การจัดอันดับมหาวิทยาลัย (University Ranking) ตอนที่ 2


การจัดระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่ทำการจัดระดับในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่ในระดับชาตินั้นมีเพียงบางหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้ทำการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนออกมาเป็นคะแนนและจัดระดับมหาวิทยาลัยไว้ตามช่วงคะแนน

 

 

 

การจัดระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้น ยังไม่มีหน่วยงานหรือองค์กรใดที่ทำการจัดระดับในระดับภูมิภาคและระดับโลก แต่ในระดับชาตินั้นมีเพียงบางหน่วยงานหรือองค์กรที่ได้ทำการประเมินคุณภาพการเรียนการสอนออกมาเป็นคะแนนและจัดระดับมหาวิทยาลัยไว้ตามช่วงคะแนน เช่น สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) องค์การมหาชน ที่ทำการประเมินเพื่อรับรองคุณภาพและมาตรฐานการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษา โดยแบ่งเป็นช่วงคะแนน คือ

ช่วงคะแนน 4.51-5.00 ดีมาก รับรองมาตรฐาน

3.51-4.50 ดี รับรองมาตรฐาน

2.51-3.50 พอใช้ รับรองมาตรฐานแบบมีเงื่อนไข

1.51-2.50 ควรปรับปรุง ไม่ได้มาตรฐาน

1.00-1.50 ต้องปรับปรุง ไม่ได้มาตรฐาน

เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีบางองค์กร เช่น สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่ทำการประเมินศักยภาพและจัดระดับมหาวิทยาลัยในแต่ละสาขาวิชาโดยแบ่งออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านการเรียนการสอน และมิติด้านด้านการวิจัย โดยเป็นการจัดอันดับและประเมินศักยภาพมหาวิทยาลัยไทยประจำปี 2548 ซึ่งนำข้อมูลจากมหาวิทยาลัยที่ส่งข้อมูลมายัง สกอ.ประมาณ 60-70 แห่ง จากมหาวิทยาลัยทั้งหมดของรัฐและเอกชนประมาณ 200 แห่ง ซึ่งมีตัวอย่างผลการจัดระดับดังนี้

สำหรับผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยกลุ่มดัชนีชี้วัดมิติด้านการวิจัย ปรากฏว่า

 

กลุ่มดีเลิศ คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 75 ขึ้นไป เรียงตามตัวอักษร คือ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

 

กลุ่มดีเยี่ยม คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 70-75 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยนเรศวร และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

 

กลุ่มดี คะแนนตั้งแต่ร้อยละ 65-69 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 

กลุ่มพอใช้ คะแนนร้อยละ 55-64 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

 

และกลุ่มต้องปรับปรุง คะแนนร้อยละ 55 ลงไป เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ วิทยาลัยตาปี และวิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ

 

 

ในส่วนการประเมินโดยใช้กลุ่มดัชนีชี้วัดตามมิติด้านการเรียนการสอน ปรากฏว่า

 

กลุ่มดีเลิศ คะแนนร้อยละ 75 ขึ้นไป เรียงตามตัวอักษร คือ

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มดีเยี่ยม คะแนนร้อยละ 70-74 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

 

กลุ่มดี คะแนนร้อยละ 65-69 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ กลุ่มพอใช้ คะแนนร้อยละ 60-64 เรียงตามตัวอักษร ดังนี้ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร

 

และกลุ่มต้องปรับปรุง คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 60 เรียงตามตัวอักษร คือ

มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ สถาบันเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจและวิทยาลัยตาปี

นอกจากนี้ยังมีการจัดระดับลึกลงไปในระดับคณะที่สอนในแต่ละสาขาวิชาอีกด้วย ซึ่งผลการจัดระดับมหาวิทยาลัยตามสาขาวิชาของ สกอ. มีดังนี้

การจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการวิจัย 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

 

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่

วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่

บัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันพัฒนาและฝึกอบรมโรงงานต้นแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

 

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาการสาธารณสุข จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปศาสตร์ ได้แก่

คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะบริหารธุรกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, วิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่

คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สถาบันวิจัยทรัพยากรทางน้ำ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สำนักวิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

กลุ่มสาขาศึกษาศาสตร์ ได้แก่

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

 

 

ส่วนการจัดอันดับของคณะต่างๆ ที่มีศักยภาพด้านการการเรียนการสอน 5 อันดับแรก แยกตามกลุ่มสาขา มีดังนี้

 

กลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มสาขาเทคโนโลยี ได้แก่

คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะพลังงานและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะทรัพยากรชีวภาพและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

 

กลุ่มสาขาชีวการแพทย์ ได้แก่

คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และศิลปะศาสตร์ ได้แก่

คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล

 

กลุ่มสาขาสังคมศาสตร์ ได้แก่

สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดลและคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ ได้แก่

คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง, คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และคณะเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

เนื่องจากผลการประเมินข้างต้นเป็นการจัดระดับสถาบัน (Rating) โดยมีการเรียงชื่อตามตัวอักษรของสถาบัน ไม่ได้เรียงตามคะแนน จึงไม่ได้เป็นการจัดอันดับ (Ranking) แต่อย่างใด

ทั้งนี้ทาง สกอ. ยังได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยในแต่ละมิติ โดยเรียงตามคะแนนดังนี้

มิติด้านการเรียนการสอน (คะแนนเต็ม 80%)

 1.มหาวิทยาลัยมหิดล 61.11%

2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 52.78%

3.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 47.27%

4.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 47.16%

5.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ 46.12%

6.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 45.72%

7.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 45.37%

8.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 45.07%

9.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 43.59%

10.มหาวิทยาลัยศิลปากร 43.46%

 

มิติด้านการวิจัย (คะแนนเต็ม 100%)

 1.มหาวิทยาลัยมหิดล 100.00%

2.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 92.24%

3.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี 81.49%

4.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 81.36%

5.มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 78.68%

6.มหาวิทยาลัยขอนแก่น 75.70%

7.สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 74.10%

8.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 73.61%

9.มหาวิทยาลัยนเรศวร 72.04%

10.มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 71.26%

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 440905เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท