เว็บไซต์ design เก๋ และ หาข้อมูลง่าย แบบปล่อยไก่


ก่อนจะไปพูดถึงหลัก usability ของเว็บไซต์นี้ ดิฉันต้องขอบอกว่าก่อนจะประเมินใดๆ ความประทับใจเมื่อแรกเห็น ดิฉันให้คะแนนความประทับใจไปเต็มที่เลยค่ะ เพราะรู้สึกว่าโล่ง โปร่ง สบาย และมีความสุขเมื่อเห็นเว็บไซต์นี้

เว็บไซต์ ploikai.com

ต้องขอบคุณ @adayfoundation ที่นำลิงก์ของเว็บไซต์นี้มาแนะนำใน twitter ดิฉันจึงได้รู้จักไซต์นี้เป็นครั้งแรก เมื่อประมาณต้นเดือนที่ผ่านมา และจากประสบการณ์ในครั้งแรกที่เห็นเว็บไซต์นี้ ความประทับใจมันทำให้จดจำชื่อเว็บไซต์ได้จนถึงปัจจุบัน และยังคิดถึงเว็บไซต์นี้เสมอ คิดดูซิค่ะ เพียงครั้งแรกก็สร้างความจดจำได้มากเลยทีเดียว

และด้วยความประทับใจในหลายๆ ส่วนก็เลยอยากจะมาชวนกันลองดูว่า โครงสร้างของเว็บไซต์นี้น่าสนใจมาก ซึ่งทำให้ได้เรียนรู้และได้หยิบวิชาความรู้เรื่อง usability มาคุยในบล็อกนี้ได้ด้วย ตามมาอ่านมาแลกเปลี่ยนกันนะค่ะ

เริ่มคุยกันต่อ เมื่อประทับใจแล้ว ก็เลยสร้างความอยากรู้อยากเห็นข้อมูลในเว็บไซต์ เริ่มต้นด้วย ในหน้าแรกแทนที่เราจะเห็นราคาสินค้าหรือตัวอย่างสินค้าต่างๆ แต่ไม่เลยค่ะ เราจะเห็นข้อมูลที่มาที่ไปของการผลิตสินค้า เรียกได้ว่าให้ข้อมูลกันก่อนเลย ที่สำคัญการใช้เพลงสื่อสารก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ได้รับรู้ข้อมูลด้วยการอ่านและการฟัง มันเลยเป็นอีกกลยุทธ์หนึ่งของการทำเว็บไซต์ ที่ทำให้รู้สึกว่าฉันไม่ได้รับการเสนอขายโดยทันที แต่เป็นการให้ข้อมูลเพิ่มทำความรู้จักกับตัวองค์กรและผลิตภัณฑ์กันก่อนเลยนะ

ต่อด้วยเมนูหลักทั้ง 6 เมนูที่จัดวางอยู่ด้านบนของหน้าเว็บไซต์ ซึ่งเมนูหลักเหล่านี้ หากจะให้ประเมินตามหลัก usability แล้ว อาจจะดูว่ายาวไปสักนิด แต่ใจความของเขาสื่อความหมายชัดเจนนะ อันนี้ก็ถือว่าผ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ ที่สำคัญในเมื่อพื้นที่มีมาก ก็ทำให้เลือกใช้ข้อมูลที่ยาวและยังได้รับรู้ถึงความเป็นกันเองของการใช้คำ ซึ่งได้ว่าเรียกอารมณ์ร่วมของผู้เยี่ยมชมและสร้างบรรยากาศได้ดีทีเดียวค่ะ

และเมื่อเราคลิกไปดูข้อมูลในหน้าต่างๆ ข้อมูลที่นำมาบอกเล่าก็ไม่ยาวจนเกินไป แต่ก็จะมีบางเมนูหรือบางหน้าที่จะต้องเลื่อนข้อมูลลงมาอ่านเพิ่มเติมบ้าง และบางหน้าข้อมูลยาวมากก็จำเป็นต้องเลื่อนลงมาหลาย pagedown แต่เนื่องด้วยบทความมีการตัดแบ่งเป็นช่วงๆ ก็ช่วยให้การอ่านง่ายขึ้นค่ะ

ทีนี้ย้อนกลับมาดูหน้าแรกอีกครั้ง เวลาจะกลับหน้าแรกทำยังไงล่ะ จริงๆ ไม่ยากเลย ก็คลิกเมนูหน้าแรก หรือจะคลิกตรงสัญลักษณ์รูปไก่ ก็ได้ค่ะ

ในหน้าแรก ดิฉันมองเห็นเมนูทางซ้ายมือที่มีคลิกให้ติดต่อเรา ซึ่งถือได้ว่าช่องทางที่จะให้ผู้ที่สนใจได้ติดต่อหรือสื่อสารกับองค์กร แต่ก็แอบเสียดายว่าเมนูนี้น่าจะถูกตั้งไว้ในเมนูหลักด้านบน หรือส่วนของ footer เพราะว่าเมื่อผู้ใช้นึกจะติดต่อสอบถามอะไรก็คลิกได้ตลอดเวลา และไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปหน้าแรกอีกครั้ง ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ทันสังเกตก็อาจจะไม่เห็นเมนูนี้ก็ได้นะค่ะ

ส่วน footer ของเว็บไซต์จะมีลิงก์แผนผังเว็บไซต์ อันนี้ก็ต้องขอชื่นชมค่ะว่า ขนาดเป็นเว็บไซต์ที่ข้อมูลไม่มาก แต่ก็ยังให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ซึ่งถือเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ใช้งานที่อาจจะไม่ชำนาญเรื่องการใช้เว็บไซต์หรือหาข้อมูลไม่เจอจริงๆ ก็ยังสามารถพึ่งพาช่องทางนี้ได้

Consistency ของเว็บไซต์ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดี ดียังไงหรอคะ ด้วยการออกแบบของเว็บไซต์ การจัดวางเมนูหลักๆ ทั้งส่วนด้านบนและส่วนด้านล่างก็วางไว้ตำแหน่งที่คงที อันนี้รวมไปถึง icon ลำโพงที่เป็นช่องทางให้ผู้ใช้เลือกที่จะปิดเสียงได้ และภาพประกอบก็ยังคงตอกย้ำความเป็นฟาร์มที่ปล่อยไก่ตามธรรมชาติ อันนี้ในทางการตลาด ดิฉันว่าหากอ่านทุกหน้าของเว็บไซต์นี้แล้ว ผู้ใช้ต้องรับรู้และจดจำภาพลักษณ์นี้ได้แน่ค่ะ เพราะภาพและเสียงย้ำตลอดเวลา ภาพและเพลงทำให้ไม่เบื่อ จากการลองเข้าใช้งาน 3 ครั้งค่ะ

ส่วนเรื่องภาพเคลื่อนไหว ที่จริงๆ แล้วจะมีประเด็นมากๆ เพราะภาพเคลื่อนไหวจะทำให้สายตาของเรามันถูกดึงไปมองมากกว่าข้อความที่แสดงอยู่ อันนี้บางทีระหว่างที่อ่านบทความไป ดิฉันก็มีแอบเผลอไปมองด้วยเช่นกัน เพราะภาพเคลื่อนไหวมีผลต่อสมาธิมากค่ะ ดูเหมือนจะรบกวนในการดูข้อมูลอยู่บ้าง

ส่วนเรื่องตัวอักษรที่ใช้ในการนำเสนอ ถึงแม้จะใช้ตัวอักษรหลากหลายแบบ เท่าที่ดู ภาพรวม คาดว่าน่าจะมีอยู่ประมาณ 3 แบบ จริงๆ ตามหลักก็อาจจะดูว่าไม่ Consistency แต่ดิฉันว่าก็ไม่ค่อยจะมีผลกระทบสักเท่าไร เพราะว่าในแต่ละหน้าก็จะใช้รูปแบบตัวอักษรที่เหมือนกันทั้งบทความ ก็ทำให้ง่ายต่อการอ่าน และยังมีการเลือกใช้พื้นสีขาว และตัวอักษรสีเข้ม ซึ่งส่วนนี้ก็ทำให้การอ่านดูง่ายและสบายตาค่ะ

จากมุมมองของดิฉันที่ลองมองในแง่มุมทางด้าน usability ตามที่เขียนนำเสนอไปนั้น ก็เป็นเพียงการมองเป็นบางจุดที่อยากจะเสนอเท่านั้น และเป็นการนำเสนอที่ไม่ละเอียดมากนัก เพราะถ้าละเอียดคงว่ากันยาว กลัวจะเบื่อซะก่อนนะค่ะ แต่ก็ยังอยากจะยกตัวอย่างให้ผู้ที่สนใจได้เรียนรู้หลักกว้างๆ ของการออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์แบบคร่าวๆ กันไว้ อย่างน้อยก็น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปใช้ได้ไม่มากก็น้อย ซึ่งดิฉันเองก็เชื่อว่าผู้ที่ออกแบบเว็บไซต์คงจะมีเหตุผลหรือมุมมองที่อาจจะตรงหรือแตกต่างกันบางส่วน ทั้งนี้เพราะการออกแบบเว็บไซต์คงต้องดูปัจจัยหลายๆ อย่างประกอบกันค่ะ บางทีความสวยงามจะมาเป็นหลัก หรือบางทีเรื่องการใช้งานง่ายก็มีส่วนสำคัญสูงกว่า แต่ทั้งนี้ทั้ง 2 ส่วนนี้ก็ยังคงไปด้วยกันได้ค่ะ

และท่านใดผ่านไปผ่านมาในบันทึกนี้ ไม่ว่าจะเป็นเห็นต่าง เห็นด้วย หรือเห็นเพิ่มก็แลกเปลี่ยนกันได้นะค่ะ มาร่วมกันคุยและเรียนรู้ร่วมกันค่ะ

หมายเลขบันทึก: 444427เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2011 15:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ระหว่างที่เขียนบันทึกนี้ ต้องเปิดเว็บไซต์ปล่อยไก่ตลอดเวลา ฟังเพลงประจำเว็บไปด้วยนะค่ะ ฟังแล้วเพลินดีค่ะ ^_^

มีให้ "กำลังใจ" ด้วยด้วยอ่ะ ???

เห็นน้องมะปรางเขียนไว้ตั้งแต่อนุทินแล้วเนาะ

น่ารักดีครับ ;)...

เข้าไปมาแล้วครับ น่ารักมากๆ

ปล่อยไก่ สมชื่อจริงๆ

ขอบคุณที่นำมาให้ได้ชมกันครับ  

หน้าตาเว็บ......ดูแล้วสบายใจจริงๆด้วยค่ะ.....พี่มะปราง

It seems that I ruled websites for dinosaurs.

My rules say:

- clear design and focused attention (no bells and jungles to distract or divert attention)

- clean and unbiased facts --unless the facts are 'vulgar'-- (the stuff in laws: the truth, all the truth, nothing but the truth)

- minimum foot print (no wastes: computer and network resources, energy resources, 'human resources' --time--)

- minimum dependences (not relying on 'proprietary' technologies ==> maximum flexibility --adaptability--)

I can list more. But in the face of growing 'complexity' (in systems), systems evolve and mutate --not just change here and there--, a simple principle is (a psychological one): "do 'just' enough to get 'good' result". ;-)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท