นักปฏิบัติการ รพ.สต. แบบมืออาชีพ


หลังจากจัดอบรมผู้บริหาร รพ.สต.แบบมืออาชีพไปแล้ว ๑ รุ่น ปรากฏว่าได้รับการตอบรับที่ดี จากผลการประเมินผู้ผ่านการอบรมบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า อยากให้จัดอีกให้สำหรับกลุ่มผู้ปฏิบัติการด้วย

ดังนั้น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดน่าน  จึงได้จัดอบรมหลักสูตร “นักปฏิบัติการ รพ.สต.แบบมืออาชีพ” วันที่ 11-12 พฤษภาคม 2554 ณ โรงแรมเทวราช จ.น่าน ผู้เข้าอบรมเป็นผู้ปฏิบัติงานในระดับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 150 คน

นายแพทย์พิศิษฐ์   ศรีประเสริฐ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดน่าน เป็นประธานในการเปิดอบรมและให้ข้อคิดในการทำงานแก่บุคลากรที่เข้าร่วมประชุม การอบรมครั้งนี้เป็นโครงการต่อเนื่องที่จัดทำใน 3 หลักสูตรที่เชื่อมโยงกัน เพื่อให้บุคลากรของ รพ.สต.ที่ถูกยกระดับจากสถานีอนามัย สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่เพิ่มมากขึ้นจากหลายช่องทาง ประกอบด้วย หลักสูตรในระดับผู้บริหาร รพ.สต. หลักสูตรการพัฒนางานประจำให้เป็นงานวิจัย และหลักสูตรสำหรับผู้ปฏิบัติการ หลังการอบรม คือ จะได้ความคาดหวังของผู้ให้บริการต่อการพัฒนา รพ.สต.และแนวทางในการพัฒนา รพ.สต.ให้มีคุณภาพ ในมุมมองต่างๆ ซึ่งจะนำไปสู่การปฏิบัติการในแต่ละพื้นที่ของแต่ละ รพ.สต. และ CUP ต่อไป ซึ่งจะมีการติดตามและประเมินผลหลังการอบรมต่อไป

 

สำหรับการอบรมหลักสูตร “นักปฏิบัติการ รพ.สต.แบบมืออาชีพ” ครั้งนี้ ได้เชิญวิทยากรในระดับประเทศที่เชี่ยวชาญการพัฒนางานบริการปฐมภูมิ คือ  นพ.วรวุฒิ  โฆวัชรกุล  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย มาบรรยายเรื่องการพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิในวันแรก ส่วนวันที่สองเป็นการจัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยทีมกระบวนกร รพร.ปัว นำทีมโดย นพ.กิติศักดิ์ เกษตรสินสมบัติ และทีมงาน

...............................................................

สาระสำคัญของเนื้อหาและกระบวนการเรียนรู้มีดังนี้

นพ.วรวุฒิ  โฆวัชรกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสันทราย ได้บรรยายเรื่อง การพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ มีสาระสำคัญบางตอนว่า

...การพัฒนาสุขภาพไม่ใช่ ๑+๑ เท่ากับ ๒...การพัฒนา PCA จึงไม่ใช่การพัฒนาคุณภาพอย่างเดียว.....การพัฒนา PCA ต้องเข้าใจ Concept และหลักการมันก่อน...นิยาม คุณภาพ คือการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด...

...PCA คือ การบรรลุถึงการสร้างให้เกิดสุขภาวะ

...สิ่งที่ควรระลึกถึงคือ สุขภาวะถูกกำหนดโดยแต่ละบุคคล...เราเป็นเสี้ยวส่วนของการสร้างสุขภาวะ...

....เริ่มอย่างไร...ต้องเห็น พื้นที่จริง คนจริง ชีวิตจริง (กลับไปศึกษาแล้วนำมาเขียนชีวิตจริง แล้วดูว่าเราจะทำอะไรได้บ้างจากชีวิตจริงนี้ แล้วนำ Case เหล่านี้ไปคุยกับ รพ.สต.อื่นๆ ลองทำ Social map คล้ายๆ แผนที่เดินดิน เชื่อมไปสู่ระดับอำเภอ ให้ชาวบ้าน/อสม.เพิ่มเติม แล้วเราจะเห็นทางออกว่า รพ.สต.เราจะต้องทำอะไรบ้างจากชีวิตจริงเรื่องนี้ ....สิ่งสำคัญคือการมองด้วยตาที่สดใหม่....

Barier of learning and change “ดูแต่ไม่เห็น ฟังแต่ไม่ได้ยิน สัมผัสแต่ไม่รู้สึก คือ ไม่รับรู้ในสิ่งที่เห็น ไม่พูดในสิ่งที่คิด ไม่ทำในสิ่งที่พูด และไม่เห็นในสิ่งที่ทำ

..........................................................................

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันที่ ๒

เริ่มด้วยกระบวนการทักทาย แนะนำตัว บอกเ

ล่ากติกา และชมวิดิทัศน์ แผ่นดินไทย และสรุปสาระการเรียนรู้จากวิดิทัศน์

หลังจากนั้นเริ่มด้วยกิจกรรมสร้างความคุ้ยเคยเพื่ออุ่นเครื่อง ตามด้วยกิจกรรมทักษะการฟัง เริ่มโดยให้แต่ละคนพูดถึงความสุขของเราอยู่ไหนบ้าง...ทั้งในในอดีต   ปัจจุบัน   อนาคต...ให้เขียนคนละ  ๓๐   ข้อโดยให้นั่งหลับตาทบทวนก่อน และห้ามรบกวนกัน จากนั้นเขียนความสุขและให้เลือกว่าความสุขข้อไหนคือสุดยอดแห่งความสุขที่คิดถึงเมื่อไหร่แล้วทำให้เรานั่งอมยิ้ม......

และให้แต่ละคนเล่าถึงความสุขที่สุดยอดนั้น...โดยทุกคนลุกขึ้นยืน หลับตาลง ลองเดินช้าๆไปเรื่อยๆ ไม่พูดคุยกัน หลังจากนั้นลืมตาเจอใครอยู่ข้างหน้าให้จับคู่  และกำหนดให้เป็นหมายเลข ๑ และหมายเลข ๒

และให้แต่ละคนเล่าถึงความสุขที่สุดยอดนั้น...โดยเริ่มจากเบอร์ ๑ก่อนและให้เบอร์๒ ทบทวน..และสลับให้เบอร์ ๒ พูด

 

เสียงที่อยากสะท้อนความรู้สึกของการฟัง

...เป็นความรู้สึกที่มีต่อครอบครัว ..ฟังแล้วมีความสุขเพราะเขาเล่าแบบมีความสุข...

...การเขียนความสุขใช้เวลานานแต่การพูดใช้เวลาไม่กี่นาที..และสะท้อนมาไม่กี่นาที...

...ความสุขมีมากมายแต่เราไม่เลือกมอง..ความทุกข์มีมาก..ความสุขก็มีมากเช่นกัน..การฟังบางคนจะฟังเพียงบางประเด็นและเก็บเอาเพียงบางประเด็น..โดยความรีบเร่ง..แต่ถ้าเราฟังอย่างตั้งใจและเก็บเอามากจะทำให้เราเก็บทุกอย่างได้มากขึ้น...

 

หมอกิติศักดิ์ ...เราเคยฟัง-เล่าความสุขให้คนใกล้ชิดฟังหรือเปล่า..เราจะเล่าแต่ปัญหา..ยิ่งฟังยิ่งทุกข์ แต่เราไม่ค่อยเล่าความสุขโดยเฉพาะการฟังผู้ป่วย...ยกตัวอย่างการฟังผู้ป่วยที่มาตรวจโดยอาการปวดศีรษะ ฟังผู้ป่วยเล่า ๑0 นาที  ทำให้ทราบสาเหตุของความเจ็บป่วย..และผู้ป่วยบอกว่า..หมอฟังผู้ป่วยทุกคนหรือเปล่า..วันนี้ผมมีความสุขมากที่มีคนฟังเรื่องของผม..เพราะไปมาหลาย รพ.แล้วไม่มีคนฟังผมเลย....สรุปว่าเราลืมความสุขหรือเปล่า..เราลืมเล่าความสุขของเราหรือไม่...

 

กิจกรรมเล่าเรื่องความสุข โดยเข้ากลุ่มแบ่งรายอำเภอ

หมอกิติศักดิ์ ...ถ้าเราเงียบเราจะได้ยิน..ถ้าเราไม่เงียบจะไม่ได้ยิน..และให้เล่าการทำงานที่มีความสุขและให้ฟังอย่างลึกซึ้ง...

หลังจากนั้นได้สรุปความสุขการทำงานเป็นรายอำเภอ..และให้ตัวแทนเล่าบางอำเภอ

อ.เวียงสา

ความสุขจากการเป็นวิทยากร, การทำงาน

เปลี่ยนชีวิตคนจากคนพิการที่ท้อแท้มาเป็นคนทำงานที่สามารถสร้างฐานะตนเองและดูแลคนในครอบครัวได้/เห็นรอยยิ้มของผู้ป่วย

ความสุขที่ชุมชนเอื้ออาทรโดยไม่คำนึงถึงผูกพันสายเลือด

ความสุขที่ชุมชนให้ความร่วมมือในการทำงาน/มีของมาฝากตลอด/ทีมงานเข้าใจกัน

ความสุขได้ดูแลผป.เรื้อรังที่ถ่ายไม่ออกแล้วล้วงอุจจาระให้จนผป.ถ่ายออกมามาก..ทำให้มีความสุขมาก/การดูแลผป.ฉุกเฉินให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤต

ความสุขที่ได้ดูแล/บริการผป.มาก ไม่เกี่ยวกับKPI เพราะรู้สึกเป็นทุกข์

ได้รับความไว้วางใจจากชุมชนและท้องถิ่น

ทำงานคำนึงเป้าหมาย..และความสุขของประชาชน

อ.เมือง ทำงานอยู่ห่างไกลโดยมีชุมชนช่วยดูแลทำให้การทำงานมีความสุข/เรียนรู้ตลอดชีวิต

อ.สันติสุข ทำงานด้วยใจไม่ยึดเงินเป็นที่ตั้ง  มีอุดมการณ์ในการทำงาน คิดบวกในการทำงาน  ผป.มานอกเวลา  คิดว่าเขาไม่ว่างต้องไปทำงานแต่เช้าจึงทำให้มีความสุข, เอาใจเขามาใส่ใจเรา, คนไข้ถูกเสมอ

อ.ท่าวังผา ผู้บังคับบัญชาดีเข้าใจและใส่ใจการทำงานงานบรรลุเป้าหมาย, มีการทำงานเป็นทีม, ทานอาหารกลางวันด้วย, มีสภากาแฟ, สิ่งแวดล้อมที่ดี

.......................................................

กิจกรรมขายฝัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “เราจะทำอะไร เมื่อกลับไป รพ.สต.ของเรา ที่จะทำให้งานได้ผล คนมีความสุข” แบ่งกลุ่มๆ ละ ๕ คน   

๑) ให้ทุกคนนึกถึงการทำงานในการพัฒนา รพ.สต. เราอยากจะทำอะไรเมื่อเรากลับไปที่ รพ.สต.ของเรา เพื่อดูว่ากระบวนการทำงานเป็นทีมใน รพ.สต. ที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จและทีมงานเป็นสุข ให้แต่ละคนเขียนความคิดเห็นของตนเองลงบนกระดาษเอ ๔ แล้วให้แต่ละคนเล่าให้เพื่อนในกลุ่มฟัง

๒) ให้แต่ละคน นึกถึงการต่อยอดจากความฝันที่เราอยากทำ อยากเห็น อยากให้เกิดขึ้นใน รพ.สต.ของเรา เราจะต้องทำอะไรเพื่อการต่อยอดจากงานเดิมที่เห็นและเป็นอยู่ในปัจจุบัน ให้แต่ละคนเขียนความคิดเห็นของตนเองลงบนกระดาษเอ ๔ แล้วให้แต่ละคนเล่าให้เพื่อนในกลุ่มฟัง

๓) ทุกคนในกลุ่มช่วยกันสรุปประเด็นที่ได้ฟังจากเพื่อนในกลุ่มลงบนกระดาษชาร์ท แล้วนำเสนอให้ที่ประชุมได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน

 

.....................................................................

กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ นอกจากได้ความสุข สนุกสนาน ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ มุมมองของแต่ละคน แต่ละพื้นที่แล้ว ยังได้เห็นความคาดหวัง ความปรารถนา และความมุ่งมั่นของนักปฏิบัติการมืออาชีพที่อยากให้ รพ.สต.มีการพัฒนาไปสู่การสร้างเสริมสุขภาพของประชาชนได้อย่างแท้จริง

.................................................................

ขอบคุณวิทยากรและกระบวนกรทั้ง ๒ วัน

ขอบคุณคนต้นเรื่อง นักปฏิบัติมืออาชีพที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ขอบคุณลมหายใจ รอยยิ้ม และมิตรภาพ

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 441443เขียนเมื่อ 30 พฤษภาคม 2011 11:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ที่น่าน มีจุดแข็งที่การจัดการทรัพยากรที่จำกัด ให้เกิดคุณค่าสูงสุด ถ้าหากสืบสานเรื่องราวน่าน มีKM และPCA มาแสนนาน เพียงแต่ไม่มีชื่อเรียกเก๋ๆๆแบบปัจจุบัน แม้แต่ รพ.สต. รากเหง้าของงานพัฒนาระบบ สอ. เขาทำมานาน พอกิจการหรือนโยบาย ใดๆๆเข้ามา สามารถรับมือได้หมด หรืออาจเรียกงานที่เข้ามานั้นว่าเป็นโอกาสใหม่ๆให้ได้ปรับโฉมตามโลกาภิวัฒน์ หรือเรียกว่าEventก็ว่าได้ ทำให้บางเรื่องราวเกิดการตื่นตา ตื่นใจ แต่ไงเสีย น่านก็ยังเป็นน่านอย่างยั้งยืน บนจุดแข็งที่ว่า "น่านทำอะไรต้องคุยกันก่อน......."

เยี่ยมจริงๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท