อ้อย ข้าว ข้าวโพด ตอบสนอง “ซิลิก้า” จากหินแร่ภูเขาไฟช่วยประหยัดต้นทุนการฉีดพ่นยาฆ่าแมลง


ถ้ามีการนำหินแร่ภูเขาไฟมาใช้ในการเกษตรโดยหว่านเตรียมแปลงหรือรองก้นหลุมตั้งแต่เริ่มแรก ในอนาคตก็อาจจะพัฒนาการเกษตรด้านการผลิต อ้อย ข้าว และข้าวโพด โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงฉีดพ่นทางใบได้

เมื่อเอ่ยถึง “ซิลิก้า” บางท่าน อาจจะงง สงสัย ไม่เข้าใจว่า คืออะไร ซิลิก้าคือ ธาตุอาหารพืชที่อยู่ในหมวดธาตุเสริม หรือธาตุพิเศษ แตกต่างจาก ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และธาตุอาหารจุลภาค ตรงที่พืชจะ มี หรือ ไม่มีไว้ก็ได้ โดยยังคงสามารถเจริญเติบโตได้ตามปรกติ แต่ถ้าได้รับธาตุเสริม อย่างเช่นซิลิก้า (Sio2) ที่ส่วนใหญ่จะแตกตัวอยู่ในรูป โมโนซิลิสิคแอซิดหรือซิลิคอน (H4Sio4) พืชจะดูดกินนำไปใช้ได้ ก็จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกัน สร้างความแข็งแกร่งให้กับผนังเซลล์ ช่วยลดการเข้าทำลายของโรค แมลง รา ไร ได้เป็นอย่างดี

พืชที่สามารถตอบสนองต่อแร่ธาตุ “ซิลิก้า” Sio2 ได้ดีอย่างเช่น อ้อย ข้าว และข้าวโพด ถ้านำกลุ่มของหินแร่ภูเขาไฟ พูมิช พูมิชซัลเฟอร์ สเม็คโตไทต์ และไคลน็อพติโลไลท์ ซึ่งมีจะมีแร่ธาตุซิลิก้า Sio2 ที่อยู่ในรูปพร้อมที่จะละลายได้ทันทีเมื่อฝนตก หรือเมื่อมีการให้น้ำแก่พืช ซิลิก้าที่พร้อมต่อการละลายได้นี้ จะถูกดูดลำเลียงขึ้นไปสะสมยัผนังเซลล์ของ อ้อย ข้าวและข้าวโพด ทุกๆ วัน อยู่ในรูปของ ควอทซ์ และ โอปอล ทำให้ผนังเซลล์ของพืชเหล่านี้แข็งเหมือนกับนำเอาคอนกรีตหรือซีเมนต์มาเคลือบไว้ที่ผนังเซลล์ ทำให้หนอนวัยหนึ่งหรือวัยสองที่เขี้ยว (เมนิเบิล) ยังอ่อนไม่สามารถที่จะกัดกินได้ เมื่อฝืนพยายามกินอีก ลักษณะการกัดเหมือนนำใบเลื่อยไปถูกับกระดาษทราย ทำให้เขี้ยวสึกกร่อน (เสียวฟัน) กินไม่ได้ ขาดสารอาหาร อ่อนแอและตายในที่สุด

ถ้ามีการนำหินแร่ภูเขาไฟมาใช้ในการเกษตรโดยหว่านเตรียมแปลงหรือรองก้นหลุมตั้งแต่เริ่มแรก ในอนาคตก็อาจจะพัฒนาการเกษตรด้านการผลิต อ้อย ข้าว และข้าวโพด โดยที่ไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชหรือยาฆ่าแมลงฉีดพ่นทางใบได้ ถ้าสามารถทำให้เซลล์แข็งแกร่งตั้งแต่เริ่มต้นปลูก (เหมือนทำวัคซีนป้องกัน) หรือถ้ามีอาการเจ็บป่วยเป็นโรคหรือแมลงรบกวนก็อาจจะทำการรักษาให้หายได้ค่อนข้างรวดเร็วและทันท่วงที ผลผลิตของพี่น้องเกษตรกรไม่เสียหาย

มนตรี บุญจรัส
ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ www.thaigreenagro.com

หมายเลขบันทึก: 436985เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 17:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท