เพ้นท์ดอกคัทรียาควีนสิริกิติ์บนผ้าไหม


เพ้นท์ดอกคัทรียาควีนสิริกิติ์บนผ้าไหม

 

การเพ้นท์สีบนผ้าไหม ไม่ว่าจะเพ้นท์บนผ้าทั้งผืน หรือผลิตภัณฑ์ที่มีผ้าเป็นวัตถุดิบ เช่น เสื้อผ้าไหม หมอนอิงผ้าไหม ฉากกั้นห้องผ้าไหม สามารถเพิ่มมูลค่าให้ผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างมาก หรือแม้แต่เศษผ้าไหมที่เหลือจากการตัดเย็บ หากนำมาเพ้นท์ และใส่กรอบ ก็จะกลายเป็นภาพประดับผนังที่มีราคาขึ้นมาทันที

สีที่นำมาเพ้นท์ จะใช้สีเพ้นท์ผ้าโดยเฉพาะ หรือสีอะคริลิค ก็ได้ มีข้อดีด้อยต่างกันคือ สีเพ้นท์ผ้า เมื่อเพ้นท์แล้ว ผเนื้อผ้าในบริเวณที่เพ้นท์จะไม่แข็งขึ้นมากนัก ทำงานง่าย มีความยึดเกาะกับเนื้อผ้าดี แต่สีมีราคาค่อนข้างสูง ส่วนสีอะคริลิค หากใช้เพ้นท์ลงบนผ้าทันที เนื้อผ้าในบริเวณที่เพ้นท์จะแข็งมากกว่าสีเพ้นท์ผ้า ปัจจุบันจึงมีการประดิษฐ์น้ำยาแปลงสีอะคริลิค หรือมักเรียกว่า “สื่อผสม”  (Medium) ซึ่งเป็นสีอเนกประสงค์ให้เหมาะกับวัสดุที่จะทำงาน เช่น น้ำยาที่ผสมสีอะคริลิคให้เหมาะกับการทำงานบนผ้า เรียก Textile Medium, Fabric Medium บ้าง แล้วแต่ชื่อที่ผู้ผลิตจะตั้งให้แตกต่างกันออกไป ข้อดีของการใช้สีอะคริลิคผสมกับสื่อผสมคือ ราคาจะถูกลง และไม่ทำให้ผ้าแข็งขึ้นเหมือนการใช้สีอะคริลิคเพียงอย่างเดียว นอกจากนี้ น้ำยาเมื่อแห้งแล้วจะแปรสภาพเป็นฟิล์มบางๆเคลือบบนผิว ทำให้สีติดทนนานขึ้นอีกด้วย

อุปกรณ์

ผ้าไหมสีเข้ม

พู่กันแบน Raphael รหัส 8796 เบอร์ 8 เบอร์ 4 และพู่กันตัดเส้น Pyramid รหัส 91014 เบอร์ 00 พู่กันกลม Raphael รหัส 8394 เบอร์ 3/0

แผ่นผสมสีทำจากกระดาษไขรองเค็ก ตัดเป็นขนาดประมาณ 5*12 นิ้ว ทบครึ่ง วางทิชชูม้วนประมาณ 4-5  ทบชิดรอยทบ แล้วพับเป็นซองจดหมายที่มีทิชชูอยู่ตรงกลาง เวลาใช้งาน รินน้ำใส่ในซอง พับปิด ทิชชูเปียกน้ำจะส่งผ่านความชื้นผ่านกระดาษไขมายังสี ทำให้ใช้สีได้นานหลายชั่วโมง

หรือจะใช้ถาดก้นตื้นใบเล็กๆ เช่น ถาดโฟมบรรจุอาหารที่เราใช้แล้ว นำมาล้างให้สะอาดผึ่งให้แห้ง ก็ได้ เพื่อสามารถใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า วางทิชชูที่ทบแล้วลงไป ใส่น้ำ แล้วปิดทับด้วยกระดาษไขรองเค้ก  

 

กระดาษลอกลาย เราสามารถลอกลายได้ 2 วิธี สำหรับการลอกลายด้วยกระดาษคาร์บอน (แบบเดียวกับที่ช่างตัดเสื้อใช้) อุปกรณืประกอบด้วย กระดาษคาร์บอน ดินสอดำ เข็มโครเชต์เบอร์ 6(หรือปากกาที่หมึกหมดแล้ว) สำหรับการลอกลายด้วยวิธีฉลุกระดาษลอกลาย ฉลุกระดาษลอกลายที่ลอกลายไว้แล้วด้วยเข็มเย็บผ้า (วางกระดาษบนผ้านุ่มๆก่อน) แล้วนำลายไปวางบนพื้นที่ที่ต้องการ นำลูกประคบสีฝุ่นมากลิ้งบนลาย ฝุ่นสีจะทะลุรอยแล ไปเกิดเป็นลวดลายบนผ้าตามต้องการ 

ข้อดีของการลอกลายด้วยกระดาษคาร์บอนคือ สีติดทน เห็นลวดลายชัดเจน แต่หากวัสดุมีความยืดหยุ่นมาก หรือมีความนุ่ม (เช่น ปกหนังสือผ้าที่บุฟองน้ำอยู่ภายใน)จะม่สามารถลอกลายด้วยกระดาษคาร์บอนได้ ต้องใช้วิธีฉลุกระดาษลอกลาย แล้วใช้ลูกประคบสีฝุ่นลูบบนกระดาษ ให้ฝุ่นสีลอดผ่านรูฉลุ ไปเกิดเป็นลวดลายบนผ้าเพียงอย่างเดียว

กระดาษรองงาน แก้วน้ำสำหรับล้างพู่กัน และผ้าซับพู่กัน

เกรียงสำหรับผสมสี

สีอะคริลิคของ Jo Sonja’s สีต่างๆดังนี้ สี Titanium White, Paynes Grey, Moss Green, sap Green, Burgandy, Indian Yellow และ Brown Earth

วิธีทำ

การลงสีรองพื้น

เนื่องจากผ้าสีเข้ม จึงต้องมีการลงสีรองพื้นเพื่อปิดสีดอกก่อน โดยการลงสีที่ใกล้เคียงกับสีที่จะเพ้นท์จนเต็มพื้นที่ เพื่อความรวดเร็ว อาจไม่ต้องสนใจลายเส้นภายในมากนัก เมื่อสีแห้ง(ทิ้งไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง) จึงค่อยลอกลายซ้ำด้วยลูกประคบสีฝุ่นก็ได้

 

ใบ

1 ผสมสี Moss Green, Sap Green, Burgandy, และ Titanium White กับน้ำยา Textile Medium เป็นกองๆบนแผ่นผสม

2 ใช้พู่กันแบนในการทำงานลงสีรองพื้นจนเต็มใบด้วยสี Moss Green ทิ้งให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง (เนื่องจากผ้าสีเข้ม จึงต้องมีการลงสีรองพื้นเพื่อปิดสีผ้าก่อน การลงสีรองพื้น อาจใช้สีขาวเพียงอย่างเดียว ลงสีให้เต็มบริเวณที่จะเพ้นท์ก็ได้ เนื่องจากสีขาวเป็นสีทึบแสง จึงปิดสีผ้าได้ดี แต่ในที่นี้เลือกใช้สีเขียวที่มีส่วนผสมของสีขาว เพื่อให้สีใกล้เคียงกับสีที่จะเพ้นท์ในชั้นถัดไป เนื่องจาก สี Sap Green ซึ่งจะเพ้นท์ทับเป็นสีโปร่งแสง การใช้สีขาวเพียงสีเดียว อาจทำให้สีเขียว Sap Green สว่างขึ้นไปกว่าเดิมมาก )

3 ทาทับด้วยสี Sap Green จนเต็มใบ

4 ใช้พู่กันแบนแตะสี Sap Green และสี Burgandy พลิกพู่กันไปมาบนแผ่นผสมให้ได้สีกลางระหว่างกัน เติมเงาที่โคนและปลายใบ บริเวณรอยต่อของสี ล้างพู่กันให้สะอาด ซับให้แห้ง เกลี่ยให้สีกลมกลืนกัน

5 ใช้พู่กันแตะสี Sap Green และ Titanium White ให้ได้สีกลางเกลี่ยบริเวณกลางใบให้เป็นส่วนรับแสง

 ดอก

1 ผสมสีกับน้ำยา Textile Medium ให้เป็นสีต่างๆดังนี้

สี 1       Paynes Grey    30%

            Titanium White 70%

สี 2       Paynes Grey    10%

            Titanium White 90%

สี 3       Titanium White

2 ลงสีรองพื้นด้วยสีขาว Titanium จนเต็มดอกด้วยพู่กันแบน ทิ้งให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง   จึงลงสีจนทั่วดอกอีกครั้งแล้วจึงลอกลายเส้นภายในซ้ำ

3 ใช้พู่กันแบนแตะสี 1 และ 2 เกลี่ยเงาบนกลีบเล็กทั้ง 3 กลีบ ส่วนกลีบใหญ่ 2 กลีบ ตวัดสี 1เป็นแถบๆเข้าหา กลางดอก โดยตวัดให้สัมพันธ์กับรอยหยักของกลีบจนทั่ว

4 ส่วนปากกระเป๋า ใช้พู่กันแบนแตะสี 1 เกลี่ยที่ส่วนที่ต้องการให้เกิดเงา ตวัดสีเป็นแถบๆเข้าหา กลางดอก จากนั้น ตวัดสีขาวโดยให้สีเหลื่อมกับสี 1 ที่ตวัดไว้เดิมเล็กน้อย ทิ้งให้แห้งประมาณ 1 ชั่วโมง

5 เพ้นท์สีขาว ทับตามรอยเดิม ตามบริเวณรอยต่อของสีขาว หรือคือสี 3 กับสี 1 เกลี่ยให้กลืนกันด้วยสี 2 ถ้าสีดอกยังไม่ขาวเท่าที่ควร ทิ้งงานให้แห้ง แล้วเกลี่ยสีขาวทับอีก 1 – 2 ครั้ง แต่ละครั้งทิ้งห่างกันประมาณ 1 ชั่วโมง

เกสรตัวผู้

1 ผสมสี Indian Yellow และสี Brown Earth กับน้ำยา Textile Medium เป็นกองๆบนแผ่นผสม  ใช้พู่กันแตะสี Indian Yellow และสี 1 วาดรูปทรงรีเป็นตัวเกสร

2 เกลี่ยสีขาวเล็กน้อยตรงกลางตัวเกสร แล้วใช้พู่กันลากเส้น ลากสี Brown Earth ที่ส่วนล่างของเกสร

จากนั้นอาจใช้พู่กันแบน เกลี่ยสี Brown Earth ที่โคนกระเป๋า บริเวณส่วนล่าง และบนตัวเกสร จากนั้นใช้พู่กันกลม ตวัดสี Indian Yellow จากโคนกระเป๋าออกสู่ตัวกลีบ ทิ้งให้แห้ง หากสีเหลืองและส้มยังไม่ใคร่สดใส ให้ลงทาสีซ้ำอีกครั้งจนได้ภาพสำเร็จ

 

 

 

แททเทริ์นลายเพ้นท์

หมายเลขบันทึก: 437927เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2011 09:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เก็บงานเก่า 10 กว่าปี มาอัพบล็อคค่ะ

เพราะช่วงนี้สนุกกับการศึกษาภาษาบาลีจนไม่มีเวลาหาข้อมูลใหม่มาเขียน

^_^

สวัสดีค่ะ

สวยจัง ฝีมือจริงๆเลยนะคะ

สนุกกับการเรียนภาษาบาลีค่ะ...

พี่ ณัฐรดา ค่ะ ได้แรงบันดาลใจเรื่องงานเพ้นท์จากพี่มาหลายครั้งแล้วค่ะ แต่ยังไม่ได้มีโอกาสทำเองซะที ยังยุ่งๆ กับงานและเจ้าตัวเล็กอยู่เลยค่ะ

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา ...เคยไปอบรม สามวันค่ะ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ สำหรับงานเพ้นท์ ยอมรับยอมในฝีมือคุณณัฐรดาจริงๆค่ะ ดอกไม้ดูมีมิติ ยกนิ้วให้เลยค่ะ (สวยมาก)

         ไหม และกำมะหยี่ 

.......อบรมสามวันได้เท่านี้แหละค่ะ สุดๆแล้ว อิอิ...........................................

สวยมากเลย อยากทำได้บ้างครับพี่...

สวัสดีค่ะคุณณัฐรดา

สวยมากค่ะ

มาร่วมชื่นชมความงามในฝีมือค่ะ..

สวัสดีค่ะ

เข้ามาชม สวยจริง ๆ ค่ะ....น่าสนใจ..มีความรู้ด้วย ขอบคุณค่ะ

  • งามจริงๆครับ เป็นคอลเลคชั่นที่หาที่ไหนไม่ได้เลย
  • ชุดนี้ให้ความเป็นงานศิลปะของจิตรกรแม่บ้านขนานแท้เลยครับ

สวยมากครับ จนยากที่จะบรรยาย

สบายนะครับ มีความสุขกับภาษาบาลีนะครับ

ขอบคุณทุกท่านจังค่ะที่แวะมา

ขอแปะโป้งไว้ก่อนนะคะ ขอทำการบ้านก่อน เสร็จแล้วค่อยไปเยี่ยมทุกท่านบ้าง

ชอบจังเลย....ค่ะพี่ตุ๊กตา......

ดอกไม้พี่ตุ๊กตางดงาม อ่อนช้อยไม่เปลี่ยนเลยนะคะ

ยังกะจับดอกจริงมาวางไว้บนผ้าไหมยังไงยังงั้น ^v^

เรียนภาษาบาลีท่าทางน่าสนุกนะคะ...คิดถึงค่ะ

สวยมากฮับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท