ระหว่างการแข่งขันและการพึ่งพา


การแข่งขันนำไปสู่การทำลายทุกรูปแบบ แต่การพึ่งพานำไปสู่การสร้างสรรและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร

ในการพัฒนาปัจจุบันเรามักจะใช้วิธีการกระตุ้นการทำงานของคนโดยใช้คำว่า

"ความสามารถในการแข่งขัน"

โดยพยายามเอาชนะ หรือแม้แต่เอาเปรียบ "คู่แข่ง" ให้ได้ ไม่ทางหนึ่งก็ทางใด

ในขณะเดียวกัน อีกฝ่ายก็จะหาจุดเด่นของตัวเองมาต่อสู้

ที่ผมคิดว่าเป็นแนวคิดหลักๆที่มาจากโลกตะวันตก

แต่เรารับมาใช้แบบไม่ครบส่วน

ที่โดยรวมดูเหมือนจะดี และมีผลบวกต่อการพัฒนา

แต่ในความเป็นจริงนั้น การแข่งขันทำให้เกิดการพัฒนาตัวเองเพื่อเอาเปรียบผู้อื่น

  • ที่เป็นผลดีเฉพาะตน
  • เป็นผลเสียกับผู้เสียเปรียบ และ
  • นำไปสู่การทำลายตนเอง ทำลายผู้อื่นและ ทำลายสิ่งแวดล้อม

ในทางที่แตกต่างไปก็คือ การพึ่งพา ที่ทำให้คนเป็นเพื่อนกันได้ในสังคมอย่างจริงใจ

กลับไม่ได้รับความสนใจ

หรือว่า เราเกิดมาเพื่อการทำลายซึ่งกันและกัน

บางทีผมก็ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจตัวเอง เข้าใจสังคม หรือไม่

หรือคิดได้แค่ว่า เราจะเอาเปรียบผู้อิ่นได้อย่างไร เอาเปรียบได้ยิ่งมากยิ่งเก่ง ยิ่งดี สังคมจะเป็นสุขมากขึ้นหรืออย่างไร

ทั้งๆที่ ผลเชิงประจักษ์พบว่า

การแข่งขันนำไปสู่การทำลายทุกรูปแบบ แต่การพึ่งพานำไปสู่การสร้างสรรและประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร

เราก็ยังเลือก "การแข่งขัน"

แม้ในยุทธศาสตร์ชาติ ก็ยังเน้นการแข่งขัน

ไม่ต้องพูดถึงการกีฬาที่เน้นการแข่งขันแบบลงทุนเท่าไหร่ไม่ว่า แม้แต่การทำลายตัวเอง ใช้สารกระตุ้น ก็ยังทำ

ทั้งๆที่ปรัชญาของการกีฬาไม่ได้สร้างมาเพื่อการเอาชนะกัน แต่เน้นการออกกำลังกาย ให้ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์

แต่ในทางปฏิบัตินั้น กลับเน้นเอาชนะกัน แม้แต่การยกพวกตีกัน ก็ยังทำ แบบ "กีฬาแพ้ แต่คนเชียร์ยังไม่แพ้"

นี่ก็เป็นภาพปกติในสังคมแห่ง "โมหะ" ของการแข่งขัน

เราควรจะปล่อยๆไป หรือควรจะทำอะไรไหมครับ

หรือว่าทุกอย่างก็เป็นเช่นนั้นเอง

แค่เอาตัวเองรอดก็พอ ใครจะลำบาก ทุกข์ยาก ก็เป็นเรื่องของเขา

เราเอาเปรียบได้ก็พอใจแล้ว มีความสุขแล้ว

อย่างนั้นหรือ

หรือ มีอะไรที่ดีกว่าที่เราทำได้ในชีวิตนี้ แบบไม่ต้องรอชาติหน้า

ลองคิดดูนะครับ

หมายเลขบันทึก: 440231เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2011 05:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Competition has many faces.

Its ugliest faces is when winning and only winning matters.

There are competition in Nature for Space, Food and Mates -- Darwin called it Evolution.

A major difference is in the 'Selection' or the 'Prize' for winners.

Nature selects winners without bias -- no favouritism -- only those best fit the 'Conditions' win.

Human does not obey any rule in competition -- though we have many volumes of rules (laws) ;-)

Human changes rules to fit their winning methods/strategies -- look at the way politicians make laws fit their business.

Yes, from time to time, there are examples of 'pure competition' that makes competitors strive for betterment of themselves, without regards to the 'Prize'.

This type of competition is what we want to see more often.

How do we encourage this type of competition? By setting types of Prizes? By setting rules for 'Methods'?

By changing 'Perception' of winning? And expectation of 'Rewards'?

To be in Blissful Happiness (as in 'with God' or 'in Nirvana' or 'in Peace') seems the 'Prize Too High' for most people.

To make Money (to indulge in wishes), to win a Mate (to have a wife or husband), to have respect (status, fame and 'charisma') and to be free (from danger, oppression and mundane routines) seem more common.

But these prizes are causing concerns -- that you and we raise.

If we don't compete, we stand stagnant and we become vulnerable to 'Change'.

If we try to win regardless we destroy the essence of competition -- to prepare to live through Changes.

Where is the Middle range?

;-)

ชื่อเรื่อง ก็สามารถสะท้อนถึงความจริงแล้วครับว่า

เป็นการร"ทำลาย" กับการ "สร้างสรรค์"

องค์กรต่างๆ ที่ประกอบกิจกรรมที่คล้ายกัน

แม้กระทั่งสถานศึกษา มหาวิทยาลัยก็ตาม มักจะถูกระบบบริหาร

จัดการให้มีการ benchmarking และไม่ค่อยสรุปผลลัพท์

ว่าให้เกิดการพึ่งพา มักมองที่ การแข่งขันทุกทีไป

ขอบบทความนี้มากครับ ขออนุญาตนำไปอ้างอิงครับ

น่าคิดมากครับ

แม้แต่ระบบราชการของผมเอง

สมัยก่อน พวกเรามีการช่วยงานเอาแรงกัน

แต่พอมีระบบขั้น ระบบเปอร์เซนต์

เริ่มเกี่ยงงานกัน ไม่เกื้อกูลกัน

และที่สำคัญขาดความไว้วางใจกันด้วย

น่าคิดอีกทีว่า...

ที่โลกเราแห้งแล้ง

ก็เพราะคนนี่แหละทำให้แห้งแล้งครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท