โครงการพัฒนาเสริมสร้างความแข้มแข็งสถาบันกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน


ส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มอาชีพ
เมื่อวันที่  3  มิถุนายน 2554 ดิฉันได้จัดอบรมโครงการพัฒนาเสริมสร้างความเข้มแข็งสถาบันกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตปาล์มน้ำมัน กิจกรรม ส่งเสริมการรวมตัวของเกษตรกรรายย่อยเป็นกลุ่มอาชีพ จำนวน 25 ราย ในการอบรมเราได้มีการจัดแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ เรื่องปาล์มน้ำมันในด้านการจัดการสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม และการจัดการสวนปาล์มน้ำมันหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งพอจะได้ข้อสรุปจากเกษตรกร  ดังนี้
          การจัดการสวนปาล์มน้ำมันหลังน้ำท่วม สรุปโดยนางวิจิตร อนุกูล  ดังนี้
                 1.  ตัดลูกและดอกที่เน่าเสียทิ้ง
                 2.  ตัดใบแห้งทิ้ง
                 3. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก,ปุ๋ยคอก  ต้นละประมาณ 5 กิโลกรัม
                 4.  ที่สำคัญที่สุดให้ตัดหญ้าในสวน อย่าฉีดหญ้า เพราะจะทำให้ระบบรากได้รับการกระทบกระเทือน
                  ซึ่งจากกลุ่มก็พอจะสรุปได้ว่าเกษตรกรมีความเข้าใจ และดูแลสวนได้ดี และถูกต้อง
         การจัดการสวนปาล์มน้ำมันหลังเก็บเกี่ยว สรุปโดยนางวาสนา อนุกูล  สรุปได้ ดังนี้
                   1.  การตัดแต่ง  1  ปี  ตัด 1 ครั้ง  จะเป็นช่วงเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม
                   2.  น้ำ  เกษตรกรใช้แหล่งน้ำธรรมชาติ (น้ำฝน)
                   3.  ปุ๋ย ใส่ 3 ครั้ง/ปี ครั้งละ 2-3 กก.  โดยใส่ปุ๋ยเคมี สูตร 46-0-0, 0-0-60 , 15-15-15 และสูตร 13-13-21  ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 1 ครั้ง เดือนพฤษภาคม
                   4.  กำจัดวัชพืช   ปีละ 2 ครั้ง (ส่วนมากจะใช้วิธีตัดหญ้า)
                   5.  อื่นๆ - ใส่ใบรอน  1 ช้อนโต๊ะ/ต้น/ปี
                                -  ใส่โดโลไมท์  3-5 กก./ต้น/ปี
                ซึ่งในการจัดการสวนปาล์มหลังเก็บเกี่ยว ในด้านการใส่ปุ๋ยได้แนะนำการใช้ปุ๋ยน้ำชีวภาพ  ปุ๋ยสูตร 21-0-0 หรือ ปุ๋ยน้ำชีวภาพ  0-0-60  นายสัมฤทธิ์  แสงศักดิ์ ผสมแล้วฉีดพ่นเดือนละ 1 ครั้ง จะทำให้ลดต้นทุนในการผลิตและได้แนะนำ การใช้ปุ๋ยเดียวตามหลักวิชาการ ดังนี้
                                -  ปุ๋ย 21-00                           จำนวน                  5  กก./ต้น/ปี
                                -  ปุ๋ย 0-3-0                           จำนวน                  1.5 กก./ต้น/ปี
                                -  ปุ๋ย 0-0-60                         จำนวน                  4 กก./ต้น/ปี
                                -  ทรีเซอร์ไรท                      จำนวน                  1 กก./ต้น/ปี
                                -  โบรอน (โบแรกช์)            จำนวน                  100  กรัม/ต้น/ปี
                                สำหรับปุ๋ยสูตรสำเร็จ ก็สามารถใช้ได้  ให้ใช้สูตรที่มีโบแตสเซียมสูง  และมีธาตุอาหารเสริม โบรอน แมกนีเซียม  ถ้าบุคคลใดสนใจก็สามารถนำไปปรับใช้ได้
                                                                                                          นางมานี มากอินทร์
                                                                                            นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
                                                                                                                               

 

Large_dsc01178_resize

 

หมายเลขบันทึก: 444266เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2011 13:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • เวทีต่อไป ขอมีส่วนร่วมด้วย คน นะคับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท