ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

การบริการที่อยู่บนมาตรฐานความปลอดภัย


 

          ตามที่ได้รับมอบหมายให้ถอดบทเรียนในหัวข้อการบริการที่อยู่บนมาตรฐาน ความปลอดภัย(พี่ไก่ ประกาย)http://gotoknow.org/blog/pr4u/433703 ยอมรับว่าหนักใจเหมือนกัน ว่าจะเขียนออกมาได้อย่างไร ชิมชาอย่างไรให้ได้รสชาดที่อร่อย หอมหวาน 

          บันทึกการถอดบทเรียนครั้งนี้ ขออนุญาตหัวหน้าทีม น้องพอลล่า นะคะว่าพี่จะถอดบทเรียนจากบันทึกในบล็อก  ผสมผสานจากประสบการณ์ที่ปฏิบัติงานจริงที่ยังไม่ได้เล่าเรื่องราวออกมาเป็นบันทึกและจากมาตรฐานที่กำหนดของ Simple  และ Standard  และในครั้งนี้ถือโอกาสได้ทบทวนความรู้อย่างมากมาย อ่านจากมาตรฐานความปลอดภัย อ่านหนังสือหลายเล่ม อ่านจากบล็อค SHA ของโรงพยาบาลต่าง ๆ แล้ว ยอมรับว่าเรื่องเล่าของแต่ละโรงพยาบาลนั้นดีมาก การปฏิบัติต่อผู้รับบริการทำด้วยใจและมีความยั่งยืน สวยงาม

         การให้บริการที่อยู่บนมาตรฐานความปลอดภัย  ความปลอดภัยให้ความรู้สึกในเชิงการบรรลุเป้าหมาย เมื่อเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง ย่อมต้องพยายามทุกวิถีทางที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายนั้น

         แนวคิดเรื่อง ความเสี่ยงและความปลอดภัย มาใช้ในการทำพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล  เป็นการชักชวนให้คนที่เกี่ยวข้องมาร่วมมือกัน เป็นการพัฒนาที่มองอย่างเป็นระบบและเชื่อมโยง เป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับงานที่เราทำ 

        Patient Safety ความปลอดภัยต่อชีวิตเป็นสิ่งที่เราคุ้นเคยกันดีในวงการแพทย์ สาธารณสุข ในการทำงานที่จำเป็นต้องอยู่บนมาตรฐานและความปลอดภัย ซึ่งเป็นหัวใจหลักของการทำงานกับชีวิตมนุษย์  หลักง่าย ๆ ที่จะให้บริการด้วยความปลอดภัยและได้มาตรฐาน SHA มี S สอง S ใน ห้า S ได้แก่ Standard และ safety ที่นำมาผสมผสานคละเคล้ากันทำให้การดูแลคนไข้ได้รับการดูแลที่ปลอดภัยและได้รับการเยียวยาทั้งร่างกายและจิตใจ เรียกว่ารักษาคน รักษาไข้ ไปพร้อมๆกัน

Patient Safety เส้นทางสู่การพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย ในปี พ.ศ.2546     จำได้ว่า ต้องท่องและทบทวนกระบวนการ แนวทางการปฏิบัติต่าง ๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบ  ซึ่งมีอีกหลายข้อที่ไม่ได้กล่าวถึง

  1. เปลี่ยน(เหตุ)วิกฤต ให้เป็นโอกาส(พัฒนา)  (การทบทวนในบันใดขั้นที่1 สู่ HA)
  2. มั่นใจว่าปลอดภัยเมื่อใช้เครื่องมือ(Equipment Safety)
  3. ดูแลให้ดี วิกฤตนี้ป้องกันได้ (Critical Care Safety)
  4. เรื่องยาที่เป็นทั้งยาดำและยาขม(Medication Safety)
  5. เวชระเบียน...บันทึกเพื่อการดูแลอย่างมีคุณภาพ(Medical Record for Safety & Quality)
  6. เคร่งครัดเป็นนิจ ป้องกันการติดเชื้อ (Infectious Control)
  7. สิ่งแวดล้อม..เรื่องที่ถูกลืม (Environment Safety) 
  8. จริยธรรมและความเสี่ยง
  9. Competency & Patient Safety
  10. Legal Issu,Secret of Success & Leadership in Patient Safety
  11. Patient Safety Indicator

ปี 2550-2551  Patient Safety มีเป้าหมายอย่างชัดเจน มีการกำหนดและนำไปปฏิบัติซึ่งเป็นมาตรฐานที่มีแนวทางอย่างชัดเจน ที่เราเรียกขานกันในคำย่อง่ายๆ คือ SIMPLE  

  1. S: Safe Surgery
  2. I: Infection Control (Clean Care)
  3. M: Medication & Blood Safety
  4. P: Patient Care Process
  5. L: Line , Tube, Catheter
  6. E: Emergency Response

         ในแต่ละคำย่อจะแบ่งออกเป็นหัวข้อย่อยที่เกี่ยวข้อง ถ้าจะนำถอดบทเรียนทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง จะได้อีกหลายบันทึก    วันนี้บันทึกเรื่องง่าย ๆ ไปก่อนแล้วกัน ที่เหลือหัวหน้าและลูกทีมช่วยกันเพิ่มเติมต่อได้นะคะ

          ประเด็นแรกที่กล่าวถึงคือ มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานความปลอดภัย ซึ่งมีข้อกำหนด กฎหมาย ระบุไว้อย่างชัดเจน ซึ่งการดูแลผู้ป่วยด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ จะต้องมีความสมดุลวิถีและความเชื่อและความศรัทธาด้วย จากประโยคหนึ่งของพอลล่าที่ได้เล่าไว้   “การพัฒนาคุณภาพที่มุ่งเป้าหมายไปที่ ความปลอดภัยของผู้ป่วยผู้รับบริการ และคำนึงถึงวิถีชิวิต ความเชื่อ ความศรัทธาของผู้ป่วยร่วมด้วยนั้น เป็นการพัฒนาคุณภาพที่งดงามยิ่ง  http://gotoknow.org/blog/sha-paula/428793

           เริ่มจากผู้ป่วยหนักมาที่ห้องฉุกเฉินซึ่งจะต้องมีระบบมาตรฐานการส่งต่อ การบันทึกการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ถึงสัญญาณชีพ การบันทึกการรักษา การดูแลผู้ป่วย และข้อกำหนดเมื่อไหร่ที่ผู้ป่วยจะได้รับการช่วยเหลือเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการให้ผู้ป่วย ญาติตัดสินใจมีส่วนร่วมในการรักษา 

          ในชีวิตจริงในการทำงานเราต้องดูแลทั้งผู้ป่วยและดูแลทั้งญาติที่มากับผู้ป่วยด้วย      การที่ญาติบางคนต้องเผชิญกับสภาพความเจ็บป่วยวิกฤติของคนใกล้ชิดอาจเกิดความเครียด  สับสน ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจ ว่าจะต้องทำอย่างไร  เราเองต้องเป็นคนที่ให้คำปรึกษาให้ทางเลือกในการรักษาให้กับทั้งผู้ป่วยและญาติไปพร้อมๆกันจากเรื่องเล่าของพยาบาล  http://gotoknow.org/blog/sha-pch/426693

           ถึงแม้ว่าการรักษานั้นทีมจะรู้ว่าหมดหวัง อย่างเรื่องราวของป้าจันทร์ ที่ทีมได้ให้การช่วยเหลือรักษาและได้ช่วยให้สามีและหลานได้อยู่ด้วยกันในระยะสุดท้ายhttp://gotoknow.org/blog/sha-pch/421789  

        “ช่วงเวลาที่เหลืออยู่นั้นข้าพเจ้าได้บอกให้ลุงกับหลานร่วมกันกล่าวนำทางให้ป้าได้ระลึกถึงพระพุทธคุณที่จะพาป้าไปสู่ทางที่สงบและขอขมาแก่เจ้ากรรมนายเวร ปล่อยวางจากสิ่งที่ได้ค้างคาใจ ความกลัว ความห่วงใยที่มีอยู่ในจิตใจออกไป ระลึกถึงคุณความดีที่ทำไว้ ให้นำทางกลับบ้านที่กำแพงเพชรด้วยกันให้นำทางกลับบ้านที่กำแพงเพชรด้วยกัน่ในจิตใจออกไป ระลึกถึงคุ่วมกันกล่าวนำทางให้ป้าได้ระลึกถึงพระพุทธคุณ ที่จะพาป้าไปสู่ทางที่สงบมือของเราสามคนจับมือป้าเอาไว้ ข้าพเจ้าได้ยินเสียงหลานชายตัวเล็กพูดว่า ยายไม่ต้องห่วงหนูนะ หนูจะเป็นเด็กดี และภาพสุดท้ายที่ข้าพเจ้าได้เห็นคือ ลุงก้มลงเอาแก้มแนบที่แก้มของป้า    ในใจตอนนั้นรู้สึกได้ว่าก่อนที่จิตวิญญาณของป้าจะจากร่างไปอย่างน้อยป้าก็ได้สัมผัสกับความรักจากคนที่รักป้า............. ขอให้ป้าจันทร์ไปสู่สุขตินะคะ”

 

           การเข้าถึงข้อจำกัดวิถีชีวิตผู้ป่วยจากบทเรียนในการทำงาน ทีมงานได้เรียนรู้และนำบทเรียนที่ได้จากความผิดพลาด ความเสียใจ รื้นน้ำตา และวาจาจากการตัดสิน มาปรับปรุงวิธีคิดในการบริการผู้ป่วย โดยคำนึงถึงความเป็นมนุษย์และการบริการที่ยืดหยุ่น เอื้ออาทรต่อความทุกข์ยาก ลำบากของผู้คนมากขึ้น จากเรื่องเล่าของเจ้าหน้าที่กายภาพบำบัด รพ.ด่านซ้าย เรื่องยายแถว http://gotoknow.org/blog/dansaihospital/264931

           ยายแถวถูกส่งต่อมาที่กายภาพบำบัดเพื่อการดูแลเรื่องแผลที่เท้า ฉันพบกับยายแถวในวันนั้นด้วยหน้าตาที่เฉยชา และเท้าที่มีแผลเป็นรูมีกลิ่นเหม็น รองเท้าที่ยายใส่ก็เป็นรองเท้าแตะธรรมดาที่ยายบอกว่าดีที่สุดเท่าที่มี หมออยากตรวจก็ตรวจ แล้วก็ยื่นเท้าให้เราตรวจเหมือนเป็นสิ่งคุ้นชิน ในใจฉันไม่คุ้นชินกับท่าทีของยายแถวสักเท่าไหร่ การตรวจพบว่านิ้วเท้ายายถูกตัดไปแล้ว1 นิ้วด้วยสาเหตุเดียวกันนี้คือแผลไม่หายสักทีหมอเลยให้ตัด 

           ทุกครั้งที่ยาแถวถูกส่งมารักษาจะมีการพูดคุยและได้ประเด็นที่ยายเกิดความพึงพอใจที่จะดูแลรักษาเท้ายายอยากได้แผ่นพื้นรองเท้ารองกันน้ำหนักไปใส่ในรองเท้าบูทเพื่อที่จะไม่ให้แผลกดพื้นรองเท้าเวลาไปไร่อีก ที่อยากได้เพราะส่วนใหญ่ยายจะใส่แต่รองเท้าบูทไปไร่

           มาตรฐานสุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม หลายครั้งเราจะลืมนึกถึงสิ่งแวดล้อมที่จะต้องได้มาตรฐานตามหลักสุขาภิบาล ละมีความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมในโรงพยาบาลที่ดีสวยงาม ช่วยให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ สุขสบาย อย่างเรื่องของสุดยอดส้วมโรงพยาบาลพะโต๊ะ http://gotoknow.org/blog/sha-patoa/361012

http://gotoknow.org/blog/sha-pch/426694

            สิ่งแวดล้อมที่สวยงาม โรงพยาบาลพระยืน สมุนไพรพื้นบ้าน http://gotoknow.org/blog/shaduangsa/414551

           รพ.สูงเนินเปิดบ้านแบบสปา http://gotoknow.org/blog/kunrapee/406728

     เตียงของผู้ป่วยหนักของที่นี่ได้จัดเป็นห้องแยกเพื่อความเป็นส่วนตัว  การตบแต่งห้อง เน้นโทนสีอ่อน ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย สดใส ข้างๆเตียงเป็นฝาผนังทำด้วยกระจกแผ่นใหญ่ มองเห็นสวนหย่อมเล็กที่จัดบริเวณ ระเบียงด้านนอกอย่างน่ารัก บางครั้งมีนกตัวเล็กๆ บินมาเกาะต้นไม้ มองดู ราวกับจะมาให้กำลังใจ  คนไข้มีโอกาสได้สัมผัสกับแสงแดดอ่อนยามเช้า และธรรมชาติที่สวยงามคล้ายๆ รักษาตัวที่บ้าน

     คนไข้ICU ที่นี่จึงใช้ชีวิตยามเจ็บป่วยภายใต้การดูแล ตามมาตรฐานคุณภาพ  มีความปลอดภัย โดยยังคงความสัมพันธ์กับธรรมชาติ  กับสังคม กับครอบครัวและคนที่เขารัก ซึ่งเป็นการตอบสนองมิติทางด้านจิตใจ  รวมทั้งตอบสนองต่อกิจวัตรประจำวัน อันเป็นวิถีปกติของทุกชีวิต ที่ทุกคนไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วยต้องการ

      นับว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงแนวคิดสำคัญของทีม ที่คำนึงถึงคุณภาพการรักษาและการเยียวยา ที่ครอบคลุมในทุกมิติ ทั้งร่างกาย จิตใจ สังคมและจิตวิญญาณ

ทีมผู้ให้บริการเองก็รู้สึกมีความสุข มีความปิติในงานของตนเอง มีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ป่วยและญาติ

http://gotoknow.org/blog/shaduangsa/342333นี่คือเรื่องเล่าจากแม่ต้อย พูดถึงโรงพยาบาลรามาธิบดี

       เรื่องเล่าจากแม่ต้อย โรงพยาบาลในสวน ความร่มรื่นของ ต้นไม้ และการตบแต่งสวนที่สวยงาม ประกอบกับสระน้ำใสแจ๋ว เสียงนกร้องเพลงเบาๆ ทำให้ลืมไปว่ากำลังอยู่ในเขตโรงพยาบาล โรงพยาบาลแบ่งห้องตรวจที่ OPDสำหรับตรวจสตรีมิดชิดเป็นสัดส่วน คำนึงถึงด้านจิตใจ จัดรพ.เป็นสวนสวยจนได้รับรางวัล  http://gotoknow.org/blog/shaduangsa/342330

ความปลอดภัยอีกเรื่องของผู้รับบริการที่หลายโรงพยาบาลอาจจะมองข้ามไป คิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย ไม่เป็นไร  จริงแล้วเรื่องนี้จำเป็นมาก ถ้าเกิดปัญหากับผู้รับบริการ บุคลากร เกิดเจ็บป่วย ด้วยโรคติดต่อจากอาหารและน้ำ โรงพยาบาลจะต้องมีระบบการควบคุมเรื่องสุขาภิบาลอาหารและสิ่งแวดล้อมในโรงอาหารที่ได้คุณภาพ และใส่ใจในคุณภาพอาหารที่นำมาปรุงให้ผู้ป่วยรับประทานไม่มีสารเคมีปนเปื้อนรวมทั้งเชื้อก่อโรคด้วย  การทำงานด้านสุขาภิบาลอาหารเป็นเรื่องที่จะต้องใส่ใจ และทำด้วยใจจริง ๆ  และต้องรณรงค์ให้ผู้บริโภคได้รู้จักและเข้าใจมาตรฐานสุขาภิบาลอาหารด้วย ไม่ใช่รณรงค์เฉพาะผุ้ขายอาหารเท่านั้น  ตัวอย่างที่มีรูปแบบการควบคุมสุขาภิบาลอาหารที่ได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีทีมที่ช่วยกันและทุกคนทำงานด้วยใจ ได้แก่โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ติดตามเรื่องเล่าจากhttp://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse/434358

       มาตรฐานอีกข้อของความปลอดภัยผู้ป่วยจะต้องมีการระบุตัวตนของผู้ป่วย  การสื่อสารที่ชัดเจน ใส่ใจอีกสักนิด จะไม่ผิดพลาด ทำป้ายชื่อ สอบถาม ข้อมูลให้ตรงกัน มีการส่งต่อระบุตัวผู้ป่วย เอกสารต่าง การบันทึกให้ครบถ้วนhttp://gotoknow.org/blog/postershaconference/417326

 http://gotoknow.org/blog/postershaconference/417313

 

มาตรฐาน IC ประเด็นนี้มีเรื่องมากมาย ขอติดไว้ก่อนในบันทึกที่สอง วันนี้ นำมาให้อ่านบางส่วน http://gotoknow.org/blog/postershaconference/417330

ทำงานด้าน IC ทำด้วยใจ จิตอาสาดุแลผู้ป่วยตามมาตรฐานข้อกำหนดของ Infectious control  และอย่าลืมดูแลตัวเองให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อจากผู้ป่วย ด้วย  http://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse/326068

 http://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse/296343

http://gotoknow.org/blog/kai-icnnurse/282754

        ขอจบบันทึกไว้แค่นี้ก่อน จะมาแก้ไขและเพิ่มเติมอีกจนกว่าจะหมดเวลาส่ง

คำสำคัญ (Tags): #sha#ถอดบทเรียน
หมายเลขบันทึก: 434777เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2011 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เยี่ยมเลยค่ะไก่ หัวหน้าทีมมอบงานถูกคนจริงๆ

จะคอยอ่านบันทึกถัดไปนะคะ

เจ๋งมากเลยค่ะ 

ภูมิใจ ๆๆ พี่ไก่มากๆ เลยค่ะ เห็นไหม ทำได้ดีมากเลยค่ะ 

เขียนอีกนะคะ แบบนี้แหละ สุดยอด.....ค่า..

มามอบดอกไม้ให้ก่อน รีบไปพบอาจารย์ ที่ปรึกษา

Ico48

ขอบคุณกำลังใจที่นางส่งมามอบให้มากๆ กว่าไก่จะเขียนออกมาได้ ว่าจะถอดบทเรียนออกมาอย่างไร ยากมาก เพราะมาตรฐานความปลอดภัย  มีเยอะมาก ๆ ถ้าไม่จำกัดเรื่องเวลา จะได้อีกหลายบันทึก

น้องสาวส่งกำลัใจ แรงกดดันมาให้

Ico48

มอบหมายงานช้างจริง ๆ

Safety & Simple  Standard

พี่ขอบคุณน้องสาวมาก ๆนะคะที่ให้พี่ได้ทบทวนความรู้อีกรอบ ไม่ได้อ่านหนังสือนานแล้ว ตอนนี้พี่กำลังปั่นคู่มือ 2 เล่ม เรื่องคู่มือการดำเนินป้องกันกันควบคุมโรคติดต่อ  คู่มือสุขาภิบาลอาหาร  ให้เสร็จก่อนเมษายน 2554 เพราะต้องสรุปปิดโครงการ

 

ขอรับดอกไม้จากพี่บังวอญ่า ไว้ก่อน

Ico48

อย่าลืมมาให้ข้อคิดเห็น แนะนำเพิ่มเติมนะคะ

ไก่ไม่ได้เขียนบันทึกนานแล้ว เขียนออกยากมาก ไม่รื่นไหล ขาดการฝึกฝน ที่จะร้อยเรียงคำพูดเรื่องราวต่าง ๆ ให้ดูน่าสนใจ ติดตามอ่านและเกิดความประทับใจ นำไปบอกต่อและปฏิบัติตาม 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท