ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในหัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทที่ใช้เวลานาน


dose in long procedure intervention

ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในหัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทชนิดหัตถการที่ใช้เวลานาน : การเปรียบเทียบสถานการณ์ตัดขวาง

Dose to patient in long procedure of neurointervention radiology
 : comparative of cross sectional situation

 

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์      วท.บ.รังสีเทคนิค
วาทิต คุ้มฉายา                 วท.บ.รังสีเทคนิค
ปฏิยุทธ ศรีวิลาศ               วท.บ.รังสีเทคนิค

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

วิชุดา สิริเมธาธโนปกรณ์, วาทิต คุ้มฉายา,ปฏิยุทธ ศรีวิลาศ  .ภาพปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในหัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทชนิดหัตถการที่ใช้เวลานาน : การเปรียบเทียบสถานการณ์ตัดขวาง. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2553 ; 4(2) : 80-87


 

การตระหนักถึงปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโรคทางหลอดเลือดระบบประสาทเป็นหัตถการทางรังสีร่วมรักษาที่ใช้เวลาในการตรวจนานเป็นประเด็นทีได้รับความสนใจจากบุคลากรทางการแพทย์ทุกฝ่าย แนวปฏิบัติต่างๆ จึงถูกนำใช้ และจำเป็นต้องประเมินผล เพื่อพิจารณารูปแบบการพัฒนากระบวนการ ให้บริการทางรังสีร่วมรักษา อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องตกลงร่วมกัน (assumption) ในการกำหนดนิยาม (definition) เพื่อการวัดเปรียบเทียบจะต้องตรงกัน และการทำการศึกษาเปรียบเทียบสถานการณ์ตัดขวาง (cross sectional comparative study) จะต้องทำการเปรียบเทียบเป็นระยะ นั่นคือประมาณทุก 2-3 ปี เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพของเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดที่มีภาวะเสื่อมตามเวลา การปรับปรุงกระบวนการบริการ ชนิดของหัตถการที่มีการเพิ่มขึ้น รวมไปถึงทักษะของแพทย์ผู้ทำหัตถการที่เพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะมีผลต่อปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับมีการเปลี่ยนแปลง อาจเพิ่มขึ้นหรือน้อยลงได้ คณะผู้วิจัยได้ทำการศึกษาโดยกำหนดนิยามดังนี้

  1. Long Procedure INR ได้แก่หัตถการทางรังสีร่วมรักษาที่ใช้เวลาระหว่างหัตถการเกินกว่า 2 ชม.
  2. เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือดโดยทั่วไปจะมีอุปกรณ์กรองรังสีภายใน (inherent filtration device) ได้แก่ 0.1 mm.Cu + 1.0 mm.Al สำหรับ selected exposure prefilter และ 0.4 mm.Cu + 1.0 mm.Al สำหรับ selected fluoro prefilter และประมาณการปริมาณรังสีรั่วไหล (Isokerma map) จากแห่งกำเนิดไม่เกิน 0.87 mGy/hr ที่ระยะ 1 เมตรในทุกทิศทาง

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโรคทางหลอดเลือดระบบประสาทเป็นหัตถการทางรังสีร่วมรักษาที่ใช้เวลาในการตรวจนาน

กระบวนวิธีวิจัย :  ศึกษาเปรียบเทียบแบบตัดขวางปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากหัตถการทางรังสีร่วมรักษาระบบประสาทที่ใช้เวลานาน ซึ่งเกิดขึ้นจาก เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด ยี่ห้อ Philips รุ่น Xper2010 โดยรวบรวมข้อมูลปัจจุบันระหว่าง ก.ค.-ส.ค.2553 และเปรียบเทียบผ่านการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยและและการวิเคราะห์แนวโน้มกับฐานข้อมูลปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในปี 2550

 

ผลลัพธ์ : การศึกษานี้พบว่าในปัจจุบันหัตถการ INR of dural AVF ใช้เวลา fluoroscopic time : FT นานที่สุดเฉลี่ย 74.67 นาที  โดย FT ต่ำสุดมีค่าเท่ากับ 24.32 นาทีสำหรับหัตถการ INR of CCF   , INR of brain AVM มี FT นานที่สุด 158.07 นาที หัตถการที่ผู้ป่วยได้รับรังสีเฉลี่ยสูงสุดได้แก่หัตถการ INR of dural AVF โดยผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ย 4544.41 mGy และ INR of Stroke เป็น new procedure ที่มีแนวโน้มผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูง (max dose AP=5233.89mGy, Max dose Lat=1873.29mGy)

 

ตารางที่ 1 ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจำแนกตามหัตถการ ปี 2553

ประเภทหัตถการ

จำนวนผู้ป่วย

สถิต

series

images

Rad dose AP (mGy)

Rad dose Lat (mGy)

Rad dose Total

Fluoro time

INR of

10

mean

25.10

1080.50

1487.29

539.85

2027.14

36.86

 Aneursym

 

SD

11.61

380.21

949.35

425.90

1343.85

23.90

 

 

max

50.00

1912.00

3793.26

1317.45

5110.71

90.57

INR of AVM

10

mean

27.10

772.50

1262.09

752.33

2014.42

48.98

 

 

SD

9.35

328.40

767.39

349.94

942.33

48.65

 

 

max

40.00

1391.00

2753.71

1391.06

3949.29

158.07

IRN of CCF

11

mean

18.91

539.73

939.01

361.24

1300.25

24.32

 

 

SD

7.44

228.28

356.68

206.68

540.58

13.91

 

 

max

30.00

930.00

1680.70

673.05

2353.75

58.38

INR of

2

mean

35.50

1236.00

3323.98

1220.43

4544.41

74.67

 dural AVF

 

SD

2.12

83.44

65.36

361.26

295.90

12.25

 

 

max

37.00

1295.00

3370.19

1475.88

4753.64

83.33

INR of

4

mean

28.25

893.75

1966.51

766.30

2732.81

38.09

 Stroke

 

SD

21.75

480.42

2223.43

785.28

3002.43

33.33

 

 

max

53.00

1232.00

5233.89

1873.29

7107.18

82.56

 

ตารางที่ 2 ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจำแนกตามหัตถการ ปี 2550

หัตถการ

จำนวนผู้ป่วย

สถิต

no.

series AP

no.

images AP

no.

series Lat

no.

images Lat

Rad dose AP (mGy)

Rad dose Lat (mGy)

Rad dose Total

Fluoro time

INR for CCF

5

mean

13

270

11.4

163.4

803.24

411.28

1214.52

23.04

sd

6.48

176.35

8.38

127.02

580.26

373.85

954.06

16.74

max

23

536

23

350

1747.74

1022.71

2769.88

50.07

INR for Aneu

rysm

3

mean

16.67

557

13.33

194

1559.62

1785.34

3344.96

50.35

sd

6.35

189.86

5.86

75.35

1259.23

1557.04

2799.73

16.05

max

24

765

20

281

3009.97

3563.97

6573.97

68.53

INR for brain

AVM

6

mean

22.33

300

26.33

368

1281.82

898.83

2180.65

35.81

sd

4.92

72.02

3.86

52.43

334.64

81.27

319.21

15.08

max

31

388

34

473

1896.6

939.19

2835.79

66.34

INR for dural

AVM

4

mean

24

603.5

16.25

294.75

1833.7

826.36

2660.06

40.93

sd

5.48

458.29

10.97

202.85

694.2

597.65

1221.67

28.86

max

32

1281

24

457

2426.22

1613.42

3977.42

83.03

otehr INR

10

mean

11.11

180

8.67

150.44

510.1

495.8

1005.8

16.71

sd

7.88

113.03

7.04

144.31

275.06

475.55

739.41

9.97

max

29

416

20

417

937.5

1237.03

2174.53

35.08

จากการเปรียบเทียบตัดขวาง พบว่าในปี 2553 หัตถการ INR of dural AVF ใช้เวลา fluoroscopic time : FT นานที่สุดเฉลี่ย 74.67 นาที  โดยที่ในปี 2550 แสดงว่า FT สูงสุดเกิดขึ้นในหัตถการ INR of dural AVF เช่นกัน โดยมีเวลา FT ที่ใกล้เคียง ( 83.03 นาที)  โดย FT ต่ำสุดในปี 2553 มีค่าเท่ากับ 24.32 นาทีสำหรับหัตถการ INR of CCF   โดยที่ในปี 2550 แสดงว่า FT ในหัตถการ INR of CCF มีค่าใกล้เคียงกัน (23. 04 นาที) อย่างไรก็ตามในปี 2553 นี้ INR of brain AVM มี FT นานที่สุด 158.07 นาที

สำหรับปริมาณรังสีในปี 2553 หัตถการที่ผู้ป่วยได้รับรังสีเฉลี่ยสูงสุดได้แก่หัตถการ INR of dural AVF โดยผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเฉลี่ย 4544.41 mGy   โดยในปี 2550 แสดงว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยสูงสุดในหัตถการ INR for Aneusrym โดยมีค่า 3344.96 mGy สำหรับสถานการณ์ตัดขวางที่สำคัญในปี 2553 คือการเกิดหัตถการใหม่ คือ INR of Stroke  ที่มีแนวโน้มผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูง (max dose AP=5233.89mGy, Max dose Lat=1873.29mGy, Max dose total=7107.18 mGy) ซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณากระบวนการในการให้การรักษาทั้งแบบ IA thrombolyisis, Endovascular angioplasty and stenting และ Endovascular Thrombectomy ซึ่งจะมีระยะเวลาและวิธีการที่แตกต่างกัน

จากภาพที่ 1 พบว่าเมื่อเปรียบเทียบหัตถการทางรังสีหลอดเลือดระบบประสาทในปี 2553 ปริมาณรังสีสูงสุดที่ผู้ป่วยได้รับในแนว AP, Lateral และโดยรวม เกิดจากหัตถการ INR of dural AVF เนื่องจากในหัตถการนี้จะทำการอุดหลอดเลือดที่มีการรั่วผิดปกติ ซึ่งโดยทั่วไปจะมีจุดรั่วหลายจุดจากหลอดเลือดหลายเส้น และวัสดุในการอุดหลอดเลือดมักจะเป็น fibered coil ซึ่งต้องใช้การอุดที่ให้ขดลวดอุดกันอย่างแน่นหนา เพื่อไม่ให้มีช่องว่างซึ่งเลือดจะไหลผ่านได้ จึงจะเป็นการรักษาผู้ป่วยได้ ทำให้ต้องถ่ายภาพทางรังสีเป็นระยะเพื่อประเมินผลของการอุดขดลวดจนกว่าจะได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ ในขณะที่ INR of  CCF มีระดับปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเฉลี่ยต่ำกว่าหัตถการอื่นๆ ในทุกด้าน สำหรับ INR of Stroke มีระดับปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเฉลี่ยสูงเป็นอันดับ 2 ทั้งๆ ที่เป็นหัตถการชนิดใหม่ อย่างไรก็ตามหากพิจารณาเฉพาะปริมาณรังสีที่ได้จาก lateral tube จะพบว่ามีปริมาณที่ต่ำใกล้เคียงกัน เนื่องจากส่วนใหญ่ในการทำการรักษาผู้ป่วย มักจะใช้ AP view เป็นหลัก ซึ่งทำให้มีปริมาณรังสีที่แตกต่างกันตามจำนวนการถ่ายภาพและการฟลูโอโรสโคปี สำหรับ lateral view มีปริมาณรังสีใกล้เคียงกันที่น้อยกว่า 1000 mGy

จากภาพที่ 2 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองโป่งพองนั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลง ต่างจากปี 2550 อย่างมาก เนื่องจากเทคนิคและกระบวนการในหัตถการเปลี่ยนไป อย่างไรก็ตามปริมาณรังสีที่ได้จาก AP view มีปริมาณคงเดิม

จากภาพที่ 3 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองผิดปกตินั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีลดลง ต่างจากปี 2550 ไม่มากนัก เนื่องจากเทคนิคและกระบวนการในหัตถการค่อนข้างคงที่ (stable stage)

จากภาพที่ 4 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดที่ฐานสมองรั่วผิดปกตินั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีไม่แตกต่างจากปี 2550  เนื่องจากเทคนิคและกระบวนการในหัตถการค่อนข้างคงที่  (stable stage)

จากภาพที่ 5 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองรั่วปกตินั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงขึ้นกว่าข้อมูลจากปี 2550  เนื่องจากเป้าหมายเชิงการรักษาที่ต้องการรักษาในรอยโรคหมดไป ซึ่งกลุ่มตัวอย่างอาจมีความยากในหัตถการสูง

จากภาพที่ 6 พบว่าหัตถการการรักษาโรคหลอดเลือดสมองอุดตันนั้นผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงมาก ซึ่งไม่มีข้อมูลจากปี 2550 แต่เมื่อเทียบว่าเป็นหัตถการใหม่ซึ่งต้องใช้ข้อมูลเปรียบเทียบ จึงไดนำข้อมูลหัตถการอื่นๆจากปี 2550 ซึ่งเริ่มมีการทำหัตถการ INR of stroke บ้าง มาเปรียบเทียบนั้น จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันในค่าเฉลี่ย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป้าหมายเชิงการรักษาที่ต้องการรักษาในรอยโรคหมดไป ซึ่งหัตถการกลุ่มนี้มีความยากในหัตถการสูง

 

การวิจารณ์ : โดยทั่วไปหัตถการที่ใช้เวลาในการตรวจนานยังคงเป็น INR of dural AVF ทำให้มี Fluoroscopic time นานที่สุด แต่ INR of aneurysm ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเฉลี่ยลดลงเป็น 2027 mGy เนื่องจากมีการใช้ระบบ 3D Rotational Angiography เพื่อสร้างภาพ 3 มิติของหลอดเลือด สามารถเลือกดูภาพหลอดเลือดในมุมมองต่างๆ และเห็นตำแหน่งรอยโรคได้ รวมไปถึงการประมวลผลค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ทำให้เสียเวลาในการวางแผนการรักษาระหว่างหัตถการลดลง และ smartmask ซึ่งเป็นระบบที่มาเสริมเติมต่อระบบ roadmap ทำให้ได้ภาพที่ชัดเจนในการทำหัตถการระหว่างการ superselection กระบวนการทางเทคนิคที่เพิ่มขึ้นที่นำมาใช้ในการทำหัตถการนี้ทำให้หัตถการมีการถ่ายภาพทางรังสีลดลง และลดเวลาในการฟลูโอโรสโคปีลง  ขณะที่ INR of dural AVF ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้นจาก 2660 mGy มาเป็น 4544.41 ซึ่งผู้ป่วยเสี่ยงต่อภาวะผมร่วงได้ ขณะที่การเปรียบเทียบกันของหัตถการ INR of Stroke เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการศึกษาตัดขวางในครั้งถัดไป เพื่อเป็นค่าปริมาณรังสีมาตรฐานแก่ผู้ป่วยได้ และสร้างความระมัดระวังแก่แพทย์และผู้ปฏิบัติงานในด้านการป้องกันอันตรายจากรังสีแก่ผู้ป่วยให้สูงขึ้น

 

บรรณานุกรม

  1. Allura Xper EP-Workmate integration for Allura Xper FD20/10. Phillips Manual, 2006
  2. Cardella J., Faulkner K. ,Hopewell J. International Commission on Radiological Protection : Information abstracted from ICRP Publication 85. slide presentation, http://www.icrp.org
  3. Huyskens J. C. International framework of radiological protection. Technische universiteit eindhoven.,1997
  4. von Boetticher H. and Hoffmann W. A model and reference data for retrospective dose assessment of organ dose (red bone marrow, lymphatic system) in diagnostic radiology and nuclear medicine, 1946-1995. Health Physics, 2007 ;92(4) : 315-330
  5. radiation and your patient: a guide for medical practitioners. http://www.icrp.org
  6. คง บุญค้ม, จุฑา ศรีเอี่ยม, ธันยาภรณ์ สุวรรณสุทธิ์ และคณะ. ปริมาณรังสีที่ได้รับจากการตรวจรักษาทางรังสีวิทยาหลอดเลือดระบบประสาท. วารสารชมรมรังสีเทคนิคและพยาบาลเฉพาะทางรังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษาไทย, 2550; 1 (2) : 38-45
  7. พิไลพร ฉัตราธิกุล, อรรถโกวิท สงวนสัตย์, ประพัฒน์ ลาภเจริญกิจและสถาพร กล่อมแก้ว. ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากวิธีรังสีร่วมรักษาทางระบบประสาท. วารสารรังสีเทคนิค, 2542; 24 (1-3) : 13-22
คำสำคัญ (Tags): #dose#intervention
หมายเลขบันทึก: 434914เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 10:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท