เรื่องเล่าของเครือข่ายเล็กๆ...ที่ทำงานเพื่อ "พัฒนานักศึกษาไทยสู่การเป็นบัณฑิตอุดมคติ"


นักศึกษาไทย ความหวัง ความอยู่รอดของสังคมไทย สังคมโลก

สรุปเนื้อหาการประชุมเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ห้องประชุมธีระ สูตะบุตร อาคารสารนิเทศ ๕๐ ปี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๔ เวลา ๙.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.

            การประชุมวันนื้ของเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย เป็นการสร้างความเข้าใจร่วมกันถึงภารกิจของคณะอนุกรรมการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนว่าเป็นเครือข่าย  ประเภท  C  ของ  สำนักงานการอุดมศึกษา(เครือข่ายเชิงประเด็น)  ซึ่งมีแนวทางในการกำหนดรูปแบบ การดำเนินกิจกรรมเพื่อพัฒนานิสิตนักศึกษานอกชั้นเรียน และปฏิบัติงานอื่นที่เกี่ยวข้องตามที่คณะกรรมการประสานกิจมอบหมาย  โดยมีกรอบในการดำเนินงาน ดังนี้

          ๑.     ยึดนโยบายร่วมกันแสวงหาเส้นทางใหม่ ๆ ทางออกใหม่ ๆ จุดประกายความคิด เสริมสร้างวิสัยทัศน์ในด้านการพัฒนานักศึกษา รวมถึงหาทางออกที่เป็นประเด็นปัญหาร่วมของสังคม (Common Problem)

          ๒.      มองประเด็นอนาคต (Futuristic View) โดยใช้เวที Sharing ประสบการณ์ด้านพัฒนานักศึกษา เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคนิค และหาความรู้ปฏิบัติ(Practical  Knowledge) เป็นแนวทางในการพัฒนานักศึกษา

         ๓.      เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติเป็นเวทีสร้างพันธมิตร และกัลยาณมิตรของสถาบันการศึกษาเครือข่ายภาคกลางในการร่วมกันขับเคลื่อน(Driving Together) นักศึกษาสู่บัณฑิตอุดมคติ

 แนวคิดการบริหารจัดการคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติ ได้แก่

        ๑.     คิดร่วมกัน (Think Together)

        ๒.    ทำงานร่วมกัน (Work Together)

        ๓.     แก้ปัญหาร่วมกัน (Problem Solving Together)

        ๔.     ขับเคลื่อนร่วมกัน (Driving Together)

        ๕.     เรียนรู้ร่วมกัน (Learning Together)

 ภาพการทำงานที่ผ่านมาในอดีตของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ

         การดำเนินงานของเครือข่ายในอดีตที่ผ่านมาประสบความสำเร็จในการทำให้เกิดความเข้มแข็งใน การดำเนินงาน และเกิดความตระหนักของหน่วยงานด้านกิจการนักศึกษา

 ภาพอนาคตที่คาดหวังของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ

          ก้าวเดินต่อไป คือ ทำให้เกิด "Impact" ต่อนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาเขตภาคกลางเพื่อให้ เกิดการขับเคลื่อนร่วมกัน เกิดการนำไปขยายผลในสถาบันใน ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕ เพื่อให้สถาบันการศึกษาในเขตภาคกลางขับเคลื่อนร่วมกันให้ภารกิจบรรลุล่วงในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติ รวมถึงการรับฟังความคิด feedback จากสถาบันการศึกษาเขตภาคกลางเพื่อเสนอแนะต่อคณะอนุกรรมการเพื่อพัฒนาแนวทางการดำเนินงาน

  ที่มาประเด็นปัญหาบนเส้นทางพัฒนาคุณภาพนักศึกษาไทยในยุคศตวรรษที่ 21 (ประเด็นท้าทายสถาบันอุดมศึกษาไทย) เพื่อกำหนดแนวคิดการพัฒนาการดำเนินงานของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ เพื่อพัฒนาบัณฑิตอุดมคติ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕

 ๑.     ปัญหาการพัฒนานักศึกษาไทย

         ๑.๑ ปัญหาร่วมด้านการพัฒนานักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางปัจจุบัน

             ๑.๑.๑ ปัญหาด้านวินัยนักศึกษา
                       ๑.๑.๑.๑ การแต่งกายผิดระเบียบ

                       ๑.๑.๑.๒ การแต่งกายไม่เสริมบุคลิกภาพ
                       ๑.๑.๑.๓ การใช้ชีวิตภายใต้ค่านิยมพอเพียง

            ๑.๑.๒ ปัญหาด้านกิจกรรมนักศึกษา
                        ๑.๑.๒.๑ การจูงใจนักศึกษาให้สนใจในกิจกรรม

                        ๑.๑.๒.๒ ปัญหาด้านพัฒนานักศึกษา
                        ๑.๑.๒.๓ บุคลากรมีน้อย

                        ๑.๑.๒.๔ ศักยภาพบุคลากรไม่เพียงพอ

       ๑.๒ ปัญหาร่วมด้านพัฒนานักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาเครือข่ายภาคกลางอนาคต

             ๑.๒.๑ การเสริมสร้างทักษะการอยู่ร่วมกับผู้อื่น ภายใต้สังคมพหุวัฒนธรรม  (Pluralistic Society)

            ๑.๒.๒ ปัญหาด้านการสื่อสาร
                           ๑.๔.๒.๑ การสื่อสารกับคนไทยด้วยกันเอง

            ๑.๒.๓ การสื่อสารกับคนในประชาคมอาเซียน

      ๑.๓ ปัญหาด้านการมีงานทำและการทำงาน
            ๑.๓.๑ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
            ๑.๓.๒ ศักยภาพไม่เพียงพอ

๒.     ปัญหาการพัฒนานักศึกษายุคใหม่ “คนพันธ์เน็ต” ภายใต้แนวคิดเก่าและโครงสร้างเดิม

           ชีวิตนักศึกษา  กับสถานการณ์อนาคต ชีวิตในศตวรรษที่ 21 นักศึกษาในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาภายใต้สังคมที่เปลี่ยนแปลง มีความแตกต่างจากอดีต และกำลังทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในอนาคต ซึ่งสถาบันการศึกษาจะต้องหาทางออกร่วมกันเพื่อให้เกิดบัณฑิตยุคใหม่ให้เป็นคนทำงานที่มีความรู้และสนใจเรียนรู้ (Knowledge  Worker & Learning Person) หากจะเป็นบัณฑิตยุคใหม่ได้นั้นจะต้องมีทักษะ ๔ ด้าน ดังนี้

             ๑.     ทักษะด้านการเรียนรู้ (Learning   Skill)

             ๒.     ทักษะด้านการปรับตัว (Adaptability  Skill)

             ๓.     ทักษะชีวิต (Life  Skill: Pluralistic  Society)

             ๔.     ทักษะการทำงาน (Work  Skill) 

  กรอบแนวคิดการดำเนินงานการพัฒนานักศึกษาของเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติ ปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕

          ๑.    พัฒนาบุคลากรเครือข่าย (บุคลากรด้านพัฒนานักศึกษา)

          ๒.    สร้างแกนนำนักศึกษา เพื่อขยายผลในสถาบัน

          ๓.     สร้างความรู้ปฏิบัติ

          ๔.     แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ด้านพัฒนานักศึกษา

          ๕.     แสวงหาคำตอบในประเด็นปัญหาร่วม

          โดยยึดยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ ยุทธศาสตร์ การพัฒนานักศึกษา สกอ. และยุทธศาสตร์เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติไทยเขตภาคกลาง ซึ่งในปี ๒๕๕๔ – ๒๕๕๕ เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติจะขับเคลื่อน ๒ เรื่อง ดังนี้

          ๑.      การเสริมสร้างคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในการเตรียมบัณฑิตรุ่นใหม่สู่ประชาคมอาเซียน

           ๒.     การขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถาบันการศึกษา

๑. การเสริมสร้างความเป็นพลเมือง (Citizenship)
              ๑.๑ ความเป็นพลเมืองในสถาบันการศึกษา (Student  Citizenship)

                   ๑.๑.๑ เชื่อมโยงกิจกรรมปฐมนิเทศนักศึกษาให้ความสำคัญ Critical  Year  โดยการคิดกิจกรรมให้สอดคล้องกันตลอดทั้งปี ยกตัวอย่าง

                         ๑.๑.๑.๑ ปฐมนิเทศนักศึกษา

                         ๑.๑.๑.๒ กิจกรรมรับน้องใหม่

                         ๑.๑.๑.๓ กิจกรรมไหว้ครู

                         ๑.๑.๑.๔ กิจกรรมเปิดโลกกิจกรรม

                         ๑.๑.๑.๕ กิจกรรมกีฬาน้องใหม่

                         ๑.๑.๑.๖ กิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ชั้นปีที่ 1
                        ๑.๑.๑.๗ กิจกรรมเนื่องในวันสถาปนาสถาบัน

                  ๑.๑.๒ การพัฒนานักศึกษาชั้นปีที่ ๑: ตลอดทั้งปี โดยพัฒนาจากนักเรียนสู่ความเป็นนักศึกษา ในด้านต่อไปนี้

                        ๑.๑.๒.๑ รู้และมีเป้าหมายการเรียน

                        ๑.๑.๒.๒ บริหารเวลาเป็น

                        ๑.๑.๒.๓ มีทักษะการเรียนรู้ที่เพียงพอ

                        ๑.๑.๒.๔ ใช้ชีวิตการเรียนรู้เป็น

                 ๑.๑.๓ Output กิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้องใหม่
                        ๑.๑.๓.๑ ร้องเพลงสถาบันได้อย่างพร้อมเพรียง
                        ๑.๑.๓.๒ เข้าใจปรัชญา วัฒนธรรม ค่านิยมของสถาบัน

                        ๑.๑.๓.๓ เข้าใจในเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ของสถาบัน

                        ๑.๑.๓.๔ สร้าง Impression / ความภูมิใจในสถาบัน

                        ๑.๑.๓.๕ สร้างความรักในสถาบัน

          ๑.๒ ความเป็นพลเมืองของประเทศ (THAI  Citizenship)

                 ๑.๒.๑ สร้างแบบสำรวจคุณลักษณะความเป็นพลเมืองของนิสิตนักศึกษา ซึ่งจะส่งให้สถาบันการศึกษาประมาณเพือนพฤษภาคม ๒๕๕๔

          ๑.๓ ความเป็นพลเมืองในประชาคมอาเซียน (ASEAN  Citizenship)
                    ๑.๓.๑ เผยแพร่เอกสาร “นักศึกษาควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” เพื่อให้สถาบันแจกเอกสารฉบับนี้แก่นักศึกษาใหม่วันปฐมนิเทศ

                   ๑.๓.๒ เตรียมการเผยแพร่เอกสาร “การปรับตัวของงานกิจการ นักศึกษาเพื่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน

                   ๑.๓.๓ จัดสัมมนาทางวิชาการ “กิจการนักศึกษากับการปรับตัวเพื่อความพร้อมสู่ประชาคมอาเซียน” (อยู่ในระหว่างการดำเนินการ)

           ๑.๔ เผยแพร่แนวคิดกิจกรรมรับน้องใหม่ บนเส้นทางการสร้างความเป็นพลเมืองของนักศึกษาในสถาบันโดยสร้างจุดเริ่มต้นของความเป็นพลเมืองในสถาบัน

                 ๑.๔.๑ ให้นักศึกษารู้คุณค่าปรัชญาสถาบัน โดยให้นักศึกษาเข้าใจปรัชญาของสถาบันเพื่อพัฒนาสู่ความรู้คุณค่าและมีเป้าหมายในการพัฒนาตนของนักศึกษา

                 ๑.๔.๒ ให้นักศึกษาเกิดความรักและภูมิใจในสถาบัน โดยหาจุดแข็งของสถาบันเป็นแนวทางในการสร้างความรู้สึกว่าตนคือสมาชิกของสถาบัน เห็นคุณค่าและแต่งกายชุดสถาบันด้วยความภูมิใจ  ร้องเพลงสถาบันได้  พร้อมปฏิบัติตามระเบียบ ข้อบังคับสถาบัน  มีใจที่จะร่วมสืบทอด ปณิธาน วัฒนธรรม ค่านิยมของสถาบัน เข้าใจในเอกลักษณ์ / อัตลักษณ์ของสถาบัน และสร้างสรรค์สิ่งดีดีให้สถาบัน เพื่อนำไปสู่ความรักและภาคภูมิใจที่ได้มาเป็นนิสิต นักศึกษาสถาบันแห่งนี้  

                ๑.๔.๓ สร้างแกนนำกิจกรรมประชุมเชียร์และรับน้องใหม่เพื่อขยายผลในสถาบัน เพื่อเสริมสร้างความเป็นพลเมืองในสถาบัน (Student Citizenship)

๒. การขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบัน

       ๒.๑ จากประเด็นปัญหาข้างต้น ทางรอด ทางเลือกเพื่อความอยู่รอดของไทย คือ ให้นักศึกษาเข้าใจถึง "ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง" เพื่อขยายผลการดำเนินงานด้านกิจการนักศึกษาโดยประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถาบันสู่สถาบันกิจกรรมนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการขยายผล อาจเป็นรูปแบบการเสนอโครงการจากสถาบันของนักศึกษาซึ่งจะมีการประชุมครั้งต่อไป

สรุปเรื่องที่ฝากให้สถาบันช่วยดำเนินการต่อ

        ๑.      ต้องการนักศึกษาแกนนำที่มีศักยภาพในการเข้าอบรมสัมมนาแต่ละครั้ง เพื่อให้นักศึกษาที่เป็นตัวแทนสามารถมาขับเคลื่อนกิจกรรมในแต่ละสถาบันได้

        ๒.  ต้องการผู้ที่เป็นอนุกรรมการที่เป็นตัวแทนจากสถาบันในการเป็นผู้ประสานงานจัดกิจกรรมทางด้านการพัฒนาบุคลากรด้านกิจการนักศึกษา และพัฒนานักศึกษา ที่สามารถประสานงานต่อในสถาบันได้

        ๓. ต้องการให้ช่วยเผยแพร่เอกสาร“นักศึกษาควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนประเทศไทยเข้าสู่ประชาคมอาเซียน” (จะใส่ไว้ใน Blog ผู้สนใจสามารถนำไปเผยแพร่ได้ค่ะ) แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๑ ในการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่ให้ได้รับรู้ และเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก ๔ ปีข้างหน้า

         ๔. ต้องการให้สถาบันทบทวนแนวทางการดำเนินการของนักศึกษาให้มีความสอดคล้องกับสภาพของปัญหา โดยมีแนวทางการดำเนินการที่สอดคล้องกับเครือข่ายบัณฑิตอุดมคติเพื่อขับเคลื่อนร่วมกัน

สรุปโดย อ.ศุภิสรา เจริญไพฑูรย์

 เอกสารอ้างอิง

         จิรวัฒน์ วีรังกร. (๒๕๕๔). แนวคิดการดำเนินงานคณะอนุกรรมการพัฒนานัก

                    ศึกษานอกชั้นเรียน คณะอนุกรรมการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียน
                    เครือข่ายบัณฑิตอุดมคติภาคกลาง. เอกสารประกอบการประชุม

                    คณะอนุกรรมการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียน.

                     ๒๑ เมษายน  ๒๕๕๔. ณ ห้องประชุม ธีระสูตบุตร มหาวิทยาลัย

                     เกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

หมายเลขบันทึก: 436982เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 17:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:42 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณพระอาจารย์ที่มาเยี่ยมชมและให้ดอกไม้ค่ะ งานของการพัฒนานักศึกษานอกชั้นเรียนเป็นงานที่พวกเราทำด้วยใจรัก

และคาดหวังว่านักศึกษาในประเทศไทยจะเป็นบัณฑิตในอุดมคติ เป็นพลเมืองไทยที่ดีในอนาคตค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท