ศักยภาพของมหาวิทยาลัยไทยในการตีพิมพ์ผลงานวิชาการในระดับนานาชาติ ตอนที่ 1


เป็นที่ทราบกันว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนอกจากจะมีภาระด้านการสอนแล้ว อีกภาระหนึ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้สอนคือการวิจัยนั่นเองครับ ซึ่งการวิจัยของอาจารย์ก็จะกลายมาเป็นองค์ความรู้สำหรับการสอนนิสิตนักศึกษา รวมทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมในประเทสชาติได้อีกด้วย เมื่อได้มีการทำวิจัยในเรื่องที่อาจารย์แต่ละท่านได้ให้ความสนใจหรือมีความเชี่ยวชาญแล้ว สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยทั้งหลายพึงกระทำก็คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่คนอื่นได้รับรู้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและเป็นวิทยาทาน การเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มักออกมาอยู่ในรูปของการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ รวมทั้งการเขียนหนังสือวิชาการ การเขียนบทความ การนำเสนอผลงานที่การประชุมวิชาการ เป็นต้น

 

 

 

หากย้อนมองกลับไปตั้งแต่มีการเริ่มการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาครั้งแรกนับตั้งแต่การสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย (26 มีนาคม พ.ศ.2459) ซึ่งหลังจากนั้นก็มีการก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆตามมา ทั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองหรือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในปัจจุบัน  (พ.ศ.2477) มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (พ.ศ.2486) ซึ่งต่อมาได้รับพระราชทานนามจากพระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวให้เป็นมหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2512 นอกจากนี้ก็มีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (พ.ศ.2486) โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง (พ.ศ.2492) ซึ่งต่อมาคือมหาวิทยาลัยศรนครินทรวิโรฒ (พ.ศ.2517) ซึ่งสถาบันอุดมศึกษาทั้งหมดล้วนแต่อยู่ในเขตกรุงเทพ หลังจากนั้นจึงมีการขยายสถาบันอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาคโดยมีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (พ.ศ. 2507) เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่ก่อตั้งในเขตภูมิภาค และต่อมาก็มีมหาวิทยาลัขอนแก่น (พ.ศ.2509) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (พ.ศ.2510)หลังจากนั้นก้มีมหาวิทยาลัยเปิด (Open University) คือมหาวิทยาลัยรามคำแหง (พ.ศ.2514) และมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (พ.ศ.2521) รวมทั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนเกิดขึ้นมากมาย การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยนับว่ามีการพัฒนาแล้วหน้าขึ้นเป็นลำดับ และได้รับการยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ โดยตัวของบุคคลากรของมหาวิทยาลัยต่างได้พัฒนาผลงานของตนเองในด้านการการสอนและการสร้างผลงานวิชาการออกมาเพิ่มมากขึ้น  เป็นที่ทราบกันว่าอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนอกจากจะมีภาระด้านการสอนแล้ว อีกภาระหนึ่งที่จำเป็นต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้สอนคือการวิจัยนั่นเองครับ ซึ่งการวิจัยของอาจารย์ก็จะกลายมาเป็นองค์ความรู้สำหรับการสอนนิสิตนักศึกษา รวมทั้งเป็นตัวขับเคลื่อนสังคมในประเทสชาติได้อีกด้วย เมื่อได้มีการทำวิจัยในเรื่องที่อาจารย์แต่ละท่านได้ให้ความสนใจหรือมีความเชี่ยวชาญแล้ว สิ่งหนึ่งที่นักวิจัยทั้งหลายพึงกระทำก็คือการเผยแพร่ผลงานวิจัยให้แก่คนอื่นได้รับรู้เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการและเป็นวิทยาทาน การเผยแพร่ผลงานวิจัยของอาจารย์ในมหาวิทยาลัย มักออกมาอยู่ในรูปของการตีพิมพ์ในวารสารต่างๆ รวมทั้งการเขียนหนังสือวิชาการ การเขียนบทความ การนำเสนอผลงานที่การประชุมวิชาการ เป็นต้น นอกจากนี้การตีพิมพ์ผลงานวิชาการนั้นเป็นตัวชี้วัดหนึ่งในการวัดคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาอีกด้วยครับ ปัจจุบันมีการจัดอันดับ (Ranking) และการจัดระดับ (Rating) มหาวิทยาลัยโดยองค์กรต่างๆมากมาย โดยตัวชี้วัดหนึ่งที่องค์กรเหล่านี้ให้ความสำคัญและใช้เป็นหนึ่งในตัวชี้วัดนั่นก็คือผลงานที่ได้รับการเผยแพร่หรือตีพิมพ์ในวารสารหรือการประชุมวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาตินั่นเอง ดังนั้นในแง่ของนักวิจัยจึงต้องคำนึงด้วยว่าการทำวิจัยที่ดีนั้นนอกจากจะต้องเป็นประโยชน์ต่อประเทศและส่วนรวมแล้ว ยังต้องมองถึงความสามารถในการนำเอาผลงานวิจัยไปเผยแพร่ได้อีกด้วย ส่วนในแง่ของมหาวิทยาลัยนั้นก็ต้องมีการส่งเสริมให้บุคลากรทั้งอาจารย์และนักวิจัย รวมทั้งนิสิตนักศึกษามีส่วนร่วมในการผลิตผลงานวิจัยออกมาอย่างมีคุณภาพด้วยครับ การผลักดันให้มหาวิทยาลัยมีผลงานวิจัยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติทั้งในแง่ของปริมาณและคุณภาพนั้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมาหวิทยาลัยในปัจจุบัน เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นตัวชี้วัดหนึ่งในคุณภาพของตัวมหาวิทยาลัยที่จะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับผู้สนใจเข้าเรียนต่อในสถาบันแห่งนั้นละเพื่อดึงดูดความสนใจของทั้งผู้เรียนและแหล่งทุนที่จะเข้ามาสนับสนุนการวิจัยของมหาวิทยาลัยหรือการว่าจ้างให้มหาวิทยาลัยทำวิจัยให้ด้วย นอกจากนี้ยังเป็นการสร้างการยอมรับในระดับนานาชาติ เพื่อให้มหาวิทยาลัยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลกและเป็นการปูพื้นในการก้าวขึ้นเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก (World Class University) ซึ่งจะสามารถดึงดูดชาวต่างชาติให้หันมาสนใจเรียนที่ประเทสไทยมากขึ้นด้วย หากดุจากเหตุผลของความจำเป็นของการเผยแพร่ผลงานวิชาการจากที่กล่าวมา ทุกท่านคงเห้นด้วยนะครับว่าการเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยนั้นมีความสำคัญมาก แล้วทุกท่านก็คงเกิดคำถามว่าแล้วที่ผ่านมาผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัยในบ้านเราที่ได้รับการตีพิมพืในระดับนานาชาตินั้นเป็นอย่างไรกันบ้าง

ผมขอเรียนกับผู้อ่านทุกท่านก่อนนะครับว่า การเผยแพร่ผลงานทางวิชาการนั้นมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน ที่ได้รับความนิยมและมีจำนวนมากที่สุดคือการตีพิมพ์ผลงานวิจัยต้นฉบับ (Original article) ซึ่งมักจะส่งไปเผยแพร่ลงในวารสารวิชาการ (Journal) ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่จะตีพิมพ์ นอกจากนี้ยังมีรายงาน (Report) การทบทวนความรู้ (Review Article) การนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการ (Proceeding) จดหมาย (Letter) และบันทึกย่อ (Note) ถึงบรรณาธิการ การทักท้วงแก้ไขข้อผิดพลาดในการตีพิมพ์ (Erratum) และอื่นๆ ซึ่งในปัจจุบันนั้นมีจำนวนวารสารมากกว่าสามหมื่นชื่อคลอบคลุมงานวิชาการหลากหลายแขนง เช่น การแพทย์และสาธรณสุข วิศวกรรมศาตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การจัดการ การเงิน สังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์  ศิลปและวัฒนธรรม ศาสนา พฤติกรรมศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

การส่งผลงานทางวิชาการไปเผยแพร่หรือให้วารสารตีพิมพ์ให้นั้น อาจไม่มีเงื่อนไขคือสามารถส่งผลงานไปเผยแพร่ได้เลย กับมีเงื่อนไขคือผลงานที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่นั้นจะต้องส่งให้ผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้นๆเป็นผู้ตรวบสอบต้นฉบับเสียก่อน (Peer Review) ว่าบทความดังกล่าวมีกระบวนการวิจัยและการพิสูจน์ที่เหมาะสมหรือไม่ เมื่อผ่านการเห็นชอบให้ตีพิมพ์ (Accepted) แล้วถือว่าได้รับการยอมรับ แต่หากกระบวนการวิจับและการพิสูจน์ไม่ผ่านการเห็นชอบอาจถูกปฏิเสธ (Rejected) หรืออาจให้ไปปรับปรุงแก้ไข (Revised) ก็ได้ นอกจากนี้วารสารบางเล่ม ผู้ที่ต้องการให้วารสารนั้นๆตีพิมพ์ให้ก็อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายให้กับวารสารนั้นๆด้วยนะครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของวารสารแต่ละแห่งนั่นเอง โดยทั่วไปวารสารที่มีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบต้นฉบับหรือ Peer-reviewed journal นั้นจะได้รับความน่าเชื่อถือของผลงานวิจัยมากกว่าครับ นอกจากนี้ความน่าเชื่อถือของวารสารยังสามารถวัดได้จาก Impact factor หรือการวัดค่าความถี่ของการอ้างอิงบทความ วารสาร ในแต่ละปีนั่นเองครับ การรวัดค่าความน่าเชื่อถือของวารสารยังมีอีกหลายตัวชี้วัดซึ่งผมจะขอนำมาลงในบทความต่อๆไปครับ

ในแง่ของผลงานวิจัยของประเทศไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับนานาชาติเมื่อเทียบกับประเทศในกลุ่ม ASEAN ด้วยกันนั้น ศ.ดร.ม.ร.ว. ชิษณุสรร สวัสดิวัตน์ได้ทำการวิจัยผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่ปรากฏในฐานข้อมูล Institute for Scientific Information (ISI) Web of Science (WOS) ซึ่งคลอบคลุมจำนวนวารสารด้านวิทยาศาสตร์กว่า 5,900 ชื่อ วารสารด้านสังคมศาสตร์ 1,725 ชื่อและวารสารด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 1,144 ชื่อ (ข้อมูล ณ พ.ศ.2546 แต่ปัจจุบัน ISI WOS ถูกซื้อกิจการโดย Thomson Reuters ไปแล้วและมีรายชื่อวารสารในฐานข้อมูลมากกว่า 12,000 ชื่อ) พบว่าตั้งแต่ปี 1999 – 2005 ประเทศไทยมีจำนวนผลงานวิจัยที่ปรกฏในฐานข้อมูลดังกล่าว 12,604 เรื่อง สูงเป็นอันดับที่สองในกลุ่มอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์ที่มีผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ถึง 33,431 เรื่อง ส่วนจำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ของประเทศอื่นๆในอาเซียนดูได้จากตารางครับ

จะเห็นได้ว่าประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่เป็นเกาะเล็กๆและมีมหาวิทยาลัยที่สำคัญๆไม่กี่แห่ง คือมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore) (ก่อตั้งเมื่อพ.ศ.2448) มหาวิทยาลัยโทคโนโลยีแห่งนันยาง (Nanyang Technological University) (ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.2524) ส่วนมหาวิทยาลัยการจัดการแห่งสิงคโปร์ (Singapore Management University) นั้นเพิ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2543 แต่ประเทศสิงคโปร์สามารถสร้างผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติได้สูงกว่าประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ทั้งๆที่ประเทศไทยนั้นมีจำนวนมหาวิทยาลัยและบุคลากรในมหาวิทยาลัมากว่าของสิงคโปร์หลายเท่า นั่นสะท้อนให้เห็นว่าศักยภาพของนักวิจัยในสิงคโปร์นั้นดีกว่าเรามาก

เมื่อมองในระดับโลกพบว่าการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการในวารสารระดับนานาชาติของประเทศไทยในปี 2005 อยู่ในอันดับที่ 43 ซึ่งมีผลงานตีพิมพ์รวมกันทั้งหมด 2,615 เรื่องโดยอันดับที่ 1 ที่มีผลงานตีพิมพ์มากที่สุดได้แก่ อเมริกา 304,670 เรื่อง อันดับที่สองและสามคือญี่ปุ่นและเยอรมัน มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ 77,263 และ 77,124 ตามลำดับ เมื่อมองเทียบกับประเทศที่ได้อันดับที่หนึ่ง สองและสามแล้ว ยิ่งเห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่าประเทศไทยยังคงต้องมีการพัฒนากันอีกมากทั้งในด้านกำลังคนและเงินทุนสนับสนุนครับ

 

 

 

 

References

1.M.R. Jisnuson Svastia and Ruchareka Asavisanub, "Aspects of Quality in Academic Journals:A Consideration of the Journals Published in Thailand", ScienceAsia 33 (2007): 137-143

2.M.R. Jisnuson Svastia and Ruchareka Asavisanub, "Update on Thai Publications in ISI Databases (1999-2005)", ScienceAsia 32 (2006): 101-106

3.http://www.info.sciverse.com/scopus/about

4.http://wokinfo.com/products_tools/multidisciplinary/webofscience/

5.Impact Factor คืออะไร ? http://stang.sc.mahidol.ac.th/text/impact.htm

6.ผลงานการตีพิมพ์ของนักวิจัยไทย http://th.wikipedia.org/wiki

 

 

หมายเลขบันทึก: 439049เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 11:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท