การเรียนรู้ตลอดชีวิตใหม่ในกระแสโลกาภิวัฒน์


การเรียนรู้ตลอดชีวิตในท่ามกลางกระแสโลกาภิวัฒน์

 

สวัสดีค่ะ

         ห่างหายไปนาน จนไม่ทราบว่าจะเริ่มต้นบันทึกอย่างไรแต่มีโอกาสได้ศึกษาบทความของท่าน ดร. ชัยยศ  อิ่มสุวรรณ รองเลขาการ กศน. เกี่ยวกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงสรุปสาระที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง

         การทบทวนแนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ตลอดชีวิตใหม่ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงของโลกาภิวัตน์  มีอะไรบ้างที่ต้องทบทวน

         1.  การเปิดมุมมองเกี่ยวกับการศึกษาตลอดชีวิตโดย สร้างวิสัยทศน์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตใหม่ ต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ของประชาชนในฐานะที่เป็น Demand Side ให้มากขึ้น หรือมากกว่าการจัดการศึกษาที่กระทำโดยรัฐในฐานะ Supply Side เป็นการยอมรับการมีอยู่ของการเรียนรู้ภาคประชาชนว่ามีความหมายต่อการดำรงชีวิต และควรตกลงกันในกติกาของสังคมว่า " การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน"

         2.  ในโลกยุคปัจจุบัน สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ต้องใช้ความรู้เป็นฐานในการขับเคลื่อน ดังที่รับรู้กันว่าโลกยุคปัจจุบันเป็นสังคมฐานความรู้ ผู้ที่จะประสิทธิประสาทความรู้ ต้องมีมากว่าโรงเรียน แต่ควรพิจารณาว่าจะมีมุมมองเรื่องผู้จัดการศึกษาอย่างไร และจะต้องยอมรับว่าประชาชนจะเป็นผู้จัดการศึกษาตลอดชีวิตได้อย่างไร

        3.  วิธีวิทยา ( Metodology) ที่ว่าด้วยการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยต้องยอมรับว่าผู้จัดการศึกษามีมากกว่าโรงเรียนเท่านั้น วิธีการจัดการศึกษาตลอดชีวิตอยู่มากมาย ไม่ว่าการจัดบรรยากาศหรือสถานการณ์ให้เกิดการเรียนรู้ นั่นหมายความถึงเนื้อหาที่จะเรียนรู้มีกว้างขวางกว่าชุดของความรู้ที่จัดในโรงเรียน จึงต้องมองและพิจารณาว่ามีวิธีการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างไร

        4.  เครือข่ายการเรียนรู้   ในโลกยุคปัจจุบันให้บทเรียนแก่มนุษย์ว่าในที่สุดแล้วเราไม่อาจจะอยู่ได้โดยลำพัง แต่ต้องร่วมมือช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างระบบเครือข่ายของการเรียนรู้ขึ้นในสังคม โดยมีการผูกขาดความรู้ว่าเป็นของใครหรือหน่วยใด

       5.  เรื่องที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิตต้องมีสาระการเรียนรู้ที่สัมพันธ์กับวิธีวิทยาว่าด้วยการเรียนรู้ สิ่งที่จะต้องย้ำเน้นเป็นพิเศษก็คือ สาระของการเรียนรู้นั้นต้องตรง และเหมาะ ( Relevance) กับความต้องการจำเป็นของแต่ละคน ซึ่งผู้ที่จะบอกได้ก็คือ ตัวประชาชนนั่นเอง ซึ่งต้องมีกลไกที่ให้ประชาชนตอบได้ว่า ความต้องการที่แท้จริงของตนมีอะไร เพื่อที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตรงและเหมาะกับตัวผู้เรียนเอง

           แต่เรื่องที่มีความสำคัญกว่านั้น ก็คือ การเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้ของประชาชน ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่อ่านออก คิดเลขเป็นเท่านั้น จะต้องมีความสามารถสร้างทักษะในการอ่านเพื่อจับประเด็นของเรื่องทีอ่าน แล้วนำมาคิดวิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติจนเกิดเป็นความรู้ที่แท้จริง เช่นเดียวกับการฟังที่จะต้องจับประเด็นให้ได้ว่ากำลังคุยกันเรื่องอะไร รวมทั้งการพูดเพื่อการสื่อสารความคิดเห็นและแสดงความต้องการของตนเองได้ ซึ่งหมายถึงการช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือสำหรับการเรียนรู้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 444783เขียนเมื่อ 19 มิถุนายน 2011 11:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตามรอยคุณยายธีมาทักทายให้กำลังใจค่ะ

ดิฉันเคยทำงานสังกัดกศน. นานมามากๆแล้วค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท