๖.การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจรัฐ ปรากฏชัดที่แนวทางพุทธศาสนา


เมื่ออำนาจ+ความเคยชิน ก็คือสิ่งที่น่ากลัวมาก เนื่องจากน้ำเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหวย่อมตกตะกอน ถ้า+กับเวลาถึง ๑๒๐ ปี ดังที่อาจารย์เสนอมา ย่อมเป็นตะกอนที่หมักหมมจนก่อให้เกิดปัญหาได้อย่างไม่ต้องสงสัย

  

   เมื่ออ่านคำแถลงการณ์ของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร) ว่าด้วยแนวทางปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ที่ท่านศาสตราจารย์  วิจารณ์ พานิช ได้นำมาเสนอ ผู้เขียนอ่านแล้วมีความเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้ หากทำการปฏิรูปได้ดังที่กล่าวมา ประเทศไทยจะพัฒนาไปในทิศทางที่ดีก้าวหน้าและมั่นคง แม้ว่าเบื้องต้นอาจไม่สวยงามอย่างที่คิดไว้ เพราะ

 

  •  กว่าจะชี้แจงให้ทุกคนเข้าใจร่วมกันได้-ต้องใช้เวลา

  •  กว่าที่ทุกฝ่ายจะลงมือขับเคลื่อนได้-ต้องใช้กิจกรรม และ

  • กว่าจะสำเร็จได้-ต้องใช้ความอดทนสูงมาก

   

  อำนาจ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก   ซึ่งสามารถแสดงถึงสถานภาพ บทบาท ผลประโยชน์ และอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งเป็น ๑ ในความปรารถนาพื้นฐานของมนุษย์

 

     ความเคยชิน เป็นนิสัยที่กระทำมาแบบซ้ำ ๆ จนติดเป็นนิสัย ถ้าจะเปลี่ยนแปลงต้องใช้พลังทางสติปัญญาสูงมาก และสิ่งที่กำลังจะเปลี่ยนไปก็ยังไม่แน่ใจว่าจะดีจริงหรือไม่ เพราะยังไม่มีประสบการณ์

 

     เมื่ออำนาจ+ความเคยชิน ก็คือสิ่งที่น่ากลัวมาก เนื่องจากน้ำเมื่อไม่มีการเคลื่อนไหว ย่อมมีตะกอน ถ้า+กับเวลาถึง ๑๒๐ ปี ดังที่อาจารย์เสนอมา ย่อมเป็นตะกอนที่หมักหมมจนก่อให้เกิดปัญหาได้ อย่างไม่ต้องสงสัย

 

     ในสมัยเริ่มต้นพุทธกาล มีพระสาวกจำนวนน้อย พระพุทธเจ้าทรงปกครองสงฆ์ด้วยพระองค์เอง โดยที่ใครก็ตามเมื่อเข้ามาบรรพชาอุปสมบทในพุทธศาสนา พระองค์จะอุปสมบทให้โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "เอหิภิกขุอุปสัมปทา" คือเหมาะสำหรับสถานการณ์หนึ่งเท่านั้น 

 

     แต่เมื่อมีพระสาวกมากขึ้น กระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนต่าง ๆ การที่พระองค์จะทรงปกครองเองนั้นลำบาก เพราะการสื่อสารและการคมนาคมไม่สะดวกรวดเร็วมากนัก พระพุทธเจ้าจึงทรงผ่อนถ่ายพระราชอำนาจให้พระมหาเถระในระดับต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคใหม่เรียกว่า "ไตรสรณคมน์" ในการบวชให้กับกุลบุตรต่าง ๆ แม้จะมองว่าเป็นการแบ่งอำนาจไปอยู่ที่พระสาวกก็จริง กลับเป็นผลดีด้วยซ้ำไปที่พระศาสนากับเจริญรุ่งเรืองขึ้น  

 

     เมื่อพระองค์เห็นว่าการพระศาสนาเจริญรุ่งเรืองมากแล้ว จึงมอบอำนาจให้กับสงฆ์ในการบริหารจัดการ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่า "ญัตติจตุตถกรรม" อันเป็นพิธีกรรมทางพุทธศาสนาที่ใช้ในการอุปสมบทมาจนถึงทุกวันนี้?

 

     จึงมีคำถามว่า การปฏิรูปดีหรือไม่?

 

     จากระบบเอหิภิกขุอุปสัมปทา สู่ไตรสรณคมน์ และญัตติจตุตถกรรมตามลำดับ ที่พระพุทธเจ้าทรงปกครองด้วยการกระจายอำนาจ สู่การมอบพระราชอำนาจให้กับหมู่สงฆ์ ถ้ามองให้ดีมีส่วนสำคัญอยู่  ๔ ประการ คือ

     ๑)การโอนอำนาจสู่ท้องถิ่น เนื่องจากคณะสงฆ์กระจายไปอยู่เมืองต่าง ๆ ท้องถิ่นย่อมทราบปัญหาของท้องถิ่นได้ดีกว่าส่วนกลาง

     ๒)การให้โอกาสแก่สงฆ์มีส่วนร่วมในการบริหารกิจการคณะ เป็นการวางแนวทางปฏิบัติให้กับองค์กรที่ยั่งยืนต่อไปในอนาคต

     ๓)การกระจุกตัวของอำนาจสงฆ์อยู่ที่ส่วนกลางทำให้เกิดความล้าช้าในการแก้ปัญหาที่ยิ่งนับวันยิ่งสลับซับช้อนมากยิ่งขึ้น

     ๔)จากการที่ผู้มีอำนาจควบคุมสงฆ์ ก็จะกลายเป็นสงฆ์ควบคุมดูแลและตรวจสอบกันเอง

 

     เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วอำนาจที่มีมากเกินไปก็จะลดลงตามลำดับ ประกอบกับความเคยชินที่มีมานานก็จะเกิดการยืดหยุ่นขึ้น และเวลาที่นานเกินไปก็จะทำให้มีการเคลื่อนไหวไม่เกิดตะกอนคือก้อนของปัญหาใหญ่ที่สะสมมา

 

     ผู้เขียนหวังว่าเราทุกคน จะรวมพลังเป็นหนึ่งเดียวในขับเคลื่อนนั้นการปฏิรูปการเมืองแบบสร้างสรรค์นั้น อย่างจริงใจ

 

หมายเลขบันทึก: 436912เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณ ทุกท่านที่ให้ดอกไม้ แม้ไม่มีความคิดเห็น แต่อย่างน้อยก็ยังเป็นกัลยาณมิตรธรรมตลอดไป

อำนาจ คืออะไร? ทำไมจึงเป็น ที่ปรารถนา ของคน(และสัตร์)?

อำนาจมาจากไหน? มากขึ้น ลดลง ได้อย่างไร? จะวัดเปรียบเทียบด้วยอะไร?

ในพระไตรปิฏก มีสูตต เล่าเรื่องการ ทำลาย อำนาจ (ของแคว้นวัชชี) ด้วย อำนาจ อื่นๆ อำนาจอะไร ดีกว่า? ดีที่สุด?

ขอบคุณท่าน sr ที่เข้ามาทักทาย แล้วตั้งเป็นประเด็นปัญหาใหม่ว่าอำนาจนั้นแท้จริงคืออะไร? ทำไมจึงแสวงหา

จากมุมมองผู้เขียน โบราณกลุ่มการเมือง-ผู้นำเพียงกลุ่มเดียว สู่ยุคการเมืองภาคประชาชน

แต่กระนั้น อำนาจ ยังถูกโหยหา และพัฒนาสลับซับซ้อนขึ้นกว่าเดิมมากมาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท