(ถอดบทเรียน) ความแตกต่างที่ไม่แตกต่าง : การเรียนรู้ประสบการณ์วัฒนธรรมผ่านปัจเจก



เปิดเรื่อง

‘พวกเค้าต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัวแบบนี้ทุกเช้าก่อนไปเรียนหนังสือ’ เด็กน้อยในชุดนักเรียนนั่งเคียงข้างเสียงทุ้มนุ่มเสียงนั้นอยู่บนรถที่กำลังขับผ่านตลาดสดแห่งหนึ่งกลางเมืองหลวง เธอเอียงคอฟังแต่สายตามองผ่านทะลุกระจกรถออกไป เมื่อเห็นภาพเด็กน้อยในวัยเดียวกันสวมชุดนักเรียนกำลังออกแรงเข็นรถเข็นที่บรรทุกผักสดเต็มตระกร้าใบใหญ่ผ่านไป ..

‘พี่ต้องเดินจากบ้านไปโรงเรียน ๗ กิโลทุกวัน โตขึ้นมีจักรยานขี่แต่ถ้าฝนตกเมื่อไหร่ ก็ต้องทิ้งจักรยานไว้ข้างทางเพื่อเดินไปโรงเรียน เพราะถนนเป็นโคลนขี่ไม่ได้ กลับจากโรงเรียนก็จะต้องรีบเปลี่ยนเสื้อผ้าที่มีอยู่ไม่กี่ชุด แล้วเอาควายออกไปเลี้ยงที่ทุ่งนา เพื่อนเล่นของพี่ก็คือ อีเผือก คู่ใจตัวนี้’ ฉันทำตาโตและนึกจินตนาการถึงทุ่งนากว้างๆ สีทองของรวงข้าว ชีวิตหนุ่มลูกทุ่งชนบทขี่ควายฟังวิทยุทรานซิสเตอร์ ..

 


- coming soon -

 

 

 

-----------------------------------------------
 บันทึกที่เกี่ยวข้อง : 
ตอนที่ ๑ : มนต์เสน่ห์หนองบัว
ตอนที่ ๒ : ผืนดินชีวิต บ้านต้นเรื่อง 'ดังลมหายใจ'
ตอนที่ ๓ : แม่ ครอบครัว ชีวิต : ลมหายใจ

 

หมายเลขบันทึก: 435210เขียนเมื่อ 12 เมษายน 2011 23:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่เพิ่งกลับจากการเดินทางกว่า 1000 กิโลเมตร

หนทางไม่ลำบากมากค่ะ แต่ทางข้างหน้า

ต้องใช้ทั้งแรงใจแรงกายต่อสู้อีกพักใหญ่

ขอบคุณการถอดบทเรียนที่มีมุมมองละเอียดอ่อน

ทำให้เกิดมุมคิด และมองออกไปอีกด้านหนึ่งของสังคมไทย

อีกทั้งรู้สึกโหยหาสิ่งที่หายไปจากสังคมไทย

เราจะเรียกร้องอย่างไรให้มันกลับคืนมา..คงยากแล้ว

แต่นี่แหละสังคมที่มีความรักและเอื้ออาทรต่อสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกใบนี้

สังคมที่ช่วยเบาเทาอาการเจ็บป่วยของมนุษย์ที่กำลังก้าวเดินไปอย่างหลงผิด

เรามีความ มีท้องนา มีไร่นาผักสวน เป็นเครื่องทอสายใยครอบครัว

ให้ร้อยเรียงถักเป็นผ้าผืนใหญ่ ช่วยให้มีร่มเงาแห่งจิตใจ

และก่อให้เกิดวิถีชาวบ้าน วิถีชนบทที่มี วิถีพุทธะและสร้างสรรค์ค่ะ

ขอบคุณนัยที่ฝากมาขอบคุณค่ะ

  • ขอบคุณคุณnamsha และคุณครูkrutoiting สำหรับดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ ..

สวัสดีค่ะ คุณครูต้อยติ่ง

  • แนวการถอดบทเรียนเป็นแนว มนุษยนิยม มีความเป็นชีวิต จิตใจ ของมนุษย์ที่กำลังสะท้อนออกสู่สังคม ที่ใช้ความเป็นมนุษย์ที่มีการเปรียบเทียบของชนชั้นสังคมในแต่ละยุคแต่ละสมัย ..
  • กำลังศึกษา (ยังถอดไม่เสร็จ) และทดลองแนวไปหลายๆ แนวค่ะ สำหรับแนวนี้เพื่อเป็นการถอดบทเรียน ดังลมหายใจ ร่วมลองไปกับพี่ใหญ่ คุณแสงฯ พี่ครูอ้อยเล็ก พี่ณัฐรดา และคุณครูต้อยติ่ง ด้วยคนค่ะ แต่ก็หวังว่าจะไม่ออกมาเป็นวิถี วิรัตน์นิยม มากเกินไปหล่ะค่ะ ^^"
  • สำหรับคุณครูต้อยติ่งเดินทางไกลเชียวค่ะ คงได้ชาร์ตแบตเต็มที่ อย่างไรเสียก็พักผ่อนเยอะๆ นะคะ เพื่อต้อนรับวันทำงานหลังจากหยุดยาวเสียหลายวัน =)

ขอบคุณค่ะ..เป็นวิธีนำเสนอที่น่าสนใจ..น่าติดตามมากๆค่ะ..

 

  • ขอบพระคุณพี่ใหญ่เช่นกันค่ะ ยังถอดบทเรียนไม่เสร็จเลย ประเดี๋ยวจะมาถอดต่อนะคะ ^^"
  • ขอบพระคุณอาจารย์ ดร.จันทวรรณ และคุณแสงแห่งความดี สำหรับดอกไม้ให้กำลังใจค่ะ (เป็นกำลังใจเพื่อจะได้ถอดบทเรียนเสร็จซะที .. ใช่ไหมคะ) ^^"
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท