5 ขั้นตอนเพื่อศิลปะของการจูงใจ


ผู้จูงใจสามารถศึกษาและเข้าใจบุคคล หรือกลุ่มเป้าหมายได้โดยละเอียด

1. สร้างความสนใจให้เกิดขึ้นแก่ กลุ่มบุคคลหรือกลุ่มชนเป้าหมาย โดยกระตุ้นด้วยสิ่งของรางวัล ให้เกิดความโลภ รัก โกรธ หลง สร้างความสำคัญให้เกิดขึ้นแก่กลุ่มชนหรือกลุ่มผลประโยชน์ของกลุ่มชน พร้อมให้เขาเห็นประโยชน์และความสำคัญของผู้จูงใจ มีความรู้สึกเป็นมิตร

2. ดำเนินการให้เขาเกิดความรู้ ในเรื่องนั้นอย่างแจ่มแจ้ง คือ ให้เขาสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาได้เอง ดังนั้น ต้องใช้ศิลปะในการสอนและการทำความเข้าใจ

3. ให้เขายอมรับความรู้ใหม่ๆ อันจะเป็นผลให้เขาเปลี่ยนทัศนคติไปในแนวที่ผู้จูงใจต้องการ ทั้งนี้ โดยใช้ประโยชน์จากแนวทาง แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ตามข้อ 2

4. ให้เขาตัดสินใจยึดถือปฏิบัติในพฤติกรรมใหม่ เห็นชอบด้วยตนเอง และสอดคล้องกับเป้าหมายของการจูงใจ

5. ให้ความสนใจ ติดตามช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้แก่เขา เมื่อเขาประสบปัญหาจากการยึดถือปฏิบัติในพฤติกรรมใหม่

ต้อง กระทำติดต่อกันไปโดยไม่หยุดยั้ง เมื่อทุกขั้นตอนสำเร็จลุล่วง ก็ยังต้องติดตามดำเนินการต่อไปอีก จนมั่นในว่า เขาจะไม่กลับไปมีพฤติกรรมเดิมอีก

หมายเลขบันทึก: 44042เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 14:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขออนุญาตนำเทคนิคไปทดลองใช้ก่อนนะครับ
  • ถ้าได้ผลอย่างไรแล้วจะนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ
นุ้ย พงศ์ทร วงศ์พุธ

ขออนุญาตินำข้อความบางส่วน ไปนำเสนอบน blog นะครับ เพื่อประกอบการติดตามผล การทำ e-learning ให้ได้ประสิทธิผลมากที่สุดครับ

 

ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท