kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ผลการดำเนินงานรอบแรกกระบวนการจัดการความรู้ ศูนย์อนามัยที่ 8


กระบวนการจัดการความรู้เป็นงานที่จะใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานของข้ราชการทุกคนของศูนย์อนามัยที่ 8

          ปี 2554 คณะกรรมการจัดการความรู้  ศูนย์อนามัยที่ 8 ได้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารศูนย์ฯ และผู้บริหาร  เพื่อเอากระบวนการจัดการความรู้เป็นงานที่จะใช้ในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานของข้าราชการทุกคนของศูนย์อนามัยที่ 8 ซึ่งตอนนี้คณะกรรมการ ฯ ได้ประเมินผลงานการจัดการความรู้เสร็จเรียบร้อยแล้ว

          จากผลการดำเนินซึ่งรอบแรกประเมินกระบวนการจัดการความรู้ถึงขั้นตอนที่ 4.1 คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  (ขั้นตอน 1 คือการบ่งชี้ความรู้ , ขั้นตอนที่ 2 คือการแสวงหาความรู้ และขั้นตอนที่ 3 คือการจัดความรู้ให้เป็นหมวดหมู่)  ได้ผลลัพธ์คือกลุ่มการเรียนรู้ทั้งหมด 44 กลุ่ม ดังนี้คือ 
  1. การจัดกิจกรรมการส่งเสริมทันตสุขภาพในชมรมผู้สูงอายุ  
  2. แนวปฏิบัติการให้บริการทันตกรรมในหญิงตั้งครรภ์  
  3. แนวทางปฏิบัติการให้บริการfast track ทารกนัดตรวจติดตามภาวะตัวเหลืองงานคัดกรอง-ฉุกเฉิน-ตรวจโรคเด็ก
  4. ความรู้สู่ปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่องค์ประกอบสำคัญในการแก้ไขปัญหาการให้นมแม่ผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด  
  5. การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบแกงการูระหว่างครอบครัวและทารกคลอดก่อนกำหนดผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด  
  6. แนวปฏิบัติการให้บริการส่งเสริมสุขภาพทารกที่มีภาวะเจ็บป่วยในงานผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิดผู้ป่วยหนักทารกแรกเกิด  
  7. แนวปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานกลุ่มพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้ 
  8. แนวทางการบันทึกข้อมูลและการ Clean ข้อมูลก่อนการวิเคราะห์กลุ่มพัฒนาคุณภาพและการเรียนรู้ 
  9. ความรู้ทั่วไปในการพิมพ์งาน บันทึกข้อมูลใน Excels พิมพ์งานในโปรแกรม Power point 
  10. พัฒนารูปแบบการจัดยารับประทานในแผนกสูติกรรมงานสูติกรรม  
  11. แนวทางการดูแลทารกแรกเกิดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดในโรงพยาบาลแม่และเด็กงานห้องผ่าตัด  
  12. ปัจจัยด้านบริการทางการแพทย์ พยาบาลที่มีผลต่อการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ 
  13. แนวทางการกำหนดแผนการสอนโรงเรียนพ่อแม่งานโรงเรียนพ่อแม่  
  14. แนวทางการให้คำปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดงาน
  15. แนวปฏิบัติในการให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำในเด็กแผนกเด็กป่วย  
  16. การพัฒนาการจัดทำคู่มือผ้างานบริการกลาง   
  17. แนวปฏิบัติการกระตุ้นพัฒนาการโดยใช้รูปภาพงานตรวจสุขภาพเด็กดี
  18. แนวปฏิบัติการคัดกรองและการลงบันทึกสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้รับบริการงานเวชระเบียนและสถิติ  
  19. ความรู้และทักษะของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในเรื่องการพยาบาลทารกแรกคลอดงานวิสัญญี  
  20. แนวทางการปฏิบัติตามโครงการบริการคลอดยุคใหม่ ห่วงใย ดูแลประทับใจ ดุจญาติมิตรงานห้องคลอด  
  21. แนวปฏิบัติการเตรียม PN ของกลุ่มงานเภสัชกรรม และโปรแกรมคำนวณ PN  
  22. การพัฒนาศักยภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพื่อดูแลสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเองงานให้บริการปรึกษา 
  23. การสร้างสรรค์นวัตกรรมชุดอยู่ไฟหลังคลอดอเนกประสงค์กลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ  
  24. การพัฒนาตำรับเมนูและสูตรอาหารอ่อนสำหรับผู้ป่วยกลุ่มงานส่งเสริมสุขภาพ 
  25. แนวทางในการกำหนดระยะเวลาการรอคอยและการตรวจสอบความถูกต้องของผลตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ 
  26. แนวทางการปฏิบัติการป้องกันและดูแลผู้รับบริการตกเลือดหลังคลอด 
  27. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ประกอบการร้านอาหาร 
  28. การส่งเสริมและสนับสนุนภาคีเครือข่ายในการจัดการความรู้ด้านการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดภาวะอ้วนลงพุง  
  29. แนวทางปฏิบัติสำหรับการพัฒนาตลาดประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์ตลาดสด น่าซื้อ ระดับดี 
  30. กระบวนการสร้างแผนงาน/โครงการ ฯ ของตำบล โดยใช้แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์ 
  31. แนวทางการจัดทำระบบเฝ้าระวังด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 
  32.  ลดปัจจัยเสี่ยงวัยเรียนวัยรุ่นงานวัยเรียนวัยรุ่น  
  33. แนวปฏิบัติการให้บริการคลินิกสุขภาพเด็กดีมีมาตรฐานและเหมาะสมกับบริบทของแต่ละพื้นที่
  34. ทักษะการเป็นหัวหน้าทีม การประเมิน HPH 
  35. การพัฒนาระบบบริการทันตกรรม 
  36. มาตรฐานการประเมินชุมชน/หมู่บ้านไอโอดีน 
  37. การรับส่งหนังสือราชการ
  38. การใช้โปรแกรม Open office 
  39. การถ่ายภาพ 
  40. ระบบเฝ้าระวังด้านสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 
  41. การจัดทำคู่มือการเบิกค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการและค่าใช้จ่ายฝึกอบรม 
  42. การบันทึกวันลาทางระบบ Intranet กรมอนามัย
  43. การจัดทำแนวทางการทำแผนการใช้พัสดุ 
  44. แนวการปฏิบัติในการทำน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ ทำความสะอาดและใช้เป็นปุ๋ยในการเร่งการเจริญเติบโตของพืชและกำใช้กำจัดแมลงศัตรูพืช 
       ซึ่งจากบัดนี้เป็นต้นไป ทุกกลุ่มการเรียนรู้จะได้มีกระบวนการจัดการความรู้ที่เริ่มจากขั้นตอนที่ 4.1 -4.2 คือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และการกลั่นกรองความรู้ ,ขั้นตอนที่ 5 คือการให้ได้มาซึ่งการเข้าถึงความรู้ , ขั้นตอนที่ 6 คือการแบ่งปันความรู้ และ ขั้นตอนที่ 7 คือการเรียนรู้
 
       จุดสุดท้าย คณะกรรมการจัดการความรู้ หวังว่าเจ้าหน้าศูนย์ ฯ จะได้เกิดทักษะการจัดการความรู้ ตามกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ที่จะได้นำองค์ความรู้ที่เป็นการสร้างสรร แบบเนียนไปในเนื้องาน ไปใช้ประโยชน์ในการทำงานได้อย่างต่อเนื่องและมั่นคงต่อไป
หมายเลขบันทึก: 434154เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2011 08:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)
  • น่าทึ่งตรง ... ผลผลิตเยอะแยะมากมายค่ะ
  • ผลผลิตมาก แต่อยากให้มีคุณภาพด้วยครับ ตอนนี้พยายามให้ทำตามขั้นตอน KMP ซึ่งโดนบ่นพอสมควรครับ แต่ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่บางส่วน ตื่นตัว และเริ่มเข้าใจในการทำ KM มากขึ้นครับ
  • ถ้ามีเสียงบ่น แสดงว่าเค้าอยากทำ แต่เค้าไม่ค่อยเข้าใจขั้นตอนเท่านั้นเอง เพราะว่า CKO พึ่งกำหนดขั้นตอนปีนี้เป็นปีแรก แต่ถ้าปรับเปลี่ยนอีกก็ขอให้ง่ายกว่าเดิมนะคะ
  • คือการทำ KM ไม่ยากหรอก เพราะทุกคนทุกในกระแสเลือดแล้ว  เพียงแต่ขาดทักษะการเขียนที่มีรูปแบบเท่านั้นเอง
  • ก็เรียนรู้ และรอการปรับเปลี่ยน   "ใจ"เท่านั้นเอง
  • รับทราบคร๊าบ ...........
  • วันที่ 12 พ.ค. 54 นี้ ทาง สคส. จะมาเยี่ยมศูนย์ ฯ
  • ยินดีต้อนรับครับ 

เรื่องการจัดการความรู้  ขาดของงานฝากครรภ์ไปนะคะ ช่วยตรวจสอบด้วยค่ะเพราะทั้งองค์การปีนี้มีทั้งหมด 45 เรื่องค่ะ

 

ครับผม ขาดงานฝากครรภ์

45. แนวทางการจัดทำระบบการฝากครรภ์คุณภาพแนวใหม่

และเปลี่ยนชื่อเรื่อง 14 เป็น

14. การพัฒนาศักยภาพผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพื่อดูแลสร้างเสริมสุขภาพด้วยตนเอง

  • ขอบคุณนะจ้ะ  น้องกบ
  • แต่ขอเสนอแนะหน่อยนะคะว่าถ้าเป็นไปได้   แต่ละเรื่องที่นำไปลงนั้นน่าจะมีเนื้อหามากกว่านี้ค่ะเพราะบุคคลอื่นที่ผ่านมาเยี่ยมชม  อ่านแล้วจะได้เข้าใจด้วยค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท