ศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ ตอนที่ 2


จำนวนผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยไทยแต่ละแห่งนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านการวิจัยและการสร้างผลงานทางวิชาการของอาจารย์และนักวิจัยของไทยที่ดีขึ้นนั่นเองครับ แต่อย่างไรก็ตามควรจะต้องวิเคราะห์ลงไปให้ลึกอีกด้วยว่า จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เฉลี่ยต่อจำนวนนักวิชาการและนักวิจัยเพิ่มขึ้นหรือลดลง และคุณภาพของผลงานที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor มีมากน้อยขนาดไหน และนอกจากนี้ผลงานวิจัยนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงให้แก่ประเทศชาติมีจำนวนมากน้อยเท่าใด เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

ในตอนที่ 1 ผมได้เปรียบเทียบศักยภาพของการเผยแพร่ผลงานวิจัยของไทยในระดับโลกและอาเซียนไปแล้วทีนี้เรามาดูศักยภาพของการผลิตงานวิจัยในบ้านเรากันบ้างครับ

ข้อมูลจำนวนผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ในฐานข้อมูล ISI WOS ที่ได้รับการรวบรวมไว้แสดงในตารางด้านล่างครับ

หน่วยงาน

2549

2548

2547

2546

2545

2544

2543

2542

รวม

มหาวิทยาลัยมหิดล

824

627

527

504

385

366

335

308

3876

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

817

543

497

414

331

244

225

148

3219

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

392

277

241

196

178

119

110

88

1601

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

259

188

119

128

130

116

69

64

1073

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

211

176

117

112

85

73

75

60

909

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

204

138

117

118

98

91

72

48

886

สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

153

130

102

125

113

110

85

67

885

กระทรวงสาธารณสุข

83

114

64

69

56

49

49

37

521

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

74

146

113

116

66

52

48

33

648

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

66

124

113

88

55

60

37

34

577

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

NA

94

91

56

55

32

24

18

370

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

NA

61

72

34

28

22

11

10

238

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

NA

38

18

22

30

15

17

15

155

สภากาชาดไทย

NA

36

22

21

20

9

13

13

134

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

NA

36

9

21

18

5

5

6

100

มหาวิทยาลัยนเรศวร

NA

27

22

25

13

9

7

9

112

 NA หมายถึงไม่มีข้อมูล

จะเห็นนะครับว่าผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติของแต่ละมหาวิทยาลัยในช่วง ปี 2542-2549 ช่วงแรกๆนั้นน้อยมาก มีเพียงมหาวิทยาลัมหิดลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเท่านั้นที่สามารถตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้เกินร้อยเรื่องต่อปี แต่ก็ยังถือว่าน้อยมาก โดยในช่วงปี 2542 นั้นมหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนตีพิมพืได้มากว่าจุฬาฯกว่าสองเท่า หลังจากจุฬาฯเองก็พยายามพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของบุคคลากรเพื่อให้สามารถตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติได้มีความแตกต่างของจำนวนตีพิมพ์แคบลงจนในปี 2549 จุฬาฯก็มีจำนวนผลงานที่ตีพิมพ์ใกล้เคียงกับมหาวิทยาลัยมหิดลครับ ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆแม้จะมีพัฒนาการด้านจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติสูงขึ้นทุกปีแต่ก็ยังห่างจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมาหิดลอยู่มากครับ

ส่วนข้อมูลสามปีล่าสุดนั้น ผมได้ค้าคว้าข้อมูลและพบข้อมูลในเวบไซต์ของสำนักวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งได้นำเอาข้อมูลจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ของบางมหาวิทยาลัยในฐานข้อมูลของ ISI WOS และ Scopus มาเผยแพร่ให้บุคลากรของทางมหาวิทยาลัยได้ทราบเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าของบุคลากรในด้านการวิจัยและเป็นการกระตุ้นให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยสนใจในการสร้างผลงานวิจัยให้มากขึ้นด้วยครับ ข้อมูลดังกล่างผมได้แสดงไว้ในตารางด้านล่างครับ

ISI WOS

สถาบัน

ปี 2552

ปี 2553

ปี 2554*

Chulalongkorn University

1160

1160

247

Mahidol University

1262

1278

232

Chiang Mai University

673

588

126

Prince of Songkhla University

428

425

105

Kasetsart University

337

379

112

Khonkhaen University

422

368

69

*ข้อมูลถึงเดือนมีนาคม

หากดูข้อมูลจากฐาน ISI WOS จะพบว่าในปี 2552 และ 2553 นั้นมหาวิทยาลัยทั้ง 6 แห่งสามารถผลิตผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้สูงขึ้นกว่าปี 2549 ค่อนข้างมาก โดยทั้งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดลสามารถตีพิมพ์ได้เกินหนึ่งพันเรื่องไปเรียบร้อยและพบว่ามหาวิทยาลัยมหิดลสามารถตีพิมพ์งานวิจัยได้มากที่สุดในบรรดา 6 มหาวิทยาลัย ตามมาด้วยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่ง 3 อันดับแรกของมหาวิทยาลัยที่มีจำนวนผลงานวิชาการเผยแพร่ในระดับนานาชาติมากที่สุดนี้ยังคงที่ตั้งแต่ปี 2542  เป็นต้นมาครับ ส่วนปี 2554 ผ่านไป 3 เดือนแรกคือมกราคมถึงมีนาคม พบว่าจุฬาฯสามารถตีพิมพ์ผลงานวิจัยได้มากกว่ามหาวิทยาลัยมหิดลครับ โดยจำนวนตีพิมพ์ 3 เดือนแรกของจุฬาฯมี 247 เรื่องส่วนมหาวิทยาลัยมหิดลและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มี 232 และ 126 เรื่องตามลำดับ

ฐานข้อมูลอีกฐานหนึ่งที่มักนำมาอ้างอิงในการค้นหาผลการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ผลงานวิชาการคือ Scopus ครับ ซึ่งฐานข้อมูลนี้เป็นของของบริษัท Elsevier B.V. ซึ่งเป็นสำนักพิมพ์วารสารวิชาการยักษ์ใหญ่ที่มีจำนวนวารสารวิชาการอยู่จำนวนมาก Scopus จะมีจำนวนวารสารในฐานข้อมูลเยอะกว่า ISI WOS ของ Thomson Reuters คือมีรายชื่อวารสารกว่า 18,000 ชื่อทำให้น่าจะคลอบคลุมมากกว่า ISI WOS ที่จำนวนวารสารวิชาการประมาณ 12,000 ชื่อครับ ทั้งนี้ทั้งนั้นวารสารบางเรื่องอาจจะปรากฏอยู่ในฐานข้อมูลทั้งสองฐานก็ได้ครับ นั่นหมายความว่าการค้นข้อมูลตีพิมพ์ในหัวข้อวิจัยเรื่องเดียวกันในวารสารชื่อเดียวกันอาจจะเจอซ้ำกันจากทั้งสองฐานก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามวารสารบางเรื่องอาจปรากฏอยู่เพียงฐานข้อมูลใดข้อมูลหนึ่งก็ได้เช่นกัน

 

 

 

เราลองมาดูผลการค้นหาจำนวนผลงานวิชาการที่ได้รับการเผยแพร่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูล Scopus กันเลยครับ

Scopus

สถาบัน

ปี 2552

ปี 2553

ปี 2554*

Chulalongkorn University

1292

1539

334

Mahidol University

1355

1478

327

Chiang Mai University

719

788

190

Prince of Songkhla University

469

511

151

Kasetsart University

508

656

183

Khonkhaen University

454

481

125

*ข้อมูลถึงเดือนมีนาคม

จะเห็นได้ว่าตัวเลขของจำนวนผลงานวิชาการที่รวมผลงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ รวมทั้งงานทบทวนวิชาการ จดหมายและบันทึกย่อ การนำเสนอผลงานในที่ประชุมวิชาการที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus จะมีจำนวนที่สูงกว่าที่ปรากฏในฐานข้อมูลของ ISI WOS นะครับ อย่างที่ผมเคยบอกไว้ว่าเพราะจำนวนวารสารในฐาน Scopus มีมากกว่าของ ISI WOS จึงทำให้มีโอกาสเจอผลงานตีพิมพ์ต่างๆสูงกว่าไปด้วย หากพิจารณาจากฐาน Scopus จะพบว่าในปี 2552 นั้นมหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานวิชาการที่ได้รับการเผลแพร่ในระดับนานาชาติสูงที่สุดรองลงมาคือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ครับ ที่น่าสนใจคือจำนวนผลงานตีพิมพ์ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในฐานข้อมูลของ Scopus นั้นสูงกว่ามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในขณะที่ในฐาน ISI WOS นั้นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จะมีจำนวนตีพิมพ์น้อยกว่าทั้งสองแห่งในปี 2552 ครับ นั่นแสดงให้เห็นว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มีผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูล Scopus แต่ไม่ปรากฏใน ISI WOS หรือพูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือวารสารบางชื่อที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ส่งผลงานไปตีพิมพ์นั้นเป็นวารสารที่ไม่อยู่ในฐานของ ISI WOS แต่อยู่เฉพาะในฐานของ Scopus เท่านั้นครับ ส่วนในปี 2553 พบว่าจำนวนผลงานวิชาการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่ปรากฏในระดับนานาชาติของฐาน Scopus จะสูงกว่ามหาวิทยาลัยมหิดลครับ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในอันดับที่สามและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอันดับที่สี่ ส่วนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และมหาวิทยาลัยขอนแก่นครองอันดับที่ห้าและหกตามลำดับ ในปี 2554 ผ่านมาช่วงสามเดือนแรกก็พบว่าจำนวนผลงานวิชาการที่ตีพิมพ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสูงกว่ามหาวิทยาลัยมหิดลเช่นกันครับตามมาด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในอันดับที่สามและมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในอันดับที่สี่ ส่วนมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์อยู่อันดับที่ห้าและมหาวิทยาลัยขอนแก่นครองอันดับหกครับ จะเห็นได้ว่าการอ้างอิงแหล่งฐานข้อมูลนั้นก็มีความสำคัญในการดูศักยภาพของการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติของแต่ละมหาวิทยาลัยเทียบกันนะครับ เพราะการอ้างขอ้มูลจากบางแหล่งจะทำให้จำนวนผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยบางแห่งนั้นสูงกว่าของอีกมหาวิทยาลัย ในขณะที่บางแหล่งนั้นจำนวนผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยบางแห่งนั้นอาจต่ำกว่าของอีกมหาวิทยาลัยในบางครั้งครับ

ท่านผู้อ่านคงเห็นเหมือนกับผมนะครับว่า จำนวนผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยไทยแต่ละแห่งนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการพัฒนาด้านการวิจัยและการสร้างผลงานทางวิชาการของอาจารย์และนักวิจัยของไทยที่ดีขึ้นนั่นเองครับ แต่อย่างไรก็ตามควรจะต้องวิเคราะห์ลงไปให้ลึกอีกด้วยว่า จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์เฉลี่ยต่อจำนวนนักวิชาการและนักวิจัยเพิ่มขึ้นหรือลดลง และคุณภาพของผลงานที่สามารถตีพิมพ์ในวารสารที่มี Impact Factor มีมากน้อยขนาดไหน และนอกจากนี้ผลงานวิจัยนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงให้แก่ประเทศชาติมีจำนวนมากน้อยเท่าใด เป็นต้นครับ

ที่สำคัญก็คือในเรื่องของการสร้างงานวิจัยนั้นยังกระจุกตัวอยู่แต่ในมหาวิทยาลัยของรัฐหรือมหาวิทยาลัยในกำกับเพียงไม่กี่แห่งเท่านั้น ส่วนมหาวิทยาลัยแห่งอื่นๆและมหาวิทยาลัยเอกชนนั้นมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติน้อยมาก ทั้งๆที่จำนวนของมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยในตอนนี้มีมากกว่า 60 แห่ง แต่จำนวนผลงานวิจัยของสาถบันอุดมศึกษาเอกชนทั้งหมดรวมกันยังน้อยมาก ดังนั้นในการเพิ่มผลงานวิจัยในระดับนานาชาติของประเทศไทยในภาพรวมได้ จะต้องกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยเอกชนมีการทำวิจัยกันให้มากขึ้นด้วยครับ

 

 

References

1.M.R. Jisnuson Svastia and Ruchareka Asavisanub, "Aspects of Quality in Academic Journals:A Consideration of the Journals Published in Thailand", ScienceAsia 33 (2007): 137-143

2.M.R. Jisnuson Svastia and Ruchareka Asavisanub, "Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005)", ScienceAsia 32 (2006): 101-106

3.http://www.info.sciverse.com/scopus/about

4.http://wokinfo.com/products_tools/multidisciplinary/webofscience/

5.Impact Factor คืออะไร ? http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/impact.htm

6.ผลงานการตีพิมพ์ของนักวิจัยไทย http://th.wikipedia.org/wiki

7.http://www.rdoapp.psu.ac.th/html/rdoth/index.php?option=com_weblinks&view=category&id=114&Itemid=128

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 439050เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 11:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2012 13:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท