มหกรรมจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะของจังหวัดตาก


งานที่ สสจ. ตากกำลังดำเนินการนี้ ถ้ากรมอนามัยมาร่วมเป็นภาคีด้วย จะยิ่งดี เพราะเป็นหน้าที่ของกรมโดยตรง และกรมอนามัยจะช่วยกระพือให้จังหวัดอื่นทำบ้าง เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเราครับ

มหกรรมจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะของจังหวัดตาก

        วันที่ ๑๒ สค. เป็นวันแม่ วันมงคล     นอกจากความสุขที่ได้โทรศัพท์คุยกับแม่แล้ว     ผมยังสุขใจล้นเหลือที่ได้ข่าวดีด้าน KM ถึงสองเรื่องซ้อน     เรื่องแรกได้เล่าแล้วใน gotoknow.org/blog/thaikm/44524     เรื่องที่สองคือ อีเมล์ จากคุณหมอพิเชฐ ดังนี้

เรียนอาจารย์หมอวิจารณ์และอาจารย์ ดร.ประพนธ์ที่เคารพ
                 ตอนนี้ผมเป็นCKOของ สสจ.ตากด้วย ผมกับทีมที่ สสจ.ตากจะจัดมหกรรมการจัดการความรู้ของสาธารณสุขทั้งจังหวัดในวันที่ 21-22 กันยายนนี้ (ถือเป็นการKick-off KM)ตามกำหนดจะมีทีมงานในจังหวัดเข้าร่วมประมาณ 200 คน โดยใช้ทีมงานหลักที่จะเป็นวิทยากรประจำกลุ่มจากโรงพยาบาลบ้านตาก ผมอยากเรียนรบกวนขอสนับสนุนทีมงานจาก สคส.มาช่วย อาจารย์จะกรุณาจัดส่งไปช่วยได้ไหมครับ และหากอาจารย์มีข้อเสนอแนะในการจัดกิจกรรม ประการใดบ้าง ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ
                                                 ขอแสดงความนับถือ
                                                   นพ.พิเชฐ  บัญญัติ

           คุณหมอพิเชฐ แนบร่างกำหนดการของมหกรรมมาด้วย ดังนี้


   
การจัดการความรู้สู่คนไทยสุขภาพดี เมืองไทยสุขภาพดี

Knowledge Management: Healthy Thais, Healthy Thailand
โรงแรมเวียงตาก ริเวอร์ไซด์
วันที่ 20-22 กันยายน  2549


คณะกรรมการอำนวยการ : นพ. สสจ.ตาก,ผอก. ร.พ.ทุกแห่ง, สาธารณสุขอำเภอทุกแห่ง, หัวหน้ากลุ่มงาน,ผชชว.,ผชช ส.,จบส.8


คณะกรรมการดำเนินการ : ผชช. ว. CKO, ผชช. ส. ประธาน

Facilitator, ทีมงานของฝ่ายพัฒน์, ทีมงานของโครงการTUC-GFT, ทีมงานจากโรงพยาบาลบ้านตาก 9 คน, ปรานหรือตัวแทนFacilitatorจากทุกโรงพยาบาลในจังหวัดตาก


รูปแบบงาน : ตลาดนัดการเรียนรู้ (Tak Learning supermarket) มีการนำเสนองานเด่นทางด้านวัณโรคของทุกอำเภอๆละ 1 บอร์ด, มีการนำเสนองาน/กิจกรรมเด่นทางด้านHealthy Thailandของทั้ง 9 อำเภอๆละ 1 บอร์ด พร้อมทั้งกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของคุณกิจ (KM practitioner) จากทุกอำเภอโดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง (Springboard story telling) และสุนทรียสนทนา (Dialouge) เพื่อถอดบทเรียน รวมทั้งแจกรางวัลกิจกรรมดีเด่น  เจ้าหน้าที่ดีเด่นด้านต่างๆของจังหวัดตาก


วันที่ 20 กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การควบคุมป้องกันวัณโรค (TUC project)
08.00-08.30 ลงทะเบียน(กลุ่มเป้าหมายที่ใช้งบประมาณของTUC 165 คน)
09.00-09.30 ชี้แจงกิจกรรม จัดแบ่งกลุ่ม
09.30-10.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ 18 กลุ่ม(ตามหน้าที่ที่ปฏิบัติงานจากทั้ง 9 อำเภอ)
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 แลกเปลี่ยนเรียนรู้(ต่อ)
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 แลกเปลี่ยนเรียนรู้(ต่อ)
14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-15.45 ถอดบทเรียน สกัดขุมความรู้ของกลุ่ม
15.45-16.30 นำเสนอบทเรียน/ขุมความรู้ของกลุ่ม


วันที่ 21  KM : Healthy Thailand + KM : TUC Tbc
08.00-08.30 ลงทะเบียนกลุ่มที่ใช้งบส่งเสริมป้องกัน จำนวน 130 คน
08.30-9.00 พิธีเปิดมหกรรมการจัดการความรู้สู่คนไทยสุขภาพดี เมืองไทยสุขภาพดี โดยผู้ว่าราชการ   จังหวัดตาก  กล่าวรายงานโดยนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตากและมอบรางวัลดีเด่น
09.00-09.30 บรรยายพิเศษ “การจัดการความรู้สู่สังคมฐานความรู้” โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดตาก
09.30-10.00 นโยบาย แนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตาก โดยนายแพทย์
  สาธารณสุขจังหวัดตาก
10.00-10.15 พักรับประทานอาหารว่าง
10.15-11.00 เล่าเรื่องการจัดการความรู้ โดย นพ.พิเชฐ  บัญญัติ  CKO สสจ.ตาก
11.00-12.00 แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ Healthy Thailand 6 กลุ่มตามภารกิจ
  แบ่งกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้TUCตามกลุ่มวิชาชีพ 9 กลุ่ม (แต่ละคนไม่ซ้ำอำเภอกัน)
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 กลุ่มHealthy Thailand แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อ
  กลุ่มTUC จัดทำตารางอิสรภาพเพื่อเปรียบเทียบผลงานในปีต่อไป
14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-16.30 กลุ่มHealthy Thailand แลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปบทเรียนเพื่อเตรียมนำเสนอ
  กลุ่มTUC สรุปการจัดทำตารางอิสรภาพ แผนที่จะแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไปและจัดทำทบทวน
  หลังปฏิบัติ (AAR)
18.00-23.00 ร่วมกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ (เลี้ยงส่งเจ้าหน้าที่เกษียณอายุราชการ)


วันที่ 22  เฉพาะกลุ่มแลกเปลี่ยน KM : Healthy Thailand
08.30-10.30 นำเสนอขุมทรัพย์ความรู้ แบ่งปันสู่กลุ่มอื่น
10.30-10.45 พักรับประทานอาหารว่าง
10.45-12.00 แบ่งกลุ่ม จัดทำตารางอิสรภาพเพื่อเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในปีต่อไป
12.00-13.00 พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.30 จัดทำตารางธารปัญญา(ต่อ)
14.30-14.45 พักรับประทานอาหารว่าง
14.45-15.45 นำเสนอตารางธารปัญญา
15.45-16.30 จัดทำกิจกรรมทบทวนหลังปฏิบัติ (AAR) และพิธีปิด

หมายเหตุ
1.  ทีมของTUC ในวันแรก แบ่งออกเป็น 18 กลุ่มย่อย ตามกลุ่มเฉพาะงานของตนเอง แลกเปลี่ยนโดยใช้สุนทรียสนทนา ในวันที่สองรวมกลุ่มเหลือ
9 กลุ่ม โดยพยายามให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทำเรื่องเดียวกันและไม่ซ้ำอำเภอกัน
2.  ทีมของHealthy Thailand มี 6 กลุ่มคือคุ้มครองผู้บริโภค ควบคุมโรคติดต่อ ควบคุมโรคไม่ติดต่อ เอดส์และยาเสพติด ส่งเสริมสุขภาพและ
อนามัยสิ่งแวดล้อม แต่ละกลุ่มจะมาจาก รพ. 1 คน จาก สสอ. 1 คน และจากอสม. 1คน
3.  Facilitatorของกลุ่มจะใช้ทีมงานของโรงพยาบาลบ้านตากที่เคยเป็นวิทยากรกลุ่มแล้ว 9 คนคือเกศราภรณ์, จารุวรรณ, พวงพยอม, ศรัณยา, พัชรี
ยา, สุภาภรณ์, วรวรรณ, รัชดา, ปิย์วรา จับคู่ร่วมกับตัวแทนFacilitatorจากโรงพยาบาลต่างๆและจากสำนักงาน สสจ.ตากเพื่อเรียนรู้การเป็นวิทยากรกลุ่มไปในตัวและช่วยเป็นคุณลิขิต (Note taker) ด้วย
4.  น่าจะเชิญทีมงานจากสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม(สคส.) เข้าร่วมด้วยหรือตัวแทนจาก สสจ.ต่างๆในเขต 2  สักแห่งละ 1 คน
5.  ทำการประชาสัมพันธ์ในวงกว้างและเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมสังเกตการณ์
6.  นัดประชุมทีมงานเพื่อเตรียมการในวันที่ 23 หรือ 24 หรือ 25 สิงหาคม 1 ครั้ง และก่อนจัดงานในเดือนกันยายนอีก 1 ครั้งเพื่อเตรียมความพร้อม

         เอ็นดอร์ฟิน หลั่งไปทั่วร่างผมในพริบตาที่อ่านจบ     ผมมีความรู้สึกเหมือนลอยได้    สองข่าวแห่งความปิติในวันมหาปิติ คือวันแม่แห่งชาติ   

        ปิติว่า เราเห็นแนวทางที่ KM จะกำซาบไปทั่วแผ่นดินไทย    ชโลมสังคมให้เป็นสังคมเรียนรู้     ที่เอาใจใส่ความรู้จากการปฏิบัติ ความรู้ในคน   เพิ่มขึ้นจากความรู้ทฤษฎี ความรู้ในตำรา ที่เราคุ้นเคย     โดยผู้ดำเนินการเพื่อสร้างสรรค์ยุคใหม่นี้ทำด้วยตนเอง     ทำเพราะเห็นคุณค่าต่อแผ่นดิน   ไม่ใช่ทำเพราะอามิสหรือเพราะหวังผลประโยชน์ส่วนตน

        ปิติที่เห็นการวางแผนจัดงานที่มีคุณภาพสูงมาก

        ผมขอให้ความเห็นต่อหมอพิเชฐ ว่าน่าจะเชิญทีมกรมอนามัย สัก ๒ - ๓ คน ไปช่วยสร้างสีสัน และความเข้มข้นของกระบวนการ ลปรร.   รวมทั้งช่วยสะท้อนภาพของ KM เพื่อสุขภาวะของจังหวัดตาก ออกสู่สังคมไทยในวงกว้าง      เพื่อกระตุ้นจังหวัดอื่นๆ ให้คิดอ่านดำเนินการบ้าง    ยอดคุณลิขิตของกรมอนามัยคือ "เพื่อนร่วมทาง" (หมอนนทลี) ครับ   

        งานที่ สสจ. ตากกำลังดำเนินการนี้ ถ้ากรมอนามัยมาร่วมเป็นภาคีด้วย จะยิ่งดี     เพราะเป็นหน้าที่ของกรมโดยตรง    และกรมอนามัยจะช่วยกระพือให้จังหวัดอื่นทำบ้าง      เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองของเราครับ

        สำหรับ สคส. เราจะปรึกษากันในสัปดาห์หน้า ว่าจะไปช่วย "จับภาพ" KM จ. ตากดีไหม     จะส่งใครไป

        ขอแสดงความชื่นชมต่อท่าน สสจ. ตาก ครับ     ที่ใช้ "สินทรัพย์" (assets) ที่ท่านมีอยู่แล้ว  คือทีม KM รพ. บ้านตาก  เป็นเครื่องมือขยายผล KM เพื่อสร้าง สุขภาวะ ของคนในจังหวัดตาก     นี่คือยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแบบต่อยอดจากความสำเร็จที่น่าชื่นชมครับ

       ผมเอามาลงบันทึกเพื่อเชียร์จังหวัดอื่นไปในตัว ให้จัดมหกรรมแบบนี้บ้าง     และถ้าจังหวัดอื่นจะส่งคนไปร่วมประชุมดูลาดเลา ก็จะได้รายละเอียดจากบันทึกนี้     โดยหวังว่าหมอพิเชฐจะเอารายละเอียดที่ชัดเจนกว่านี้ลง บล็อก ของหมอพิเชฐด้วย

วิจารณ์ พานิช
๑๓ สค. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 44528เขียนเมื่อ 13 สิงหาคม 2006 08:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

 Light Bulb เรียนท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ ผ่านไปถึง อาจารย์หมอพิเชฐ

 เป็นแนวทางที่ดีมากๆครับ ที่ได้เรียนรู้การเตรียมการทำงานของทีมงาน จังหวัดตาก





              กราบขอบพระคุณกำลังใจและข้อชี้แนะอันมีค่ายิ่งจากอาจารย์หมอวิจารณ์ครับ ตอนนี้ผมเองยังไม่กล้านำลงบล็อกเพราะอยากทำให้เห็นผลก่อน และตอนนี้ที่มีงบแล้วคือส่วนของTUC ในวันที่ 20-21 กันยา แต่ของ 21-22 กันยา ยังไม่แน่ใจว่าจะได้งบประมาณหรือเปล่า ก็ยิ่งไม่ค่อยแน่ใจในการเชิญชวนครับ แต่พอได้อ่านบล็อคอาจารย์วิจารณ์แล้ว ทำให้ผมตัดสินใจได้ทันทีว่าถ้างบที่ สสจ.ตากไม่มี ผมจะใช้เงินบำรุงโรงพยาบาลบ้านตาก จัดเองเลย เพราะคิดว่าน่าจะได้ประโยชน์แก่ชาวจังหวัดตากคุ้มค่าครับ

             ขอบคุณอาจารย์หมอJJด้วยครับ

จะมีการประชุมเตรียมงานกันในวันที่ 25 สิงหาคมนี้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท