แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง


แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

วารัชต์ มัธยมบุรุษ1 

1 สาขาวิชาการท่องเที่ยว คณะวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 

 ตำบลแม่กา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา 56000 โทรศัพท์ : 054-466-666 ต่อ 1512 E-mail: [email protected]

 

 

บทคัดย่อ

                        แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีวัตถุประสงค์หลักเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในพื้นที่ของรอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยแบบวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การกระบวนการศึกษาเอกสารตำราวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ในเรื่องพฤติกรรมการท่องเที่ยว  รวมทั้งศึกษาสำรวจพื้นที่รอบเหมืองแม่เมาะเกี่ยวกับศักยภาพการท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า สถานที่ท่องเที่ยวของเหมืองแม่เมาะควรเพิ่มสิ่งที่อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยเฉพาะห้องน้ำ สถานที่พัก เส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาติโดยรอบบริเวณเหมืองแม่เมาะ และทุ่งดอกบัวตอง สำหรับข้อมูลที่เหมาะสมมีองค์ความรู้ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวกลายเป็นแหล่งเรียนรู้ ย่อมส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุนิยมมาศึกษาหาความรู้พร้อมกับการพักผ่อน และควรแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบองค์รวมสามารถใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้ได้หลายมิติมากกว่าตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง โดยเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และอาศัยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ที่ไม่ต้องไปทำลายธรรมชาติ (เส้นทางการท่องเที่ยว) พร้อมทั้งการให้ข้อมูลที่มีความหลากหลายมากกว่า และมีข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งเหมาะสมแก่นักท่องเที่ยวทุกประเภท

คำสำคัญ: เส้นทางการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

 

Abstract

                        Development of tourism route for aging tourists case study the Electricity Generating Authority of Lampang Province have main objective is development of tourism route for aging tourists. Research methodology is Qualitative research; documentary with textbook and research in relate tourism, In-depth interview with aging tourists about tourism behavior and study the area around the Mae Moh mine about the potential for tourism. The result are 1) tourism destination should be added to facilitate for aging tourists example toilet for aging tourists and natural route surrounds the study of the Mae Moh mine and Dok Bua Tong area. The information has appropriate knowledge to become normal tourism destination as a learning tourism destination. Would result in the popular aging tourist learn along with the rest. And guidelines for tourism development should be a holistic approach can take advantage of tourism to be more multi-dimensional response groups have a group of tourists. Emphasis on tourism for a living, learning and facilities for tourists. No need to destroy nature. (Tourist destinations) in all the information that is more differentiated. And insights. And appropriate to all types of travelers.

 Keywords: Tourism Route, Aging Tourist, maemoh mine, Lampang

 

1.บทนำ 

การท่องเที่ยวนับเป็นการพักผ่อนทั้งทางร่างกายและจิตใจในเวลาเดียวกัน แม็คอินทอธและ โกลด์เนอร์ [1] ได้ให้ความหมายว่าการท่องเที่ยวคือ การเดินทางเพื่อความเพลิดเพลินและพักผ่อนหย่อนใจ โดยเดินทางไปอยู่ที่อื่นชั่วคราว ด้วยความสมัครใจของนักท่องเที่ยวเอง รวมทั้งนักท่องเที่ยวไม่ประกอบอาชีพระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว

                การท่องเที่ยวในปัจจุบัน ถือเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของโลกและเป็นที่ยอมรับกันเกือบทุกประเทศว่า อุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่ทำรายได้หลักเข้าสู่ประเทศ ซึ่งอยู่ในอันดับ 1 - 3 จาก 10 อันดับแรก ในอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศนั้นๆ[2] องค์ประกอบของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวประกอบด้วยกิจกรรม ซึ่งสามารถแยกออกเป็น 4 ส่วนคือ 1) กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำเที่ยวโดยตรง ได้แก่ กิจกรรมการขนส่ง ที่พัก ภัตตาคาร บริการนำเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว  2) กิจกรรมเกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการท่องเที่ยว ได้แก่ กิจกรรมทางบันเทิง พักผ่อน สินค้าที่ระลึก  3) กิจกรรมบริการอื่น ๆ เช่น สถานีน้ำมัน ร้านขายของชำ กิจกรรมการรักษาพยาบาลและเสริมสร้างสุขภาพ เป็นต้น และ4) กิจกรรมการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยว และบุคลากรการท่องเที่ยว [2]

                ปัจจุบันการท่องเที่ยว ได้สร้างให้นักท่องเที่ยวเกิดการเรียนรู้ทางด้านการอนุรักษ์ การตระหนักถึงผลของการท่องเที่ยวต่อแหล่งท่องเที่ยว ชุมชนโดยรอบแหล่งท่องเที่ยว ทำให้เกิดการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนภายใต้แนวความคิดของการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (ecotourism) [1] และองค์การท่องเที่ยวโลก [3] ได้กำหนดรูปแบบการท่องเที่ยวไว้ 3 แบบเพื่อตอบสนองความต้องการท่องเที่ยว โดยมีรูปแบบในการท่องเที่ยว คือ 1) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ (natural based tourism) 2) รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งวัฒนธรรม (cultural based tourism) และ 3) รูปแบบการท่องเที่ยวในความสนใจพิเศษ (special interest tourism)

                ปัจจุบันประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ที่มีผลมาจากความเจริญด้านการแพทย์ ประกอบกับการที่มีอัตราการเกิดในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลทำให้อีกไม่เกิน 10 ปีจะมีผู้สูงอายุจำนวนเพิ่มขึ้น และกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุและต้องอาศัยอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นอาจต้องถูกโดดเดี่ยวจากสังคม [4] [5] ซึ่งส่งผลทำให้สภาพจิตใจของผู้สูงอายุเหล่านั้นเกิดสภาวะท้อแท้และสิ้นหวัง การท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุเหล่านั้นเกิดความสุข และความสบายใจ แต่จะทำอย่างไรที่จะให้ผู้สูงอายุเหล่านี้สามารถท่องเที่ยวได้อย่างสะดวก สบายเหมือนกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ๆ เนื่องจากสภาพทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุที่มีความเสื่อมตามระดับอายุที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งเมื่อพิจารณาความต้องการของนักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ จะพบว่าแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นจุดหมายปลายทางในการพักผ่อนเป็นสถานที่ ที่นักท่องเที่ยวเคยเดินทางท่องเที่ยวมาแล้ว และพร้อมที่จะเดินทางกลับมาท่องเที่ยวซ้ำในแหล่งท่องเที่ยวที่มีความประทับใจในแหล่งท่องเที่ยวในมิติต่างๆ เช่นสถานที่ มัคคุเทศก์ บรรยากาศ เป็นต้น [2]

                ในการท่องเที่ยวในยุคปัจจุบันได้มีแนวความคิดที่ปรับเปลี่ยนไปจากเดิม จากการท่องเที่ยวที่เน้นการพักผ่อน หาประสบการณ์ใหม่ มาเป็นการท่องเที่ยวที่เพื่อการเรียนรู้ (Education-Tourism) อันสืบเนื่องจากการที่สังคมโลกได้เปลี่ยนเป็นสังคมเพื่อการเรียนรู้ (Knowledge Society) หรือองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Leaning Organization) การท่องเที่ยวก็เช่นเดียวกัน ที่ต้องปรับเข้าสู่การท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ โดยที่นักท่องเที่ยวจะได้รับความเพลิดเพลินจากการท่องเที่ยว การพักผ่อนหย่อนใจ จะต้องได้รับความรู้จากแหล่งท่องเที่ยวที่มาจากการให้ความรู้ที่มาจากมัคคุเทศก์ที่มีชีวิต และไม่มีชีวิต รวมทั้งตัวแหล่งท่องเที่ยวเองที่ได้ให้นิยามองค์ความรู้จากตนเองในแต่ละช่วงของการท่องเที่ยว ยอมแสดงให้เห็นได้ว่าการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวที่แตกต่างของช่วงเวลาท่องเที่ยว ย่อมได้รับความรู้ที่แตกต่างกัน [5]

สำหรับพื้นที่ในภาคเหนือ โดยเฉพาะอำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปางซึ่งเป็นพื้นที่ทำเหมืองถ่านหิน เพื่อใช้การผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งในพื้นที่แม่เมาะยังมีพื้นที่ที่สามารถพัฒนาด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ ได้เนื่องจากพื้ที่โดยรอบเหมืองแม่เมาะได้มีพื้นที่ สถานที่ที่รองรับในการท่องเที่ยวในระดับหนึ่งเช่นมีสนามกอล์ฟที่ได้มาตราฐาน 18 หลุ่ม สถานที่พัก พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนท์ ทุ่งดอกบัวตอง อ่างเก็บน้ำ ที่ทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวแต่ขาดการพัฒนาการเชื่อมโยงเพื่อให้เกิดกระบวนการท่องเที่ยวทั้งระบบ รวมถึงการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน หน่วยงานต่างๆ ในการท่องเที่ยว รวมทั้งการสำรวจอย่างจริงจัง ประกอบกับชื่อเสียงของเหมืองแม่เมาะมีแต่ปัญหาในด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการมลภาวะ ซึ่งมีสาเหตุจาการได้รับข่าวสารไม่ชัดเจนครบถ้วน ไม่สามารถตอบสนองการรับรู้ของคนในสังคมได้เท่ากับว่าเมื่อพูดถึงแม่เมาะกับการท่องเที่ยว ย่อมจะเกิดภาพลักษ์ที่ไม่พึงปราถนาในการท่องเที่ยว กล่าวคือไม่ต้องการให้บุคคลทั่วไปมาท่องเที่ยว แต่ยังไรก็ตามพบว่ามีนักท่องเที่ยว เริ่มเข้าใจแม่เมาะมากขึ้น และได้มาท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวเพื่อกีฬา (Sport Tourism)เช่น การแข่งขันแม่เมาะฮาล์ฟมาราธอน หรือการแข่งจันจักรยาน เป็นต้น [6]

                นักวิจัยมีความเชื่อว่าหากพื้นที่เหมืองแม่เมาะได้มีการศึกษาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบย่อมจะทำให้เกิดการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุและสามารถพัฒนาเพื่อตอบสนองต่อนักท่องเที่ยวทุกกลุ่มอายุ ซึ่งการพัฒนาการท่องเที่ยวดังกล่าวจะทำให้ พื้นที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะและชุมชนโดยรอบ มีศักยภาพเหมาะสมต่อการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และสามารถพัฒนาต่อไปจนสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยวต้นแบบได้ อีกทั้งการศึกษานักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุเพียงกลุ่มเดียวย่อมสามารถพัฒนาให้การบริการกับนักท่องเที่ยวกลุ่มอายุอื่นได้เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้สูงอายุเป็นกลุ่มที่เน้นการบริการที่มากกว่ากลุ่มอื่น ต้องการบริการที่ดี สถานที่ท่องเที่ยวต้องสามารถตอบสนองความต้องเรียนรู้ รวมทั้งการอำนวยความสะดวกในด้านการเดินทาง ซึ่งมีเหตุผลด้านสุขภาพ โดยมีคำถามหลักในการศึกษาวิจัยในครั้งนี้ คือ แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จะต้องทำอย่างไร

 

2.วัตถุประสงค์

แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปางมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวโดยรอบเหมืองแม่เมาะ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในด้านการท่องเที่ยว และ3) แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 

 

3.แนวคิด  ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัยและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การศึกษาครั้งนี้ทางผู้วิจัยได้อาศัยแนวความคิดด้านการท่องเที่ยว ด้านการบริหารจัดการ ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ เข้ามาผสมผสานเพื่อนำมาหาแนวทางพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยศึกษาพื้นที่ในบริเวณโดยรอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

 

4.วิธีดำเนินงาน

                 แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ กรณีศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ได้ใช้การวิจัยเชิงสำรวจและการวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาครั้งนี้ โดยสามารถแบ่งออกเป็น

                4.1. การศึกษาด้านเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะตำราวิชาการ งานวิจัยของด้านการท่องเที่ยวด้านการบริหารจัดการ ด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวและการเรียนรู้ และทางผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อค้นหา1) แนวความคิดรวบยอดของการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุ 2) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้สูงอายุชาวไทยเกี่ยวพฤติกรรมการท่องเที่ยว

                4.2. การสำรวจพื้นที่ เพื่อศึกษาหาศักยภาพและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเหมืองแม่เมาะ เพื่อนำมาหาแนวทางวการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

                4.3 การสัมภาษณ์นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุทุกท่าน (จำนวน 8 คน) ที่เข้ามาท่องเที่ยวในบริเวณ เหมืองแม่เมาะ ระหว่างวันที่ 1  - 30 ตุลาคม 2553 โดยมีเงือนไขสำคัญคือ ต้องมีอายุมากกว่า 60 ปี และได้นอนพักในสถานที่พักของเหมืองแม่เมาะ อย่างน้อย 2 วัน 1 คืน เมื่อได้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา เพื่อค้นหาความต้องการและพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวสูงอายุชาวไทย

                4.4. การสังเกตุ ทางผู้วิจัยได้ทำการสังเกตุพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว ระหว่างวันที่ 1 – 30 ตุลาคม 2553 โดยเป็นการสังเกตุแบบไม่มีส่วนร่วม เพื่อนำเข้ามูลมาประกอบในการวิเคราะห์พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ

 

5.ผลการศึกษา

การศึกษางานวิจัยแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยศึกษาพื้นที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สามารถสรุปประเด็นได้ 3 ประเด็นหลักคือ  1) เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในบริเวณโดยรอบเหมืองแม่เมาะ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในด้านการท่องเที่ยว และ3) แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยที่

1. ผลการศึกษาด้านศักยภาพด้านการท่องเที่ยวในบริเวณโดยรอบเหมืองแม่เมาะพบว่า แหล่งท่องเที่ยวในบริเวณรอบเหมืองแม่เมาะ มีศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยว โดยจุดแรกพิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนท์ ที่เป็นสถานที่ให้ข้อมูลต่างๆ ของเหมืองแม่เมาะทั้งในแง่ของประวัติความเป็นมาของสถานที่ กระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยถ่านหิน และความเพลิดเพลินในการชมสถานที่ การจัดนิทรรศการของเหมืองแม่เมาะได้จัดอย่างลงตัว พร้อมการบรรยายด้วยผู้นำชมของสถานที่ และเมื่อสิ้นสุดการบรรยาย จะพบกับสถานที่จำหน่ายของที่ระลึกที่เป็นผลิตภัณฑ์ของเหมืองแม่เมาะและของที่ระลึกจากชุมชนรอบเหมืองแม่เมาะ และที่สำคัญคือมีห้องน้ำที่สามารถบริการนักท่องเที่ยวชาวไทยผู้สูงอายุได้ เพราะมีทางเดิน (ทางลาด) สำหรับผู้สูงอายุ หรือที่นั่งโถส้วม

                 สถานที่ชมวิวบนยอดเขาที่สร้างด้วยหน้าดินที่เปิดหลุมขุดของเหมืองถ่านหิน และที่จุดชมวิวได้สร้างศาลาชมวิวที่มีสามารถเห็นภาพ 360 องศาของเหมืองถ่านหิน รวมทั้งได้สร้างทางถนนที่เชื่อมระหว่างเส้นทางในบริเวณเหมืองที่อยู่ด้านล่างของภูเขา กับบนยอดเขา  ซึ่งสามารถใช้รถยนต์ หรือการเดินทางเท้า รวมทั้งยังปลูกดอกบัวตองเพื่อให้เป็นจุดหมาย หรือ point view ในฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อนเหมาะแก่การถ่ายรูป และจัดทำสถานที่กางเต็นท์ หรือ Camp ground การท่องเที่ยว ณ บริเวณนี้หากต้องการชมวิวของเหมืองแม่เมาะก็สามารถทำได้ตลอดเวลา แต่ถ้าต้องการชมทุกดอกบัวตองและศึกษาเส้นทางธรรมชาติ พร้อมทั้งการกางเต้นท์ จะต้องรอในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น อีกทั้งสถานที่ยังไม่พร้อมในการบริการด้านห้องน้ำที่จะรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวจำนวนมากแต่ในปัจจุบันทางการไฟฟ้าได้พัฒนาสถานที่ให้นักท่องเที่ยวสามารถท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี โดยการจัดเป็นสวนพฤษศาสตร์

สำหรับสนามกอล์ฟ มีความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวเชิงกีฬาเนื่องจากเป็นสถานที่เล่นกฬากอล์ฟที่ได้มาตรฐาน 18 หลุ่มและได้เปิดบริการได้ตลอดทุกช่วงของปี พร้อมทั้งมีบริการห้องอาหาร ห้องน้ำ ห้องอาบน้ำ และรถกอล์ฟ เป็นต้น

ส่วนการนำชมสถานที่พบว่า วิทยาการของสถานที่เหมืองแม่เมาะมีความรู้ ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักท่องเที่ยวโดยทั่วไป แต่ยังขาดทักษะในการให้บริการนำชม สำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

2. ผลการศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุในด้านการท่องเที่ยวพบว่า 1) ผู้สูงอายุต้องการความสะดวกสบายในการเดินทางในสถานที่ท่องเที่ยวทั้งการเดินทางด้วยทางเท้าและทางรถยนต์ เนื่องจากสภาพทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุเอง 2) ต้องการบริการที่ดีจากผู้ให้บริการ ที่ทางผู้สูงอายุยินดีจ่ายเงินมากกว่าปกติเพื่อแลกต่อการบริการที่สูงขึ้น หรือดูดีมากกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น โดยเน้นการสะดวกสบายมากกว่าความหรูหรา 3) ด้านการรับข้อมูลในสถานที่ท่องเที่ยวต้องการได้รับข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยวที่ลึกกว่าปกติ แต่ไม่ถึงขั้นของนักวิชาการเนื่องจากแหล่งท่องเที่ยวส่วนมากนักท่องเที่ยวเคยเดินทางมากท่องเที่ยวแล้ว 4) สำหรับการเดินชมในสถานที่ท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวนิยมการท่องเที่ยวที่มีผู้นำทางหรือมัคคุเทศก์ที่มีความรู้ในแหล่งท่องเที่ยวเชิงลึก หรือมีป้ายบอกทางและป้ายแนะนำแหล่งท่องเที่ยวอย่างชัดเจนและตลอดเวลา อีกทั้งระยะทางในการเดินทางชมไม่ควรเกิน ครึ่งชั่วโมงต่อรอบเนื่องจากปัญหาด้านร่างกายของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ 5) สำหรับเส้นทางในการเดินชมในแหล่งท่องเที่ยว ควรความลาดชันน้อย เรียบ และสามารถใช้รถเข็นได้ 6) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุยังมีความต้องการสถานที่จำหน่ายสินค้าที่ระลึก และต้องการสินค้าที่สามารถเป็นเครื่องประดับบ้านได้ และสินค้าที่ราคาไม่แพง แต่ดูดีเพื่อให้เป็นของที่ระลึกแก่บุคคลอื่น โดยที่ของที่ระลึกเป็นสินค้าที่ผลิตโดยชุมชนรอบเหมืองแม่เมาะ 7) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต้องการห้องพยาบาล หรือจุดบริการด้านสุขภาพในสถานที่ท่องเที่ยวมากกว่าการมีรถฉุกเฉิน 8) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุไม่ชอบสถานที่ที่มีนักท่องเที่ยวจำนวนมาก เพราะนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมีปัญหาด้านสุขภาพ และไม่สามารถเดินทางไปได้รวดเร็วเหมือนนักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น ซึ่งจะทำให้การเดินทางล่าช้าได้ แต่ยังมีความนิยมเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถซึมซับความรู้สึกได้ยาวนานเหมือนการท่องเที่ยวที่เนิบช้า (Slow Tourism) และ9) นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุต้องการสถานที่ที่สามารถจัดงานเลี้ยงและที่พักได้ สำหรับงานเลี้ยงรุ่น

3. แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ พบว่า 1) สถานที่แหล่งท่องเที่ยวโดยเฉพาะลานชมวิว 360 องศา ทุ่งดอกบัวตอง และลานกางเต็นท์ ควรมีการปรับถนนให้สามารถเดินโดยรอบได้ หรือจัดเส้นทางธรรมชาติของทุ่งดอกบัวตอง และห้องน้ำที่ไว้คอยบริการให้ถูกสุขลักษณะพร้อมทั้งการบริการข้อมูลตามเส้นทางการท่องเที่ยว โดยเฉพาะจุดชมวิว ที่ขาดข้อมูลเพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ศึกษาการปิดหน้าดิน การสร้างจุดชมวิว 360 องศา  2)  พิพิธภัณฑ์ศูนย์ถ่านหินลิกไนท์ควรจัดเส้นทางการเดินทางศึกษาเป็นลักษณะวงกลม และเริ่มต้นจากการอดีต มายังปัจจุบัน รวมถึงภาพในอนาคต พร้อมการจำหน่ายของที่ระลึกที่เกี่ยวข้องกับสถานที่มากกว่านำสินค้าอื่นๆ มาวางจำหน่าย 3) ร้านอาหารที่ให้บริการนักท่องเที่ยวพบว่า ควรปรับปรุงเรื่องห้องน้ำและเส้นทางการเดินไปยังร้านอาหารที่ยังไม่เส้นทางสำหรับผู้พิการ หรือผู้สูงอายุที่ต้องนั่งรถเข็น ส่วนด้านบรรยากาศในส่วนของร้านอาหาร ควรมีห้องปรับอากาศเพื่อให้นักท่องเที่ยวบางส่วนไม่สามารถทนต่ออากาศร้อนในบางช่วงฤดูได้และห้องนี้ควรสามารถเปิดหน้าต่างเพื่อรับลมได้เพื่อการถ่ายเทของอากาศในห้องอาหาร 4) สถานที่จัดเลี้ยงและที่พัก ควรปรับปรุงสถานที่จอดรถและเส้นทางการเดินไปยังห้องพักที่ยังไม่เหมาะสม เดินทางลำบากโดยเฉพาะผู้สูงอายุ รวมทั้งแสงสว่างในเวลากลางคืนที่ยังไม่เพียงพอ 5) การบริการของมัคคุเทศก์หรือผู้นำชม ยังขาดทักษะในด้านการบริการแก่ผู้สูงอายุ และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเหมืองแม่เมาะ และ 6) ข้อมูลในแหล่งท่องเที่ยว ควรปรับปรุงป้ายแสดงข้อมูลให้มีตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และข้อมูลที่แสดงรายละเอียดที่สำคัญ มากกว่าจะมีชื่อของแหล่งเท่านั้น

6. อธิปรายผลการศึกษา

                การศึกษาแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พบว่า

                1. การศึกษาศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง พบว่ามีศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยวเพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะองค์ประกอบของการทรัพยากรการท่องเที่ยวที่ตอบสนองต่อศักยภาพด้านการท่องเที่ยว  [3] [8] พบว่าทรัพยากรท่องเที่ยวต้องมี 1) สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว 2) เส้นทางคมนาคมขนส่งเข้าถึง และ 3) สิ่งอำนวยความสะดวกในการท่องเที่ยว โดยเฉพาะโครางสร้งพื้นฐาน และด้านความปลอดภัย  ซึ่งทั้งสามองค์ประกอบได้สอดคล้องกับแหล่งท่องเที่ยวของพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง อีกทั้งแหล่งท่องเที่ยวรอบเหมืองแม่เมาะได้มีการทำการเชื่อมโยงเป็นเส้นทางการท่องเที่ยว ในระดับหนึ่งเพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้อย่างคุ้มค่า

2. การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย ได้สอดคลองกับแนวความคิดด้านพฤติกรรมนักท่องเที่ยว [11] [14] [16] ในประเด็นด้านความต้องการของนักท่องเที่ยวที่สูงกว่านักท่องเที่ยวโดยทั่วไป อีกทั้งยังต้องการความช่วยเหลือและการดูแลกว่านักท่องเที่ยวโดยปกติ อันเนื่องมากจากปัจจัยทางด้านร่างกายของนักท่องเที่ยว [5] ส่วนด้านการท่องเที่ยวบริการด้านการท่องเที่ยวได้สอดคลองกับแนวความคิดความต้องการการบริการของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีความต้องการมากกกว่านักท่องเที่ยวกลุ่มอื่น[14] [16]  สำหรับการที่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุมีความนิยมเดินทางไปแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียง รวมทั้งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถซึมซับความรู้สึกได้ยาวนาน ได้สอดคล้องกับแนวคิดด้านการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และการท่องเที่ยวที่เนิบช้า [1]

3. การศึกษาแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ได้สอดคล้องการพัฒนาการท่องเที่ยวแบ่งยังยื่น[8] และการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยังยืนในลุ่มน้ำโขง [9] โดยเฉพาะกระบวนการพัฒนาเส้นทางที่มุ่งตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ การพัฒนาทรัพยากรท่องเที่ยว การพัฒนาสิ่งแวดล้อมในแหล่งท่องเที่ยว และการพัฒนาจิตสำนึกทางการท่องเที่ยว และแนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ควรมีการเพิ่มการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการท่องเที่ยวของชุมชุนท้องถิ่น

 

7.สรุปและข้อเสนอแนะ

แนวทางการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ โดยศึกษาพื้นที่รอบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง หากต้องให้บริการแก่นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ ควรปรับแหล่งท่องเที่ยวบางส่วน โดยเน้นสิ่งที่อำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยเฉพาะห้องน้ำ ห้องพัก เส้นทางการเดินศึกษาธรรมชาติ ศึกษาข้อมูลที่ให้ความรู้ เพื่อให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้ย่อมจะส่งผลทำให้นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุนิยมมาศึกษาหาความรู้พร้อมกับการพักผ่อน

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแม่เมาะ จังหวัดลำปาง ควรปรับปรุงในมิติของการท่องเที่ยวโดยองค์รวมสามารถใช้ประโยชน์ด้านการท่องเที่ยวให้ได้หลายมิติมากกว่าตอบสนองนักท่องเที่ยวกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง (Multi Propose) โดยเน้นการท่องเที่ยวเพื่อการเรียนรู้และอาศัยการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ที่ไม่ต้องไปทำลายธรรมชาติ (เส้นทางการท่องเที่ยว) พร้อมทั้งการให้ข้อมูลที่มีความหลากหลายมากกว่า และมีข้อมูลเชิงลึก รวมทั้งให้เหมาะสมแก่นักท่องเที่ยวทุกประเภท ทุกวัย

อย่างไรก็ตามการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว ควรเพิ่มแหล่งท่องเที่ยวที่นอกเหนือจากในบริเวณของการเหมืองแม่เมาะ ไปยังชุมชนรอบเหมืองแม่เมาะ และควรมีการนำชุมชนรอบเหมืองมามีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างเส้นทางการท่องเที่ยว เนื่องจะทำให้ทุกภาคีด้านการท่องเที่ยวได้ประโยชน์ อีกทั้งยังช่วยให้ชุมชนรอบเหมืองมีความเข้าใจด้านการท่องเที่ยวและเหมืองแม่เมาะ รวมทั้งการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยว ยังต้องอาศัยแนวความคิดการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ไม่ทำลายหรือสร้างมลภาวะแก่สถานที่

 

8.กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ งบประมาณสนับสนุนงานวิจัย โดยสำนักงานการอุดมศึกษา เครือข่ายภาคเหนือและสาขาวิชาการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยพะเยา

 

9.การอ้างอิง

[1] Goeldner, Charles R. and Ritchie, J.R. Brent. 2006. Tourism: Principles, Practices, Philosophies. 10th ed.  NewYork:  John Wiley & Sons.

[2] ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. 2548. การวางแผนการท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เกษตรศาสตร์.

[3] บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2548. อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

[4] วารัชต์ มัธยมบุรุษ.2552. รูปแบบการบริหารจัดการท่องเที่ยวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่นที่พำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

[5] Kotler, Philip, Bowen, John and Makens, James C.. 2006. Marketing for Hospitality and Tourism. 4th ed. New Jersey: Prentice Hall International.

[6] การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง[ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://http://maemohmine.egat.co.th/

[8] บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. 2548. การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยังยืน. กรุงเทพฯ: เพรส แอนด์ ดีไซน์.

[9] มิ่งสรรพ์ ขาวสอาดและ คณะ. 2548. การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงบูรณาการที่ยั่งยืนในลุ่มแม่น้ำโขง

[10] ชาย โพธิสิตา.2549. ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พรินติ้ง.

[11] นงลักษณ์ อิสระญาณพงศ์. 2547.  ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและอเมริกันในการใช้บริการท่องเที่ยวประเภทพำนักระยะยาวในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

[12] สุชาต ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. 2540. ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

[13] GHall, C.Michael and Page, Stephen J.. 2002. The geography of tourism and recreation. 2nd ed. Kentucky: Routledge.

[14] March, Roger St Georrge and Woodside, Arch G. .2005.  Tourism Behavior : Travelers’ Decisions and Actions.  Massachusetts: Pul CABI.

[15] Ross, Glenn F.. 1998. The Psychology of Tourism. 2nd ed. Melbourne: Hospitality Press.

[16] Swarbrooke, John and Horner, Susan. 2005. Consumer behaviour in tourism. 2nd ed. London: Butterworth-Heinemann

หมายเลขบันทึก: 434829เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2011 15:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท