ศุภมัสดุ


ในเอกสารโบราณ โดยเฉพาะในจารึก และพระราชโองการ หรือกฎหมายสำคัญ มักจะขึ้นต้นด้วยคำว่า ศุภมัสดุ อันเป็นคำมงคล

คำว่า ศุภมัสดุ นี้ เป็นคำสันสกฤตแผลง ใช้กันแพร่หลาย ปรากฏในเอกสารต่างๆ มากมาย และแม้ในอินเดียปัจจุบัน ก็มีให้เห็น เช่น

नव वर्ष ....शुभमस्तु ! นว วรฺษ ศุภมสฺตุ  (ขอให้มีความสุขสวัสดี ในวาระปีใหม่)

นว = ใหม่,   วรฺษ = ปี

शुभमस्तु सर्व जगताम्  ศุภมสฺตุ สรฺว ชคตามฺ (ขอความสุขสวัสดีจงมีแด่ทุกคนเทอญ)

สรฺว = ทั้งปวง,  ชคตามฺ = ของชาวโลกทั้งหลาย

ต้นฉบับมาจาก http://gotoknow.org/blog/sanskrit/439597

คำว่า ศุภมัสดุ นี้ แผลงเสียงมาจาก ศุภมสฺตุ (มสฺ อ่านว่า มัส, mas) โดยที่เสียง ในภาษาบาลี-สันสกฤต อาจแผลงเป็น   ในจารึกไทยหลายหลัก ก็ขึ้นต้นด้วยคำว่า ศุภมัสดุ

ตัวอย่างเช่น จารึกวัดป่าโมกข์ จังหวัดอ่างทอง พ.ศ. ๒๒๗๑ ขึ้นต้นว่า "ศุภมัสดุ ๒๒๗๑ ศก อชสังวัจฉร วิศาขมาส ศุกลปักษ์ อัฐมีดิถี จันทวาร.."

แม้ในกฎหมาย เช่น กฎมณเฑียรบาล สมัยกรุงศรีอยุธยา ก็ขึ้นต้นว่า "ศุภมัสดุ.." และปัจจุบันนี้ใน "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย" ก็ขึ้นต้นเช่นนี้เหมือนกัน

ต้นฉบับมาจาก http://gotoknow.org/blog/sanskrit/439597

คำว่า ศุภมัสดุ อันที่จริงเป็นประโยคเลยทีเดียว ประกอบด้วยคำศัพท์สองคำ ดังนี้

"ศุภมฺ อสฺตุ = ศุภมสฺตุ"

ศุภ แปลว่า โชคดี มงคล ความดีงาม เป็นนามเพศกลาง, เืมื่อใช้เป็นประธานเอกพจน์ จึงต้องเติม "อมฺ" ได้รูปสำเร็จเป็น ศุภมฺ (อ่านว่า ศุ-ภัม)

อสฺตุ มาจากกริยา √อสฺ แปลว่า เป็น, อยู่, คือ, มี, เมื่อใช้เป็นคำสั่ง หรือคำขอ สำหรับประธานบุรุษที่สาม เอกพจน์ ก็เพียงแต่เติม "ตุ"  ได้รูปสำเร็จเป็น อสฺตุ (อ่านว่า อัส-ตุ)

ศุภมสฺตุ จึงอาจแปลได้ว่า ขอให้เขามีโชคดี ขอให้เขามีความผาสุก ฯลฯ (แปลได้หลากหลาย ฝรั่งแปลว่า congratulations! ก็มี)  คำว่า เขา ในที่นี้ก็คือ ผู้อ่าน ผู้ฟังสารนี้แหละ (คนเดียว) ไม่ใช่ "ท่าน" ซึ่งเป็นบุรุษที่สอง   เมื่อใช้ิติดเรื่อยมา ก็กลายเป็นสำนวนไป สองคำนี้จึงเกาะติดอยู่ด้วยกัน (ในภาษาสันสกฤต คำศัพท์แต่ละคำไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับก่อนหลัง อาจใช้ว่า "อสฺตุ ศุภมฺ" ก็ได้ แต่เมื่อนิยมใช้ ศุภมฺ อสฺตุ หรือ ศุภมสฺตุ เช่นนี้แล้ว ก็ใช้ต่อๆ กัน)

 

มีคาถาบทหนึ่ง ในมงคลมนตร์ ความว่า

गोब्राह्मणेभ्यः शुभमस्तु नित्यं              लोकाः समस्ताः सुखिनोभवन्तु ॥

โคพฺราหฺมเณภฺยะ   ศุภมสฺตุ  นิตฺยํ        โลกาะ  สมสฺตาะ  สุขิโนภวนฺตุ ฯ

go-brāhmaṇebhyaḥ śubham-astu nityaṁ
lokāḥ samastāḥ sukhino-bhavantu ||

แปลว่า

"ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่โคและนักปราชญ์ทั้งหลายตลอดกาลนาน

ขอชาวโลกทั้งปวงจงเป็นผู้มีความสุขเทอญฯ"

ต้นฉบับมาจาก http://gotoknow.org/blog/sanskrit/439597

การใช้คำว่า ศุภมัสดุ ในเอกสารของไทย ใช้แต่ที่เริ่มต้นเนื้อหา จึงเป็นเหมือนคำอวยพรนั่นเอง แตกต่างจากการใช้ของอินเดีย ที่ถือเป็นคำอวยพรก็มี ใช้เป็นกริยาโดยทั่วไปก็มี.

หมายเลขบันทึก: 439597เขียนเมื่อ 17 พฤษภาคม 2011 15:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เป็นคำอวยพรนะครับ ดีจังเลย...

  • ชอบ สนใจ อยากเรียนรู้  จะพยายามมาอ่านบ่อย ๆ ค่ะ
  • สงสัยในคำอวยพร  ทำไม จึงมี "โค" เข้ามาเกี่ยวข้อง  หรือจะหมายถึงสิ่งแทนเทพ?

ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่โคและนักปราชญ์ทั้งหลายตลอดกาลนาน

สวัสดีครับ อาจารย์Ico48 ขจิต ฝอยทอง

ขอบคุณมากครับ

เอาไว้ใช้เขียนใน ส.ค.ส. ก็ได้นะครับ เก๋ไปอีกแบบ

 

สวัสดีครับ อาจารย์Ico48 ภาทิพ

คำว่า โคและพราหมณ์ (โคพฺราหฺมณ) เป็นคำสมาส มีใช้ในวรรณคดีเก่าๆ โดยเฉพาะ

วรรณคดีในศาสนาพราหมณ์ฮินดู (ค้นดูแล้ว เจอมนตร์หลายบทที่ใช้คำสมาสนี้ครับ)

ที่ใช้เช่นนี้ เข้าใจว่า เพราะความนับถือโคประหนึ่งเทพเจ้า (อันที่จริงเป็นพาหนะของเทพ) การสรรเสริญโค จึงเป็นการสรรเสริญเทพเจ้าด้วยครับ

สวัสดีครับ อ.Ico48 หนานวัฒน์

ขอบคุณครับ แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันครับ ;)

สวัสดีค่ะ

มาขอความรู้

ขอบคุณสำหรับบันทึกที่ให้ความรู้อย่างนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท