่พูด "ไม่มีถูก ไม่มีผิด" สำคัญคือ การพูดออกมาจากใจ
     ขอชมพี่วันเพ็ญ ว่า  พี่ทำได้ดีเยี่ยมเลยค่ะ 

เป็นผู้ดำเนินรายการ AAR  ได้ดีค่ะ (ถ้าไม่บอกใครว่าเป็นครั้งแรกก็ไม่มีใครทราบ)  สังเกตได้จากความพยายามที่จะให้ทุกคนได้มีส่วนร่วม ความตั้งใจที่จะทำให้บรรยากาศเป็นกันเอง เพื่อให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น...ครั้งนี้อาจเป็นประสบการณ์ที่ตื่นเต้นซึ่งมีเวลาเตรียมตัวน้อย...ครั้งต่อ ๆ ไปคงจะหายตื่นเต้นและเป็นมืออาชีพแล้วล่ะ  มั่นใจค่ะว่า...คุณวันเพ็ญทำได้...และทำได้ดีด้วย.....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท