ต้นไม้หลายระดับลดโลกร้อน


สำนักข่าวรอยเตอร์ตีพิมพ์เรื่อง 'Rising forest density offsets climate change: study' = "(การศึกษาพบ) เพิ่มความหนาแน่นป่าต้านภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง", ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ
.
การศึกษาใหม่ (ตีพิมพ์ใน PLoS One) พบว่า การลด หรือชะลอภาวะโลกร้อน (global warming) จำเป็นต้องคิดขนาด (size) ของต้นไม้ด้วย จึงจะประเมินได้แม่นยำ
.
เดิมองค์การอนามัยโลก (U.N.) คิดเฉพาะพื้นที่ (area), ไม่ได้แยกแยะตามความหนาแน่น หรือความทึบของต้นไม้
.
ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ใหญ่น่าจะดูดซับแก๊สเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) ได้มากกว่าต้นไม้เล็ก, ป่าที่มีต้นไม้หลายระดับ สูงบ้างต่ำบ้าง น่าจะดูดซับแก๊สเรือนกระจกได้มากกว่าต้นไม้ขนาดเดียว ฯลฯ
.
การตัดไม้ทำลายป่า (deforestation; de- = นำออก; forest = ป่าไม้; รวม = นำต้นไม้ออกไป) ทำให้เกิดแก๊สเรือนกระจกใหม่ประมาณ 12-20% ของที่คนทำขึ้นทั้งหมด
.
การศึกษาใน 68 ประเทศพบว่า ช่วงปี 2000-10 / 2543-2553 มีการดูดซับแก๊สเรือนกระจกของป่าเพิ่มในยุโรป และอเมริกาเหนือ ทั้งๆ ที่พื้นที่ป่าไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก โดยปริมาณรวมของป่าเพิ่มขึ้นจากความหนาแน่นของต้นไม้เป็นหลัก
.
คุณภาพรวมของป่าลดลงในเอเชีย โดยเฉพาะอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และอาร์เจนตินา เนื่องจากมีการลดลงของพื้นที่ป่าด้วย ความหนาแน่นต้นไม้ในป่าลดลงด้วย
.
ป่าในอาฟริกาและอเมริกาใต้มีพื้นที่ลดลง แต่ความสามารถในการดูดซับแก๊สเรือนกระจกลดลงน้อยกว่าพื้นที่ที่ลดลง เนื่องจากป่าที่เหลือมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น
.
จีนเป็นประเทศที่ลงทุนด้านการปลูกป่ามา 20-30 ปี ทำให้ความหนาแน่นของป่าเพิ่มขึ้น นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชมอย่างมาก
.
ภาวะโลกร้อนทำให้เกิดคลื่นความร้อน หรือพื้นที่ที่มีอุณหภูมิ-ความชื้นสูงขึ้นกว่าภูมิอากาศของพื้นที่นั้นๆ ปกคลุม (heatwaves) นานกว่า 48 ชั่วโมง, ภัยแล้ง (droughts), และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น
สหรัฐฯ มีพื้นที่ป่า (timberland) เพิ่ม 1% ในช่วงปี 1953-2007 / 2496-2550 แต่มีปริมาณต้นไม้รวมเพิ่ม 51% เนื่องจากความหนาแน่นป่าเพิ่มขึ้น
.
กลไกที่เป็นไปได้ คือ มีการย้ายพื้นที่ตัดไม้จากทางตะวันออก (east) ไปทางตอนกลางค่อนไปทางตะวันตก (midwest) ทำให้ป่าทางตะวันออกมีโอกาสเติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ
.
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่า ถ้าให้เวลานานพอ, ป่าจะมีความหนาแน่นขึ้นได้
.
เดิมใช้การคำนวณพื้นที่ป่า โดยใช้ภาพถ่ายทางอากาศ หรือดาวเทียม, ต่อไปอาจมีการคำนวณความหนาแน่น (density) ของป่าเพิ่มขึ้น เพื่อสนับสนุนให้ประเทศกำลังพัฒนารักษาป่าไม้
.
ประเทศทั่วโลกมีส่วนช่วยกันต้านโลกร้อนได้ด้วยการเพิ่ม "ปริมาตร" ต้นไม้ เช่น เราอาจลดภาษีที่ดินให้บ้านที่ปลูกต้นไม้ยืนต้นนาน 3 ปีขึ้นไป โดยตรวจสอบซ้ำด้วยภาพถ่าย ฯลฯ
.
วิธีการปลูกต้นไม้แบบหลายระดับชั้น ทั้งต้นไม้ใหญ่-กลาง-เล็ก ในพื้นที่เดียว เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มปริมาตรต้นไม้รวมได้เร็วกว่าต้นไม้ชนิดเดียว
.
ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ลงทุนเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากแสงแดดไว้บนหลังคาบ้าน ซึ่งถ้ารัฐบาลสนับสนุนด้านภาษีมากพอ ต่อไปเราอาจจะเห็นบ้านที่ "มุงหลังคา" หรือทำผนังบ้านด้วยแผงโซลาร์เซลล์
.
ถ้าคนไทยช่วยกันผลิตไฟฟ้าโดยใช้แสงแดด ปลูกต้นไม้-พืชสวนครัวในบ้านได้... ประเทศเราอาจก้าวไปสู่ความเป็นประเทศแนวหน้าด้านการลดโลกร้อน ซึ่งจะเป็นภาพพจน์ที่ดีมากต่อประเทศในระยะยาว
.
ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ
.
 
> [ Twitter ]
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 9 มิถุนายน 2554.
  • ยินดีให้ท่านนำบทความทั้งหมดไปใช้ได้ > CC: BY-NC-ND.
หมายเลขบันทึก: 443654เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2011 11:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ÄÄÄÄÄÄ..ช่วยๆกันปลูกต้นไม้..คนเกิดหนึ่งคน..เพาะต้นไม้ไว้ร้อยต้น..เลี้ยงคู่กันไป..รอดูความอยู่รอด..คนตายหนึ่งคน..ปลูกต้นไม้ที่เพาะ..ต่อเนื่อง..ทุกปีลงดินให้ได้เท่าอายุคนตาย...ทำกันเป็นกิจวัตรในเมืองไทย..ไม่ต้องรอ(ฝรั่งสั่งการเรื่องโลกร้อน..อ้ะ...เพียงแต่ว่า...ที่ดินที่(ในเมืองไทยมันแพงจนหาดินปลูกต้นไม้ไม่ได้เพราะเขาซื้อเอาไว้โก่งราคา..อ้ะ..ปัญหาโลกแตก..อ้ะ..)

ตอนนี้กำลังปลูกต้นไม้ในที่นาของตนเอง ทั้งต้นยางนา ต้นสะเดา ต้นสัก หลายอย่าง แต่สงสัยนิดหนึ่ง ถ้าเราปลูกต้นสักไว้ในที่ของเรา โตขึ้นแล้วจะตัดได้หรือเปล่าคะ ผิดกฏหมายหรือไม่ หรือว่าเราจะปลูกทดแทนได้

ที่อำเภอทุ่งตะโก จังหวัดชุมพร มีลุงนิล (สวนลุงนิล) ที่คิดปลูกพื้นคอนโด ๙ ชั้น ในพื้นที่เดียวกัน ชั้นต่ำสุดเป็นพืชกินหัว ส่วนชั้นบนสุดเป็นไม้ยางนา ผมเคยไปดูมา ๒ ครั้ง ประทับใจ ในแง่เศรษฐกิจคงอยู่ได้สบายเพราะมีพืชผลหลากหลาย แถมยังเลี้ยงสัตว์ เผาถ่านอิวาเตะ จึงใช้พื้นที่ดินสุดคุ้ม ประหยัดปุ๋ย ตอนนี้ดังมากครับ สืบค้นได้จากอินเตอร์เน็ต ผมคิดว่าน่าจะสอดคล้องกับบทความของอาจารย์นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท