นิเทศนักศึกษาพยาบาล:หลักในการบริหารยากับคนไข้ ๒


เมื่อครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงหลัก ๗R ในการบริหารบาให้กับผู้ป่วย มาครั้งนี้จะกล่าวถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาและกระบวนการบริหารยา ดังนี้

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาของพยาบาลอันประกอบไปด้วย

๑.       นโยบายการบริหารยาของโรงพยาบาล

๒.      ระบบการเบิกจ่ายยาของแต่ละโรงพยาบาล

๓.      ภาระงานของแต่ละช่วงเวลาในการบริหารยา

๔.      จำนวนผู้ป่วยและจำนวนรายการยาที่ต้องบริหารยาให้กับผู้ป่วย

กระบวนการพยาบาลกับการบริหารยา

          กระบวนการพยาบาลจึงเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญที่ควรนำมาใช้เป้นแนวทางในการบริหารยา โดยขั้นตอนการประยุกต์กระบวนการพยาบาลเข้ากับหลัก ๗ ประการ (๗ Right Medication)

          กระบวนการพยาบาล(Nursing Process) ประกอบด้วย Assessment ,Diagnosis,Plan,Implementation,Evaluation

๑.      Assessment 

Right Patient จะต้องดูรายละเอียดดังนี้

-          ประวัติการเจ็บป่วย

-          ประวัติการแพ้ยา

-          Patient Identification อย่างน้อย ๓ ID ประกอบด้วย ชื่อ-นามสกุล ,HN,AN

๒.      Diagnosis

Right Reason จะต้องดูรายละเอียดดังนี้

-          ทราบและเข้าใจวัตถุประสงค์ในการบริหารยา

-          มีการทบทวนและประมวลข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการบริหารยาเช่น Vital sign,Labตลอดจนสภาวะอาการของผู้ป่วยก่อนการบริหารยา

๓.      Plan

Right Drug,Right Dose จะต้องดูรายละเอียดดังนี้

-           การเตรียมชนิดยา และขนาดถูกต้อง

-          การเตรียมยาที่คำนึงถึงหลักการปลอดเชื้อ

-          การตรวจสภาพยาที่พร้อมใช้ในการบริหารยา

-          การตรวจประเมินการเสื่อมสภาพของยา

-          การจัดเตรียมอุปกรณ์การให้ยาที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์และค่าใช้จ่ายที่เหมาะสม

๔.      Implementation

Right Method,Right time จะต้องดูรายละเอียดดังนี้

-           ทบทวนชนิดยา วิธีการให้ ขนาดยา ที่เตรียมให้ตรงกับ MAR ก่อนนำไปให้กับผู้ป่วย

-          นำยาไปให้กับผู้ป่วยตรงตามเวลาหรืออย่างน้อยก่อนและหลัง ๓๐ นาที

-          ตรวจสภาพความพร้อมของผู้ป่วยก่อนการบริหารยาเช่น Swallow reflex, NG position,potency IV line,lesion IV side

-          ทบทวน ๓ Patient indentificatioon ก่อนให้ยากับผู้ป่วย

-          อธิบายวัตถุประสงค์การให้ยาและอาการข้างเคียงของผู้ป่วยที่พึงระวังให้ผู้ป่วยทราบ

-          มีการดูแลอย่างต่อเนื่องจนแน่ใจว่าผู้ป่วยได้รับยาตรงตามแผนการรักษา

๕.      Evaluation

Right Documentation/report จะต้องดูรายละเอียดดังนี้

-           ตรวจติดตามประเมินผลผู้ป่วยภายหลังการบริหารยาตลอดจนมีการบันทึกข้อมูลในการบริหารยาเช่นผู้ป่วยปฏิเสธยา กรณีที่ยกเว้นหรืองดยามีการลงบันทึกและระบุเหตุผลการยกเว้นการให้ยาให้ชัดเจน

กรณีผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนหรืออาการไม่พึงประสงค์ตลอดจนความผิดพลาดจากการบริหารยา ต้องมีการบันทึกอย่างชัดเจนและรายงานแพทย์ ผู้เกี่ยวข้องรับทราบทันที

***ทั้งหมดนี้นักศึกษาต้องทราบทุกคน***

 

 

หมายเลขบันทึก: 434913เขียนเมื่อ 11 เมษายน 2011 10:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:43 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นการทบทวนการให้ยา ขอคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท