เสื้อผ้า-พลาสติกกลิ่นฉุนเพิ่มเสี่ยงมะเร็ง


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'U.S. adds formaldehyde to list of carcinogens ' = "สหรัฐฯ เพิ่มฟอร์มาลดีไฮด์ (ยาดองศพ) ในรายชื่อสารก่อมะเร็ง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
คณะทำงานโปรแกรมพิษวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ (NTP) รายงาน (ตีพิมพ์ใน Carcinogens) ว่า การได้รับฟอร์มาลดีไฮด์ (ยาดองศพ) ขนาดสูง เพิ่มเสี่ยงมะเร็งหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal cancer)-เม็ดเลือดขาว (myeloid leukemia), และมะเร็งอีกหลายชนิด
.
ฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) เป็นสารที่ไม่มีสี ติดไฟได้ และมีกลิ่นฉุนรุนแรง, สารนี้ใช้เตรียมพลาสติกชนิดเรซิน (resins) สำหรับเครื่องใช้ในบ้านหลายชนิด
.
ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ไม้ สารเคลือบกระดาษ พลาสติก เส้นใยสังเคราะห์ เสื้อผ้า
.
สารนี้ใช้เป็นสารกันบูด (presevative = สารกันบูดเน่า สารกันเสื่อมสภาพ) ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ หรือห้องแลบ (lab.), ใช้ในห้องดับจิต (mortuary / mortuaries - เป็นยาดองศพ)
.
และพบในผลิตภัณฑ์หลายชนิด เช่น น้ำยายืดผม (ทำผมหยิกให้เหยียดตรง) ฯลฯ
.
ทีมผู้เชี่ยวชาญได้เพิ่มรายชื่อ "สไตรีน (styrene)" เข้าในรายชื่อสารก่อมะเร็งด้วย [ สไตรีน ]; [ สไตรีน ]; [ สไตรีน ]
.
สไตรีนเป็นสารสังเคราะห์ที่ใช้ในการผลิตวัสดุ เช่น ยาง พลาสติก ฉนวน ไฟเบอร์กลาส ท่อ ชิ้นส่วนรถยนต์ ภาชนะบรรจุอาหาร (styrofoam / โฟมบรรจุอาหาร), แผ่นรองด้านล่างของพรมปูพื้น ฯลฯ
.
คนที่มีโอกาสได้รับสารก่อมะเร็ง "สไตรีน (styrene)" มากที่สุดในประชากรทั่วไป คือ คนที่สูบบุหรี่
.
วิธีป้องกันอันตรายจากสารฟอร์มาลดีไฮด์ และสไตรีนที่สำคัญได้แก่ [ cdc ]; [ su.ac.th ]; [ vcharkarn ]; [ ezine ]; [ NIH ]; [ EPA ]
.
(1). ไม่สูบบุหรี่ และไม่หายใจเอาควันบุหรี่ที่คนอื่นสูบเข้าไป โดยเฉพาะในห้องแอร์ เช่น ไนท์คลับ ผับ บาร์ ฯลฯ
.
(2). อย่าซื้อพลาสติก เสื้อผ้าที่มีกลิ่นฉุน, ถ้าได้กลิ่นพลาสติกฉุนในห้างสรรพสินค้า... ให้หยุดหายใจ และรีบเดินหนีให้ไกลทันที
.
(3). หลีกเลี่ยงการสัมผัส หรือสูดดมเสื้อผ้าใหม่ สารนี้ใช้ช่วยรักษารูปทรง ทำให้ "รีดง่าย-ยับยาก"
.
(4). ซักเสื้อผ้าก่อนใช้ และตากนอกบ้านในที่มีลมพัดผ่านหลายๆ วันก่อนนำไปใช้, เสื้อผ้าที่ซักแล้วมีกลิ่นเหม็นฉุนตกค้างมักจะมีฟอร์มาลดีไฮด์สูง
.
(5). ไม่อยู่ใกล้สถานที่ฉีดศพ หรือศพที่ฉีดยาดองศพนาน
.
(6). ไม่เผาขยะ โดยเฉพาะพลาสติก-โฟม (โฟมเป็นสารโพลีสไตรีน สังเคราะห์จากสไตรีน ไม่ใช่สไตรีน แต่เสื่อมสภาพกลับเป็นสไตรีนได้เมื่อถูกความร้อน)
.
วิธีที่ปลอดภัยมากขึ้น คือ ไม่กินอาหารที่บรรจุในภาชนะโฟม หรือถ้าจำเป็นต้องกินก็ให้กินแต่น้อย พอกันตาย นานๆ ครั้ง
.
สารสไตรีนจากภาชนะโฟมอาจทำให้อ่อนเพลียโดยไม่ทราบสาเหตุ เบลอ เวียนหัว มึนงง หูเสื่อม ตาเสื่อมได้
.
(7). ไม่ใช้ภาชนะเมลามีนใส่ของร้อน เช่น น้ำร้อนไม่ควรเกิน 95C (องศาเซลเซียส) หรือให้ต่ำกว่าจุดเดือด 100C, ไม่ควรใช้ใส่อาหารที่มีน้ำมันร้อน (จุดเดือดน้ำมันเกิน 100C) และห้ามใช้ในไมโครเวฟ, สารนี้คายฟอร์มาลดีไฮด์ได้เมื่อได้รับความร้อน
.
หมายเลขบันทึก: 443660เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

(7). ไม่ใช้ภาชนะเมลามีนใส่ของร้อน

ข้อนี้น่ากลัวค่ะ เพราะภาชนะใส่อาหารของเด็กๆ ที่มีสีสรรสวยงามและลายน่ารักๆ อย่าง มิคกี้เม้าส์ ทำจาก เมลามีนทั้งนั้นค่ะ

ว่าแล้วก็ไปเก็บจานช้อนและแก้วเมลามีนของลูกใส่กล่องเลิกใช้ดีกว่าค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท