นวัตกรรมการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก


ในปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ

การคัดกรองมะเร็งปากมดลูก 

หมออนามัย นายอานนท์ ภาคมาลี

 

ปัญหา/สาเหตุ 

               ในไทย ซึ่งทำให้เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เพราะทำให้เปัจจุบันโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่งของประเทศกิดการสูญเสียทรัพยากรบุคคลและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกต้องมีการค้นหา โดยการตรวจหาเซลล์มะเร็งให้พบ ตั้งแต่อยู่ในระยะเริ่มแรก และในระยะก่อนเป็นมะเร็ง ซึ่งสามารถรักษาให้หายได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่า การรักษาในระยะลุกลาม และจากการศึกษาขององค์การอนามัยโลก ได้พบว่าการคัดกรองด้วยการทำ pap smear ในสตรีกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ,40,45,50,55,60 ปี ทำให้ช่วยลดอัตราการเกิดโรคและอัตราการตาย จากโรคมะเร็งปากมดลูกได้

               จากการสรุปผลตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในกลุ่มเป้าหมาย ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน พบว่าสตรีกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ได้รับการตรวจคัดกรองร้อยละ 20 ซึ่งกลุ่มประชากรเป้าหมาย จะต้องได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 60

              โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน จึงจัดทำโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกแก่สตรีกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวอันจะช่วยทำให้พบผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ตั้งแต่ระยะแรกได้มากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลดอัตราการตายจากโรคมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง

            ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรคมะเร็งปากมดลูก เมื่อใด ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรอง มะเร็งปากมดลูก หรือเรียกว่า แพปสเมียร์ (pap smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มเมื่ออายุ 30 ปี ขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น

           ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือวิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรคมะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2 – 3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์หรือพยาบาลวิชาชีพจะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก แนะนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึงร้อยละ 70 % อย่าลืมตรวจสุขภาพและความผิดปกติของร่างกาย ที่สำคัญอย่ากลัวหรืออายที่จะไปตรวจหาเชื้อมะเร็งปากมดลูก เพราะหากช้าไป โรคอาจทำลายคุณ

       ปัจจัยเสี่ยง มะเร็งปากมดลูก 

  1. การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
  2. การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
  3. การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
  4. การสูบบุหรี่ เป็นประจำ
  5. การมีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ หรือร่างกายอ่อนแอ(ในช่วงเวลาตั้งครรภ์ หรือคนที่มีเชื้อ เอชไอวี)
  6. พันธุกรรม
  7. การใช้ยาฮอร์โมนเป็นประจำ

 

กิจกรรมดำเนินงาน 

    1. การดำเนินงาน กลุ่มเป้าหมายที่จะคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ด้วยการค้นหาสตรีกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35,40,45,50,55,60 ปี ให้ครอบคลุมมากที่สุด

    2. กำหนดรูปแบบ การประชาสัมพันธ์ ขั้นตอนการให้บริการ กลุ่มเป้าหมาย มีความรู้ตระหนัก ใส่ใจ และเห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

    3. สตรีในกลุ่มเป้าหมายและกลุ่มเสี่ยง ได้รับการตรวจ pap smear ในรายที่พบความผิดปกติได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที

 

กลวิธี 

  1. จัดทำทะเบียน รายชื่อสตรีกลุ่มเป้าหมายให้ครบทุกหมู่บ้าน เพื่อให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จิตอาสา คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น ผู้นำชุมชน ในการค้นหา ติดตามจูงใจ กลุ่มเป้าหมาย ให้มารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และ pap smear ให้คลอบคลุมมากที่สุด 
  2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหินซ้อน เปิดให้บริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก pap smear ทั้งในและนอกสถานบริการ เดือนละ 2 วัน โดยมีพยาบาลวิชาชีพในโซนหมุนเวียนกันมาตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ในแต่ละเดือนที่นัด อย่านัดตรงกับวันสำคัญ เพราะจะได้กลุ่มเป้าน้อย เช่นนัดในช่วง วันที่ 13 -15 กุมภาพันธ์ หรือช่วงวันลอยกระทง หรือช่วงที่ติดวันหยุดหลายๆวันติดต่อกัน ทุกๆท่านคงเข้าใจ
  3. จัดกิจกรรมหลากหลาย สอดคล้องกับบริบท/ความต้องการของพื้นที่และผู้รับบริการ เช่น การจับฉลากสิ่งของ เครื่องใช้ ถ้ากลุ่มเป้าหมายตรวจเสร็จ จับฉลากทันที่เพื่อเป็นรางวัลและกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (หม้อหุงข้าว/กระทะไฟฟ้า กระติกน้ำแข็ง ผ้าเช็ดตัว กะละมัง กระติกน้ำร้อน ตะกร้าใส่ผ้า น้ำมันพืช ไข่ไก่ อื่นๆ) เป็นการจูงใจ และมีของติดมือกลับบ้าน และเป็นการช่วยไปประชาสัมพันธ์แก่บุคคลอื่นต่อที่ยังไม่ได้มารับการตรวจมะเร็งปากมดลูก

 

ผลลัพธ์/การเปลี่ยนแปลง

   1. สตรีกลุ่มเป้าหมายได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธี Pap smear

   2. สตรีอายุ 35 – 60 ปีได้รับความรู้และได้รับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

   3. ลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกและอัตราการตายโดยสาเหตุจากโรคมะเร็งปากมดลูก

   4. กลุ่มเป้าหมาย สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะการตรวจมะเร็งปากมดลูก ให้กับผู้อื่นได้

   5. กลุ่มเป้าหมาย ในปีถัดมาที่อายุเข้าเกณฑ์การตรวจ จะเรียกร้องหรือมาสอบถามให้มีการตรวจ  มะเร็งปากมดลูก

ยกเว้น

  1.ผู้ที่ไม่มีปากมดลูก

  2.อยู่ระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

  3.เคยได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในเวลา 1 ปี ก่อนหน้า

  4.ตรวจพบมะเร็งปากมดลูกระยะลุกลามตั้งแต่การตรวจภายในครั้งแรก

   5.มีประวัติโรคมะเร็งชนิดต่างๆ ภายใน 5 ปี

   6.มีประวัติเคยได้รับการวินิจฉัย หรือรักษารอยโรคก่อนมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งปากมดลูก

  7.มีโรคประจำตัวที่แพทย์คาดว่าอาจเป็นอุปสรรค

หมายเลขบันทึก: 440291เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 14:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เป็นความรู้ทีดีมากสำหรับสตรีคะ

ดีค่ะ แต่ทำมา 20 ปี สตรีก็ยังสนใจน้อยอยู่ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท