เตรียมจัดกิจกรรมKMที่สำนักหอสมุด มอชอ.


ผมตั้งใจไว้ว่า หากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ไปช่วยบรรยาย ผมจะต้องจัดเวลาไปให้ได้ ในฐานะลูกช้างตัวหนึ่ง ที่ได้อาศัยใบบูญของมหาวิทยาลัยจนเติบใหญ่ทางวิชาการมาจนบัดนี้ ยิ่งสำนักหอสมุดด้วยแล้วคือแหล่งเพาะบ่มความรู้ด้านบริหารจัดการแห่งสำคัญแห่งหนึ่งของผมเลย

                เมื่อหลายเดือนก่อนได้ไปเป็นวิทยากรให้สำนักหอสมุดมอชอ. มาแล้ว 1 ครั้ง โดยการติดต่อของอาจารย์กรกมล ทีมKMของสำนักหอสมุด มีผู้บริหารจากหอสมุดคณะต่างๆเข้าร่วม และให้ควสามสนใจดีมาก รวมทั้งท่านผู้อำนวยการสำนักเองก็ได้เข้าร่วมกิจกรรมโดยตลอดตั้งแต่ต้นจนจบ และก็เลยมีลูกติดพันมาอีก 2 รุ่น จะจัดในวันที่ 21-22 สิงหาคมนี้ โดยมีทีมวิทยากรคือผม เอ้ ปิย์ ปู ป้อม ทำหน้าที่วิยากรประจำกลุ่ม โดยลดการบรรยายลง แล้วลงมือทำไปเลย พร้อมกันนี้ผมมีข้อเสนอไปยังสำนักหอสมุด ดังนี้

                    การอบรมนี้น่าจะเป็นเหมือนการทำKnowledge sharing จริงๆไปเลย โดยให้แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันไปในตัว พร้อมกับสำนักหอสมุด จัดเจ้าหน้าที่ที่เคยอบรมแล้ว และสมัครใจจะเป็นคุณอำนวย(KM Facilitator) มาเป็นคุณอำนวยร่วมกับวิทยากรประจำกลุ่มของทีมผมเลยกลุ่มละ 1 คน  พร้อมทั้งจัดหาเจ้าหน้าที่มาฝึกเป็นคุณลิขิต(Note taker)กลุ่มละ 1 คน จะทำให้การอบรมครั้งนี้เป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นก 3 ตัว คือฝึกปฏิบัติคุณกิจให้รุ้จักKM ฝึกคุณอำนวยให้เป็นFacilitatorของกลุ่มและฝึกคุณลิขิตของสำนักหอสมุด ถ้าทำได้อย่างนี้คิดว่าจะมีประโยชน์มากครับ อยากให้อาจารย์กรกมลนำเรียนปรึกษาท่าน ผอ.สำนักฯด้วยครับ               

                      ในการอบรมครั้งนี้ ผมจะเล่าให้ผู้เข้าร่วมประชุมรู้จักKMสั้นๆไม่เกิน 1 ชั่วโมงครับ จะมีการทำBARก่อนอบรมและทำAARหลังอบรมให้ด้วย               

                      มีทีมKMสัก 2-3 คน ทำหน้าที่สังเกตการณ์ทั้ง 5 กลุ่มเพื่อดูบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้               

                      ในการจัดแลกเปลี่ยนเรียนรู้นี้ จะใช้เครื่องมือแลกเปลี่ยนสองชิ้นคือStory telling กับ Dialouge ทั้งนี้

1.  จะกำหนดให้ 2 กลุ่ม(กลุ่มใดก็ได้) ใช้ตัวเริ่มต้นการแลกเปลี่ยนด้วยการค้นหาสิ่งดีรอบๆตัว(Appreciative Inquiry) โดยให้สมาชิกกลุ่มทุกคนเตรียมเรื่องเล่าในงานที่ตนเองทำแล้วเกิดความภาคภูมิใจ(AI)ตามขอบเขตงานของกลุ่มมาคนละ 1 เรื่องหรือ 1 ความภาคภูมิใจ โดยทั้งสองกลุ่มนี้จะให้ใช้ Story telling เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน

2.  ที่เหลืออีก 3 กลุ่ม จะให้เล่าเรื่องในประเด็นของเขตงานที่ตนเองและกลุ่มทำโดยไม่กำหนดผู้เล่าเรื่อง ใครอยากเล่า อยากพูดก็ให้พูด อยากเล่าอะไรก็ได้ ซึ่งใช้Dialouge เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยน               

                       ช่วงท้ายก่อนเลิกกิจกรรมสัก 1 ชั่วโมง จะให้มากำหนดตารางอิสรภาพที่เป็นผลลัพธ์ของงานเพื่อจะได้ใช้เป็นตัวเปรียบเทียบงานในการแลกเปลี่ยนกันในโอกาสต่อไป               

                       ถ้าอาจารย์สามารถกำหนดว่ากลุ่มใด จะใช้แบบใด ตอบกลับมาให้ก่อนจะเป็นประโยชน์ต่อทีมวิทยากรมาก เพราะในครั้งนี้วิทยากรต้องเตรียมตัวมากและวิทยากรแต่ละกลุ่มจะต้องใช้ศักยภาพของการเป็นวิทยากรกลุ่มอย่างเต็มที่ เพื่อให้การแลกเปลี่ยนนี้สามารถถอดเป็นขุมทรัพย์ความรุ้ในเบื้องต้นให้กับสำนักหอสมุดได้เลย               

                      ดังนั้น ตารางอบรมจะมีบรรยายแค่ 09.00-10.00 (ถ้าเริ่มได้สัก 8.45 ก็จะดีเพราะจะใช้เวลาสัก 10-15 นาที ทำBAR หลังจากนั้นจะเป็นการแลกเปลี่ยน 3 ชั่วโมง(เว้นพักกลางวัน 1 ชั่วโมง) จนถึงบ่าย 2 โมง หลังจากนั้นจะให้ช่วยกันสรางตารางอิสรภาพที่จะใช้จริงๆ 1 ชั่วโมงพร้อมสรุปบทเรียน และนำเสนอขุมทรัพย์ความรู้ของกลุ่มทั้ง 5 กลุ่มพร้อมตารางอิสรภาพเวลา 15.00-16.00 น.และทำAAR เวลา 16.00-16.30 น. พร้อมกับปิดประชุม

             หากท่านผู้รู้ท่านใด จะช่วยเสนอแนะรูปแบบ ติชม แสดงความคิดเห็นก็ยินดีมากครับ

หมายเลขบันทึก: 43885เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2006 22:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:35 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ขอแสดงความยินดีด้วยกับชาว มช. โดยเฉพาะท่า ผอ. กรกมล ที่จะได้เรียนรู้ เรื่อง KM จากทีมวิทยากร ที่ยอดเยี่ยมครับ
  • คงจะได้เห็น CMU Planet เกิดเพิ่ม กันหลังจากกิจกรรมนี้นะครับ
ละเอียด ศรีวรนันท์

ดีใจกับชาวสำนักหอสมุดเชียงใหม่   ที่นำ kmมาใช้กับหน่วยงานซึ่งที่โรงเรียนพระมารดานิจจานุเคราะห์ก็ทำอยู่ค่ะ 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท