การอ่านมาก ฟังมาก เป็นเครื่องกั้นทำให้บรรลุธรรมช้าจริงหรือ ?


ก่อนที่จะมาถึงคำถามนี้ ผมสงสัยและหาคำตอบอยู่กับคำถามที่ว่า "ปริยัติกับปฏิบัติสัมพันธ์กันอย่างไร ?"

 

 

 

ผมเชื่อแน่ว่า นักปฏิบัติธรรมมือใหม่อีกไม่น้อย จะเริ่มต้นศึีกษาธรรมะจากการอ่านและการฟังเป็นหลักก่อนในระยะเริ่มต้น โดยเฉพาะคนที่มีลักษณะเหมือนผม คือ ไม่เคยบวชไม่เคยสนใจธรรมะที่แท้มาก่อน เคยแต่เรียนในชั้นเรียนแบบอ่านและท่องไปสอบเอาเกรดเป็นหลัก และบังเอิญมีบุญวาสนาได้พบธรรมแท้จึงเริ่มหันมาศึกษาอย่างเป็นจริงเป็นจัง ถ้ามีบุญมากได้ปฏิบัิติให้เห็นในเร็ววันก็ยิ่งเป็นบุญยิ่งนัก แต่นักวิชาการอย่างเรา ๆ ท่าน ๆ ที่มีความลังเลสงสัยมากกว่า "ศรัทธา" ก็จะไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ บางคนถึงขึ้นสงสัยว่า พระพุทธเจ้าคงไม่ได้มีอยู่จริง คงมีปราชญ์ในอดีตแต่งพระไตรปิฏกขึ้นมาก็มี... แต่ก็ใช่ว่า การไม่ยอมเชื่ออะไรง่าย ๆ จะไม่มีข้อดีนะครับ สุดท้ายแล้วช่างหอมหวานยิ่งนักถ้าไม่หยุดเดินค้นหาให้เห็นไปเสียก่อน

        กลับเข้าสู่ประเด็นต้นเรื่องเลยดีกว่าครับ...

        ณ วันนี้ผมเริ่มมั่นใจแล้ว การมัวแต่อ่านมาก ฟังมาก เป็นเครื่องกั้นสู่การบรรลุธรรมแน่นอน ในเบื้องต้นนี้อยากให้กัลยาณมิตรทั้งหลายลองหาพิจารณาหาคำตอบจากโสลกธรรมของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ประมาณนี้ครับ

ผู้คิดไม่รู้     ผู้รู้ไม่คิด

ไม่คิดไม่รู้   ไม่รู้ต้องคิด

 

หมายเลขบันทึก: 436899เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2011 10:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มกราคม 2014 13:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เห็นด้วยกะอาจารย์เป็นอย่างยิ่งครับ...รู้สึกว่ายิ่งเรียนมากเท่าไหร อัตตาตัวเองยิ่งมากขึ้น เยอะขึ้น เพิ่มขึ้นไปตามระดับ... ฟังคนอื่นน้อยลง... เจอกะตัวเองเต็ม - เต็ม

นมัสการพระคุณเจ้า

เป็นข้อมูลจากประสบการณ์ตรงที่น่าสนใจยิ่งนักครับ จะได้นำไปเป็นบทเรียนเป็นธรรมทานให้รุ่นต่อ ๆ ไปครับ

สาธุ สาธุ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท