ตามที่ได้รับมอบหมายให้ถอดบทเรียน ชิมSHA การบริการอยู่บนมาตรฐานความปลอดภัย ส่งการบ้านไปแล้ว 1 บันทึก สัญญาว่าจะเขียนอีกบันทึกก่อนเที่ยงคืนวัน 12 เมษายน บันทึกเสร็จพร้อมส่ง
· SHA" ใน ความหมายโดยรวมคือความปรารถนา ความท้าท้าย หรือความฝันที่จะได้เห็นโรงพยาบาลหรือองค์กรสุขภาพผ่านการรับรองกระบวนการ คุณภาพโรงพยาบาล มีความปลอดภัย และใช้มาตรฐานคุณภาพในการดูแลรักษาผู้ป่วย ผสมผสานมิติด้านจิตใจการทำงานร่วมกับชุมชน สังคม เกิดการปรับเปลี่ยนไปสู่ระบบการดูแลผู้ป่วยที่มีความประณีต งดงาม อยู่บนพื้นฐานของความรัก ความเอื้ออาทร เป็นแบบอย่างที่ดีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และเพื่อการเยียวยาได้
บันทึกนี้จะพูดถึงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วยในหัวข้อ Patient Safety Goals :SIMPLE
SHA กับโรงพยาบาลในฝัน คือโรงพยาบาลที่สามารถรักษาคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ (Standard) รักษาคุณธรรมจริยธรรม ด้วยจิตวิญญาณ (Spirituality) ซึ่งเน้นเป้าหมายสำคัญคือความปลอดภัยของผู้ป่วย (Safety) ภายใต้การบริหารจัดการตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(Sufficient Economy) โดยการธำรงระดับคุณภาพไว้อย่างต่อเนื่องยั่งยืน (Sustainable)
S=Safe Surgery จะประกอบด้วย S1 = SSI Prevention
S2=Safe Anesthesia
S3 =Safe Surgical Team
S3.1 =Correct Procedure at Conect Body Site (WHO PSS#4)
S3.2 = Surgical Safety Checklist (WHO)
ความปลอดภัยของผู้ป่วยที่จะต้องได้รับการผ่าตัด ทีมจะต้องใส่ใจและตรวจสอบให้ได้ตามมาตรฐานวิชาชีพ ตามข้อกำหนดมาตรฐาน ของ CDC Recommendation gor Prevension of SSI ซึ่งมีหลักฐานสนับสนุน
การปฏิบัติจต้องเตรียมความพร้อมทั้งด้านร่างกาย จิตใจของผู้ป่วยก่อนผ่าตัด เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม ลดความเสี่ยงจากการผ่าตัดและการติดเชื้อ ทั้งในกรณีผ่าตัดฉุกเฉิน การผ่าตัดที่มีกำหนดนัดล่วงหน้า มีกระบวนการที่เหมาะสมในการป้องกันการผ่าตัดผิดคน ผิดข้าง ผิดตำแหน่ง
จากเรื่องเล่าของหมอชัช รพ.อุดรราชธานี ที่แม่ต้อยเล่าเรื่องราวไว้หลังจากที่ได้คุยกับหมอชัช
“ เรื่องของหมอชัช”
คุณ หมอชัช เป็นหมอที่ประจำอยู่แผนกศัลยกรรมที่รพ.ศรีนครินทร์ มีชีวิตและการทำงานไม่แตกต่างจากหมอโรงพยาบาลใหญ่ๆโดยทั่วไปนั่นก็คือ ให้การรักษาผู้ป่วยในเขตและรักษาผู้ป่วยที่ส่งต่อจากรพ.ใกล้เคียง
วันหนึ่งมีคนไข้ที่ ได้รับอุบัติเหตุจากเครื่องปรับอากาศระเบิด มีแผลฉีกขาดบริเวณเหนือเข่า บาดแผลลึกมาก คนไข้คนนี้ถูกส่งต่อมาจากรพ.ใกล้เคียงเพื่อรับการรักษาที่ดีที่สุด และคุณหมอชัชได้เป็นเจ้าของคนไข้รายนี้
ทีมแพทย์ได้ร่วมกันวินิจฉัยและลงความเห็นว่าการรักษาที่ดีที่สุดในตอนนั้นคือควรต้องตัดขาทั้งสองข้างเพื่อใส่ขาเทียม เนื่องจากบาดแผลลึกมากเสี่ยงต่อการติดเชื้อและการหายของแผล
คนไข้ไม่อยากตัดขา คุณหมอชัชให้การรักษาดูแลแผลอย่างดี จนคนไข้หาย และได้กลับมาพบหมอชัชพร้อมลุกชายที่น่ารัก http://gotoknow.org/blog/shaduangsa/397506
ตัวอักษร ที2 ของSimple คือ I
I=infection control (Clean Care) WHO Collaoreating Center for Patient Safety Solutions ได้จัดแนวทางเรื่อง Improved Hand Hygiene to Prevent Health Care-Associated Infections ขึ้น ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือ
http:www.jcipatientsafey.or/fpdf/presskit/PS-Solution9.pdf.
1.Hand Hygiene /Clean Hand การทำความสะอาดมือ
2.Prevention of Healthcare Associated Infection
3.CAUTI Prevention
4.VAP Prevention
5.Central line infection Prevention
เรื่อง Infection Control เป็นเรื่องที่จะต้องได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในโรงพยาบาล ทุกคนมีส่วนร่วมปละต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งสร้างความตระหนักให้ทีมที่ดูแลผู้ป่วย บุคลากร ญาติ ได้เห็นความสำคัญปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด มีการกำกับติดตาม ประเมินผลเป็นระยะ ๆ
การสนับสนุนจากโรงพยาบาลเป็นนโยบาย จัดหาอุปกรณ์สนับสนุน จัดการเรื่องห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อ ห้องแยกโรคระบบทางเดินหายใจ
ยกตัวอย่างเรื่องการทำความสะอาดมือ ล้างมือก่อนและหลังการดูแลผู้ป่วย