สภาวะธรรม (03/07/2566)
ผ่านการฝึก TOT:MIO วันที่ 30 - 1 ก.ค.2566 ที่ผ่านมา พร้อมกับเสวนากับกัลยาณมิตรใน ClubHouse พบว่า
จิตเป็นอนัตตา ควรพัฒนาจิตและใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และระวังตกอยู่ภายใต้การทำงานของจิต
“รู้ลมหายใจ รู้ในกิจที่ทำ” เป็นวิธีการฝึกที่ดีมาก ๆ ควรฝึกทำอย่างต่อเนื่อง ฝึกให้เป็นวิถี รู้ลมหายใจในการพูด การฟัง และการทำกิจทั้งหลาย โดยพยายามฝึกเชื่อมโยงกับกิจวัตรประจำวัน เช่น การขับรถ หรือ ปัญหาความยุ่งยากใจทั้งหลาย
ออกจาก “การคิด” สู่ “การรู้”
ไม่มีความเห็น
การฝึกสติขั้นพื้นฐาน
นั่งในท่าที่สบาย หลังตรง หายใจเข้าออกอย่างเป็นธรรมชาติ
เราจะเริ่มจากการทำสมาธิแบบหลับตาสัก 1 นาที เริ่มต้นด้วยการหายใจเข้าออกยาวสัก 5-6 ครั้ง รับรู้ลมหายใจเข้าออกที่บริเวณปลายจมูกข้างที่ชัดกว่า ตรงตำแหน่งที่ชัดที่สุด ดูไปให้ต่อเนื่องด้วยลมหายใจปกติ ถ้ามีความคิดเกิดขึ้นก็รู้ตัวไม่คิดตาม เตือนตัวเองให้กลับมารับรู้ลมหายใจใหม่ ด้วยการหายใจเข้าออกยาวสัก 1-2 ครั้ง แล้วดูไปให้ต่อเนื่องด้วยลมหายใจปกติ
(เมื่อครบ 1 นาที) จากนั้นให้ทำสมาธิแบบลืมตาอีก 1 นาที ไม่ต้องสนใจสิ่งที่เห็น สังเกตลมหมายใจเข้าออกไม่ต้องหลับตา ถ้าลมหายใจไม่ชัดก็หายใจเข้าออกยาว 1-2 ครั้ง ดูไปให้ต่อเนื่องด้วยลมหายใจปกติ
(เมื่อครบ 1 นาที) ลองเปลี่ยนจากสมาธิลืมตา เป็นการมีสติด้วยการรู้ลมหายใจเล็กน้อยรู้ในกิจกรรมที่กำลังทำอยู่ไปด้วย เริ่มต้นจากสติในการฟัง สติในการพูด
ไม่มีความเห็น
วันพระ 25/6/66
ไม่มีความเห็น
รู้คิด 2023
บนเส้นทางแห่งการฝึกตน สิ่งที่พัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด คือ ความคิด หรือ จิต จากที่เคยคิดวุ่นวาย (เปรียบดั่งอยู่ในนรก) ก็มีความสุขมากขึ้น (เปรียบดั่งขึ้นสวรรค์)
การ “รู้คิด” เป็นหลักการฝึกพื้นฐานที่สำคัญมาก (รู้สือ ๆ )
จิต เป็น อนัตตา ฝึกอย่างไรก็เป็น อนัตตา ล้วนไม่ใช่ “เรา”
จิตเป็นเครื่องรับอารมณ์ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เกิดแล้วก็ดับ
คิดไปอย่างไรล้วน อนิจจัง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แปรปรวน แล้วดับไป และ เป็นอนัตตา
แค่ “รู้” รู้คิด รู้สือ ๆ ยอมรับอย่างที่มันเป็น
ไม่มีความเห็น
ถอดบทเรียนทำ 27/5/66
อุเบกขา จากการฝึกสติ กับ การฝึกสมาธิ ไม่เหมือนกัน
สติ สมาธิ ล้วนมีความสำคัญ
ออกจากการคิด สู่ การรู้
มีสติอยู่กับรู้
ทั้งฝั่งสังขตและอสังขต ล้วนไม่มี “เรา” แต่ต้น
ไม่มีความเห็น
มีสติอยู่กับ “รู้” โดยไม่มีเราแต่ต้น (รู้สือ ๆ)
ไม่มีความเห็น
อานาปานสติ = รู้ลมหายใจ รู้ในกิจที่ทำ
อานาปานสติสามารถไปถึงฌาน 4 ได้
อุเบกขา ที่เกิดจาก สติ แตกต่างจาก อุเบกขา ที่เกิดจาก สมาธิ
ติดป้ายความคิด (สังขาร) พินิจความรู้สึก (เวทนา)
ลมหายใจละเอียด กับ ลมหายใจหยาบ ต้องแยกแยกให้ได้เป็นเบื้องต้นก่อน
ไม่มีความเห็น
ถ้ารับรู้ได้ทางอายตะทั้ง 6 เป็นโลกทั้งสิ้น ล้วนตกอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง และเป็น “อนัตตา”
เป็น “อนัตตา” คือ ไม่มี “เรา” แต่ต้น
ออกจากการคิด (สังขารทั้งเข่ง) สู่การมีสติอยู่กับ “รู้”
รู้สือ ๆ ไม่ไปให้ค่า ไม่เข้าไปยินดี ยินร้าย ไม่เข้าไปชอบ ไปชัง
ไม่มีความเห็น
“รู้” สักแต่ว่า “รู้”
ออกจากการ “คิด” สู่การ “รู้” มีสติอยู่กับรู้ รู้เย็น รู้สือ ๆ
สังขตธรรม / อสังขตธรรม
อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ไม่มีความเห็น
รู้อยู่เปล่า ๆ / รู้สือ ๆ
แก้วน้ำ กับ ความเย็น คนละอันกัน
รู้อยู่เปล่า ๆ รู้สือ ๆ โดยไม่เข้าไปยินดี ยินร้าย (ใจเป็นกลาง)
ไม่มีความเห็น
รู้แล้ว ละทันที
ละที่ ความพอใจ ความไม่พอใจ ความยินดี ความไม่ยินดี (รู้สือ ๆ )
มีสติอยู่ที่ “รู้” โดยไม่เข้าไปยินดี ยินร้าย รู้สือ ๆ
ไม่มีเราตั้งแต่ต้น
รู้สือ ๆ ออกจากการคิด สู่การรู้
สิ่งที่รับรู้ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ สิ่งนั้นเป็นโลก ล้วนอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ล้วนเป็นสังขารปรุงแต่ง ไม่ควรเข้าไปยึดมั่นถือมั่นต้องปล่อยวางไป รู้แล้วละเสีย รู้แล้ววางเสีย
เวทนา ไม่ใช่ใจ พอใจก็สุขเวทนา ไม่พอใจก็ทุกขเวทนา เป็นเช่นนั้นเอง รู้สือ ๆ ไม่เข้าไปผลักไสดิ้นรน
ไม่มีความเห็น
กรรมฐานน้ำเย็น (หลวงพ่อเยื้อน ขันติพโล)
14 กุมภาพันธ์ 2566 เกิดความก้าวหน้าทางธรรมอีกก้าวหนึ่ง ต้องบันทึกไว้
สิ่งที่อธิบายได้ทางอายตนะทั้งหกและจิต ล้วนเป็นสังขตธรรม ล้วนเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
เย็นนอก (เย็นน้ำ) –> เย็นใน (รู้เย็น) ขยับจากเรารู้ ย้ายไปมีสติอยู่กับ “รู้เย็น”
มีสติอยู่กับ “รู้เย็น” ซึ่งไม่มีเราทั้งฝั่งขันธ์ และ ฝั่งรู้
รู้เย็น มีสติอยู่เย็น โดยไม่มีเรา
ไม่มีความเห็น
ทางสายกลาง
เดินมรรคอย่างเต็มกำลัง (ตึง)
รอยเท้าโค (ถอย)
ทางสายกลางเป็นกุญแจ
ไม่มีความเห็น
ชีวิต คือ อะไร ?
เป็นอีกหนึ่งคำถามที่เกิดขึ้นในงานเลี้ยงรุ่นคืนวันเสาร์ที่ผ่านมาเป็นงานเลี้ยงรุ่น ม.ปลาย ที่ทำให้ผมมีความสุขมากเป็นพิเศษ
ผมพยายามถอดสมการความสุขว่าเกิดจากอะไรกันแน่ ทำไม ? งานเลี้ยงรุ่นครั้งนี้ จึงมีความสุขมากเป็นพิเศษ
ผมพิจารณาอย่างด่วน ๆ ง่าย ๆ ได้ประมาณว่า ..
โรงเรียนของเราเป็นโรงเรียนระดับอำเภอ ไม่เล็ก ไม่ใหญ่ จนเกินไปและที่สำคัญ คือ พวกเราไม่ได้เรียนแข่งกัน แต่ช่วยเหลือกันให้สำเร็จเรียนจบไปด้วยกัน จึงก่อเกิดความรัก ความผูกพันธ์อันบริสุทธิ์ สดใส
ด้วยวัย 50+ เป็นวัยที่เกิด “ลายคราม” แห่งชีวิต ผ่านร้อน ผ่านหนาวมาพอสมควร
จากการค่อย ๆ พบปะพูดคุยกับเพื่อนทีละคนทีละกลุ่มตามโอกาสผมได้เรียนรู้หลายอย่าง และก็โยนคำถามเพื่อน ๆ ว่า .. ชีวิต คือ อะไร ?
ไม่มีความเห็น
วิถีแห่งโพธิ
มีเมตตา กรุณา ช่วยเหลือสรรพสัตว์
ช่วยเหลือให้คนอื่นพ้นทุกข์ ตนเองเข้าสู่ธรรม
ไม่มีความเห็น
แผนที่ GPS ธรรม ๒๕๖๕ (ไม่มีเราแต่แรก)
i-bar (ขันธ์ ๕) เป็นสังขตธรรม ตกอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ไม่มีเราแต่แรก)
i-byte (สภาวะรู้) เป็น อสังขตธรรม ก็ไม่มี “เรา” แต่แรก
ทั้ง i-bar และ i-byte ล้วนไม่มี “เรา” ตั้งแต่แรก (อนัตตา)
นิพพานอยู่เหนือผู้รู้โดยไม่มีจุดหมาย (หลวงปู่หล้า เขมปัตโต)
เพียรใช้กายและใจ สร้างประโยชน์ตนและประโยชน์ท่านอย่างเต็มกำลัง
จิตเดิมแท้ เป็นพุทธะอยู่แล้ว แต่ถูกเมฆหมอกแห่ง “ความคิด” ปรุงแต่ง ปิดบังไว้
ออกจากการคิด สู่ การรู้ เพื่อให้ปัญญาญาณส่องถึง สาธุ
ไม่มีความเห็น
ถอดบทเรียนการปฏิบัติธรรม ๒๕๖๕
หลวงปู่หล้า เทศน์สอนว่า ..อยู่เหนือผู้รู้โดยไม่มีจุดหมาย..
จิต “คิด”ปรุงแต่ง
ใจ “รู้” สือ ๆ
ทั้งจิตคิดและใจรู้ ล้วนไม่มีเราตั้งแต่ต้น
เพียรใช้ใจเดินมรรคอย่างเต็มกำลัง
สังขารทั้งเข่ง ย่อมตกอยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
ตัณหา นำไปสู่ อุปทานขันธ์ ๕ การ “เห็น” ว่า ไม่มีเราแต่ต้น จะช่วยละตัณหา
การคิด ปิดบัง การเห็น ออกจากการคิด ไปสู่ การรู้เห็นพระไตรลักษณ์ เห็นว่า ไม่มีเราตั้งแต่ต้น
แผนที่ GPS สำคัญมาก คือ เห็นว่า ไม่มีเราตั้งแต่ต้น ออกจากการคิดสู่การรู้ ให้เห็นเรา เห็นจิตคิด
ไม่มีความเห็น
เวทนา + ตัณหา = เรา
เวทนา (สุข ทุกข์ ไม่สุขไม่ทุกข์) อยู่ภายใต้กฏพระไตรลักษณ์ (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา)
ตัณหา (ความอยาก) โลภอยากได้สุขเวทนา โกรธผลักใสทุกขเวทนา
เวทนา เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา เป็นไปตามเหตุปัจจัย “เรา” ไม่มีแต่ต้น
ไม่มีความเห็น
สังขาร ล้วนเกิดขึ้นเอง แล้วก็ดับเองแน่นอน เป็นไปตามเหตุปัจจัย เขาเป็นของเขาอยู่อย่างนั้น
เห็นพระไตรลักษณ์ของขันธ์ ๕ เขาเป็นไอ้บาร์ เกิดตามเหตุปัจจัยและดับไปตามเหตุปัจจัย โดยไม่มีเรา
เห็นอนัตตา ของ ผู้รู้ เขามีหน้าที่รู้ เขาเป็นใบ้ แต่เขาไม่ใช่ “เรา”
จิต ไม่ใช่ เรา เขาเป็นไปตามเหตุปัจจัย
ไม่มี “เรา” ตั้งแต่ต้น
ขันธ์ ๕ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา (ไม่ใช่เรา)
ผู้รู้ เป็น อนัตตา (ไม่ใช่เรา)
ไม่มีความเห็น