ตลาดนัดความรู้กรมอนามัย ... KM กับภาคีเครือข่าย (41) ตอนที่ 8 สรุปประเด็น KM กับภาคีเครือข่าย


KM ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ดีมากที่จะนำไปช่วยสร้างภาคีเครือข่าย

 

ในตอนท้ายของประเด็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การใช้ KM ในการสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคี และเครือข่าย” อ.หมอสมศักดิ์ ได้สรุปไว้ว่า

เรื่องเล่าของวิทยากร 4 ท่าน + 1 คือพี่นันทา ทำให้เห็นชัดขึ้นว่า ไม่ว่าจะเป็นการสร้างภาคีเครือข่ายในรูปแบบใด KM ก็ยังเป็นเครื่องมือที่ดีมากที่จะนำไปช่วยสร้างภาคีเครือข่าย

เวลาที่เราสร้างภาคีเครือข่าย มันมี 4 อย่าง

  1. สร้างภาคีใหม่ ก็ไม่ได้ใหม่ซะทีเดียว เป็นการสร้างภาคีเพื่องานใหม่ ไม่ได้คิดมาก่อน แต่งานที่เราทำนี้ ยังไงก็ต้องสร้างภาคีให้เกิดขึ้น เช่น การมีกฎหมายทำแท้งก็ตาม กรณี Food Safety ก็ตาม ... แต่มันสำคัญที่ว่า การไปทำงานกับภาคีที่มีอยู่แล้ว จะเป็นงานเก่า งานเดิมที่มีทำอยู่แล้ว หรืองานที่เขาสั่งให้เราไปทำ เช่น เมืองน่าอยู่ ไม่ว่าจะเป็นแบบไหน เราก็เอา KM ไปทำได้ การฟอร์มภาคีใหม่ก็เอา KM ไปใช้ได้ ผมเองก็เลยนั่ง note ว่า ความจริงถ้าจะถามว่า ถ้าเราจะสร้างภาคี เราจะต้องทำยังไง ก็เชิญประชุมสิ แล้วใช้ที่ประชุมนี่ละเป็นที่สร้างภาคี จะเรียกชื่อที่ประชุมว่ายังไงก็ได้ จะเป็นกรรมการก็ได้ ประชุมไปเรื่อย ดีไม่ดีประชุมไปทีสองที และมี workshop บ้าง ก็ทำได้
  2. สร้างภาคีที่เข้มแข็งหน่อยก็คือ การตั้งองค์กร
  3. ก็ไป lobby ให้ออกกฎหมาย อะไรทำนองนี้ ... ผมเข้าใจว่า ถ้าจะไป lobby ให้ออกกฎหมายนี่ อาจจะต้องใช้ KM เหมือนกันนะ ไม่งั้นเราอาจจะ lobby อยู่ฝ่ายเดียว เขาไม่เห็นความสำคัญ
  4. ใช้ทางธุรกิจ อย่างเช่น อยากจะให้ผักปลอดสารพิษมาเข้า รพ. ก็ไปทำสัญญากับคนปลูกผัก ว่าจะส่งผักมาให้นะ และต้องเป็นผักปลอดสารพิษ ก็ไม่รู้ว่าจะใช้วิธีไหน แต่ก็คือ อย่าลืมเอา KM เข้าไปใช้นะ ผมว่าตัวอย่างเรื่องผักปลอดสารพิษนี่ก็จะชัดเจนมาก ถ้าเราอยากสร้างภาคีกับคนปลูกผัก ให้เขาส่งผักปลอดสารพิษมาให้ รพ. ถ้าบอกว่าสุดท้ายเราก็ไม่รู้ว่า จะปลอดสารพิษจริงหรือเปล่า เราก็ต้องไป ลปรร. กับเขานะ ว่าเราอยากให้เขาปลอดสารพิษยังไง เขาจะทำยังไงบ้าง เราก็จะเกิดการ ลปรร. กับกลุ่มที่เขาปลูกผัก กับเรานั่นแหล่ะ จนเรามั่นใจ แล้วเราก็ต้องมาทำการควบคุมคุณภาพ ว่ามี Residue เหลืออยู่หรือเปล่า

ในการทำให้ชุมชนเข้มแข็ง ก็ชัดเจน ถ้าเราเอาประสบการณ์ที่หลายท่านว่ามา แต่ก่อนบอกว่าภาคีมีอยู่แล้ว อยากให้เข้มแข็งทำยังไง เราก็จะชำนาญมาก คือ ไปสอนเทคนิค มีความรู้อะไรเราก็สอนหมด สอนเทคนิคการจัดองค์กร เทคนิคการวิเคราะห์ ความรู้ว่าด้วยเรื่อง วิธีจัดการขยะ วิธีการออกกำลังกาย บางทีเราก็ไปจัดอบรมเป็น course ไปเลย เพราะเราคิดว่า เขาขาดความรู้ บางทีเราก็เอาเงินไปให้เขาทำงาน เอาเงินไปล่อ อย่างสมัยพ่อรวยก็ไปล่อได้ แต่ว่าทุกคนก็สรุปตรงกัน ว่าพอรู้จัก KM และมีการ ลปรร. กัน KM น่าจะเป็นเครื่องมือที่ดี ที่จะช่วยทำให้ภาคีเข้มแข็ง เพราะว่าภาคีของเราเขาก็มีความรู้ ถ้าเราไปทำให้เขาเอาความรู้เขาออกมาใช้ได้ ก็จะได้ความรู้ไหลเวียน ทุกคนพูดตรงกันว่า การเอา KM ไปใช้กับภาคี ไม่ว่าจะเป็นภาคีไหนก็ตาม มันได้ใจ มันได้ความเป็นเพื่อน ... ผมคิดว่า KM สอนให้เราเห็นคุณค่าของคนอื่น หลายคนจะเจออย่างนั้น เพราะว่าพอเราเปลี่ยนวิธีการประชุมเป็นวิธีโดยใช้ KM จริงๆ นี่ คนอื่นเขารู้สึกได้ เพราะว่าเราเคารพเขา เราอยากฟังเขา และ Fa เก่ง Note taker ดีๆ ก็จะเห็นได้ชัดว่า สิ่งที่เขาพูด ที่เขาสรุปนั้น ที่บอกว่า เวลา note taking นะ ขึ้นชื่อสักหน่อยนะ พูดอะไรไว้นี่ก็อย่างนี้ recognize เขา เป็นการประชุมแบบใหม่จริงๆ แต่ผลที่ได้ไม่ใช่ความรู้ มันได้ใจ ผมคิดว่าการได้ใจนี่มันดี

ที่สำคัญผมขอฝากไว้คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นนั้นมีการไหลเวียน จะต้องมีกระบวนการการจัดการความรู้ การ ลปรร. ต้องเอาของเก่ามาดู มันก็ทำให้กระบวนการ KM มันมีพลัง เพราะเรารู้ว่า เราพูดไปไม่เสียเปล่า พูดๆ ไป ไม่ได้มีแค่เขามาเขียนขึ้นกระดานให้กับเรา ที่พูดไปไม่ใช่แค่มีคนไปเขียน blog ไม่ได้แค่ไปเขียนคู่มือ แต่ว่ามีการเอาไปใช้ต่อ แบบนี้การใช้ KM ก็จะทำให้ภาคีเข้มแข็งขึ้น ผมคิดว่า นี่เป็นสิ่งสำคัญที่ทุกคนได้รับ บอกเล่า และระบุมา

อ่านกันเสียยืดยาวเลยนะคะ แต่ดิฉันว่า ถ้าผู้สนใจค่อยๆ อ่านอย่างลึกซึ้ง จะได้ทั้งเนื้อหา กระบวนการ และวิธีการที่จะสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงๆ

 

 

หมายเลขบันทึก: 43910เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 06:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท