สอนคิดผ่านบวบในวิชาภาษาไทย


การสอนให้นักเรียนมีการคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และคิดวิจารณญาณในรายวิชาภาษาไทยทำได้หลากหลายรูปแบบอย่างเช่นการสอนโวหารภาพพจน์

"ต้องลองเอาบวบไปต้มด้วยหรือเปล่าจึงจะเห็นภาพจากการเปรียบเทียบ"

          วันนี้ตั้งใจจะนำเสนอเรื่องราวของ "บวบ" แต่ก็นำมาเชื่อมโยงถึงการสอนคิดวิเคราะห์ คิดสร้างสรรค์และคิดวิจารณญาณในรายวิชาภาษาไทยโดยใช้เนื้อหา "โวหารภาพพจน์" ได้ โดยใช้กลอน และบวบเป็นกรณีศึกษา  โดยเริ่มจาก

  1. ระบุประเด็นปัญหา
    “สองเต้าห้อยตุงตังถุงตะเคียว
    โคนเหี่ยวแห้งรวบเหมือนบวบต้ม
    เสวยสลายาจุกพระโอษฐ์อม
    มันเน่าเชยน่าชมนางเทวี...”
    บทกลอนข้างต้นนี้คัดมาจากบทละครเรื่อง ระเด่นลันได ของพระมหามนตรี (ทรัพย์) แต่งไว้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ทำไมจึงเปรียบเทียบสองเต้ากับบวบต้ม

  2. ประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การใช้โวหารภาพพจน์ในลักษณะอุปมามีลักษณะเด่นอย่างไร  และบวบหรือผลบวบมีลักษณะอย่างไร

  3. ให้นักเรียนได้เปรียบเทียบเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในการอุปมาระหว่างสองเต้ากับบวบต้ม

  4. กระตุ้นให้นักเรียนสร้างการเปรียบเทียบในลักษณะอื่นพร้อมให้ระบุเหตุผล

  5. ให้นักเรียนประเมินหรือสรุปลงความเห็นว่าเป็นการอุปมาที่เหมาะสมหรือไม่
    กิจกรรมเหล่านี้น่าจะสร้างความสนุกในห้องเรียนไม่น้อย แต่ทั้งนี้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และการเตรียม
              
            

หมายเลขบันทึก: 441162เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2011 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เสียดายจัง น้องไม่มีภาพบวบต้ม เลยไม่ได้เอามาให้ดู เรียนแบบนี้ต้องสนุกแน่ๆๆเลยครับ

ขอบคุณมากค่ะน้องอาจารย์ขจิต

เด็กๆ เขาจะชอบมากหากสิ่งนั้นอยู่รอบๆ ตัว

และได้ปฏิบัติจริงๆ

เชื่อมโยงสิ่งรอบตัว + ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กฝึกทักษะการคิดหลากหลาย เก่งจริงๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะ...ต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าเนื้อหาแล้วทักษะการคิดจะเกิดค่ะ

เดือน ก.ค. จะเดินทางจับภาพครูเพื่อศิษย์ทางใต้ ขอแวะไปจับภาพ สัมภาษณ์ครู noktalay ได้ไหมคะ ขออีเมล์หรือเบอร์ติดต่อสะดวกไหมคะ

สวัสดีค่ะ น้องอ้อ

ขอบคุณมากค่ะที่ให้เกียรติ แต่พี่นกต้องบอกก่อนนะค่ะเป็นครูสอนวิชาเคมี ซึ่งกระบวนการคิดที่สอนเป็นแนวทางวิทยาศาสตร์ แต่เนื่องจากพี่นกมีการทำงานวิจัยเกี่ยวกับ การส่งเสริมการคิดใน ๘ กลุ่มสาระ จึงได้มาโผล่ความคิดความเห็นที่ภาษาไทยนี้ค่ะ หากแวะมาทางหาดใหญ่จะให้พี่นกช่วยเหลืออื่นใดก็บอกได้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท