ภาษาถิ่นในภาษาไทย


ตกลงกันก่อน

ตกลงกันก่อน

 

ภาษาถิ่นกับภาษาไทยนั้น  เป็นของคู่กันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว  ด้วยว่าประเทศไทยนั้นประกอบด้วยชนเผ่าต่าง ๆ  อย่างน้อยก็ 4 ภาค  ในแต่ละภาคยังมีชนเผ่าย่อย ๆ อีกหลายชนเผ่า  บางชนเผ่าก็มีภาษาพูด  สำเนียง คล้ายคลึงกัน  บางชนเผ่าก็แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง และเมื่อเปรียบเทียบกับภาษากลางแล้ว บางคำ บางศัพท์ความหมายตรงกันข้ามเลยก็มี 

สาเหตุที่ผมได้รวบรวมคำในภาษาถิ่น(อีสาน)ขึ้นนี้  ก็เพราะได้รับแรงบันดาลใจจากท่านอาจารย์แสวง  อุดมศรี ประธานผู้ชำระพระไตรปิฎกแห่งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  ได้ขอร้องแกมบังคับว่า ให้รวบรวมไว้ให้ได้  ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ใช่นักภาษาศาสตร์ ไม่ใช่นักปราชญ์ทางภาษา แต่ได้ไปอยู่หลายแห่ง หลายที่เกือบทั่วภาคอีสาน ใช้ภาษาถิ่นเกือบทุกภาษาและนิสัยชอบอ่าน ชอบศึกษา โดยเฉพาะภาษาถิ่นอีสานเหนือ  จึงไม่รับประกันว่า  คำที่นำมาเสนอในที่นี้  จะถูกต้องร้อยเปอร์เซ็นต์หรือไม่  แต่นำมาเขียนไว้เพื่อประดับความรู้ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันมากกว่า หวังว่า  ท่านผู้รู้คงจะกรุณาท้วงติง เติมเต็มในส่วนที่ขาดหายไป  อีกอย่างหนึ่ง  ภาษาถิ่นนั้นเป็นภาษาปากทั้งสิ้น  ไม่มีตัวหนังสือเขียน การสะกด การันต์ จึงสะกดตามเสียงพูด  ความหมายก็คิดเองบ้าง  เพราะหาหนังสืออ้างอิงได้ยากมาก “ ท่านก็คิดเองแต่งเองสิ มัวแต่รอหนังสืออ้างอิงเมื่อไรจะได้ทำ เดี๋ยวคนอื่นก็นำของท่านไปอ้างอิงเอง ” ท่านอาจารย์แสวงให้เหตุผลกับผม

สิ่งที่ต้องตกลงกันก่อนในที่นี้ก็คือ  การสะกดคำ  กาอ่านออกเสียง และความหมาย

เนื่องจากเหตุผลดังที่กล่าวแล้ว  ภาษาถิ่นอีสานทุกภาษา  มีแต่ภาษาพูด ไม่มีภาษาเขียน ถึงจารึกในใบลานก็เป็นตัวลาวน้อย  ไม่มีหลักเกณฑ์ทางอักขรวิธี  ออกเสียงและสะกดไปตามท้องถิ่น ดังนั้น การสะกดคำของผมจึงไม่ได้ยึดตามอักขรวิธีของภาษากลาง แต่ยึดเอาตามเสียงอ่านเป็นหลัก  เช่น ตัว ย กับ ตัว ญ บางคำใช้แทนกันได้ บางคำก็แยกกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วออกเสียง  ญ  จะเห็นว่าผมใช้ทั้งสองตัว  รวมทั้งคำที่เป็นอักษรนำ ( ห นำ ) ด้วย ให้ท่านอ่านออกเสียงดูเอาเองว่า  เป็นเสียง ย หรือ เสียง ญ

ภาษาถิ่นอีสานไม่มีคำควบกล้ำ  ผมจึงตัดคำที่เป็นคำควบกล้ำ ร ล ออกทั้งหมด สะกดตามเสียงอ่าน  อาจจะสะดุดตาของท่านได้  โดยเฉพาะคนภาคอื่น ๆ แต่ถ้าคนอีสานอ่านเองก็จะปรับได้ไม่ยาก

เสียง ร ก็ไม่มี  เป็นเสียง  ล เสียง ฮ หมด จึงไม่ได้เขียนสะกดด้วย ร นอกจากอาจจะหลงไปบ้าง  ขอให้ปรับเป็นเสียง ล และ ฮ

อักษรคู่ ส่วนใหญ่ใช้แทนกันได้เสมอ เช่น ส่อย กับ ซ่อย  ใช้ตัวไหนก็ได้ อยู่ทีการออกเสียง 

อักษรนำ ก็เช่นกัน สามารถใช้แทนกันได้ในบางกรณี เช่น หม้ม กับ ม่ม หม้น ม้น

การสะกดคำให้ตรงเสียงจริง ๆ นั้น  บางคำทำไม่ได้ เพราะไม่มีตัวอักษรที่ตรงกับคำที่ต้องการออกเสียง  จึงจำต้องออกเสียงเอาเอง การสะกดนั้นเพื่อให้รู้ความหมายว่าอะไรเท่านั้นเอง

ภาษาถิ่นในแต่ละท้องถิ่น  ก็ผิดเพี้ยนกันไปบ้าง  คำเดียวกันอาจจะออกเสียงต่างกัน แต่ความหมายเดียวกัน หรือ อาจจะต่างกันเล็กน้อย แต่ก็พอเดาได้

คำศัพท์ที่นำไว้ในที่นี้  เป็นคำศัพท์ที่มีความหมายแตกต่างจากภาษากลางโดยสิ้นเชิง  ถ้าคำไหนพอจะแปลความหมาย หรือ คล้ายกับภาษากลางก็จะไม่นำมาลงไว้

คำที่เป็นเสียง ร แต่ใช้เสียง ฮ  แต่ความหมายไม่ต่างกันมากก็ไม่เขียนไว้ เช่น รับ เป็น ฮับ

รอง เป็น ฮอง เป็นต้น

            ถ้าคนอีสานหรือคนท้องถิ่นอ่านก็คงจะสะดุดหู สะดุดใจเท่าใดนัก แต่ถ้าเป็นคนภาคอื่น ๆ ท่านอาจจะต้องสงสัย  แปลกใจ  เพราะคำบางคำนั้นไม่สามารถสะกดให้ตรงคำกับเสียงที่ออกได้  นอกจากออกสำเนียงเอาเอง

            คำศัพท์ที่รวบรวมไว้นี้  รวบรวมจากความคิดเองเท่าที่จะนึกได้  ยังมีอีหลายคำที่นึกไม่ออก หรือ นึกไม่ทัน ก็ขอความกรุณาท่านผู้รู้ได้ช่วยต่อเติมเสริมแต่งให้ด้วย

        ความหมาย และ ตัวอย่าง ก็คิดเองทั้งสิ้น อาจจะไม่ตรงกันนักเพราะบางคำก็ไม่ตรงกันอยู่แล้ว  เอาเป็นว่าพอใกล้เคียง พอเดาออกแล้วก็จินตการต่อไปเอง  บางคำก็ไม่ยังคิดตัวอย่างประโยคไม่ได้  บางคำที่มีมาก่อนก็ยกมาจากนิทาน ผญา ภาษิต ที่ท่านได้พูดแล้ว

            ประการที่สำคัญที่สุดคือ รวบรวมอย่างฉุกละหุกมาก  เพราะปกติแล้วคิดได้คำใดก็เขียนไว้  แต่เพื่อให้ทันวันแสดงมุทิตาจิตแด่ท่านอาจารย์แสวง  ในโอกาสที่ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จึงต้องรวบรัดพิมพ์ออกมา  ตามบัญชาของท่านที่ย้ำว่า  เจอกันคราวหน้าให้ได้อ่านนะ จึงรวบรวมได้แค่นี้ ยังไม่ได้ตรวจทาน แก้ไขใด ๆ เลย   แต่ยังจะพัฒนาต่อไปเรื่อย ๆ

            เจตนาที่แท้จริงของการเขียนคำภาษาถิ่น ก็เพื่อสนองความคิดของท่านอาจารย์แสวงเท่านั้น  แต่ถ้าหากว่าท่านผู้ใดเห็นประโยชน์ของการนี้ก็ยินดีที่จะแบ่งปัน

 

 

หมายเลขบันทึก: 443411เขียนเมื่อ 11 มิถุนายน 2011 08:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ที่จริงแล้วยังมีคำบางลักษณะของอีนที่น่าสนใจซึ่งเป็นคำควบนะครับคือ จว, สว, เป็นต้น อาทิคำว่า ไจว้ ๆ ก็อ่านว่า ไจ้ ๆ สว่ายหน้า  ก็อ่านเป็น  ส่วยหน่า(ส่วยหน้า) คำเหล่านี้มีปรากฏในใบลานครับ  นักอ่านใบลานทั้งหลายทราบกันดีหากเพิ่มเข้าใปในฐานความรู้นี้จะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ส่วน "ร" นั้นในใบลานออกเสียง "ฮ"  ในกรณีที่เป็นพยัญชนะต้น  และจะเป็น "น" เมื่อเป็นตัวสะกด

ฮักษาไว้ ให้ลูกหลาน นิรันดร...

ขอบคุณทุกท่านที่เสนอแนะเข้ามา คำดังกล่าวน่าจะเป็นคำกลายเสียง ของบางท้องถิ่นมากกว่า เหมือนภาคกลางบางคำ เช่น ว่าว เป็น เว่า ตาข่าย เป็น ตะไข่ เป็นต้น คำว่า สว่าย ส่วย มันเป็นภาษาของชนเผ่ามากกว่า เช่น ถ้าเป็นญ้อ กะเลิง กะเลอ ผู้ไท จะออกเสียงสว่าย เช่น สว่ายข่าว ถ้าเป็นลาว(ใต้) จะออกเสียงส่วย ทั้งนี้ผมก็ยอมรับว่า ไม่ได้ศึกษาลึกซึ้งถึงขนาดนั้น อีกอย่างเขียนตามความนึกคิด คิดได้คำไหนก็เขียนลงไป ขอเชิญท่านที่รักภาษาถิ่นช่วยกัน วันนี้จะให้ตัวอย่างพอสังเขป ฝากนักปราชญ์อาจารย์ช่วยต่อยอดให้เต็มด้วย ขอบคุณล่วงหน้า

บุญช่วย มีจิต

ภาษาถิ่นในภาษาไทย บุญช่วย มีจิต

กก น. ต้น ลำต้น เช่น กกม่วง กกขาม กกพร้าว กกตาล กกขา กกแขน

ตัวอย่าง กกจิกมันมีหลายต้น กกโดนมันมีหลายหง่า , รำวงกกขาขาว

กก วิ. เก่าแก่ ,ดั้งเดิม เช่น เว้าแต่กก ตัวอย่าง เว้าแต่กกยกแต่เค้าเฒ่าเก่าปางหลัง

กุม ก. กอด, ปล้ำ, ปลุกปล้ำ เช่น กุมกัน กุมผู้สาว ตัวอย่าง สาวสาถืกบ่าวมากุมเอา

ข้างเตาไฟใต้ข่วง

กุ้ม วิ.สั้น(หางของสัตว์ปีก) เช่น ไก่กุ้ม ตัวอย่าง ไก่ผู้กุ้มยอหนึ่งเต็งสอง ไก่ผู้

ญองญอสองเต็งสี่

กุ้ม ก. คุ้ม,เพียงพอ เช่น กุ้มปาก กุ้มท้อง ตัวอย่าง หากินบ่อกุ้มปาก ทำงานบ่อกุ้ม

พ่อกุ้มแม่

กุ้น วิ.สั้น (สิ่งของใหญ่ เป็นท่อน) เช่น ด้วนไฟกุ้น ไม้กุ้น ๆ

กับ น.กล่อง,ตลับ เช่น กับไฟ อาจจะมาจากกลับ แต่อีสานไม่

นิยมอักษรควบกล้ำ ตัวอย่าง กับฟืนกับไฟเซื่องไว้ดี ๆ อย่าให้มันเปียกน้ำ

กับ น. เครื่องมือดักสัตว์ ทำจากไม้ไผ่ผ่าซีกมีเดือยหรือสลักอยู่ตรงกลาง เมื่อสัตว์ทำ

ให้สลักหลุดก็จะหนีบคอหรือตัวสัตว์นั้น ๆ ไว้ ส่วนใหญ่ใช้ดัก นก หนู ไม่ต้อง

ใช้เหยื่อล่อ ตัวอย่าง พ่อไปใส่กับนกที่โพนกกหว้า

กับแก้ น. ตุ๊กแก เช่น กับแก้ฮ้อง ตัวอย่าง เจ้าอย่าไห้กับแก้สิมากินตับ

ก้อม วิ. สั้น (เรื่องราว นิยาย) เช่น นิทานก้อม หนังสือก้อม

ตัวอย่าง ในตู้พระธรรมมีหนังสือผูกนิทานก้อมมากมาย

กิด วิ.สั้น (สิ่งของเล็ก ๆ) เช่น กอกยากิด ควายหางกิด

ตัวอย่าง เขายากจนมากจนต้องหาเก็บกอกยากิดมาสูบ กิ้น ก็ใช้

กุด วิ.สั้น,ด้วน เช่น กุดกุ้มดุ้ม

กุด น.หนองน้ำ,แอ่งน้ำ,บึง เช่น กุดสิม กุดกอก

กะบอง น. ขี้ใต้(ที่ให้แสงสว่าง) เช่น กะบองขี้ญาง ตัวอย่าง ไปหากะบองมาใต้แหน่

แก่ ก.ลาก,ดึง, ฉุด เช่น แก่ไม้ แก่เกียน(เกวียน) ตัวอย่าง บอกให้เขาเข้าวัด

ยากกว่าแก่ไม้ไผ่ทางปลายเสียอีก

- 2 –

ก้าน ก.ส่อง(หาสิ่งของในความมืด) เช่น ก้านกบ ก้านเขียด ก้านปลา ก้านอึ่ง

ตัวอย่าง ฝนตกแฮงเบิ่งเพิ่นไปก้านกบก้านอึ่งกันแซว ๆ

ก่อง (อ่านออกเสียงยาว)ก.อ่อน,แอ่น,หย่อนกลาง เช่น ไม้คานก่อง ไม้แส้ก่อง

ตัวอย่าง อย่าสิใส่หนักหลายไม้คานสิก่อง

กะเทิน วิ. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่พอดี เช่น แก่กะเทิน พอกะเทิน

ตัวอย่าง ตกกะเทินว่าได้ขึ้นหญ่มกกหมากญมต้องให้ได้หน่วย

ก่ำ วิ. ดำ,สกปรก เช่น ข้าวก่ำ บักก่ำ

ตัวอย่าง ปั้นข้าวก่ำติด....อ้อนต้อน หรือ จาบ่อนบั้นท้าวก่ำกาดำจำลอยแพแต่

คราวหลังพุ้น

กั้ง ก.กั้น,ขึง,ผ้ากั้ง ม่าน เช่น ผ้ากั้ง กั้งโกบ ตัวอย่าง

พอแต่เปิดผ้ากั้งแจ้งสว่างอยู่ในตา บ่าวพี่ชายมาหาสิบ่อจาบ่อนอน้อง

กั้งโกบ ก.มือป้องหน้า(เพราะมองไม่ถนัด) ตัวอย่าง สาวจันทร์กั้งโกบพ้อว้อ ๆ

ก้ำ วิ.ทิศ,ทาง เช่น หลงก้ำ ตัวอย่าง บ่จักว่าตกไปก้ำหนแห่งทางใด

ขาบ ก. กราบ เช่น ขาบพระ ขาบพ่อแม่ ตัวอย่าง บาก็ยอมือไหว้พนมกรก้มขาบ

ขื่น (ออกเสียงยาว)วิ. ขม,พะอืดพะอม,คลื่นเหียน เช่น หมากเขือขื่น ตัวอย่าง อยากผูก

คอตายใต้ต้นหมากเขือขื่น

เขิน วิ. สั้น (เสื้อผ้า),ขาด ๆ เกิน ๆ เช่น ซิ่นเขิน กลอนเขิน ตัวอย่าง ใส่กระโปรง

เขินหญ่างเวินอยู่เทิงฮ้าน

ข่วง น. เขต,คุ้ม,บริเวณ,นั่งร้านเล็ก ๆ สำหรับสาว ๆ ใช้เข็ญฝ้าย เช่น สาวลงข่วง

ตัวอย่าง เดือนสามคล้อยผู้สาวคอยญามลงข่วง

ขวง วิ. ขวาง,ประหลาด,ผิดธรรมชาติ เช่น อย่าขวงหลาย

ตัวอย่าง เด็กน้อยหมู่นี้มาคือขวงแท้

ข้ง (ออกเสียงสั้น) ก.แพร่,ขยาย,ออกลูก เช่น เช่น ไก่ข้งออกมาแล้ว

ตัวอย่าง มาข้งหลายแท้นอ

ขุ ก. ร่วง,หล่น,เขี่ย,คุ,ลุกโชน เช่น ถ่านไฟขุ ขุขี้กะบอง

ขุขี้กะบองแหน่มันสิมอดแล้ว

ไข่ วิ. บวม,ปูด ,นูน,โน ดู ไค่ เช่น หัวไข่ ตัวอย่าง เด็กน้อยเล่นก้อนดินถืกหัวกันจนไข่

- 3 –

เค้า วิ. เก่าแก่. โบราณ. ใหญ่ ส่วนใหญ่มักใช้ร่วมกับ กก เป็น กกเค้า เช่น เว้าแต่กก ยกแต่เค้า ตัวอย่าง เว้าแต่กกยกแต่เค้าเฒ่าเก่าปางหลัง ยังมีองค์ราชาอยู่แปงเมืองบ้าน

เค้า คุณ. ใหญ่.อวบ เช่น หน่อไม้เค้า หน่อไม้ที่อวบใหญ่เป็นพิเศษ ตักแตนโมเค้า ตักแตนใบหญ้าตัวผู้ที่ตัวใหญ่กว่าตัวอื่น ๆ

เคิ้น ก.คึก . คึกครื้น เช่น เคิ้นส่ำควายน้อยได้ฝนใหม่

แคม วิ.เกือบ ใกล้ ริม เช่น ไปหาเอาทางแคมฮั่วพุ้น ไผได้เมียหมอลำส่ำได้

นาแคมบ้าน

คอง วิ.แนวทาง วิธีดำเนินการ เช่น ฮีตสิบสองคองสิบสี่ ฮีตญี่คองเจียง

ไค่ บวม,อักเสบ,ปูด,โน ดู ไข่

คัก ก.ม่วน,ดี,ชอบ,ถูกใจ เช่น คักแท้นอ คักหลาย ตัวอย่าง หมอลำคณะนี้คักหลาย

ขนาด

คัน วิ.ถ้า,หาก เช่น บ่อมักบ่อเว้า ตัวอย่าง คันบ่อมักอ้ายบ่อเว้า คันบ่อเอาอ้ายบ่อว่า

คุง ก.ใกล้,ถึง เช่น คุงฮอดพี้

เงี่ยง น. กระโถน เช่น เอาเงี่ยงไปตั้งด้วย

เหง้า น. ราก ,โคน เช่น เหง้าไม้

งุม ก.ครอบ,ใช้อุ้งมือปิด เช่น เอามืองุมไว้ งุ้มก็ใช้ ตัวอย่าง สวดจุ้มบุ้มมืองุ้มบ่อเถิง

งุ้ม ก. ดูงุม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท