เรากำลังไปไหนกัน


เรากำลังไปไหนกัน

 

 

 

เรากำลังไปไหนกัน

 

มนุษย์มักนิยามตนเองว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ อันหมายถึงเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณที่สูงเมื่อเทียบกับสัตว์ประเภทอื่น อันอาจหมายถึง พฤติกรรมอันแสดงออกทั้งกาย วาจาและใจ

และเป็นที่ประจักษ์ชัดแล้วว่า การนิยามดังกล่าวนั้้น เหมาะเพียงไรกับ "ความเป็นมนุษย์" อันแท้จริงที่ได้แสดงออกมา

ประวัติศาสตร์ได้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมของมนุษย์ให้ประจักษ์ชัดเพียงพอว่ามนุษย์แม้ในทางด้านศาสนา อาจนิยาม แตกต่างกันไปมากน้อย อันอาจรวมทั้งนิยาม ความหมายของ นักปราชญ์ ราชบัณฑิต ที่แตกต่างกันออกไป สุดแท้แต่โลกทัศน์แห่งตน หากแต่พฤติกรรมของมนุษย์ยังคงสะท้อนคุณค่าดังกล่าวที่แตกต่างกันอยู่

การแสวงหาของมนุษย์อันเป็นจุดหมายแห่งชีวิต จึงแตกต่างกันออกไป อันอาจรวมทั้งความต้องการภายในของตนและการให้ค่าความหมายอันเกิดแต่สังคมกำหนด

มนุษย์ถึงแม้จะมีความมุ่งปรารถนาอย่างไรก็ตาม ประการสำคัญ การแสวงหาย่อมเกิดแต่ตัวของมนุษย์ เป็นผู้กำหนดหมายในการแสวงหาคำตอบเพื่อการบรรลุถึง บางท่านอาจใช้เวลาทั้งชีวิตเพื่อไปสู่เป้าหมายของตน

แต่อาจตั้งเป็นคำถามได้ว่า แล้วเป้าหมายของตนนั้นเป็นเป้าหมายที่แท้จริง [Truth] หรือไม่ หรือเป็นไปตามสังคม ค่านิยมกำหนดหมาย เป้าหมายของตนจึงเพื่อตอบสนองเท่านั้น

การตั้งคำถามเพื่อแสวงหาจุดหมายของตน ในสิ่งที่ตนต้องการอย่างแท้จริงนั้นย่อมอาจจะไม่เกี่ยวข้องกับสังคมหรือผู้อื่นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามความจริงแท้อันเป็นเป้าหมายที่มนุษย์แสวงหาอาจไม่ใช่โลกแห่งแบบ อันสูงไกลสุดเอื้อม แต่อาจเป็นโลกแห่งแบบแห่งวิถีชีวิตอันปรกติธรรมดาที่เป็นจริงที่มนุษย์เป็นกันอยู่นี้ก็เป็นไปได้

[แล้วใจเล่าจะรู้ได้]

โสกราตีสกล่าวไว้ว่า "ชีวิตที่ปราศจาการตรวจสอบไม่คุ้มค่าจะอยู่"

คงหมายความว่า สิ่งที่ประจักษ์ชัดต่อเราอันเป็นความเชื่อว่าเป็นจริงนั้นอาจมิใช่ก็เป็นไปได้ อาจเป็นมายาการที่จิตของตนสร้างเพื่อหลอกว่าเป็นจริง มติของมหาชนย่อมไม่อาจยืนยันสิ่งใดว่าเป็นจริงหากสิ่งนั้นเป็นเพียงความลวงหลอก

ชีวิตของมนุษย์จึงมีการตรวจสอบหรือการตีความไปกับสิ่งต่างๆ อันอาจรวมทั้งเรื่องราว กล่าวได้ว่าตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งตาย มนุษย์จึงยังต้องเเสวงหา และตีความเพื่อการดำรงอยู่ของตนในผ่านพ้นและอยู่รอดปลอดภัยไปได้เท่านั้นหรือ

สิ่งที่มนุษย์แสวงหาคงไม่ใช่เพื่อการดำรงอยู่เเบบธรรมดา อันเปรียบได้กับสัตว์ทั่วไป แต่สิ่งที่มนุษย์แสวงหานั้นคงเป็นสิ่งมนุษย์คาดหวังให้ได้มา อาจไม่ใช่เพื่อการครอบครองในเชิงวัตถุ แต่หมายถึงความเต็มอิ่มอันไม่พร่องของอะไรบางอย่าง

พระพุทธศาสนากล่าวว่า "มนุษย์นั้นพร่องอยู่เป็นนิตย์เป็นทาสแห่งตัณหา" สิ่งที่มนุษย์แสวงหาจึงเป็นไปเพื่อการเติมเต็มชีวิตของตนให้เต็ม สิ่งดังกล่าวนันคือจิตใจ

จิตที่พอจึงเป็นความสมดุลแห่งวิถีชีวิตที่เป็นธรรมดา

มนุษย์จึงมุ่งเเสวงหาสิ่งอันหมายมั่นว่าเป็นไปเพื่อการณ์ดังกล่าวนั้นแต่มนุษย์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ว่างเปล่า[Emptiness] หากแต่มนุษย์ยังประกอบไปด้วยรูปนาม อันจำเป็นที่ต้องหล่อเลี้ยงด้วย กามวัตถุ ดังนั้นจำเป็นอย่างไรที่มนุษย์สามารถจัดการกับสิ่งที่แท้จริงที่มนุษย์ต้องแสวงหาหากแต่ยังเกี่ยวเนื่องและต้องได้รับการเยียวยารักษาจากกามวัตถุเพื่อยังอัตภาพให้เป็นไป

สนทนาพาที

คำสำคัญ (Tags): #สนทนา#ไปไหนกัน
หมายเลขบันทึก: 442394เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2011 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 19:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท