รพ.หนองม่วง
รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง รพ.หนองม่วง

Mini Research


mini research

Mini-research

Mini-research เป็นการประยุกต์ใช้หลักการวิจัยมาหาคำตอบที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจในงานที่รับผิดชอบ ให้ได้คำตอบที่นำไปใช้งานได้ทันเวลา มุ่งไปที่การปรับเปลี่ยนระบบงานมากกว่าการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ

เป้าหมายของ Mini-research

1. นำ core values เรื่อง management by fact มาสู่การปฏิบัติ คือการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลจริง

2. บ่มเพาะความเป็นนักวิจัยให้กว้างขวางที่สุด (ความช่างสังเกต ความช่างสงสัยตั้งคำถามเป็น มองและคิดเป็นระบบ ใช้เหตุผลในการวิเคราะห์) หาที่ยืนให้คนที่มีใจ แต่ยังไม่มั่นใจที่จะทำวิจัยเต็มรูปแบบ

นโยบายของ สรพ.

1. สนับสนุนให้โรงพยาบาลต่างๆ ประยุกต์ใช้หลักการวิจัยเพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพ ทั้งการวิจัยในลักษณะของ Routine-to-Research หรือ mini-research

แนวทางการวางแผน

การทำ mini-research ไม่ควรใช้เวลานานทั้งในการวางแผนและในการหาคำตอบ

สำหรับในขั้นตอนการวางแผน อาจมีขั้นตอนดังนี้

1. กำหนดความรู้หรือข้อมูลที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเป็นสถานการณ์ปัญหา สาเหตุของปัญหา ทางเลือกในการแก้ปัญหา ผลกระทบของการแก้ปัญหา ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง และแนวความคิดใหม่ๆ

2. ตั้งคำถามการวิจัยหลัก ซึ่งมีเป้าหมายการใช้ประโยชน์อยู่ในใจ ส่วนคำถามย่อยอาจจะเตรียมไปล่วงหน้าและไปเพิ่มเติมในภาคสนาม

3. กำหนดวิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะได้ข้อมูลที่ตรงประเด็น เช่น วิเคราะห์ข้อมูลที่มีอยู่แล้ว สังเกตในสถานที่จริง สัมภาษณ์เจาะลึก สนทนากลุ่ม แบบสอบถาม โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่พอสมควรที่จะนำผลไปใช้ตัดสินใจได้ ตามบริบทของเรา

ทั้งนี้ ในระหว่างการวางแผน การเก็บข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล จะต้องทบทวนการนำไปประโยชน์อยู่ตลอดเวลา

R. Question

R. Method

แนวทางการวางแผน Mini-research

ทบทวนการนำไปใช้

มาตรฐานประโยชน์

ข้อมูล / ความรู้

ที่ต้องการ

สถานการณ์ปัญหา

สาเหตุปัญหา

ทางเลือกในการแก้ปัญหา

ผลกระทบของการแก้ปัญหา

ความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้อง

แนวความคิดใหม่ๆ

แหล่งข้อมูล

วิธีการได้ข้อมูล

(สังเกต, แบบสอบถาม,

สัมภาษณ์, สนทนากลุ่ม)

คำถามย่อยอาจเกิดขึ้นในสนาม

วิธีการที่ง่ายที่สุดที่จะได้

มาซึ่งข้อมูลนั้น

คำถามการวิจัย

(ซึ่งมีเป้าหมายการใช้

ประโยชน์อยู่ในใจ)

ปัญหา, concern

ความต้องการพัฒนา

แนวทางการตั้งคำถามวิจัย

1. มาตรฐาน HA ทุกบรรทัด สามารถตั้งคำถามวิจัยได้ ดังตัวอย่างในหน้าถัดไป

2. อาจจะนำความขัดแย้งหรือความรู้สึกคับข้องใจมาตั้งเป็นคำถามวิจัย

3. ทุกขั้นตอนของกระบวนการพัฒนาคุณภาพ ได้แก่ (1) มีปัญหาอะไร (2) ปัญหามากน้อยขนาดไหน เกี่ยวข้องกับอะไรบ้าง (3) สาเหตุของปัญหาคืออะไร (4) มีทางเลือกอะไรบ้าง ควรเลือกทางเลือกใด จะใช้เกณฑ์อะไรในการตัดสินใจ (5) การพัฒนาส่งผลกระทบอย่างไร ผลงานเป็นไปตามเป้าหมายหรือไม่ ทำไมจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

4. เมื่อจะมีการจัดทำหรือนำแนวปฏิบัติมาใช้ อาจตั้งคำถามว่าเดิมมีปัญหาอะไรข้อมูลที่บอกสถานการณ์เดิมมีอะไรบ้าง ผู้เกี่ยวข้องมีมุมมองต่อแนวปฏิบัติใหม่อย่างไรประสิทธิผลของการฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติตามแนวทางใหม่เป็นอย่างไร อะไรคือสิ่งที่ปฏิบัติได้ยาก มาตรการในแต่ละช่วงเวลาส่งผลอย่างไร

5. สามารถหาจุดที่น่าสนใจจากงานประจำเพื่อสร้างงานวิจัย ด้วยการลดความสนใจกับเรื่องในระดับเฉลี่ย ใส่ใจกับจุดที่ยังเป็นปัญหา ใส่ใจกับความรู้สึกหรือการรับรู้ แบ่งกลุ่มเพื่อทำความเข้าใจกับแต่ละกลุ่ม มองหาทางเลือกใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้นำมาใช้

6. ฝึกใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ติดตามเรียนรู้จากผู้ป่วยที่มีปัญหาแต่ละราย อาจจะนำมาสู่การพัฒนาวิธีการประเมินผลงานในเรื่องที่มีความเป็นนามธรรมสูง เช่น การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เก็บเรื่องราวของผู้ป่วยแต่ละรายไว้ แล้วนำมาวิเคราะห์ภายหลังว่ามีโอกาสที่เราสามารถทำอะไรให้ผู้ป่วยแต่ละรายเพิ่มขึ้นอีก__

คำสำคัญ (Tags): #mini research
หมายเลขบันทึก: 434598เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2011 14:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท