R2R คุณค่างานประจำ ๓


หลังการอบรม R2R ระยะที่ ๑ ไปเมื่อวันที่ ๓ เมษายน ๒๕๕๔ ผ่านไปเกือบ ๒ เดือน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน ได้เชิญชวนผู้ที่ผ่านการอบรมในระยะที่ ๑ และผู้ที่สนใจ เข้ารับการอบรมในระยะที่ ๒ ในวันเสาร์ที่ ๒๘ พฤษภาคม ๒๕๕๔ ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมเทวราช อำเภอเมืองน่าน มีผู้เข้ารับการอบรม ๗๐ คน

......................................................................

กระบวนการอบรมเริ่มจาก นายแพทย์พิศิษฐ์   ศรีประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน เป็นได้มาให้ข้อคิดในการทำงานแก่บุคลากรที่เข้าร่วมอบรม ต่อด้วยบรรยาย หลักการเขียนและการนำเสนอผลงานการทำงานประจำให้เป็นวิจัย (Routine to Research : R๒R)” โดย รศ.นพ.สมชาติ  โตรักษา คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งอาจารย์เริ่มจากไขข้องใจของผู้เข้าอบรมว่าหลังจากอบรมไปแล้ว ยังสงสัยและติดขัดเรื่องอะไร จึงเพิ่มเติมองค์ความรู้ให้

.....................................................................

หลังจากนั้นได้มีการนำเสนอผลงานการทำงานประจำให้เป็นวิจัย เพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จำนวน ๘ เรื่อง (เรื่องละ ๑๐ นาที) เพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้ร่วมกัน

๑. การพัฒนาระบบการให้บริการทันตกรรมเชิงรุก อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดน่าน  โดย  ทพ.ประสิทธิ์  วงค์สุภา  รพ.เฉลิมพระเกียรติ

๒. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงของกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานของบ้านนาแดง หมู่ 5 ตำบลสันทะ อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน  โดย  นางสาวศรีเรียน ธิจันทร์  รพ.สต.สันทะ

๓. พัฒนาระบบและรูปแบบการดูแลสุขภาพผู้พิการที่บ้าน รพ.สต.น้ำตก อำเภอนาน้อย จังหวัดน่าน ด้วยอาสาสมัคร ปี 2554  โดย  นางอภิญญา น้ำผึ้ง  รพ.สต.น้ำตก

๔. การคัดกรองภาวะซึมเศร้าในอำเภอนาหมื่น จังหวัดน่าน โดย  นางนิศานาถ  สารเถื่อนแก้ว และคณะ โรงพยาบาลนาหมื่น

๕. ประสิทธิผลของการพัฒนาเครื่องส่องไฟแบบเข้มร่วมกับแนวทางการดูแลทารกแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองในโรงพยาบาลน่าน โดย นางพิกุล  ภวสถาพร ตึกทารกป่วย PCT กุมารเวชกรรม รพ.น่าน

๖.  การพัฒนารูปแบบการประกอบอาหารในงานบุญประเพณี อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน  โดย  นายธนเสษฐ์  สายยาโน   สสอ.บ้านหลวง

๗. การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานบริการตรวจคัดกรองสุขภาพประจำปี รพ.สต.บ้านดอนมูล ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน โดย  นางธนธรณ์  ใจทา  รพ.สต.บ้านดอนมูล-เจดีย์

๘. มติประชาคม ตำบลศิลาแลง มาตรการเสริมในการป้องกันและควบคุมไข้เลือดออก โดย  นายพลศักดิ์ ช่างเหล็ก รพ.สต.ศิลาแลง

หลังการนำเสนอแต่ละเรื่องก็จะมีการให้ข้อเสนอแนะ โดย รศ.นพ.สมชาติ  โตรักษา, คุณจุฬารัตน์  สุริยาทัย, คุณไพรินทร์  สมบัติ, ดร.เด่นพงษ์  วงค์วิจิตร และผู้เข้าร่วมอบรม

พร้อมกับมอบวุฒิบัตร และของที่ระลึกเป็นกำลังใจให้แก่ผู้นำเสนอผลงานทุกคน

.......................................................................

ปิดท้ายด้วยการบรรยาย “เคล็ดไม่ลับ R2R และการเขียนบทคัดย่อและการเขียนต้นฉบับเพื่อการตีพิมพ์” โดย รศ.นพ.สมชาติ  โตรักษา คณะสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล

.......................................................................

การเรียนรู้วิจัยแบบ R2R ยังไม่จบสิ้น เพราะหลังได้เรียนรู้เชิงเนื้อหาแล้ว สิ่งที่ต้องกลับไปดำเนินการคือ หยิบเอาผลงานประจำ ซึ่งเป็นงานที่ได้ดำเนินการมาแล้วได้ผลดี ทำแล้วมีความสุข และมีความภาคภูมิใจ มาเขียนและนำเสนอตามแนวทางของ R2R และพัฒนาต่อยอดไปให้ดียิ่งๆ ขึ้น

หมายเลขบันทึก: 441444เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท