Update เรื่องน่ารู้ เพื่อผู้สูงอายุ 2554 ตอนที่ 2 เมื่อเราต้องชราภาพ ???


 

ชั่วโมงนี้ อ.พิช (พญ.อรพิชญา ไกรฤทธิ์) มาบอกเล่า ถึงช่วงเวลาของการชราภาพค่ะ ... แล้วเราจะรู้สึกกันอย่างไร

เมื่อถึงวัย สว. (สูงวัย) จะมีความหง่อม ซึ่งเรียกว่า กระบวนการชราภาพ เกิดขึ้น และมีสิ่งต่างๆ เข้ามาเยอะมาก เช่น เรื่องของยา มีโรคเยอะ กินยาหลายตัว ทำให้การทำฟันยากด้วย

เกิดอะไรขึ้น เมื่อเราเป็น สว.

คนเราจะแก่เมื่อ … อายุ 30 ปีขึ้นไป ... เราจะเริ่มมีกระบวนการชราภาพ เริ่มแก่ แต่ไปเห็นชัดเมื่อ เลข 6 โดยความเสื่อมจะค่อยๆ เกิดอย่างช้าๆ เมื่ออายุ 30 ปี ... นั่นก็คือ เราต้องพัฒนาให้ได้ maximum quality ก่อนอายุ 30 ปี

นี่คือหลักการของกระบวนการชราภาพ

เราต้องพยายามเก็บพลังสำรองไว้เยอะๆ ด้วยการดูแลสุขภาพกายใจ สุขภาพสังคม เศรษฐานะ เราต้องออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ สดชื่น สดใส มีสังคม เพื่อนฝูง ครอบครัว และเงินออม

รู้ได้อย่างไรว่า เราแก่

เรามีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากความชราภาพ (Age related physiologic Change) เป็นการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา ในทุกระบบ ตั้งแต่ ศีรษะ จรดปลายเท้า

คุณภาพชีวิต ความสามารถในการช่วยเหลือตัวเอง การอยู่อย่างมีความสุข สำคัญกับเรา มากกว่า อายุที่เป็นตัวเลขจริงๆ เพราะฉะนั้น เราต้องมาดูว่า กระบวนการไหน เป็นกระบวนการของการชราภาพ และอันไหน คือ โรค

โรคหลายๆ โรค ทำให้เรารู้สึกว่า แก่แล้วก็ต้องเป็นอย่างนี้ … ของบางอย่างเป็นโรค ของบางอย่างเป็นความชรา ต้องแยกให้ได้ ... เราน่าจะเลี่ยงคำ “แก่” เพราะว่าโหดร้ายกับจิตใจ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเมื่อเราเป็น สว.

โดยทั่วไป

  • ผิวหนัง – แห้งลง บางคนย่น แต่ความย่นจะมี 2 ปัจจัย ย่นจากอายุ จะเป็นลายเล็กๆ เหมือน tissue ถ้าย่นจาก UV จะเป็นร่องลึกๆ (ทาครีมกันแดดช่วยได้)
  • ผิวหนัง - บาง ในผู้สูงอายุจะเกิดแผลมุมปากง่ายมาก ควรเช็ดให้แห้ง แต่ไม่ใช่แห้งเกินไป
  • สายตา – ยาวขึ้น ลูกตาจะขุ่นขึ้น ดูเหลืองๆ
  • ความสามารถในการมอง - ต้องมีการปรับตัวมากขึ้น ต้องใช้เวลาในการมองมากกว่าคนทั่วไป
  • แสงสว่าง - ที่เก้าอี้ทำฟัน ในผู้สูงอายุ จ้ามากๆ จะไม่เห็น บางครั้งเขาไม่ให้ความร่วมมือ อาจเพราะว่า เขามองไม่เห็น เพราะว่าผู้สูงอายุบางคนอ่านปากที่พูด ถ้าไม่เห็น เขาก็จะสื่อสารไม่ได้
  • ผู้สูงอายุ มองเห็นในมุมที่แคบลงเรื่อยๆ - ตามจำนวนอายุ การเข้าด้านข้าง อาจทำให้ผู้สูงอายุตกใจ ควรบอก ก่อนที่จะเข้าไปทางด้านข้าง
  • เรื่องของหู - ถ้าอยู่ในที่ที่มี background noise เสียงอึกทึก เขาจะแยกยาก ถ้ามีเสียงพูด และเสียงเครื่อง เขาก็จะไม่ได้ยิน ห้องต้องเงียบ
  • ถ้าผู้สูงอายุหูตึง – สังเกตจาก เขาจะพูดเสียงดังมาก
  • อาการหันศีรษะ (Head turning sign) สว. จะหันหูข้างที่ดีเข้าหาผู้ที่พูดด้วย เพื่อที่จะฟัง
  • เสียงที่เบา และแหลม เหมือนการ์ตูน ผู้สูงอายุจะไม่ได้ยิน
  • ฟันผู้สูงอายุจะเหลืองขึ้น การที่จะให้เขาไปขูดหินปูนทุก 6 เดือน ต้องบอกผู้สูงอายุ ให้มารับการรักษาด้วยเสมอๆ
  • ลักษณะช่องปากของผู้สูงอายุ เช่น เหงือกที่ร่น ช่องระหว่างฟันกว้าง ปากแห้ง น้ำลายน้อย
  • สว. รุ่นที่หงิก งอ หง่อม และงอม ต้องกินยาเยอะมาก ยาหลายๆ ตัว ทำให้ปากแห้ง น้ำลายน้อยลง กินข้าวไม่อร่อย รับรู้รสได้น้อยลง
  • ฟันและสุขภาพช่องปาก ข้อต่อขากรรไกร จะยืดหดยาก เหมือนข้อเข่า
  • 

ช่วงช่องอก

  • อวัยวะสำคัญ คือ หลอดเลือด และหัวใจ หลอดเลือดจะแข็งตัวขึ้น ทำให้ผู้สูงอายุเกิดความดันโลหิตสูงได้ง่าย โดยเฉพาะเวลาที่เครียด
  • เวลารอทำฟัน มีความกลัวได้ เรื่อง เสียง ทำให้ความดันขึ้นง่าย เมื่อผู้สูงอายุมาทำฟัน ถ้ามีความดันขึ้น ก็ให้นั่งพักก่อน และพูดให้สบายใจ
  • ชีพจรของผู้สูงอายุ จะมีอัตราการเต้นที่ช้ากว่าคนทั่วๆ ไป
  • ความยืดหยุ่นของหัวใจน้อยลง มีความตึงตัวมากขึ้น โอกาสที่จะเกิดน้ำเกินง่ายมาก การที่จะต้องสเปรย์น้ำไปเยอะ ต้องระวังในคนที่เป็นโรคหัวใจ

ช่วงของพุง

  • มี 2 อวัยวะ คือ ตับ และระบบย่อยอาหาร
  • ผู้สูงอายุจะย่อยอาหารได้ตามปกติ แต่บางคนจะมีการเคลื่อนไหวของกระเพาะ และลำไส้ได้ช้าลง การทำหัตถการบางอย่าง ต้องลดน้ำ อาหาร เพราะว่า อาหารเขาจะอยู่ในพุงค่อนข้างนาน ... ผู้สูงอายุที่เพิ่งกินมา อย่าเพิ่งทำฟัน เพราะจะขย้อนง่าย กระเพาะจะบีบตัวช้าลง อาหารจะทำให้สำลักได้
  • เรื่องของตับ จะเกี่ยวกับการใช้ยา ยาที่ต้อง metabolize ที่ตับ (ยาเกือบทุกตัวจะไปย่อยที่นี่) ถ้าผู้สูงอายุกินยาเยอะ ยาที่ใช้ในทางทันตกรรมหลายๆ ตัว ตีกันกับยาที่ผู้สูงอายุรับประทานอยู่ เช่น การกินยาแก้เชื้อ จะตีกับยาละลายลิ่มเลือด Warfain หรือ Coumadin … จึงต้องทราบว่า ผู้สูงอายุกินยาอะไรบ้าง
  • ระบบไตของไต เป็นที่ขับของยา ในผู้สูงอายุไตจะทำงานได้น้อยลง เพราะว่า มีความเสื่อม ทันตแพทย์ต้องดูการทำงานของไต คำนวณค่า cretinine clearance เพื่อระวังเวลาที่ให้ยาในผู้สูงอายุ
  •  

อื่นๆ ที่ควรสนใจ

  • การลืมนัด – การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ผู้สูงอายุจะไม่จำเลย ขี้ลืมขึ้น เมื่ออายุเยอะขึ้น จำยากขึ้น ขี้ลืมง่ายขึ้น ทำอะไรโดยอัตโนมัติมากขึ้น ... การนัด ต้องโทรไปบอก ถ้าเขาจำได้ เขาจะรีบมา และจะจำได้เมื่อเราไปเตือน
  • หนึ่งในสาเหตุที่ความดันขึ้นเมื่อมาถึงห้องฟัน คือ ก่อนหน้ามาทำฟัน นอนไม่หลับ
  • อย่าใช้คำพูดที่ทำลายความรู้สึก ถ้อยคำที่ไม่ดี จะไวมากกับความรู้สึกของ สว. ต้องบอกให้เขามีความพยายามที่จะทำ จะช่วยให้คนไข้รักเรามากขึ้น ถ้าเขารักเราแล้ว เราสั่งอะไรเขาจะทำให้หมด
  • เรื่องของจิตใจและอารมณ์ - ต้องพูดดี มีวิธีที่พยายามพูดให้เห็นความสำคัญของโรคที่เป็น เราก็จะสอนเขาได้ทุกเรื่อง ถ้าเราให้กำลังใจเขา cheer up จะมีแต่สู้ ด้วยการที่เรารู้จักคุยกับเขา
  • สังคมผู้สูงอายุสำคัญมาก สำหรับกลุ่มที่ active ในชมรมผู้สูงอายุ มีประสิทธิภาพสูงมาก เขาจะอวดฟันกัน และที่ work มาก คือ การแข่งขันผู้สูงอายุสุขภาพดี ผู้สูงอายุแข็งแรง สมวัย ให้ใช้ในทางบวก จะช่วยให้ดูแลผู้สูงอายุได้ดีมากขึ้น
  • การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ ไม่ได้แค่ดูปากและฟัน แต่ดูองค์รวม (Holistic care) ดูศีรษะจรดปลายเท้า หมอผู้สูงอายุดู 360 องศา รอบตัวคนไข้ เช่น ถ้าดูคนไข้น้ำหนักลด ก็จะดูฟันด้วย เสร็จแล้วก็ต้องดูว่า บ้านอยู่ตรงไหน ถ้าอยู่ใจกลางชนบท ไปตลาดไม่ได้ด้วย

  • โรคหลายโรค ถ้าเราไม่ถนัด ก็ให้ส่งต่อ การดูแลองค์รวมสำคัญมาก
  • นอกจากดูปัญหากายที่มาพร้อมปัญหาฟันและช่องปากแล้ว อย่าลืมดู ฐานะด้วย ถ้าเขาไม่มีสตางค์ เบิกไม่ได้ ไม่มีข้าวกิน ดูแบบองค์รวม

ตัวอย่าง ฟันกับโรคทางระบบสัมพันธ์กัน

ผู้สูงอายุหนึ่งคน จะมีสุขภาพที่ดี เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ คือ กาย ใจ สิ่งแวดล้อม สังคม และเงิน

ปัญหาหลัก คือ การเปลี่ยนแปลงทางกาย เกิดขึ้นทุก system จากความชราภาพ มีผลกับการใช้ยา แต่การดูแลปัญหาทางกายเพียงอย่างเดียว ไม่ได้บอกโจทย์ทั้งหมดของผู้สูงอายุ เราต้องดูแลเขาทั้งหมด 360 องศา

ก่อนที่จะทำอะไรให้ผู้สูงอายุ ก่อนที่เราจะช่วยอะไรเขา เริ่มต้นจากการคุยกันก่อน พบว่า การดูแลผู้สูงอายุจะดีได้ ต้องพูดเป็น ต้องสื่อสารกับเขาได้ บางทีเขาคุยกันด้วยภาษากาย ดูจากภาวะที่ซึมๆ ของเขา ที่ไม่ได้บอกเป็นคำพูด

ถ้าเราต้องการสื่อสารโดยคำพูด การพูดจา เราจะคุยกับเขาอย่างไร

  1. ให้ความเคารพ ถ้าเขาหูไม่ตึง อย่าไปตะโกน
  2. แม้เขาไม่ใช่ญาติผู้ใหญ่ของเรา แต่เขาก็เป็นญาติผู้ใหญ่ของใครบางคน
  3. ฟันกับช่องปาก ศีรษะของคนไทย ถือว่าเป็นของสูง ถ้าจับปาก ต้องขอโทษก่อน
  4. เวลาฟัง อย่าสรุปเอาเอง เช่น แปล๊บๆ ไม่ได้เจ็บ ก็ยอมว่า แปล๊บ คือ ความรู้สึกไม่สบายตัว
  5. ถ้าเขามาหาเพื่อทำฟัน ให้ดีใจไว้ อย่าไปบอกว่า แก่แล้วก็อย่างนี้ละ ฟันก็ต้องผุ ต้องหักธรรมดา เพราะว่า จะเสีย self คิดไปได้ว่า เราแก่แล้วไม่เห็นน่าไปหาหมอฟันเลย ให้หมอเขาว่าเอาว่า แก่แล้วก็ต้องเป็นอย่างนี้ ต้องบอกว่า ฟันมันเสื่อมบ้างตามอายุ แต่จริงๆ แล้ว ก็สามารถซ่อมได้บ้าง ดูดี มีกำลังใจกว่า และน่ามาหาหมอฟัน
  6. concept แก่แล้ว ทำอะไรไม่ได้ ให้โยนทิ้งไป เรียกว่า อคติต่อการสูงวัย ห้ามมี
  7. ถามตัวเองว่า ปัญหาที่เขามา เรายังทำอะไรได้อีก เป็นแนวคิด
  8. สิ่งที่ทำอยู่เสมอ ในการดูแลสูงวัย คือ ถามตัวเองเสมอว่า แล้วเราทำอะไรได้อีก เพื่อให้คุณภาพชีวิตเขาดีขึ้น
  9. อย่าลืมดูว่า หูเขาไม่ได้ยินหรือเปล่า ก็ต้องคุยให้รู้เรื่อง เขียนเอาก็ได้ เมจิกตัวใหญ่ๆ
  10. มุมมองการเห็นเขาจะแคบลง การทำหัตถการ ให้คุยกันหน้าตรง ให้รับทราบกันก่อน แล้วค่อยจัดนอนเก้าอี้ทำฟัน
  11. แว่นตา ฟันปลอมช่วยเสมอในการสื่อสาร
  12. ในกลุ่มผู้สูงอายุที่การได้ยินบกพร่อง ผู้หญิง เสียงค่อนข้างแหลม เวลาพูดให้เสียงพูดออกมาจากกระบังลม โทนต่ำลงนิดหนึ่ง แล้วจะพูดเสียงดังได้ โดยไม่เหนื่อย ไม่ต้องตะโกน เพราะบางครั้งเขาอ่านปากด้วย จะทำให้เข้าใจมากขึ้น ไม่พูดยานคาง พูดให้ชัด ช้า ทิ้งจังหวะ และประเมินว่า เขาเข้าใจหรือเปล่า ไม่ใช้ศัพท์ที่อลังการ เช่น ขูดหินปูน จะเสียวฟัน ระบุให้ชัดเจน เวลาพูด อย่าพูดแล้ว หันไปทำอย่างอื่น เพราะว่า (1) ตัวเองจะลืม (2) คนไข้ก็จะลืม ว่าพูดอะไรไป เวลาพูดกับผู้สูงอายุ จะต้องไม่ interrupt ยกเว้นกรณี emergency ไม่งั้นเรื่องไม่ต่อเนื่อง
  13. แสงจ้าไป ไม่ดี แสงมืดไป ไม่ดี อย่านั่งในห้องที่มีแสงมาจากข้างหลัง เพราะว่าแสงจะเข้าตาคนคุยด้วย
  14. พยายามอย่าให้มีคนมาขัดจังหวะ
  15. พยายามอย่าให้เสียงมากวนกัน
  16. มีกระดาษเขียน
  17. ผู้สูงอายุมีเจ้าของ คือ สมาชิกในครอบครัว ต้องบอกลูกเขาด้วย ทำกี่วัน กี่บาท เพราะว่า เขาไม่ได้มาเอง ต้องบอกเจ้าของเขาให้หมด จะได้จัดคิวมาส่งกันได้
  18. สนใจความรู้สึกของญาติด้วย ช่วยเขาคิด ถ้ามีปัญหา
  19. สื่อสารในระหว่างทีมงาน สหสาขาวิชาชีพ ถ้าผู้สูงอายุไปทำฟัน และมีคุณหมอที่รักษา แต่คุณยายไม่ได้เอายามา โทรไปหาก็ได้ จะได้ข้อมูล ไม่ต้องนัดมาใหม่
  20. การคุยกันระหว่างทีมสำคัญมาก ถ้าตอบโจทย์ไม่ได้ เราจะมีตัวช่วย
  21. คนในชุมชนก็จะรู้จักกัน
  22. การคุยกัน จะช่วยลดปัญหาการใช้ยาซ้ำซ้อน ลดปัญหาการใช้ยาไม่เหมาะสม ลดปัญหาผลข้างเคียงจากการใช้ยาหลายตัว โดยเฉพาะระหว่างแพทย์ และทันตแพทย์

     

การดูแลผู้สูงอายุไม่ยาก ถ้าใช้การดูแลองค์รวมเป็นหลัก เรารู้การเปลี่ยนแปลง ทางสรีรวิทยาที่ต้องระวัง ปัญหาที่ต้องระวังหลายๆ อย่าง หนึ่งในนั้นที่สำคัญ คือ การใช้ยา การพูดคุยกันระหว่างทีมงาน ระหว่างผู้สูงอายุและญาติ ช่วยให้ผลดีของการรักษาเกิดได้มากขึ้น

สิ่งเล็กๆ การเปลี่ยนแปลงนิดเดียวสำหรับผู้สูงอายุ มันยิ่งใหญ่มาก … ในความรู้สึกของตัวเขา และเรา ... กับผู้สูงอายุ จากที่เขากินข้าวไม่ได้ วันนี้เขาได้กินสิ่งที่อยากกิน เขามีฟัน ทำให้เขารู้สึกดีกับชีวิตที่เหลืออยู่

สิ่งเล็กๆ สำหรับผู้สูงอายุยิ่งใหญ่มาก และเชื่อว่า การทำงานกับผู้สูงอายุ สิ่งที่เราได้ทุ่มเทเข้าไป ไม่มีคำว่า สูญเปล่า  และเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ที่เราได้ตอบแทนคนเหล่านั้น ที่เขาเคยได้ทำประโยชน์อะไรมาสักอย่างหนึ่งในชีวิต … การทำงานกับผู้สูงอายุเป็นความสวยงาม ที่เกิดขึ้นเสมอ

รวมเรื่อง Update เรื่องน่ารู้ เพื่อผู้สูงอายุ 2554

หมายเลขบันทึก: 439045เขียนเมื่อ 12 พฤษภาคม 2011 11:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบ Holistic care ครับ วันนี้ได้รับหนังสือจากลำปางแล้วครับแม่หมอ ขอบคุณครับ...

  • แม่ยังไม่ได้รับหนังสือเลย
  • ทำไม นครปฐม ได้ไวกว่า กทม. นิ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท