เขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์


เขียนบทความ

วันศุกร์ที่ผ่านมาได้มีโอกาสไปฟัง อาจารย์วิภาวี

บรรยายเรื่อง "เขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์"

อาจารย์บรรยายดีมากทำให้เข้าใจอะไรหลายอย่างเพิ่มมากขึ้น (แอบคิดในใจว่าถ้าได้ฟังก่อนทำวิจัยครั้งที่แล้วคงดีกว่านี้) ด้วยเนื้อหาที่พอสมควรอาจต้องนำเสนอเป็นตอนๆไปนะคะ ถ้าใครอยากเพิ่มเติมหรือเสนอแนะตรงไหนบอกได้เลยค่ะ^^

 

เขียนบทความอย่างไรให้ได้ตีพิมพ์

อาจารย์วิภาวี นิตยานันทะ หน่วยระบาดวิทยา

คณะแพทยศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์

25 มีนาคม 2554

 

ทำไมต้องเขียนบทความวิจัย

เป็นการเผยแพร่ความรู้สู่สาธารณะ ต่อยอดความรู้ เป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ สร้างความสุขในการทำงาน มีความก้าวหน้าในหน้าที่การงานและสร้างชื่อเสียงให้กับสถาบัน

 

การเขียนบทความวิจัยนั้นเป็นกระบานการสร้างคน

ทำให้รักการเขียน พัฒนาทักษะในการสื่อความหมาย สร้างมิตรภาพทางวิชาการ สร้างแรงจูงใจในการเป็นนักวิชาการ ฝึกการบริหารเวลาและฝึกสมาธิ

 

การเตรียมตัวก่อนการเขียนบทความวิจัย

บทความวิจัยที่ดีมาจากโครงการวิจัยที่ดี

โครงการวิจัยที่ดีมาจากการตั้งคำถามวิจัยที่ดี

การตั้งคำถามวิจัยที่ดีมาจากการทบทวนวรรณกรรมมาอย่างดี และหา knowledge gap  ให้ได้

 

ลักษณะบทความวิจัยที่ดีเป็นอย่างไร

กระชับ ถูกต้อง แม่นยำ ชัดเจน เข้าใจง่าย คงเส้นคงวา ครอบคลุมประเด็นที่กำหนด มีลำดับของใจความและเหตุการณ์ วิเคราะห์ประเด็นตามหลักวิชาการ เสนอความรู้ใหม่ อ้างอิงจากแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ กระตุ้นให้ผู้อ่านพัฒนาความคิดในเรื่องนั้นต่อไป

 

องค์ประกอบของบทความวิจัย

ชื่อเรื่อง บทคัดย่อ บทนำ วัสดุและวิธีการวิจัย ผลการศึกษา บทวิจารณ์และสรุป กิตติกรรมประกาศ เอกสารอ้างอิง

 

การเตรียมตัวก่อนการเขียนบทความวิจัย

มีข้อมูลที่วิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว          

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องให้มากที่สุด

เลือกวารสารที่จะส่ง

ศึกษาข้อแนะนำในการเตรียมบทความของวารสาร (Instruction to authors)

 

การตั้งชื่อเรื่อง

น่าสนใจ ชวนติดตาม สื่อความหมายครอบคลุมงานที่จะนำเสนอ ไม่สั้นหรือยาวจนเกินไป

 

การเขียนบทนำ

ทำไมต้องมีบทนำ

เพื่อเป็นการปูพื้นความรู้ให้แก้ผู้อ่านในเรื่องที่จะนำเสนอ

เพื่อชี้ให้ผู้อ่านเห็นประเด็นสำคัญของปัญหาที่นำไปสู่การศึกษาครั้งนี้

เพื่อแสดงถึงวัตถุประสงค์ในการศึกษา

จะเขียนบทนำอย่างไร

ต้องทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

กล่าวถึงปัญหาว่าคืออะไร

สถานการณ์ปัจจุบันของปัญหาว่าเป็นอย่างไร

การศึกษาอื่นๆที่ผ่านมาเกี่ยวกับเรื่องนี้เป็นอย่างไร

ทำไมเราจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องนี้

ระบุวัตถุประสงค์ของการศึกษา

หลักทั่วไปในการเขียนบทนำ

สั้น กระชับ ได้ใจความ

ย่อหน้าแรก กล่าวถึงความรู้ปัจจุบันหรือปัญหาในเรื่องนี้

ย่อหน้าที่สอง กล่าวถึงการศึกษาที่ผ่านมาในเรื่องนี้ ข้อจำกัดของงานที่ทำมาแล้ว และคำถามวิจัยที่ยังต้องการคำตอบ

ย่อหน้าที่สาม กล่าวถึงสิ่งที่ต้องการศึกษา  สมมุติฐานและวัตถุประสงค์การศึกษา

 

ครั้งต่อไปจะมาเขียนเล่าเรื่องการเขียนวัสดุและวิธีการวิจัยนะคะ ^^

คำสำคัญ (Tags): #เขียนบทความ
หมายเลขบันทึก: 433423เขียนเมื่อ 30 มีนาคม 2011 13:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:40 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

กำลังเรียนรู้อยู่ มาศึกษายุทธวิธีคะ

ขอบคุณมากนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท