salutogenesis ต้นธารแห่งความสุข (3)


SHA

 เราต้องฟังให้มาก

เวลาที่เราไปยืนอยู่หน้าคนไข้ หรือเวลาที่คนไข้หรือญาติก็ตามยืนอยู่หน้าเรา เขาร้องเพลงเหมือนกัน เป็นเพลงแห่งความทุกข์ เป็นเพลงแห่งความรู้สึก พวกเราได้ยินเขาไหม ถ้าเราได้ยินเขาจริงๆ เราต้องร้องเพลงไปกับเค้า ร้องให้จูนเสียงเท่ากัน ร้องให้สอดคล้องกัน เมื่อนั้นเราก็จะเต้นเป็นจังหวะเดียวไปกับเขา มิเช่นนั้นแล้วถ้าเราร้องคนละจังหวะคนละเพลงเราจะไม่เห็นว่าเขาอยากได้อะไร ถ้าพวกเรามีความแข็ง มีความคิดว่าเราทำเพื่อตัวเราเอง ทำอะไรก็ตามที่เราคิดว่าถูกต้อง บางทีเราอาจจะฟังเขาน้อยไปหน่อย

 

 

วิดีโอ...ความมหัศจรรย์ของการบรรเลง

เป็นการร่วมกันเล่นดนตรี โดยนักดนตรีประมาณ 18 ประเทศ บรรเลงเพลงเดียวกัน แต่ละคนก็จะมีทักษะในการใช้เครืองมือเครื่องไม้ไม่เหมือนกัน บางคนเล่นกลอง บางคนเล่นกีตาร์ เล่นอะไรต่างๆ เวลาที่นักดนตรีแต่ละคนเล่นดนตรีชิ้นของเขา ก็จะมีความไพเราะของเขาเองอยู่ แต่พอทั้งหมดมาเล่นรวมกัน มันเกิดความมหัศจรรย์ขึ้น มันจะเกิดเสียงดนตรีซึ่งไพเราะอย่างไม่ใช่แค่แต่ละชิ้นมาเล่นรวมกันเฉยๆ มันเสริมกันอย่างไม่น่าเชื่อ บางคนอยู่อิตาลี บางคนอยู่บราซิล อยู่อาเจนติน่า บางคนอยู่อินเดีย บางคนอยู่อเมริกา พวกเขาเล่นด้วยกันได้อย่างไร

หูฟังอุปกรณ์ที่ช่วยให้ทำงานสำเร็จ

พวกเราเห็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งไหม อุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่ทำให้เกิดเสียงมหัศจรรย์เหล่านี้ได้ เขามีหูฟัง เขาฟัง เพราะว่าการเล่นดนตรีเป็นวงไม่ได้เล่นตลอดพร้อมกันทุกชิ้น บางช่วง บางชิ้นเล่น บางชิ้นหยุด บางช่วง บางชิ้นดัง บางชิ้นเบา บางช่วง บางชิ้นนำ บางชิ้นตาม เราจะทำตามจังหวะต่างๆ ได้ถูกต้อง เราต้องฟัง ฟังเพื่อที่จะรู้จังหวะชีวิตของเราเอง การดูแลผู้คนก็เหมือนกัน พวกเราดูแลชีวิตคนไข้คนหนึ่ง เขาไม่ได้มีแต่เรื่องกายอย่างเดียว เขาอยากจะให้เราเยียวยารักษา เขาอยากจะทำ อยากจะเป็นอยากจะมีของอะไรบางอย่าง แต่ความเจ็บป่วยที่เขามีนี่เอง ทำให้เขาหยุดเป็น หยุดมี เขาอยากให้เราสานฝันเขาต่อไป

การทำงานตามจังหวะ ตามความต้องการของคนไข้โดยใช้ต้นทุนของเราที่เข้มแข็ง

ในการทำเรื่องพวกนี้ ไม่ได้ดูแลแค่ร่างกายแค่เพียงมิติเดียว พวกเราถึงต้องมีทักษะ ความชำนาญและ ความรู้ที่แตกต่างกัน เราต้องทำงานต้องทำงานเหมือนนักดนตรีวงนี้ เราต้องทำงานอย่างมีจังหวะจะโคน เราจะต้องทำงานตาม need ของคนไข้ ไม่ใช่ทำงานตาม job flow ของเรา need ของคนไข้คืออะไร เราจะรู้ได้มีวิธีเดียวคือเราต้องฟังเขาเท่านั้นเอง เราฟัง คนไข้ ญาติ เราฟังเพื่อนร่วมงานของเรา ฟังจังหวะชีวิตของเรา ฟังครอบครัวของเราเองด้วย เพราะนั่นคือต้นทุนของเรานั่นเอง ถ้าต้นทุนเราไม่ดีเราจะทำให้ต้นทุนคนอื่นดีจะเป็นไปไม่ได้ สิ่งต่างๆที่พวกเรามีนั่นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่มีเพื่อเหตุผล พวกเราต้องมีจิตที่ใหญ่ ใหญ่พอที่ว่าเมื่อเราไปยืนอยู่ข้างคนไข้พลังงานที่เหลือเฟือของเราจะไหลไปหาคนไข้ได้ เมื่อไหร่ก็ตามถ้าเราจิตตกเราอย่าไปหาคนไข้ เราควรจะต้องดูแลตนเองให้เรามีพลังงานเยอะ เราถึงจะดูแลคนอื่นได้อย่างดี

            

 

แรงบันดาลใจที่เกิดจากการหล่อเลี้ยง

สาเหตุที่คุณสมศักดิ์สามารถในสิ่งที่เขาทำได้ มาจากเราไหม มาจากเราทำหรือเปล่า? หรือว่าคุณสมศักดิ์มีต้นทุนอะไรบางอย่างที่เขามี บางครั้งบางคราวในการทำงานหน้าที่เป็นแพทย์ เป็นพยาบาลเป็นการเยียวยาคนอื่น เราไม่เป็นเพียงแต่ผู้ให้ แต่บ่อยครั้งที่เราได้รับ แต่มันขึ้นอยู่กับว่าเรามองเห็นหรือไม่ สิ่งที่คุณสมศักดิ์ทำได้ แกพูดออกมาตอนสุดท้าย ว่า “แกมีคนที่รักแก” แกคงจะทำเรื่องนี้คนเดียวไม่ได้ หลายๆคนที่เราเห็นคนพิการใน you tube ที่เล่นดนตรี ที่มีความสามารถเป็นแรงบันดาลใจให้คนจำนวนมาก เขาไม่ได้ทำคนเดียว แต่เขามีคนที่ช่วยหล่อเลี้ยงเขา มีคนที่ไม่ทอดทิ้งเขา มีคนที่ยังเห็นว่าเขายังทำอะไรได้อีกเยอะ

เราคือผู้เปิดพื้นที่แห่งศักยภาพ

เมื่อสักครู่นี้กรรมการท่านหนึ่งบอกว่า “เธอรู้สึกว่าคุณสมศักดิ์รักในสิ่งที่เขาทำ คือเล่นกีตาร์ มากกว่าบางอย่างสิ่งที่เธอคิดว่าเคยให้ความหมายกับงานของเขาเสียอีก” นั่นอาจจะเป็นคำตอบของพวกเราในที่นี้คือว่า เราเยียวยาคนไข้สิ่งที่เขาหายเขาไม่ได้เกิดขึ้นจากเราทำเพียงคนเดียว แต่พวกเราได้เปิดพื้นที่ให้เขาได้ใช้ทุกอย่างที่เขามีแล้วหรือไม่? เราได้เปิดพื้นที่ เปิดจิต เปิดสมองของเราในการได้รับรู้ว่า จริงๆ แล้วคนไข้ของเรา สังคมของเรามีอะไรที่จะมอบให้กันอีกจำนวนมากหรือไม่ และการมอบให้กันและกันนั่นเองจะเป็นต้นทุน นักเรียนแพทย์เมื่อเห็นภาพต่างๆเหล่านี้ สิ่งที่เขาพูดแล้วทำให้ผมรู้สึกภูมิใจ ว่า “อาจารย์ขา คนไข้ทำอย่างนี้ได้ หนูยังไม่รู้เลยว่า หนูได้ทำอะไรลงไปบ้างที่ทำให้หนูได้มีอย่างที่เขามี”

สาเหตุที่คนไข้มีคนรักเขา สาเหตุที่คนไข้แต่ละคน คนพิการแต่ละคน คนพิการได้มี ได้ทำและมีคนที่รักเขา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันเกิดมาจากการที่ใช้ชีวิตบางอย่างของเขา คนถึงจะรักเขาแบบนี้ ในการดูแลระยะสุดท้าย ที่บางคนมีญาติพี่น้อง มีเพื่อนฝูงมาเยี่ยมมาดูมากมาย ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ เป็นเพราะเหตุว่าเขาใช้ชีวิฃของเขาแบบหนึ่งเขาถึงมีคนมาหล่อเลี้ยง มาดูแล มารักเขา

บทส่งท้าย

พวกเราทำหน้าที่เยียวยาผู้คน พวกเราได้ใช้ชีวิตแบบไหน พวกเราได้มีต้นทุน ได้มีอะไรต่างๆ อย่างที่คนไข้บางคนกล้าหาญและแสดงออกให้เราเห็นนับครั้งไม่ถ้วนแล้วหรือไม่

พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง

โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี

นรชาติวางวาย   มลายสิ้นทั้งอินทรีย์

สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา...

 

             ขอสวัสดีจงมีแด่กัลยาณมิตรทุกท่าน 

หมายเลขบันทึก: 435875เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2011 23:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ.พอลล่า

เราคือผู้เปิดพื้นที่แห่งศักยภาพ  ใช่เลยค่ะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท