kroothong
นาย วีระวัฒน์ ต๋อง แก้วบัวสา

นวัตกรรมเทคโนโลยีการศึกษา


นวัตกรรม

ปัจจัยนำเข้า (Input) หมายถึง ทรัพยากรทางการบริหารทุก ๆ ด้าน ได้แก่ บุคลากร งบประมาณ วัสดุ อุปกรณ์ การบริหารจัดการ และแรงจูงใจ ที่เป็นส่วนร่วม

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 441310เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2011 12:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ยินดีด้วยคะ

เราสถาบันเดียวกัน และคนบ้านเดียวกัน เยี่ยมมากคะ ช่วย ๆ กันค้นคว้างานอีกนะคะน้องกลุ่ม 2

ยังไงก็อย่าลืมคอมเม้นต์พี่บ้างนะคะ

พี่จิ๋ม ทร.๗๑

เมื่อกล่าวถึง การเรียน การสอนทางไกล  ทุกๆท่านนึกถึง  การเรียนผ่านระบบดาวเทียม  แต่ปัจจุบันเทคโนโลยี การพัฒนาในด้านกล้อง ip camera  พัฒนาไปถึงความละเอียดที่สูงสุด  เสียงที่ชัดเจน จนสามารถนำมาใช้ในการเรียน การสอน ได้อย่างมีประสิทธิภาพ   ถึงระดับสื่อสารแทนระบบวีดีโอคอนฟอเร้นท์ได้อย่างดี แต่ราคาที่ทำระบบไม่ใช้หลักแสน หรือหลักล้าน  แค่หลักพัน หลักหมื่นก็สามารถจัดระบบการศึกษาในระบบนี้ได้ และที่สำคัญผู้เรียนสื่อสารได้ทั้งภาพ และเสียง ไม่ต่างกับการเรียนในห้องเรียน

ผม อ.ประวิทย์ อยากให้ทุกๆท่าน  ที่สนใจการเรียนทางไกลได้ดูบทความนี้ เพื่อที่จะได้ทราบว่าปัจจุบัน เทคโนโลยีการเรียน การสอนทางไกล ไม่ใช่เรื่องไกลตัว ทุกๆท่านสามารถทำได้ภายใน 1-2 ชั่วโมงก็สามารถที่จะเผยแพร่ความรู้ตนเองออกไปได้ และเป็นระบบ two way  ได้ทั้งภาพและเสียง  ด้วยกล้อง  ip camera ซึ่งในปัจจุบัน ระบบสื่อสารเป็น 3 G  ยิ่งทำให้ระบบนี้เสถียร  และมีประสิทธิภาพมากขึ้น(มากกว่าช่วงที่ทำการทดลองในขณะที่วิจัย)   ซึ่งบทความนี้ได้ให้ความรู้ ทุกๆท่าน  และในช่วงท้าย มีเวป และเบอร์โทรที่ติดต่อได้ เพื่อนำความรู้มาแชร์แบ่งปันกัน  ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการศึกษาของประเทศ  โดยผู้วิจัยยินดีให้คำปรึกษาในตัวเทคโนโลยีของระบบ  และปัจจุบันได้ทำการติดตั้งระบบนี้ให้กับหน่วยงานการศึกษาภาคเอกชน ทำการสอนไปทั่วประเทศโดยไม่มีขีดจำกัด  เช่นนำไปสอนกวดวิชาทางไกล นำไปสอนอาชีพทางไกล นำไปสอนวิชาอื่นๆอีกมากมาย(ท่านต้องการ file  ฉบับเต็ม ทั้ง word และ powerpoint  ติดต่อมาได้นะครับ  อีกทั้งมีตำราที่ทำไว้เป็นหนังสือ พร้อม vcd  5 แผ่น  ที่ท่านสามารถนำไปปฎิบัติตามได้ทันที ต้องการรายละเอียดสอบถามการทำงานระบบ   ติดต่อที่  081-8241332  หรือ อีเมล์มาถามที่ [email protected]  นะครับ  )

ดูภาพการเรียน การสอน ทางไกลที่ 

https://picasaweb.google.com/trainingcenterthai/IpCamera?authkey=Gv1sRgCKW4lujbl5uUQA#

ซึ่งปัจจุบันผู้วิจัย  ทำการศึกษาในระดับ ปริญญาเอก  ในสาขาการจัดการเทคโนโลยี

งานวิจัย

ประสิทธิภาพ ระบบการเรียน การสอน วิชาชีพระยะสั้น ตามอัธยาศัย ผ่านอินเทอร์เน็ต    ด้วยกล้องไอพี คาเมร่า  โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น เขตบางบอน  กรุงเทพมหานคร

                                                                                                                        

                                                                                                                         ประวิทย์  สุดประเสริฐ     

      บทคัดย่อ

              การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพ   และผลสัมฤทธิ์  ระบบการเรียนการสอน วิชาชีพระยะสั้นตามอัธยาศัย      ผ่านอินเทอร์เน็ต   ด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)   โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น  เขตบางบอน  กรุงเทพมหานคร   กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในงานวิจัยเป็นนักศึกษาที่สมัคร เข้ามาเรียนวิชาชีพระยะสั้น หลักสูตร 3 ชั่วโมง จำนวน 4 วิชา  มี 1.วิชาชีพการทำตรายาง     2.การเข้าสันกาวหนังสือ  3.การทำกรอบรูปวิทยาศาสตร์  4.ช่างทำตัวเงิน  ตัวทอง  บัตรเชิญงานพิธี     ซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้มาจากการเลือกแบบ ชั้นภูมิ  จำนวน 48 คน  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ประกอบด้วยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอน ทางไกลด้วย กล้องไอพี คาเมร่า  (IP Camera)  และแบบทดสอบก่อนเรียน  แบบทดสอบระหว่างเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน

              ผลการวิจัย พบว่าว่าประสิทธิภาพ ระบบการเรียน  การสอน ผ่านอินเทอร์เน็ตด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)   มีประสิทธิภาพ 83.22/88.75   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดคือ  80/80  และมี 

ผลสัมฤทธิ์  ทางการเรียน การสอนหลังเรียน ระหว่างกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลอง ผ่านกล้องไอพี  คาเมร่า   แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ

 

ความเป็นมา และความสำคัญของปัญหา

             ในการเรียน  การสอน  ของโรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น  จะมีวิชาชีพ ตามอัธยาศัย ให้ประชาชนที่สนใจ  เข้ามาเลือกเรียนได้   18 วิชาชีพ  โดยการเรียนแต่ละวิชาชีพ มีการกำหนดอายุนักเรียน  15  ปีขึ้นไป  ไม่จำกัดเพศ  และวุฒิการศึกษา  โดยแต่ละวิชาที่เรียน  จะใช้เวลาเรียน  3 ชั่วโมง  ก็สามารถทำงาน  หรือนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้    ดังนั้นการเดินทางมาเรียน   สำหรับผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ในจังหวัดต่างๆ จึงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย และเวลาที่ต้องเสียไปกับการเดินทาง  โดยเฉพาะ ผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัย เช่นใน 3 จังหวัดภาคใต้ ไม่มีโอกาสเข้ามาห้องเรียนที่โรงเรียนได้  จากข้อมูลของโรงเรียน กลุ่มนักเรียนที่ต้องการความรู้  จะเป็นนักเรียนที่มาจากต่างจังหวัดร้อยละ 60  ทำให้เกิดปัญหากับนักเรียน ที่เดินทางมาจากต่างจังหวัด  ในเรื่องที่พัก  โดยนักเรียนบางท่าน  ต้องการเรียน 6-7 วิชา  ซึ่งต้องใช้เวลาเรียน  2 ถึง 3 วัน (วันละ 2 วิชา)  ผู้ที่ถือศาสนา อิสลาม   จะมีปัญหาเรื่อง อาหารและการทำพิธีทางศาสนา   ทำให้เสียเวลา เสียเงินไปกับการเดินทางจำนวนมาก

              ถ้ามีการสอน แบบที่ โต้ตอบกันได้ เหมือนในห้องเรียน  และเรียนที่บ้านได้  โดยที่ไม่ต้องเดินทางมาเรียน  โดยให้ผลการเรียนที่ไม่แตกต่างกัน เสมือนมาเรียนที่โรงเรียนในส่วนกลาง   เช่นในกรุงเทพมหานคร (Virtual Classroom)  บุญเรือน เนียมหอม(2540) ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ก็จะเป็นประโยชน์มาก กับประชาชนที่ต้องการความรู้  ไปประกอบอาชีพ       จึงเป็นสาเหตุ ให้ผู้วิจัยคิดรูปแบบการเรียนรู้แบบทางไกล ที่ไม่ต้องลงทุนจำนวนมาก แต่ต้องสื่อสารกันได้ทั้งภาพ และเสียง และให้ผลการเรียน การสอนไม่แตกต่างกัน    จึงเป็นที่มาของระบบการเรียน การสอน โดยใช้กล้องไอพี คาเมร่า  (IP Camera)   ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบัน  กล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)    สามารถสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบสื่อสารสองทาง (Two Way)   คือ  เห็นทั้งภาพ และเสียง  โต้ตอบกันไปมาได้  (Asynchronous Learning)  ทำให้การเรียนการสอน ทางระบบอินเทอร์เน็ต มีความสมบูรณ์แบบ  เสมือนนั่งเรียนในห้องเรียนปกติ               

              การเรียน ทางไกลด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)  นักเรียนจะมีการปฎิสัมพันธ์  กับผู้สอนถึงขั้นที่  สามารถสอนปฎิบัติไปได้พร้อมกัน   เช่น วิชาอาชีพชุบทอง  นักเรียนที่ห่างไกล  เช่นจังหวัดเชียงราย  นักเรียนสามารถทำตามครูผู้สอนได้ทันที    และหากนักเรียนสงสัยในข้อปัญหาใด ขณะที่ทำการเรียน ก็สามารถ สอบถามปัญหานั้นๆ ผ่านไมโครโฟน  ของเครื่อง

 

 

 

คอมพิวเตอร์ ได้ทันที             เหตุผลที่ผู้วิจัย  ต้องการทำงานวิจัย ในเชิงทดลองเรื่องนี้  คือต้องการทำให้เห็นว่า เทคโนโลยีในปัจจุบัน สามารถดำเนิน การเรียนการสอนทางไกลในรูปแบบสองทาง

ได้ในราคาถูก  และมีคุณสมบัติเหมือนระบบ กล้องวีดีโอคอนเฟอเร้นท์  (Video Conference)    

              การเรียน การสอน ในรูปแบบ ของ  กล้อง วีดีโอคอนเฟอเร้นท์  (Video Conference)    จะมีการลงทุนสูง  ระดับหลักแสน ขึ้นไป จนถึง หลักหลายๆล้านบาท     และต้องมีการเสียค่าใช้จ่ายต่อเดือนจำนวนมาก  ในการเช่าใช้ช่องสัญญาณ  เช่นเช่าใช้ช่องสัญญาณระบบไมโครเวฟ  ระบบที่ใช้ การเรียน  การสอน ด้วย  กล้องวีดีโอคอนเฟอเร้นท์  (Video Conference)    คือต้องมีนักเทคโนโลยีทางการศึกษา คอยเฝ้าดูแล เตรียมความพร้อมของระบบกล้อง วีดีโอคอนเฟอเร้นท์  (Video Conference)    และระบบโปรแกรมในการใช้งาน   ทั้งสองด้านคือ ทางด้านผู้สอน และทางด้านนักเรียน  ทำให้ต้องสิ้นเปลือง ทรัพยากรบุคคล         

              ที่สำคัญ  ถือเป็นจุดด้อยในการศึกษา ที่ใช้ระบบ กล้องวีดีโอคอนเฟอเร้นท์  (Video Conference)    คือ  นักเรียนทุกคน ต้องมารวมกลุ่มกันที่ศูนย์การเรียนรู้   ที่แต่ละมหาวิทยาลัยจัดไว้ ในแต่ละภูมิภาค  (สำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(2544)  ดังนั้น  เมื่อหันมาพัฒนาเทคโนโลยี ที่เป็นนวัตกรรมรูปแบบใหม่  ของการเรียน  การสอน  ทางไกลด้วยระบบ  กล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)แล้ว  ก็จะลดปัญหาทั้งหมดของนักเรียนออกไป  โดยค่าใช้จ่าย  การวางระบบการเรียน  การสอนด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)  อยู่ที่ระดับหลัก  30,000  -  45,000 บาท  ก็สามารถ เผยแพร่ความรู้ออกไปได้   ทั้งภาพ และเสียง  นักเรียนจะประหยัดค่าใช้จ่ายต่างๆ  สามารถนั่งเรียนที่บ้านตนเอง  ไม่ต้องเดินทางมาที่ศูนย์การเรียนรู้   นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา   เพราะข้อมูลที่เรียน  สามารถทำสำเนาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้

          ผลการวิจัยในครั้งนี้  จะสร้างประโยชน์ให้นักเทคโนโลยีทางการศึกษา  ครู – อาจารย์ ที่มีความสนใจ การเรียน การสอนในระบบทางไกล   สามารถนำนวัตกรรมรูปแบบการเรียน การสอน ด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)  นี้ ไปใช้ได้  โดยพื้นที่ใดที่มีสัญญาณอินเทอร์เน็ตเข้าไปถึง  ก็เปิดการเรียน การสอน รูปแบบนี้ได้ทันที การเรียน การสอน ในรูปแบบใหม่นี้ สร้างความรู้ และสร้างอาชีพ ให้กับประชาชน   ตลอดจนนำไปใช้ในการเรียน การสอนในหลักสูตรต่างๆ ได้ทุกระดับชั้นเรียน  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อระบบการศึกษาของชาติ ในอนาคต  เพราะการเรียน การสอน ระบบทางไกล  จะไม่มีอุปสรรค ในเรื่องของระยะทาง  และเวลาของการเรียน การสอน   ทุกคนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามที่ตนเองต้องการ.

 

 

 

 

                     

       สรุปผลการวิจัย

             จากการวิจัยเรื่องประสิทธิภาพ ระบบการเรียน การสอน วิชาชีพระยะสั้น ตามอัธยาศัย ผ่านอินเทอร์เน็ต    ด้วยกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera) โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น เขตบางบอน  กรุงเทพมหานคร   สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

                     1.  ระบบการเรียน การสอนผ่านกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera) มีประสิทธิภาพตามมาตรฐาน ได้ค่าประสิทธิภาพ      เท่ากับ   83.22/88.75   ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด คือ 80/80

                     2   ผลสัมฤทธิ์   การการเรียน การสอนผ่านระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)    กับการเรียนในชั้นเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ  เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ คือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างนักเรียนในห้อง  และนักเรียนที่เรียนผ่านระบบกล้องไอพี คาเมร่า

(IP Camera)  ไม่มีความแตกต่างกัน คือเรียนทางไกลผ่านระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)  ในแต่ละจังหวัด  นักเรียนได้ผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนรู้  เช่นเดียวกับนักเรียนในชั้นเรียนปกติ

 

       ข้อเสนอแนะการวิจัย

                        1.ข้อเสนอแนะ   ในการนำผลการวิจัยไปใช้

              จากการที่ได้ทดลองการสอนผ่านระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)  นักเรียนที่นั่งอยู่ทางบ้าน  มีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบนี้มากคือ  ไม่ต้องเดินทางมาเรียน

               นักเรียนทำการต่ออินเทอร์เน็ต  โดยใช้รหัสผ่านที่ให้ไว้  นักเรียนสามารถทำการเรียนผ่านอินเทอร์เน็ตได้ทันที  ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเดินทาง  ทำให้ลดเวลาที่ต้องสูญเสียไปในกรณีต่างๆ  เช่น  ต้องมาสมัครเรียน  ต้องกรอกหลักฐาน  ต้องเดินทางมาเรียนทุกวันตามรอบที่กำหนด

              1.1 การเรียน ทางไกล ด้วยระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)   นักเรียนเสมือนมีห้องเรียนอยู่ที่บ้าน   นักเรียนมีปัญหาในการเรียนจุดใด   ก็สามารถพูดใส่ไมค์โคโฟนของคอมพิวเตอร์ส่งเสียงสอบถามมาได้ทันที  และครูผู้สอนตอบคำถามนั้นๆ  ได้ทันที เช่นกัน

              1.2 นักเรียนสามารถทบทวนบทเรียน ได้ทันทีเมื่อต้องการดูซ้ำ  โดยภาพที่เรียน นักเรียน  สามารถทำการเก็บไว้  ตามระบบที่คอมพิวเตอร์มีให้ ทำให้สามารถ ดูการเรียน การสอนซ้ำได้ไม่จำกัดครั้ง 

               1.3 นักเรียนสะดวกในการค้นคว้าเพิ่มเติม    เนื่องจากพอจบบทเรียน  นักเรียนต้องการค้นคว้าข้อมูลที่เรียนเพิ่มเติม  สามารถทำได้ทันที  จากตำราในรูป  ebook   และ วีดีโอ  ในรูปแบบของ  e -learning      ในเวปไซด์ ของ  You Tube   โดย  Software  จะมีคุณสมบัติในการค้นคว้าข้อมูลมาให้พร้อม

               

 

 

 ด้วยเหตุนี้  ขอเสนอแนะ ครู-อาจารย์  และนักเทคโนโลยีทางการศึกษา  ซึ่งดูแลด้านการเรียนการสอน หรือดูแลด้านโสตทัศน์  ได้นำประโยชน์  จากการวิจัยครั้งนี้  ไปใช้ในการสอนทางไกล นำความรู้ออกสู่ภายนอกโรงเรียน  วิทยาลัย  หรือมหาวิทยาลัย  โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต  มาผสมผสานกับเทคโนโลยีระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera)    ซึ่งสามารถทำการเรียน การสอน ทางไกล ในราคาถูก แต่มีคุณภาพสูง

             ผลจากการวิจัยครั้งนี้  ประสิทธิภาพระบบ การเรียน  การสอน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ตามสมมติฐานที่ต้องการคือ  ให้ผลการเรียนการสอนที่  ไม่แตกต่าง กับการสอนในห้องปกติ   ซึ่งนำไปใช้ในการเรียน การสอน  จะมีประโยชน์อย่างมาก   ประหยัดงบประมาณการศึกษาทางไกลได้อย่างมาก  ผลจากการประหยัด ที่กล่าวมาข้างต้น  จะช่วยให้ประชาชนได้ความรู้โดยเฉพาะผู้ด้อยโอกาส  เช่นผู้พิการ  ได้มีการเรียนรู้ที่บ้านตนเอง อย่างไม่มีขีดจำกัด  นับเป็นการเปิดกว้าง ทางการเรียนการสอนทางไกล  ในรูปแบบใหม่และเป็นตัวเลือกในการศึกษาทางไกลอีก  ช่องทางหนึ่ง   

 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

              ในการวิจัยเชิงทดลองครั้งนี้  แม้ว่าประสบผลทางการเรียน  การสอน  ได้ตามสมมติฐาน  ของวัตถุประสงค์ของการวิจัย  แต่มีข้อเสนอแนะ  ในการทำวิจัยครั้งต่อไป  ดังนี้

               1. ให้ผู้วิจัยท่านต่อไป  ทำงานวิจัยในรูปแบบการเรียน  การสอนทางไกล ด้วยระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera) ดังงานวิจัยฉบับนี้ โดยเน้นการนำไปสอนปฎิบัติ ในระยะเวลาที่มากขึ้น เช่นหลักสูตร 5 วัน  7 วัน หรือ  1 เดือน  ขึ้นไป ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ที่แสดงให้เห็นว่า งานสอนปฎิบัติที่ระดับสูง และมีระยะเวลาที่ยาวนานสามารถใช้รูปแบบการสอน แบบงานวิจัยฉบับนี้ได้    

              2. ให้ผู้วิจัยท่านต่อไป  ทำงานวิจัยในรูปแบบการเรียน  การสอนทางไกล ด้วยระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera) ดังงานวิจัยฉบับนี้ โดยเน้นการนำไปสอนในวิชาสามัญต่างๆในระดับมัธยม  โดยทำการวิจัย เพื่อแก้ปัญหาการเรียนล่าช้า ของนักเรียนในพื้นที่เสี่ยง เช่น 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงทดลอง ทีแสดงให้เห็นว่า งานสอนภาควิชาสามัญต่าง ในระดับมัธยม 1-6   สามารถใช้รูปแบบการสอน แบบงานวิจัยฉบับนี้ได้   หากทำได้จะช่วยการเรียนที่ล่าหลังของนักเรียนในภาคใต้ ได้ทัดเทียมกับนักเรียนในภาคอื่นๆ  หรือการสอนทางไกล ในคณะต่างๆของมหาวิทยาลัยราชภัฎ  ที่นักศึกษาในพื้นที่  ไม่สะดวกในการเดินทางออกมาเรียน เป็นต้น              

               3. ทำงานวิจัยในรูปแบบการเรียน  การสอนทางไกล ด้วยระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP

 

 

 

Camera) ดังงานวิจัยฉบับนี้ โดยเน้นการนำไปสอนในพื้นที่  ซึ่งไม่มีระบบอินเทอร์เน็ต  ซึ่งพื้นที่ใน

ภาคเหนือจำนวนมาก  เป็นภูเขาสูงหรือพื้นที่เสี่ยงภัย  ทำให้การวางสายสัญญาณอินเทอร์เน็ตไปไม่ได้ คือไม่สามารถใช้ช่องสัญญาณสายปกติได้  งานวิจัยครั้งต่อไป  ควรนำผลงานวิจัยนี้ไปต่อยอด  การสอนทางไกลโดยส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม  สามารถนำสัญญาณอินเทอร์เน็ต ลงได้ทุกพื้นที่ในประเทศ แสดงงานวิจัยให้เห็นว่าสามารถใช้งานได้จริงเป็นการต่อยอดจากงานวิจัยฉบับนี้

              4. ทำงานวิจัยในรูปแบบการเรียน  การสอนทางไกล ด้วยระบบกล้องไอพี คาเมร่า (IP Camera) ดังงานวิจัยฉบับนี้ โดยเน้นการนำไปสอนในพื้นที่  ซึ่งไม่มีระบบอินเทอร์เน็ต และไม่มีไฟฟ้าใช้  โดยการนำไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์  ที่ได้จากพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้  มีพื้นที่เป็นจำนวนมาก  เช่นพื้นที่ภูเขาสูง ที่ไม่คุ้มต่อการวางระบบสายส่งไฟฟ้า  ดังนั้นควรนำผลงานวิจัยนี้ไปต่อยอด  การสอนทางไกลโดยส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม และใช้ไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์  แสดงงานวิจัยให้เห็นว่าสามารถ ทำการเรียนการสอน  ทางไกลได้ทุกพื้นที่  โดยไม่มีขีดจำกัด                 

               จาก 4 ข้อ เสนอแนะข้างต้น  เป็นช่องทางให้ผู้ที่ทำงานวิจัยต่อไป สามารถนำผลที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปต่อยอดทำงานวิจัยฉบับอื่นๆได้อีก  โดยใส่รายละเอียดในด้านเทคโนโลยีเพิ่มเติม  ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพการเรียน การสอนทางไกล ไปได้ทุกๆที่ตามต้องการ  และทุกคนมีสิทธิได้รับ

การเรียนรู้อย่างทัดเทียมกัน ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  โดยไม่มีระยะทางมาเป็นขีดจำกัด ในการเรียน การสอน .

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติย่อผู้วิจัย

 

ชื่อ-สกุล                                                ว่าที่ร้อยตรีประวิทย์  สุดประเสริฐ

สถานที่อยู่ปัจจุบัน                                 67/12 ม.6 ถนนเอกชัย แขวงบางบอน เขตบางบอน กทม           

                                                              10150   โทร  02-8943133-35  081- 8241332

                                                              

                                                              ปัจจุบัน  ผู้อำนวยการ โรงเรียนศูนย์ฝึกวิชาชีพระยะสั้น

                                                              จ.กรุงเทพมหานคร  โทร 02-8943135  08/1-8241332                

 

อีเมล์  [email protected]   

      เวปโรงเรียน www.thaitrainingsiam.com

เวปที่เกี่ยวกับงานระบบการเรียนการสอนทางไกล

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท