มหกรรม KM DM-HT ภาคเหนือ : วันแรก


ช่วงสุดท้ายเป็นการ AAR เท่าที่ได้ scan ดูก็พบว่าผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่พึงพอใจมาก

เตรียมงาน 

วันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๕๔

ทีมจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ประกอบด้วยน้องแหม่ม รัตนากร บุญกลาง และน้องหญิง นุชนาถ เอ้งฉ้วน ได้จัดทำป้ายชื่อของผู้เข้าประชุมเป็น ๒ สีคือส้มและเขียว เช่นเดียวกับงานที่ภาคอีสาน แต่คราวนี้เราใส่หมายเลข ๑-๑๐ ที่ป้ายชื่อด้วย เพื่อให้สะดวกในการแบ่งกลุ่ม และในการทำงานครั้งนี้มีน้องนวล อาจารย์สุดา ใจห้าว มาเสริมอีกแรง

การประชุมครั้งนี้มีผู้ลงทะเบียนเข้าประชุมประมาณ ๒๐๐ คน การลงทะเบียนของผู้เข้าประชุมในช่วงเช้าราบรื่นดี เรายังคงแยกเป็นรายจังหวัด(๑๖ จังหวัด) เหมือนที่ภาคอีสาน และมีผู้รับผิดชอบแต่ละจังหวัด

 

การลงทะเบียนของผู้เข้าประชุม

การประชุมครั้งนี้มี ภก.อภิสิทธิ์ เธียรไพโรจน์ และ ภญ.มัทนียา ภู่เกสร เป็นพิธีกรคู่  ผู้เข้าประชุมมากันเร็วผิดคาด เดิมทีมงานเชื่อกันว่าการจัดการประชุม/อบรมที่ผ่านๆ มา คนมักมาช้า เราจึงปรับกำหนดการของภาคนี้ให้ช้ากว่าที่ภาคอีสาน ๓๐ นาทีคือจะเริ่มในเวลา ๐๙.๐๐ น. แต่ปรากฏว่าเราสามารถเริ่มได้ตั้งแต่ ๐๘.๔๕ น. ด้วยการฉาย VDO เรื่องจัดการเรื่องยากให้ง่ายด้วยการจัดการความรู้

 

 ซ้าย-พิธีกรคู่ ขวา-กลุ่มผู้เข้าประชุมที่มาก่อนเวลา

นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดพิษณุโลก ในฐานะเจ้าบ้านได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าประชุม พร้อมทั้งแนะนำจังหวัดพิษณุโลกให้เป็นที่รู้จัก

เราฉาย VDO ภาพกิจกรรมในการประชุมเมื่อ ๑๓-๑๕ ธันวาคม ๒๕๕๓ ความยาวประมาณ ๗ นาทีให้ผู้เข้าประชุมดู เพื่อจะได้รู้ว่าในเวลาเกือบ ๓ วันต่อจากนี้ไป กิจกรรมของเราจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง ก่อนจะพักรับประทานอาหารว่าง

ต่อจากนั้นเป็นการบรรยายเรื่อง Update on Diabetes Management โดย ผศ.พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ จากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เวลาประมาณ ๑ ชั่วโมง ๓๐ นาที แล้วพักรับประทานอาหารกลางวัน

 

ซ้าย-นพ.บุญเติม ตันสุรัตน์ ขวา-ผศ.พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์

 

ผู้เข้าประชุมในช่วงเช้า

ภาคบ่ายเป็นกิจกรรม ๒ ฐาน

ฐานที่ ๑ “Hi-Low” รู้ทันปัญหา รู้ทางแก้ไข มี ภก.เอนก ทนงหาญ และคุณวัชชิระ หล้าคำแก้ว ช่วยกันดำเนินรายการ ตัวช่วยด้านแพทย์มี พญ.รุ้งรวี นิพิฐวัธนะผล เป็นตัวยืน ผศ.พญ.อัมพิกา มังคละพฤกษ์ ก็อยู่ช่วยด้วย อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช (นักกำหนดอาหาร) อาจารย์สิทธา พงษ์พิบูลย์ (ออกกำลังกาย) และทีมเภสัชกรจาก รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก ผู้ป่วยที่มาร่วมกิจกรรมกับเรามีทั้งผู้ใหญ่และเด็ก

 

 กิจกรรมส่วนหนึ่งในฐาน Hi-Low

ฐานที่ ๒ “มองตา เจาะใจ” จัดการเรื่องยากๆ ด้วยคุณภาพการบริการ มี พญ.ศรัณยา สุคันธไชยวงค์ เป็นผู้รับผิดชอบหลัก เราแบ่งผู้เข้าประชุมเป็น ๒ กลุ่ม (แยก ๒ ห้อง) สลับกันเรียนรู้เรื่องตาจากทีม รพ.พุทธชินราช พิษณุโลก นำโดย นพ.วิทยา ปานะโย และ เรื่องหัวใจจากทีม รพ.แพร่ นำโดย นพ.มงคล มะระประเสริฐศักดิ์

ฐาน "มองตา"

ฐาน "เจาะใจ"

กิจกรรมภาคบ่ายค่อนข้างมีเวลาจำกัด เพราะเราไม่อยากเลิกประชุมเกิน ๑๖.๓๐ น. ช่วงสุดท้ายเป็นการ AAR เท่าที่ได้ scan ดูก็พบว่าผู้เข้าประชุมส่วนใหญ่พึงพอใจมาก

ทีมงานประชุมสรุปการทำงานในวันนี้ (อาหารว่างระหว่างการประชุมคือขนมและผลไม้จากฐานที่ ๑) ไม่พบปัญหาอะไรที่ serious มีเพียงเรื่องขาดเหลือเล็กๆ น้อยๆ ที่เราปรับปรุงได้ เช่น ขนมของว่างช่วงเช้า (ลูกชุบ) ไม่เพียงพอ เพราะให้ผู้เข้าประชุมตักเองตามใจชอบ ไม่ได้จัดโต๊ะอาหารกลางวันเอาไว้สำหรับทีมทำงานที่มารับประทานได้ช้ากว่าคนอื่นๆ เป็นต้น

เสร็จงานแล้ว หมอนกและหมอรุ้ง ยังช่วยกันเตรียม (เลือก) สไลด์ของ ผศ.นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ เพื่อทำเป็นเอกสารประกอบการบรรยายที่จะแจกผู้เข้าประชุมในวันพรุ่งนี้ พวกเราที่เหลือมีนัดกับหมอนิพัธรับประทานอาหารเย็นที่ร้านวิโรจน์โภชนา (ผักบุ้งเหิรฟ้า) มีอาหารอร่อยหลายรายการ

ดิฉันแนะนำให้น้องๆ ทีมวลัยลักษณ์และทีมถ่ายทำ VDO และภาพนิ่งให้ไปรับประทานอาหารเวียดนามที่ร้านสุพัตรา พร้อมฝากซื้อโรตีเจ้าอร่อย ๑ อัน จัดงาน ๓ ภาคเสร็จคาดว่าน้ำหนักตัวจะขึ้นไปหลายกิโลกรัม

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 444080เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2011 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ฝีมือ creative ของเครือข่ายเบาหวาน ช่างพรั่งพรูจริงๆ ครับ

ดูจากภาพแล้วเทคนิคการทำกิจกรรมน่าสนุกมากค่ะอาจารย์วัลลา creative อย่างที่พี่ธวัชบอกค่ะ

มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรม ดีค่ะ ขอให้กำลังใจผู้จัด นะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท