หน้าแรก
สมาชิก
ผึ้งงาน_SDU
สมุด
เก็บเรื่องมาเล่า
ย้อนรอย...มหกรรมก...
ผึ้งงาน_SDU
phongphan romhirun
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
ย้อนรอย...มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 5 : วันที่สอง
...ความรู้และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้...
ผ่านมาหนึ่งวัน...ก็สะสมความรู้จากการแลกเปลี่ยนได้บ้าง พอวันที่สองก็เล็งว่า
...หาดฝึกกระบวนท่า
ไว้เลยติดกัน
2 โซนเพื่อจะได้
ฝึกปฏิบัติในการทำ
AAR
แล้วเก็บไว้เป็นประสบการณ์ในการทำงาน ซึ่งมีวิทยากรคุณภาพของกฟฝ.แม่เมาะ จ.ลำปาง มาให้ความรู้
โซน
4-5
:
หาดฝึกกระบวนท่า ...” กระบวนท่า AAR แบบ กฟฝ. ”
AAR (After Action Review)
หรือ
การทบทวนหลังการปฏิบัติ
เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่จะนำไปใช้ในการทำงานที่มีประโยชน์อย่างมาก ดังนั้นการมีโอกาสลงปฏิบัติกิจกรรมต่อเนื่องกัน
2 โซนเพื่อจะได้ฝึกประสบการณ์การทำAAR จากกฟฝ.ซึ่งเป็นbest practice เนื่องจากจำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งผึ้งงานจะพลาดไม่ได้เด็ดขาด ดังนั้นจึงไปนั่งร้องเพลงรอ...อยู่หน้าโซน
AAR หมายถึง
การพบปะพูดคุยของทีมงานและเรียนรู้ในการทำงาน เพื่อวางแผนในการทำงานต่อไปและเป็นเครื่องมือเรียนรู้การทำงาน(เพื่อคนทำงาน) หาโอกาสปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งเป็นเครื่องมือช่วยให้เกิดการเรียนรู้ สร้างความรู้ใหม่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ใช้ความรู้และยกระดับความรู้
KM นั้นมุ่งเน้นการเรียนรู้ ซึ่งให้เกิดความรู้และทำอย่างไร?ให้เกิดการเรียนรู้ มีความรู้และยกระดับความรู้ ซึ่งAARสามารถขับเคลื่อนได้อย่างครบวงจร
เล่าประสบการณ์ที่ทำกิจกรรม
AAR
:
Learning by doing
แบ่งกลุ่มคนในการทำกิจกรรม
กลุ่มละ
7-10 คน หลังจากที่ได้ทำความเข้าใจในขั้นตอนการทำAARแล้ว ภารกิจที่ได้รับมอบหมายคืออุปกรณ์ 1 ชุดประกอบด้วยกระดาษเปล่าA4จำนวนหนึ่งและกระดาษภาพต้นแบบ 1 ภาพพร้อมกับปากกาเมจิก 5 ด้ามดินสอ 10 แท่ง คำสั่งคือต้องขยายภาพต้นฉบับให้ได้ 9 เท่าภายในเวลา 20 นาทีแล้วนำมาติดบอร์ด
เลือก
คุณอำนวย คุณลิขิต
จากในกลุ่ม ซึ่งคุณอำนวยทำหน้าที่อธิบายกฎกติกา
(การทบทวนตัวเอง
4 ขั้นตอน(ตอบในใจ)ว่า 1)คาดหวังว่าจะได้อะไรจากการทำงานนี้ 2)สิ่งไหน?บ้างที่เป็นไปตามคาด 3) สิ่งไหน?บ้างที่เป็นปัญหาและไม่ได้เป็นตามคาด 4) ถ้าทำงานครั้งต่อไป มีส่วนไหนที่จะทำให้ดีขึ้น)
และถามความคิดเห็นของสมาชิกทุกคนว่าจะร่วมกันวางแผนการทำงานกันอย่างไร?
คุณลิขิตจดไว้และสรุปความคิดเห็นที่ได้อีกครั้ง การทำกิจกรรมในครั้งนี้จึงสรุปว่า ให้ตีเส้นภาพเป็น
9 ช่องพอดีมี 9 คนแบ่งคนละช่อง วาดภาพของตัวเองที่ได้รับมอบหมายแล้วลงสีเมจิกตามต้นฉบับ
3.
เมื่อครบเวลาที่กำหนด
วิทยากรพี่เลี้ยงก็ได้นำภาพที่วาดเสร็จแล้วของทุกคนมาต่อให้เป็นภาพสมบูรณ์แล้วติดโชว์ให้ดูผลงานและให้ทุกคนดูว่ามีความผิดพลาดตรงไหนบ้าง? เพราะอะไร? ถ้าทำใหม่อีกครั้งจะแก้ไขจุดบกพร่องอย่างไร? คุณลิขิตคอยจดข้อสรุปที่ได้ไว้ เพื่อวางแผนการทำงานต่อไป (
SARs)
4.
เมื่อทำครั้งที่สอง
นำแผนงานที่ร่วมกันแก้ไขจุดบกพร่องแล้วมาทำความเข้าใจอีกครั้ง
BAR=การทบทวนข้อมูลเดิมหรือSARs แล้วมาแบ่งงานกันทำอีกครั้งในภาพต้นแบบเดิม ให้เวลาเท่าเดิม แล้วประเมินงานอีกครั้ง
5.
นำผลงานที่ได้มาโชว์
และดูความผิดพลาดที่เกิดขึ้นครั้งใหม่และบันทึกขั้นตอนในการปฏิบัติงาน เพื่อร่วมกันแก้ไขแล้วนำสิ่งที่ได้ไปวางแผนการทำงานครั้งต่อไป เพื่อเป็นข้อเสนอแนะที่เจาะจงและปฏิบัติได้ในครั้งต่อไป
สิ่งที่คนทำ
AAR ต้องตระหนักถึง คือ
1.
ก่อนการทำ
AAR
นั้นขั้นแรกต้องให้คุณอำนวย อ่านข้อตกลงทบทวนการทำงานใน
4 ประเด็นหลักให้ทุกคนเข้าใจก่อน คือ
1)
เป้าหมาย
...
เราคาดหวังจะได้อะไรจากการทำงานครั้งนี้ เมื่อทำแล้วได้หรือต่างกันอย่างไร?
2)
จุดเด่น
...
มีส่วนไหนบ้างที่ทำได้ดีกว่าที่คาดหวังไว้ เพราะอะไร?
3)
ไม่ตามคาด
...
สิ่งที่ยังเป็นปัญหา ไม่เป็นไปตามคาดหวัง
4)
นำไปวางแผนครั้งต่อไป
....
ชี้นำความรู้ไปสู่การใช้งาน ถ้าทำใหม่จะทำให้ดีกว่าเดิมได้ไหม? อย่างไร?
2.
การสะท้อนความเห็น
1)
นำสิ่งที่ได้มาแลกเปลี่ยนกัน โดยการสะท้อนความเห็น ต้องใช้เทคนิคการฟัง ซึ่งทักษะการฟังนั้นใช้เทคนิคฟังรับไว้ก่อน อย่าเปรียบเทียบ อย่าตัดสิน ฟังให้เป็นเพียง
dataเท่านั้น
2)
อย่าตัดสินความคิดของผู้อื่นบนความคิดเห็นของตัวเอง โดยแขวนการตัดสินผู้อื่น
3)
มีน้ำใจต่อคนอื่นและเปิดโอกาสให้เขาได้พูดและเปิดโอกาสให้ตัวเองได้ฟังแบบเข้าใจ
4)
แค่คิดต่างก็เป็นผลดีในการเรียนรู้ (ถ้าคิดเหมือน...ทำให้ฉลาดเท่าเดิม)
3.
คุณลิขิตอ่านข้อสรุปที่ได้ร่วมกัน
และความเหมือน ความแตกต่าง คุณอำนวยมาช่วยกันหาข้อสรุปร่วม
1)
การหา
SARs (Specific Actionable Recommendation)
หรือ
ข้อเสนอแนะที่เจาะจงและปฏิบัติได้
ซึ่งต้องเขียนออกมาเป็นข้อเสนอแนะที่ปฏิบัติได้และทุกคนต้องเข้าใจตรงกัน
2)
นำมาทบทวนก่อนทำงานเดิมอีกครั้งให้ดีขึ้น
BAR:
การนำข้อมูลเดิมหรือ
SARs หรือข้อมูลใหม่ที่เกี่ยวข้องมาพูดคุย เพื่อวางแผนในการปฏิบัติงาน
จุดเด่นของ
AAR
คือ
การนำบทเรียนมาวิเคราะห์และสังเคราะห์แล้วนำไปเป็นบทเรียนต่อไป รวมถึงรูปแบบที่ได้ตกลงวิธีการทำงานร่วมกัน ให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
1.
เมื่อตกลงกันแล้ว ...ทำให้งานดีขึ้นมาก
2.
ครั้งหน้าถ้าจะทำอีก ...เราจะทำวิธีไหน?
3.
การรู้จักบทบาทตัวเองและปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างที่ทำงานร่วมกัน ....ทำให้ความสำเร็จของงานเกินความคาดหมาย
สิ่งที่ได้จากวิธีการทำงานในกิจกรรม
AAR นี้
1.
การทำกิจกรรมในครั้งแรก
นั้น สมาชิกนั้นอาจจะ
ยังไม่คุ้นเคยกันและไม่รู้ว่าใครเก่งอะไร ถนัดอะไรเป็นพิเศษบ้าง
ซึ่งการแบ่งการทำงานก็ง่ายๆเวียนขวาไปเรื่อย ทำให้งานที่ออกมานั้นไม่ค่อยเป็นไปตามคาดหวังมากนัก แต่การทำงานร่วมกันก็อยู่ในขั้นที่พอใจ
2.
เมื่อได้ทำกิจกรรมนั้นซ้ำอีกครั้ง
เนื่องจากวิทยากร
พี่เลี้ยงคอยยิงคำถามกระตุ้น จุดเด่น จุดด้อยของงานว่า
ทำไม?
คนนี้ใช้เส้นหนัก ทำไมภาพมีขอบบางคนไม่มีขอบ ทำไมคนนี้ถึงวาดสวยมากมีเทคนิคอะไร? มีปัญหาอะไรบ้างในการทำงาน
คุณอำนวย
ก็กระตุ้นให้เกิดการวางแผนและระดมความคิดเห็น
เป็นข้อตกลงกันในการทำงานให้ดีขึ้น คนถนัดงานไหน?ก็ให้รับผิดชอบที่ถนัด มีการถามและพูดคุยกันมากขึ้น มีการระมัดระวังการทำงานให้รอบคอบมากขึ้น
3.
สิ่งที่ได้จากการทำ
AAR นั้นทำให้เราเห็นถึงขั้นตอนการทำงานว่าจะปรับปรุง แก้ไขสิ่งที่บกพร่องอย่างไรให้ดีขึ้น เมื่อได้ทำงานนั้นอีกครั้งและมีการจดบันทึกวิธีการไว้เป็นแผนการทำงานต่อไป
4.
ทำให้เห็นถึงความผิดพลาดและความสำเร็จของการทำงานในครั้งต่อไปนั้นดีขึ้นอย่างมีระบบและรอบคอบ
โซน
6
ค้นหาทะเล
Tacit กับ กฟฝ. บางปะกง
การค้นหาความรู้แฝงในองค์กรนั้น มีการนำตัวอย่างของการทำงานมาเล่าสู่กันฟัง มีการนำเอา
Modelผีเสื้อ
มาใช้
โดย
ตัวผีเสื้อเป็น
KM , FA
ปีกขวาเป็น
FA, Team ,Core
ปีกซ้ายเป็น
AAR
นำไปปฏิบัติ เมื่อทำ
AARแล้วจดบันทึกไว้ ระดับแผนกมีการกำหนดจำนวนเรื่อง/รายปี วิธีการทำงานคือ
1.
การค้นหา
Tacit
แต่งตั้ง
CFT ปีกขวาอายุงาน 15-20 ปีรวมกลุ่มนำผลงานที่สำเร็จมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตั้งวงคุยเน้นความรู้มากกว่ากระบวนการมากกว่าคน จะรู้ว่าใครรู้เรื่องอะไร?
2.
เรียนรู้ร่วมกัน
โดยวิทยากรจาก สคส.และผู้บริหารมาเรียนรู้
KMด้วยกัน
3.
จัดกิจกรรมกลุ่มนอกสถานที่
และแลกเปลี่ยนกับสายงานอื่น
จากบางปะกงแลกเปลี่ยนสุราษฏร์
4.
ทุก
CFTจะต้องจัดตลาดนัดความรู้
อย่างน้อยปีละ
4 ครั้ง มีบรรยากาศเท่าเทียมกัน อิสระ
5.
ผู้ปฏิบัติงานเข้ารับการเป็นวิทยากร
KM
โดยเนื้อหา
KM Concept และ KM Tools จะเน้น 3 เรื่องคือ1) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 2) BAR 3) AAR ซึ่งแต่ละแผนกต้องทำแล้ว เรื่องเล่าจะตามมาเอง
การทำ
BAR
( การทบทวนก่อนการปฏิบัติงาน)
ก่อนเริ่มการปฏิบัติ คนทำงานมาคุยกันในรายละเอียดและขั้นตอนการทำงาน รวมถึงอุปกรณ์และเครื่องมือ การประเมินความเสี่ยง ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อมรวมถึงคุณภาพ
การทำ
AAR
(การทบทวนหลังการปฏิบัติงาน)
หลังจบการปฏิบัติงาน ล้อมวงสนทนา ไม่ได้หาคนผิด การทำงานครั้งนี้ผลลัพธ์ที่ได้ต่างจากที่คาดหวังหรือไม่? เก็บเป็นคลังความรู้และ
ตอบแทนบุญคุณหน่วยงานด้วยประสบการณ์ที่ท่านมี
ลำดับหัวข้อที่นำมาเล่าประสบการณ์ที่ท่านมีให้เพื่อนร่วมงานฟัง
ดังนี้
1.
เรื่องเล่าความสำเร็จผ่านพนักงาน
2.
สภาพของงานก่อนปรับปรุง
3.
ความคิดของงานที่ต้องปรับปรุง
4.
ประโยชน์ที่ได้รับ
5.
ได้ไอเดียจากเรื่องเล่าแล้วนำมาปรับใช้กับงาน
สิ่งที่ได้จากการมาร่วมงาน
NKM5
1
.
ได้ประโยชน์จากโซนทะเล Tacit
ในเรื่องกิจกรรมการละลายพฤติกรรมแล้วนำเข้าสู่การดึงความรู้แฝงในตัวออกมาเล่า เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ได้อย่างเป็นธรรมชาติ
2.
ได้ความรู้จากเครือข่าย
G2K
ซึ่งได้นำเรื่องราวของblogger 5 คนที่ประสบความสำเร็จมาเล่าและพูดคุยเป็นตัวอย่างว่าสิ่งที่ได้จากพันธมิตร Online นั้นมันเกิดประโยชน์และเกิด
เครือข่ายอย่างไร?
3.
ได้ความรู้จากการทำทักษะ
AAR
จากหาดฝึกกระบวนท่าของกฟฝ.แม่เมาะ จ.ลำปาง การปรับรูปแบบและวิธีการทำงานนำไปสู่การวางแผนการทำงานครั้งต่อไป มีการปรับและระมัดระวังในส่วนปลีกย่อยที่เป็นปัญหาของงาน จนแก้ไขให้งานออกมาได้สมบูรณ์ที่สุด แล้วบันทึกข้อเสนอแนะที่ตกลงหลังการปฏิบัติงาน ซึ่งมีประโยชน์มากในการทำงานครั้งต่อไป
4.
กิจกรรมทำให้มองบวก
คิดบวกในองค์กร
5.
ถ้า
มีโอกาสจะทำแผนกิจกรรมละลายน้ำแข็ง
และดึงความรู้แฝงของคนในงานออกมาเก็บไว้ในคลังความรู้
6.
นำความรู้จากการทำ
AAR ถ่ายทอดสู่คนที่สนใจ
ในการทำ
AAR รวมถึงเผยแพร่ความรู้ที่ได้นี้สู่คนในองค์กร
7.
บอร์ดกิจกรรม ถาม-ตอบ
เป็นตัวอย่างที่ดีและ
อยากทำให้เกิดขึ้นในองค์กร
เช่นกัน
NKM5 นั้นถือว่าเป็นภาคกิจกรรมที่ให้สมาชิกได้มีโอกาสเลือกเข้าร่วมในโซนที่ตัวเองสนใจและคิดว่าได้ประโยชน์มากที่สุด
ซึ่งในแต่ละช่วงก็แตกต่างกันไป มีทั้งเรื่องเล่าประสบการณ์จาก
best practice และกิจกรรมทดลองปฏิบัติ อีกทั้งบอร์ดที่แสดงความคิดเห็นร่วมกัน ซึ่งเป็นจุดเด่นเช่นกัน
ดังนั้นจึง
ถือว่า
บรรยากาศ
NKM5 นั้นเป็นวงจรแห่งการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ครบวงจร SECI Model หรือ Knowledge Spiral(เกลียวความรู้)ของIkujiro Nonaka
ซึ่งถือว่าคุ้มค่ามาก
ที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเกลียวความรู้ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตร
KMทั่วประเทศ
เขียนใน
GotoKnow
โดย
ผึ้งงาน_SDU
ใน
เก็บเรื่องมาเล่า
คำสำคัญ (Tags):
#bar
#g2k
#Ikujiro Nonaka
#NKM5 มหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติครั้งที่ 5
#เรื่องเล่า Tacit Knowledge
#หาดฝึกกระบวนท่า AAR
#บอร์ดถาม-ตอบ
หมายเลขบันทึก: 432465
เขียนเมื่อ 23 มีนาคม 2011 18:26 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 3 พฤษภาคม 2012 15:22 น. (
)
สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการ
จำนวนที่อ่าน
จำนวนที่อ่าน:
ความเห็น (0)
ไม่มีความเห็น
ชื่อ
อีเมล
เนื้อหา
จัดเก็บข้อมูล
หน้าแรก
สมาชิก
ผึ้งงาน_SDU
สมุด
เก็บเรื่องมาเล่า
ย้อนรอย...มหกรรมก...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2023 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี