สัมมนาท้องถิ่น : ชุมชนเรียนรู้ ชุมชนเข้มแข็ง


การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ โดยอาศัยวิทยาศาสตร์สังคมเป็นองค์ประกอบสร้าง

        ๓ เมษายน ๕๔  มีโอกาสได้เดินทางไปร่วมงานสัมมนาระดับท้องถิ่น
ที่เทศบาลตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอโป่งน้ำร้อน จังหวัดจันทบุรี 
        คืนวันที่ ๒ ผมเดินทางไปถึงเมืองจันทบุรี ตอนเที่ยงคืนเศษ หาที่พักแถวในเมือง
รุ่งเช้าขึ้นมาทางฝ่ายสำนักสาธารณสุข โทรมาบอกว่า ท่านปลัดเทศบาลตำบลจะขับรถไปรับ
นั่งรอๆ อยู่ชั่วโมงกว่าด้วยใจคิดถึงงานที่จะไปร่วม เพราะยังไม่ทราบเลยว่า
        'จะจัดกันออกมาอย่างไร'

        เกือบจะเก้าโมงแล้ว  ผมลุกเดินกะจะออกไปเหมารถโดยสาร เพื่อเดินทางไปโป่งน้ำร้อน
อีก ๔๓ กม. ก็พอดีรถที่จะรับมาถึง

        สามสิบนาทีเศษๆ ผมลงจากรถที่ขับด้วยความเร็วสูง ตื่นตากับเนื้องานตรงหน้า
ยิ้มอย่างมีสุข ด้วยใจชื่นชม

              งานแสดง "นิทรรศการ ๕๐ ปี ชุมชนของข้าพเจ้า" และ การสัมมนา "โครงการพัฒนา
ท้องถิ่นที่ยั่งยืน"  ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนรู้โครงงานกลุ่มสองโครงงานในการเรียนรู้วิชากระบวน
ทัศน์พัฒนาของผู้เข้าอบรม "โครงการอบรมหลักสูตรสัมฤทธิบัตร" สถาบันการเรียนรู้เพื่อปวงชน
(มหาวิทยาลัยชีวิต) ณ ศูนย์เรียนรู้ของชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิตเทศบาลตำบลโป่งน้ำ
ร้อน

             โครงงานทั้งสองโครงงานได้บูรณาการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักศึกษาปริญญาโทสาขานโยบายสาธารณะ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา และผู้เข้าอบรมหลักสูตรสัมฤทธิบัตร โดยนักศึกษาปริญญาโท มาขอร่่วมเป็นเจ้าภาพจัดงาน ในการเรียนวิชาการจัดสัมมนา

              การเรียนรู้ทั้งสองสถาบันดังกล่าวจึงบูรณาการเป็นการสัมมนาระดับท้องถิ่น ในชื่อ
"มิติใหม่ชุมชนท้องถิ่นไทย พัฒนาอย่างไรให้ยั่งยืน"  โดยมีจัดนิทรรศการในอาคารชั้นล่างเวทีสัมมนาบนชั้นสอง

              เปิดงานโดยการฉายวิดีทัศน์ ๕๐ ปีชุมชนของข้าพเจ้า (บ้านทุ่งม่วง) จากนั้นรองนายก
อบจ.จันทบุรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาโดยมีนักวิจัยท้องถิ่น นักพัฒนาจากองค์กรพัฒนาเอกชน
อาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง ร่วมเวทีสัมมนา พิธีกร
สาวผู้สื่อข่าวช่อง ๑๑ ดำเนินรายการ

               ผู้เข้าสัมมนาร่วม ๑๕๐ คน เป็นนักศึกษาปริญญาโท ๑๔ คน ผู้เข้าอบรมสัมฤทธิบัตร
จาก ม.ชีวิต ๒๙ คน ผู้นำชุมชนท้องถิ่นจาก ๓ จังหวัด คือ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ร่วมด้วย
อสม. โป่งน้ำร้อน


                ประเด็นเรื่องสัมมนาบอกเล่ากันถึงเส้นทางพัฒนาชุมชนท้องถิ่นแต่อดีตจนปัจจุบัน
เล่าขานถึงประสบการณ์งานพัฒนาด้านคน ทรัพยากรสิ่งแวดล้อม พลังงาน กองทุน ที่อยู่อาศัย
ที่ดินทำกิน ป่า น้ำ ความเป็นชนบท ความเป็นเมือง และความเป็นอื่น ในกระแสความศิวิไล การ
ทำให้ทันสมัย จนถึงการตกผลึกรู้ว่า อะไร คืออะไร อย่างไร ด้วยคำถามว่า ทำไม

                พบว่า "การพัฒนา" "การจัดการ" ที่เกิดด้วย "ความรู้" ของมนุษย์ได้ทำให้เกิดความ
เปลี่ยนแปลงที่สั่นคลอนและหักพัง พลวัตที่เห็นและเป็นอยู่นั้น มิใช่การอภิวัฒน์โดยปัญญาและ
ความสามารถที่ถูกต้องอุตสาหะของการเมืองแห่งศิวิไลที่เดินตามประเทศอื่น ไม่เป็นคำตอบให้
เกิดรู้ แต่ได้ทำให้เกิดคำถามถึงวิถี

                ชุมชนท้องถิ่นไทยในบางคุ้มคามเขตสวนนาไร่ป่าเขาทุ่งไพรและทะเล ค้นพบตนเองว่า ชีวิต-สรรพสิ่งหยั่งรากลงแห่งใดอย่างไรล้วนบ่งเล่าถึงวิถีธรรม ไฉนเราเหล่าท่านจึงหลงลืม "การเรียนรู้" มัวแต่ไพล่หาความรู้นอกแผ่นดินผินน้ำ


 .........

                ภาคบ่าย, ขมวดเรื่องเป็นเรื่องๆ วิเคราะห์การประกอบสร้างในโครงการของท้องถิ่น
วิจยพากษ์ เรื่องการจัดที่ดินทำกินแบบเกษตรนาโน (กลุ่มผู้เข้าอบรมฯ จาก อ.ขลุง) เรื่องการ
จัดการน้ำ (กลุ่มผู้เข้าอบรมฯ จาก อ.เขาสอยดาว) เรื่องการจัดการขยะ (กลุ่มผู้เข้าอบรมฯ ใน
อ.โป่งน้ำร้อน) ที่ชุมชนท้องถิ่นร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมรับประโยชน์  เป็นจริงเท็จแท้แปรผันฉงน
ใช้กลวิธีใด ถามตอบ ผ่านมา วันนี้ วันหน้า ร่วมคิดทำอย่างไรให้ยั่งยืน

 .........

               ผู้เฒ่าในท้องถิ่น ที่มาในโอกาสของวิทยากรในภาคเช้า เพียงคนเดียวที่ยังคงนั่งร่วม
เรียนรู้กับอีกเกือบร้อยชีวิต กล่าวถ้อยคำแด่เพื่อนๆ ทั้งหมดว่า -
     
              "นี่ เพียงความคิดของผมนะครับ ขอบอกเล่าเพื่อร่วมเรียนรู้-

               โลกพัฒนาอุตสาหกรรม เป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์
               โลกพัฒนาการเกษตร    เป็นการพัฒนาวิทยาศาสตร์เคมี
               โลกพัฒนาคน              คือการพัฒนาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
                การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ"

                ในที่ประชุมสัมมนา พิธีกรดำเนินรายการในภาคบ่าย คือ นายกเทศมนตรีตำบลโป่งน้ำ
ร้อนและผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ของชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยชีวิตเทศบาลตำบลโป่งน้ำร้อน
และในฐานะนักศึกษาปริญญาโท สาขานโยบายสาธารณะ มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา  กล่าวเชิญ
ให้ผมสรุปเวทีการเรียนรู้ในครั้งนี้

               "จากกระบวนการเรียนรู้วิชากระบวนทัศน์พัฒนา เราเห็นทาง หรือยัง หากเราเห็นทางเราจะเห็นตน เห็นตนแล้วจักรู้ว่า เราเป็นใคร มาจากไหน อยู่ตรงไหน จะไปไหน ไปอย่างไร โดยวิธีใด

               'โดยวิธีของเราเอง' จากในแต่ละชุมชนท้องถิ่นที่เราร่วมนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้นั้น
จักเห็นได้ว่า เกิดขึ้นโดยความเข้มแข็งในการเรียนรู้  ความเข้มแข็งในการเรียนรู้ทำให้เกิดพลัง
ทางปัญญาพลังทางปัญญาทำให้เกิดความสามารถใน "การจัดการ"

 


                 เมื่อวันเสาร์ก่อน หญิงสาว ณ ที่นี้ ขอให้ผมช่วยอธิบายถึงถ้อยคำที่เขียนไว้ในโครงเค้าการเรียนรู้วิชากระบวนทัศน์พัฒนา  ที่ว่า 'การพัฒนาที่ยั่งยืนที่เกิดจากสัมมาทิฏฐิ'

                  ผมขอกล่าวในที่นี้ว่า ทุกคำกล่าวเล่าบอกขานนั้นๆ อย่าเพิ่งเชื่อ วางใจให้ดีก่อน แล้ว 'ฟัง' สิ่งนั้นอย่างตั้งใจ อย่าด่วนปฏิเสธ อย่าด่วนรับ ไตร่ตรองอย่างแยบคาย ตระหนัก เท่าทัน

                  แต่ที่ท่านผู้เฒ่ากล่าวเมื่อสักครู่ว่า -

                       การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
                       ผมขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง

                       ผมเชื่อเช่นนั้น และขอเพิ่มเติมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ
                       การพัฒนาที่ยั่งยืน ต้องพัฒนาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
                       โดยอาศัยวิทยาศาสตร์สังคมเป็นองค์ประกอบสร้าง


                      ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้จนเกิดการเรียนรู้ที่เข้มแข็ง
                      ขอให้เกิดความเข้มแข็งในพลังทางปัญญา
                      และมีความสามารถในการดำรงอยู่ซึ่งกันและกัน

 

หมายเลขบันทึก: 443456เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 12:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

"การพัฒนา" "การจัดการ" ที่เกิดด้วย "ความรู้" ของมนุษย์ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่สั่นคลอนและหักพัง

พลวัตที่เห็นและเป็นอยู่นั้น มิใช่การอภิวัฒน์โดยปัญญาและความสามารถที่ถูกต้อง

อุตสาหะของการเมืองแห่งศิวิไลที่เดินตามประเทศอื่น ไม่เป็นคำตอบให้เกิดรู้ แต่ได้ทำให้เกิดคำถามถึงวิถี

lสวัสดี อาจารย์ สุดยอดกระบวนกร อ่านแล้วได้รับความรู้มากมาย

คงต้องขออนุญาติ นำไปปรับใช้ในกระบวนการบ้าง

ในฐานคนพัทลุงโดยภรรยา คนพังงาโดยกำเหนิด มาต่อเติมเครือข่ายที่พัทลุง

เป็นนักศึกษาใหม่ของม.ชีวิต แอบเข้ามาอ่านขอยืมบางบทเขียนบันทึกนะคะอาจารย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท