Empowerment vs Health Education


การส่งเสริมสุขภาพที่ 1.การสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย 2. ตรงตามความต้องการ 3. ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และ 4. สามารถกลับไปดูแลตนเองต่อได้อย่างมั่น
ความแตกต่างระหว่าง การให้สุขศึกษา(ส่งเสริมสุขภาพ) และการสร้างพลังอำนาจ
        สมัยก่อน ๆ เราจะรู้จักแต่คำว่าการให้สุขศึกษาแก่ผู้ป่วยเรื่องนั้นเรื่องนี้ แต่ระยะหลังจะมีกระบวนการสร้างพลังอำนาจเข้ามา ซึ่งถือว่าเป็นกลวิธีนึงที่สำคัญในการส่งเสริมสุขภาพให้แก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยื่นกว่าการให้ความรู้สุขศึกษาแบบวิธีเดิม ๆ
        ยกตัวอย่างการจัดประชุมให้ความรู้เมื่อก่อน จะเป็นการประชุมแบบอาจารย์มาสอนเรื่องนั้นเรื่องนี้ให้เราฟังฝ่ายเดียว ซึ่งมักไม่ค่อยได้ผลดีเท่าที่ควร เพราะบางทีฟังหูซ้ายแล้วทะลุหูขวา หรือเพราะไม่สนใจ , ขาดสมาธิ , ไม่ได้มีส่วนร่วม ,ไม่น่าสนใจ แต่การประชุมปัจจุบันที่ได้ผลดีมักนิยมจัดเป็นแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ หรือ Work Shop ที่ผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันแบบทำงานเป็นทีม เน้นการมีส่วนร่วมและการกล้าแสดงออกของทุก ๆคน ซึ่งการประชุมแบบนี้มักได้ที่ดีกว่าผลทั้งระยะสั้นและระยะยาว
         การให้ความรู้กับผู้ป่วยก็เช่นกัน Health Education ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นและสำคัญในการให้ความรู้ที่สำคัญแก่ผู้ป่วยและญาติ โดยเน้นให้ผู้ป่วยเข้าใจโรคของตัวเอง และสามารถดูแลตนเองได้ญาติหรือผู้ดูแลก็ต้องมั่นใจว่าจะต้องช่วยหรือผู้ป่วยได้เช่นกัน แต่กระบวนการ  Empowerment ถือว่าเป็นวิธีหรือเป็นกลยุทธ์นึงที่สำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยหรือญาติ พัฒนาศักยภาพ ให้สามารถจัดการแก้ไขปัญหา ช่วยเหลือตัวเอง โดยต้องมีการร่วมมือกันทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้เองที่บ้าน และควบคุมสิ่งต่าง ๆ เพื่อการเปลี่ยนแปลงชีวิต และสิ่งแวดล้อมที่ตนอาศัยอยู่ได้ตามบริบทของโรคนั้น ๆ โดยมีแทคติกหรือ Key Word ที่สำคัญคือ กิจกรรมใด ๆ เช่น การสอนให้ทำอะไรสักอย่างได้ ,การส่งเสริมสุขภาพ, การให้ความรู้ โดยที่ 1.การสร้างความมั่นใจให้กับผู้ป่วย 2. ตรงตามความต้องการ 3. ผู้ป่วยมีส่วนร่วม และ 4. สามารถกลับไปดูแลตนเองต่อได้อย่างมั่นใจ ฉะนั้นถ้าจะเข้าไป Approach ผู้ป่วยสักรายเช่น ผป. CVA หรือผู้ป่วย DM ที่ดูแลอยู่ที่หอผู้ป่วยโดยเรามีแนวคิดที่ต้องการไป Empowerment ให้เค้ามีความมั่นใจในการกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้ ดูแลช่วยเหลือตัวเองที่บ้านได้ คงต้องระดมสมองคิดหาวิธีการใหม่แทนการเข้าไปสอนสุขศึกษาอย่างเดียว ต้องคิดว่าทำอย่างไรให้เค้ามั่นใจว่าสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่บ้านได้ สามารถช่วยเหลือตัวเอง ทำเองได้  ฉะนั้นการที่จะรู้ว่า  Empowerment ได้ดีมีประสิทธิภาพ ควรมีการประเมินเป็นระยะ ๆ ตั้งแต่ช่วงที่นอนอยู่ในโรงพยาบาลและช่วงที่ผู้ป่วยใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านก็ต้องมีการประเมินเป็นระยะ ๆ เหมือนกัน         : การ Empowerment มีหลายวิธี เช่น ถ้าเอาผู้ป่วยโรคเดียวกันที่สามารถดูแลตนเองได้ดีมาสอนเค้าก็จะมั่นใจกว่าเพราะเห็นตัวอย่างชัดว่าคนที่เคยมีปัญหาอย่างเค้าก็สามารถกลับมาใช้ชีวิตตามปกติได้ ( กิจกรรม Self Help Group ) บางทีต้องคิดหาวิธีสอนที่ผู้ป่วยหรือญาติในรูปแบบที่มาร่วมทำกิจกรรมกับเรา อย่างสนุก มีความสุข ไม่เครียด ไม่เร่งลัด ค่อย ๆ สอน ค่อย ๆ สลายความกลัวความวิตกกังวลทีนะนิด จนแน่ใจว่าเค้าสามารถทำได้ และกลับไปดูแลตนเองหรือผู้ป่วยได้ แต่ในระยะแรก ๆ เราคงต้องเป็นพี่เลี้ยงไปก่อน คือเป็นที่ปรึกษาให้เค้าได้ตลอดสักระยะ เมื่อไม่มั่นใจก็ มีแนวทางการติดต่อสอบถามกันได้ "เคยเห็นพยาบาลพยายามสอนเด็ก อายุ 10 ขวบป่วยเป็นโรค IDDM (เบาหวานที่ต้องพึ่ง Insulin)ที่เป็นธรรมชาติของเด็กคือกลัวเข็ม จนสามารถกล้าใช้เข็มปากกาฉีด Insulin ที่ต้นขาตัวเองได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยเพราะแม่เด็กทีแรกยังกลัว เค้าเริ่มสอน(Empower)แม่เด็กจนสามารถฉีดยาให้ลูกได้สำเร็จก่อน แล้วตอนหลังก็สามารถสอนเด็กให้ฉีดได้เอง (เมื่อแม่ไม่สบาย หรือไม่ว่าง) ต้องใช้ความพยายามความสามารถ ใช้ทักษะ และใช้เวลา จนสุดท้ายก็ประสบความสำเร็จ เด็กสามารถฉีดยา Insulin ที่ต้นขาตัวเองได้อย่างถูกต้อง  ทีนี้เรื่องอื่น ๆ ก็ถือว่าเป็นเรื่องง่ายไปหมดเพราะเค้ามั่นใจเรามากขึ้น สอนการกินอาหาร สอนการออกกำลังกาย สอนการระวังภาวะแทรกซ้อน (Hypoglycemic Shock) และที่สำคัญไปสอนครูที่โรงเรียนด้วยว่าเด็กเป็นโรคเบาหวาน มีอะไรที่ต้องระวังบ้าง เกิดปัญหาครูช่วยได้อย่างไร ทำให้ผู้ป่วยเด็กคนนี้และครอบครัวมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างมาก มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้น เด็กเรียนหนังสือได้ มีกิจกรรมร่วมกับเด็กทั่วไปได้ ไม่มีโรคแทรก ไม่มีภาวะแทรกซ้อน พ่อแม่หายวิตกกังวลเรื่องความเจ็บป่วยของลูก " แบบนี้ถือว่าเป็นการประสบความสำเร็จของพยาบาลผู้นั้นในการ  Empowerment  ผู้ป่วยเด็กรายนี้และครอบครัว ทั้งเรื่องการฉีดยาเองและการควบคุมพฤติกรรมสุขภาพ 
         ในระดับของกิจกรรมต่างๆ ที่เราอยากให้เกิดการ Empowerment ก็ควรเป็นกิจกรรมที่เรียกว่า Work With คือผู้ป่วยมีส่วนร่วมคิด ร่วมวางแผน ร่วมทำและทำได้ (ซึ่งได้ผลที่ดีกว่าและถาวรกว่า Work For คือการให้ความรู้สุขศึกษาโดยเราฝ่ายเดียว หรือยิ่งหนักกว่านั้นถ้ากิจกรรมนั้นเป็น Work On คือการนำผลงานใด ๆ ที่ ผู้ป่วยและชุมชนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องมานำเสนอ) ทีนี้ในถ้าจะวัดว่าเรา Empowerment ผู้ป่วยสักรายสำเร็จ นอกจากจะประเมินสิ่งที่เราสอนแล้วคงต้องไปวัดกันที่ชุมชนหรือที่บ้านว่าเค้ายังสามารถ ทำเอง ทำได้ มั่นใจ อยู่หรือเปล่า
         จะว่าไป Empowerment นี่ก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจ  ท้าทายกว่าเดิม ถ้าทำได้ดีจะเกิดผลลัพธ์ที่ดีทั้งระยะสั้น และระยะยาว
คำสำคัญ (Tags): #chalermpong
หมายเลขบันทึก: 43906เขียนเมื่อ 10 สิงหาคม 2006 03:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เห็นด้วยกับทางอาจารย์เป็นอย่างมาก  การให้ผู้รับบริการมีส่วนร่วม  เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเป็นการEmpowerment`ผู้รับบริการ ทางรพ .ได้มีการทำกลุ่มPL ( Participatory Learning ) ทำให้ได้ประสบการณ์มากมาย ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากผู้รับบริการ  ผู้รับบริการก็มีความสุขมากที่ได้พบกับกลุ่ม

(ได้จากการให้ผู้รับบริการเขียนเล่าสู่กันฟังหลังจากเข้ากลุ่มเสร็จแล้ว )บางครั้งอาจเหนื่อยหน่อยแต่มีความสุขดี เพราะเป้าหมายเราคือผู้รับบริการมีสุขภาวะ สามารถดูแลตนเองได้ สุดท้ายทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

หนองม่วงไข่ จ. แพร่

ดีใจที่เห็นกิจกรรม Empowerment ที่เป็นรูปธรรม  ถ้าบุคลากรสุขภาพทุกระดับเข้าใจ สุขภาพคนไทยคงจะดีกว่านี้และเจ้าหน้าที่อย่างเรา ๆ ก็จะได้เข้าใจผู้รับบริการมากขึ้นและมองออกไปถึงบริบทของผู้รับบริการในสายตาที่ลุ่มลึกขึ้น

วิรัลยุพา วงศ์ปัญญา

กงงชง

ikkilklpllkjlkl

kjikjkpklktyhfhhkj

jknmmklhjmnb,

khknvkm b

kfdgjkf 

g7tuhyihhdfbmjip;;';'lkhjj

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท